Department of English
Faculty of Arts, Chulalongkorn University
Translation Practice: Nonfiction (English-Thai, Thai-English)
Excerpts of informative texts for practice.
1. พิมพวัลคุ์ เสถบุตร. สอ เสถบุตร. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ, 2537. 140.
ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน์ ได้เล่าเรื่องการทำปทานุกรมอังกฤษเป็นไทยในคุก ไว้ในหนังสือ ชีวิตแห่งการกบฏสองครั้ง ไว้ดังนี้ "... สอ เศรษฐบุตร ได้ทำปทานุกรมแบบใหม่อังกฤษเป็นไทยของเขาในคุก ข้าพเจ้ามีส่วนช่วยเหลือร่วมมือกับคนอื่นอีกหลายคน ในการคัดลอกตรวจทานต้นฉบับ และตรวจปรู๊ฟ การทำปทานุกรมขนาดใหญ่เป็นงานหนัก และเมื่อทำในคุกก็เพิ่มความหนักใจเข้าอีกด้วย ประการแรกเราต้องลอบเอาเครื่องเขียนและตำราต่างๆ เข้ามาในเรือนจำให้เพียงพอแก่การใช้สอย ประการที่สอง เราต้องต่อไฟฟ้าใช้ และคอยเก็บไฟฟ้าซุกซ่อนอย่างรวดเร็วเมื่อได้ยินเสียงเจ้าพนักงานมาตรวจประจำ วัน ประการที่สาม เราต้องหาที่ซ่อนถาวรสำหรับไฟฟ้าและตำราของเราในโอกาศที่มีการตรวจค้น ซึ่งทั้งนี้จำเป็นที่ข้าพเจ้าต้องปีนฝาห้องขึ้นไปเจาะเพดานเป็นช่องสำหรับ เก็บสิ่งของต้องห้าม ประการที่สี่ เราต้องลักลอบเอาต้นฉบับที่เขียนแล้วส่งออกมาโรงพิมพ์ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวกับการพิมพ์"
2. พิมพวัลคุ์ เสถบุตร. สอ เสถบุตร. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ, 2537. 128.
In order to keep in touch with the outside world, the political prisoners succeeded in putting together a radio receiver out of biscuit tins, toothbrush handles, cigarette tin foils, carbon from useless flashlight cells, and a couple of smuggled radio tubes. Night after night the radio receiver transported them out of prison and they explored the world.
3. ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์. "'ครีมกันแดด' พระเอกหรือผู้ร้าย." สารคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 74.
การพยายามเชื่อมโยงอันตรายจากแสงแดดเข้า กับโรคมะเร็งผิวหนัง ได้ทำให้แสงแดดกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของชาวโลก ขณะเดียวกัน "ครีมกันแดด" ก็กลายเป็นพระเอก และเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตชนิดขาดไม่ได้ของใครหลายคน
ทว่าข้อมูลที่น่าสนใจและไม่ควรละเลยก็คือ นอกจากมะเร็งผิวหนังจะไม่ได้เป็นโรคร้ายน่ากลัวอย่างที่เราคิดกันแล้ว แสงแดดเองก็ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้คนเป็นมะเร็งผิวหนังด้วย หากแต่ยังมีปัจจัยใกล้ตัวที่เราคาดไม่ถึงอีกมากที่นำไปสู่โรคนี้ ทั้งปัจจัยเหล่านั้นยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายอื่น ๆ อีกมาก
4. ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์. "'ครีมกันแดด' พระเอกหรือผู้ร้าย." สารคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 76.
ครีมกันแดดที่ใช้สารเคมี ทำงานด้วยการดูดซับแสงแดดเข้าสู่พื้นผิว โดยเก็บกักความร้อนและแสงยูวีบางส่วนไว้ไม่ให้ตรงเข้าทำลายผิว จึงเรียกว่า sunscreen แต่เนื่องจากชั้นครีมกันแดดนี้อยู่แนบชิดผิวหนัง การเก็บกักแสงยูวีจึงทำให้แสงยูวีมีโอกาสเข้าสู่ผิวหนังได้ ที่สำคัญ ครีมกันแดดชนิดนี้จะป้องกันเฉพาะแสงยูวีบีเท่านั้น ดังนั้น ขณะที่คุณทาครีมประเภทนี้ ยิ่งอยู่กลางแดดนานเท่าไร ก็ยิ่งเปิดโอกาสให้แสงยูวีเข้าสู่ผิวหนังมากขึ้นเท่านั้น ครีมกันแดดชนิดนี้มีวางขายทั่วไปในท้องตลาด ถ้าอ่านฉลากดูจะพบชื่อสารประเภท benzophenone-3, homosalate (HMS), 4-methyl-benzylidene camphor (4-MBC), octyl-methoxycinnamate (OMC), octyl-dimethyl-PABA (OD-PABA) และ butylmethoxydibenzoylmethane (B-MDM)
5. ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์. "'ครีมกันแดด' พระเอกหรือผู้ร้าย." สารคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 76.
ที่สำคัญ การทาครีมกันแดดยังยับยั้งการสร้างวิตามินดีอีกด้วย จากการวิจัยพบว่าครีมกันแดดที่มีค่า SPF 8 จะยับยั้งการสร้างวิตามินดีของผิวหนังถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 จะยับยั้งการสร้างวิตามินดีถึง 99-100 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว
นั่นหมายความ ว่า การใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปจะยับยั้งการสร้างวิตามินดีอย่างสิ้นเชิง ขณะที่ 90 เปอร์เซ็นต์ของวิตามินดีที่ใช้ในร่างกายเรามาจากแสงแดด
6. ศาสตรา มูสิกะ. "สิ่งที่คนพิการอยากได้มากที่สุดไม่ใช่ขาเทียม แต่คือ 'โอกาส.'" สาร คดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 26.
กรกฎาคม ๒๕๔๙
แดดบ่ายกลาง ท้องสนามหลวงร้อนแม้ภายใต้ผืนผ้าใบของเต๊นท์ขนาดใหญ่ก็อบอ้าวไม่แพ้ กัน ทว่าความร้อนก็ไม่อาจหยุดความตั้งใจของคนกว่า ๒๐๐ ชีวิตภายในนั้น ฝ่ายหนึ่งกำลังนั่งรอคิวเพื่อตรวจวัดตอขา และรอคอยการทดลองเดินด้วยขาเทียมอันใหม่อย่างใจจดใจจ่อ ขณะที่อีกฝ่ายกำลังรีบเร่งทำขาเทียม กลุ่มหนึ่งกำลังทำเบ้า กลุ่มหนึ่งกำลังขัดแต่ง อีกกลุ่มกำลังประกอบ
7. ศาสตรา มูสิกะ. "สิ่งที่คนพิการอยากได้มากที่สุดไม่ใช่ขาเทียม แต่คือ 'โอกาส.'" สาร คดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 27.
"เราทำกันแบบ non stop เลย ไม่มีการแบ่งกะ ยิ่งกว่าโรงงานอีก พวกเราเริ่มทำพร้อมกัน เลิกงานก็พร้อมกัน บางวันเหนื่อยมาก ๆ กลับไปถึงห้องก็หลับไปเลย โดยที่ยังไม่ได้อาบน้ำก็มี เรามองเป้าหมายเป็นสำคัญ แม้จะเหนื่อยขนาดไหน แต่พอขาเสร็จ ให้คนไข้ทดลองเดิน เห็นเขาเดินด้วยขาเทียมที่เราทำ เห็นเขายิ้มอย่างมีความสุข มันเหมือนกับว่าเราได้ให้ชีวิตใหม่แก่เขา คนไข้บางคนไม่เคยได้ขาเทียม เขาใช้ไม้เท้าหรือต้องคลานเข่ามาเป็นปี ๆ พอได้ขาเทียม เขาถึงกับกอดเรา น้ำตาไหลเลย ผลที่ได้มันทำให้ความเหนื่อยล้าที่ติดต่อกันมาหลายวันหายไปหมด" ศิริราชกล่าวด้วยความปลื้มใจ
8. เรียม อาษาภักดิ์. "สิ่งที่คนพิการอยากได้มากที่สุดไม่ใช่ขาเทียม แต่คือ 'โอกาส.'" สาร คดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 30.
ที่หมู่บ้านมี คนทั้งหมด ๓๐๐ กว่าคน เหยียบกับระเบิดขาขาดไป ๑๐ กว่าคน โดนกันทุกปี เมื่อปีที่แล้วตายไปสอง ปีนี้รายหนึ่งกับวัวอีก ๒-๓ ตัว เราแจ้าทางราชการไปแล้วว่าที่หมู่บ้านเรามีกับระเบิด เขาก็บอกว่ากำลังกู้ที่อื่นอยู่ ต้องรอตามคิว กว่าจะถึงหมู่บ้านเราก็คงอีกหลายปี ปรกติถ้าชาวบ้านไปเจอกับระเบิด ก็จะตัดกิ่งไม้ทำเครื่องหมายกากบาท-ห้ามเอาไว้ แล้วก็บอกต่อ ๆ กัน ใครที่กู้เป็นก็กู้เอาไปทำลายทิ้ง ทุกวันนี้ก็เจออยู่บ่อยๆ ทั้งลูกเล็กลูกใหญ่ แบบปิ่นโต แบบดักรถถังยังเคยเจอเลย เราก็ไม่รู้ว่าเป็นระเบิดของใคร ทหารไทยก็ฝัง เขมร ญวนก็ฝัง ฝังแล้วก็ไม่ได้มากู้เก็บกัน เผลอไปเหยียบจนขาขาดแล้วก็ไม่รู้จะไปโทษใครได้ คงเป็นเวรกรรมของเรา ในหนังที่พระเอกเดินไปเหยียบกับระเบิดเสียงดังกริ๊ก แล้วรู้ตัว ค่อย ๆ เอามีดแซะออก กู้ระเบิดไปได้น่ะ ไม่มีหรอก เรื่องจริงคือ เหยียบแล้วตูม ขาขาด นั่นแหละถึงจะรู้ว่าเป็นระเบิด
9. ศาสตรา มูสิกะ. "สิ่งที่คนพิการอยากได้มากที่สุดไม่ใช่ขาเทียม แต่คือ 'โอกาส.'" สาร คดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 30.
ขาเทียมแต่ละชิ้นจะมีอายุการใช้งานประมาณ ๓-๕ ปี หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละคน
"การทำพลาสติกให้เป็นรูปขานั้นไม่ยาก แต่การจะทำขาเทียมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการนั้น ผู้ทำจะต้องมีความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา กลศาสตร์ ชีวกลศาสตร์ และวัสดุศาสตร์ ขาเทียมที่ดีนั้น จะต้องใส่สบาย ไม่เจ็บ และเดินได้ใกล้เคียงกับขาธรรมชาติ ถ้าเราทำไม่ดี ถึงแม้คนไข้สามารถใช้งานได้ แต่ในระยะยาวกระดูกข้อต่อที่อยู่เหนือขาเทียมก็จะเสีย เพราะขาเทียมจะเกี่ยวโยงกับระบบกระดู กล้ามเนื้อ และร่างกายทั้งหมด" เลขาธิการมูลนิธิขาเทียมฯ กล่าว
10. ศาสตรา มูสิกะ. "สิ่งที่คนพิการอยากได้มากที่สุดไม่ใช่ขาเทียม แต่คือ 'โอกาส.'" สาร คดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 259 กันยายน 2549. 32.
"สังคมไทยเริ่มมีมุมมองต่อคนพิการดีขึ้น ภาครัฐและเอกชนก็เริ่มให้การช่วยเหลือคนพิการมากขึ้น สถานประกอบการบางส่วนก็ได้เริ่มเปิดรับคนพิการเข้าทำงาน สถานที่ราชการและเอกชนหลายแห่งก็เริ่มอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ โดยทำทางลาดสำหรับรถเข็น มีห้องน้ำสำหรับผู้พิการ สถานีรถไฟฟ้าก็มีลิฟต์สำหรับผู้พิการ แม้สิ่งเหล่านี้จะยังกระจายอยู่แค่ในเมืองใหญ่ๆ แต่ถ้าเทียบกับในอดีตแล้ว ทุกวันนี้ถือว่าดีขึ้นเยอะ เมื่อก่อนนอกจากไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการแล้ว สังคมยังมองคนพิการด้วยความรู้สึกเวทนา สงสาร ต้องให้ความช่วยเหลือ แต่จริง ๆ แล้วคนพิการเขาไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือ และสิ่งที่คนพิการอยากได้มากที่สุดก็ไม่ใช่ขาเทียม แต่คือโอกาส เพื่อที่เขาจะได้ช่วยเหลือตัวเองได้ คนพิการก็อยากทำงานเสียภาษีให้รัฐเหมือนเช่นคนปรกติ"
11. Hollinger, Warren, and Lu Setnicka. "Shell Shocked." Patagonia: Notes from the Field. Ed. Nora Gallagher. San Francisco: Chronicle Books, 1999. 72.
It happened in an instant, the explosion in my head. What was happening? I screamed. My partner was screaming too. We were in the midst of an electrical storm one hundred feet below the summit of the west face of the North Howser Tower in the Bugaboos. In an instant I realized that we had both been struck by lightning. Amidst the peals of thunder and crackling electricity I couldn't feel anything--it was all noise. I was paralyzed, truly paralyzed, not just immobilized with fear, below the neck. There was nothing we could do but wait it out, and interminable ten hours during which we witnessed two more electrical storms from our cramped ledge while huddling under a port-a-ledge fly. Slowly, sensation came back to my limbs. Time for damage assessment for us both: A bolt had passed through my partner's right butt cheek and out his left thigh, and I had been host to a shock that traveled from the right side of my back to my left knee. My underwear had melted and my pants were riddled with about fourteen tiny holes on the outside. And the holes in my body? I had about seventeen of those, instantly cauterized, clustered about my knee. We pulled out a roll of duct tape to seal the wounds and waited for a break in the storm. The name of our route, a first ascent...Young Men on Fire.
12. “ธ ธง คนนิยม.” สารคดี ปีที่ 22 ฉบับที่ 263 มกราคม 2550.
ไม่มีใครรู้ว่าธงผืนแรกของโลกกำเนิดขึ้นเมื่อ ใด หรือใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น แต่ธงก็ทิ้งร่องรอยควบคู่กับอารยธรรมของมนุษยชาติเรื่อยมา ทุกประเทศล้วนมีธงชาติ และแม้แต่กลุ่มคนที่ยังไม่มีประเทศ หรือกำลังมุ่งหวังที่จะ “กู้ชาติ” ต่างก็สถาปนาธงของตนขึ้นมา ไม่เพียงในระดับชาติ หากแยกย่อยลงไปในระดับสังคม ผืนธงมิได้เป็นเพียงริ้วหรือแถบผ้าสีที่เย็บต่อกัน หากแต่ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ประจุแน่นด้วยความหมายที่ลึกซึ้งซับซ้อน
ธงช่างเป็นสิ่งธรรมดาที่แสนพิเศษ หากความหมายของมัน แท้จริงแล้วอยู่ที่แถบสีบนผืนผ้า หรือที่ใจคนมอง ?
13. จักรพันธุ์ กังวาฬ. "พริก- เผ็ด สวย ดุ และมีรอยยิ้มในคราบน้ำตา." Sarakadee, 21 Feb. 2009.
เราอาจคิดว่าพริกเป็นพืชท้องถิ่นของไทย แต่อันที่จริงแล้ว พริกชนิดต่าง ๆ
มีต้นกำเนิดมาจาก ทวีปอเมริกาใต้
นักโบราณคดีค้นพบพริกในหลุมศพของชาวเปรูสมัยราว ๖,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล
หลักฐานนี้จึงแสดงว่ามีการใช้พริกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว
ชื่อภาษาอังกฤษของพืชชนิดนี้มาจากคำภาษาสเปนว่า
chile
สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวยุโรปน่าจะเป็นผู้นำพริกเข้ามายังประเทศในราวสมัยอยุธยา
ตอนกลาง และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ในปัจจุบันมีการบริโภคพริกกันอย่างแพร่หลาย
เพราะเป็นเครื่องเทศสำคัญชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
เนื่องจากมีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูง
สารสองตัวนี้ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ที่สำคัญวิตามินซีช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย
จากการสำรวจของกรมส่งเสริมการเกษตรพบว่า ปีหนึ่งคนไทยกินพริกถึง
๑๐๙,๕๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม
14. Freidberg, Susanne. "Lightbulb Moment in Food History." Freakonomics. The New York Times. 8 Apr. 2009.
15. Lane, Nick. Oxygen: The Molecule That Made the World. Oxford UP, 2004. [downloadable excerpts of the following chapters]
16. Zimmer, Carl. "Nature's Criminals." Chapter 1. Parasite Rex: Inside the Bizarre World of Nature's Most Dangerous Creatures. New York: Simon and Schuster, 2000.
17. Robertson, Phillip. "The Octopus in the Cathedral of Salt." Virginia Quarterly Review (2007).
18. Boorstin, Daniel J. "From News Gathering to News Making: A Flood of
Pseudo-Events." Chapter 1. The Image: A Guide to Pseudo-Events
in America. Atheneum, 1961.
19. Zuboff, Shoshana. "Requiem for a Home." The Age of Surveillance Capitalism: The Fight for a Human Future at the New Frontier of Power. Profile books, 2019.
Home | Translation Resources | English Resources
Last
updated May 4, 2021