Department of English

Faculty of Arts, Chulalongkorn University


2202124  Introduction to Translation

 

Economic News (Thai-English) Discussion

The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive. They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion. Suggestions and comments are welcome.


 

Translate the following into English.


ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ต่ำสุดในรอบปี

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือนพฤษภาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต รวมทั้งการแพร่ระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างในหลายพื้นที่ จนภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุม COVID-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้ง   4 จังหวัดภาคใต้ อาทิ มาตรการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเวลา 30 วัน มาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร เป็นต้น

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ ด้านสถานการณ์การส่งออก เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้ายานยนต์ และปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ อย่างไรก็ตาม ดัชนีคำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย ทำให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น

คาดการณ์ว่า 3 เดือนข้างหน้าดัชนียังคงปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ยอดขายสินค้าและรายได้ของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องจากการขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ















Translation 1: Grammar-Translation Method


[1]  ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ต่ำสุดในรอบปี

June industrial confidence at year's lowest


[¶1; 2]  นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า 

Supant Mongkolsuthree, Chairman of the Federation of Thai Industries, said that


ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน มิถุนายน 2564 อยู่ที่ระดับ 80.7

the Thai Industries Sentiment Index for June 2021 is at 80.7,


[3]  ปรับตัวลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือนพฤษภาคม 2564

down from 82.3 in May 2021.


[4]  โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563

The index has moved downward for the third consecutive month and is at a 12-month low since July 2020.


[5]  โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม

A major factor for this decline is the third wave of COVID-19 infections


ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม

with continued rise in infected cases especially in factories


[6]  ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต รวมทั้งการแพร่ระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างในหลายพื้นที่

that has affected the production sector. There are also outbreaks in construction worker accommodation at multiple sites,


จนภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุม COVID-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด

compelling federal authorities to raise COVID-10 protocols in highest restriction zones,


และเข้มงวดใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล
with strict measures in Bangkok and surrounding districts


รวมทั้ง 4 จังหวัดภาคใต้ อาทิ มาตรการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเวลา 30 วัน

as well as the four southern provinces such as closing construction sites in the greater Bangkok area for 30 days and

 

มาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร เป็นต้น

banning indoor dining.


[¶2; 7]  จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ

These factors have resulted in economic slowdown and low domestic demand.


[8]  ด้านสถานการณ์การส่งออก เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้ายานยนต์

Exports impact include electronics and automobile production delays,


และ ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ 

and shipping container shortage.


[9]  อย่างไรก็ตาม ดัชนีคำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

In contrast, new export orders and sales indices have been rising


เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย

as the economy of trading countries begin to recover and the COVID-19 situation in many countries start to improve,


ทำให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น

raising foreign market demand.

 
[¶3; 10]  คาดการณ์ว่า 3 เดือนข้างหน้าดัชนียังคงปรับตัวลดลง

Predictions for the next three months are that the index will continue to fall

 
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย

because the COVID-19 outbreak situation is still unabated,

 
[11]  ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ

and people are less willing to spend because they are unsure about the economic situation.

 
[12]  ส่งผลให้ยอดขายสินค้าและรายได้ของผู้ประกอบการลดลง

This will result in a decline of product sales and business revenue,
 
โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ต้องเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องจากการขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

especially owners of SMEs who have liquidity problems due to loss of cash flow.

 

Annotation

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (official site)
The Federation of Thai Industries (FTI)

"Executive Board of FTI," Federation of Thai Industries
Mr. Supant Mongkolsuthree
Chairman of FTI

"Thai Economic Status: Industrial Sector," Federation of Thai Industries

"ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) June 2021," Federation of Thai Industries
Thai Industries Sentiment Index










"Thailand COVID-19 Zoning Categories," Government Public Relations Department, Facebook, 13 Sep. 2021.
Maximum and Strict Controlled Area








 

Translation 2: Sample for Discussion


June industries sentiment drops to 12-month low


Supant Mongkolsuthree, chairman of the Federation of Thai Industries, revealed that its industries sentiment index dropped for the third straight month to 80.7 in June from 82.3 in May, the lowest point in 12 months since July 2020. This was due to the third wave of coronavirus infections, causing new cases to spike especially in industrial factories, thus affecting the production sector. Besides, the spread of Covid-19 in construction workers' camps in many areas has prompted the government to impose stricter zonal measures for maximum Covid-19 control in Bangkok and its vicinity as well as in four southern provinces, which include a 30-day lockdown of construction camps in Bangkok and its surrounding provinces and a ban on dine-in services in restaurants.

These factors have led to a slowdown in economic activities and weakening domestic demand. Exports have also been hit by delays in the production of electronic goods and auto parts as well as freight container scarcity. However, on a positive note, the foreign purchasing order index and overseas sales are picking up as the economies of trading partner countries are recovering and the Covid-19 situation in several countries has started to ease, thus resulting in higher demand from international markets.

It is speculated that in the next three months, the industries sentiment index will continue to go down as the coronavirus spread has not yet been controlled and the consumers remain cautious in their spending due to the lack of confidence in the economic outlook. This has led to a decline in the sales and income of business operators, especially those of SMEs, who are now facing a liquidity squeeze from the lack of working capital.

 


 

Translation 3: Sample for Discussion


Industrial sector confidence index for June lowest in 12 months


The industrial confidence index for June has fallen again for the third consecutive month, to the lowest point of 80.7 in 12 months and from 82.3 in May, according to Federation of Thai Industries (FTI) President Suphan Mongkolsuthee. He attributed the steady reduction in confidence over the past three months to the third wave of the COVID-19 pandemic, which started in April. This, he said, has seen a continuing surge of infections, particularly in factories, affecting the production sector. Increasing infections among construction workers also prompted the administration to impose restrictive measures for 30 days in Bangkok and its neighbouring provinces, as well as in four southern provinces, with a ban on dine-services at all eateries in those areas.

He said that all the indicators related to industry, such as purchase orders, sales figures and the general performance of the industries, have been impacted by the new wave of the pandemic. the export sector is, on the contrary, performing quite well, as reflected in the continuous rise in purchase orders and exports, thanks to the gradual economic recovery among Thailand’s trading partners. Nevertheless, he identified a few risk factors, which could affect Thai exports, such as the shortage of semiconductor chips, causing a delay in the production of electrical appliances and automobiles, as well as the shortage of cargo containers.

Regarding the confidence index projection for the next three months, Mr. Suphan said it is projected that the index will be 90.8, compared to 91.8 in May, as most industrial operators are still concerned about the pandemic, which has not shown any signs of abating.




Translation 4: Sample for Discussion


June business confidence at year low


The Thai Industries Sentiment Index for June 2021 is 80.7, down from May’s 82.3, according to Federation of Thai Industries Chairman Supant Mongkolsuthree, continuing a downward trend for the third month running and a 12-month low. Wave 3 of the COVID-19 pandemic is a significant contributor, with rising new cases, especially in factories which impact production, and outbreaks among construction workers at numerous sites that have prompted heightened government measures in Maximum Controlled Areas and hard actions for Bangkok and environs and the four southern provinces, among them 30-day closures of worker camp sites in greater Bangkok and indoor dining bans.




 

 

Reference

 


 

Discussion

 



 

Vocabulary




 

Links

Other Confidence Coverage


Other Economic and COVID-19 News and Information

 

Source

"ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ต่ำสุดในรอบปี," กรุงเทพธุรกิจ, ๖ ก.ค.. ๒๕๖๔, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/947329.

 


ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ต่ำสุดในรอบปี
6 กรกฎาคม 2564

ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ปรับตัวลดลง 3 เดือนต่อเนื่อง และต่ำที่สุดในรอบปี วอนรัฐเร่งฉีดวัคซีนครอบคลุม 70%, ลดค่าน้ำค่าไฟ SMEs 30%

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่าผู้ประกอบการมีความเป็นห่วงเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานที่รุนแรงขึ้นตามการระบาดในภาพรวมของประเทศที่มีผู้ป่วยรายใหม่ 5 – 6 พันคนเนื่องจากวัคซีนเข้ามาช้า ดังนั้นรัฐบาลควรทำลายคอขวดเปิดให้ภาคเอกชน และโรงพยาบาลนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้อย่างเสรี เพราะหลายฝ่ายช่วยกันหาก็ดีกว่าให้หน่วยงานเดียวจัดการ ซึ่งผู้ประกอบการโรงงานไม่สามารถทนได้ไปถึงช่วงปลายปี โดยที่ผ่านมามีโรงงานหลายแห่งมีคนงานติดโควิด-19 จนต้องปิดการดำเนินงานเป็นส่วน ๆ หรือปิดทั้งหมด 14 วัน ทำให้กระทบต่อการผลิตมาก แต่การระบาดยังไม่รุนแรงจนถึงขั้นป่วยหนักหรือเสียชีวิต เพราะคนงานส่วนมากเป็นวัยหนุ่มสาว แต่กระทบต่อการผลิตของโรงงานมาก

“ให้รัฐเปิดให้มีวัคซีนทางเลือกเข้ามามากขึ้น ผู้ที่มีฐานะก็สามารถซื้อเองได้จะช่วยลดงบประมาณภาครัฐ และกระจายวัคซีนได้รวดเร็ว ส่วนผู้ที่มีฐานะไม่ดีนัก รัฐก็ควรนำเงินเข้ามาอุดหนุนลดค่าวัคซีน เพราะที่ผ่านมารัฐก็มีเงินเข้าไปอุดหนุนในเรื่องมาตรการอื่น ๆ อยู่แล้ว เช่น คนละครึ่ง , เที่ยวด้วยกัน , ยิ่งใช้ยิ่งได้ , เราชนะ เป็นต้น หากกันเม็ดเงินส่วนหนึ่งมาอุดหนุนค่าวัคซีนก็จะช่วยประชาชนได้มาก”

ส่วนผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 82.3 ในเดือนพฤษภาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำที่สุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม ที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต รวมทั้งการแพร่ระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างในหลายพื้นที่ จนภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุม COVID-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้ง   4 จังหวัดภาคใต้ อาทิ มาตรการสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเวลา 30 วัน มาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังทำได้อย่างจำกัด และไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังอ่อนแอ ด้านการส่งออกสถานการณ์การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ ทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสินค้ายาน ยนต์ ขณะที่ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือ (Freight) ที่ทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ยังเป็นปัจจัยที่ผู้ส่งออกมีความกังวล

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกของไทยที่มีทิศทางดีขี้น สะท้อนจากดัชนีฯ คำสั่งซื้อและยอดขายต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์ COVID-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย ทำให้อุปสงค์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาท ที่อ่อนค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เป็นปัจจัยบวกต่อผู้ส่งออกทำให้สินค้าไทยถูกลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ขณะเดียวกันผู้ส่งออกยังมีรายได้ในรูปเงินบาทมากขึ้น

จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,364 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศในเดือนมิถุนายน 2564 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 59.6 สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ร้อยละ 47.4 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 37.2 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 58.2, และอัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 43.5 ตามลำดับ

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 90.8 จากระดับ 91.8 ในเดือนพฤษภาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของ COVID-19     ที่ยังไม่คลี่คลายซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม รวมทั้งการกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดอาจทำได้ยาก ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังชะลอตัวลง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าและรายได้ของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ต้องเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องจากการขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ส่วนข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในเดือนนี้มี 5 ข้อ คือ 1. เร่งการจัดหาวัคซีนคุณภาพและเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศในทุกกลุ่มอาชีพก่อน พิจารณาเปิดประเทศเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ 2. ขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างจนกระทบต่อภาคการผลิตการส่งออก 3. ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งกิจการทุกประเภทเพื่อบรรเทาผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ 4. ภาครัฐควรจัดหา Soft loan พิเศษ ช่วยเหลือ SMEs กลุ่ม NPLs โดยอาจกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ SMEs กลุ่มนี้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น อาทิ กำหนดดอกเบี้ยพิเศษ หรือจัดทำเกณฑ์พิจารณาสำหรับ NPLs ที่มีโอกาสรอด เป็นต้น และ 5. ออกมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคร้อยละ 30 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs

 


Home  |  Introduction to Translation  |  Translation Resources  |  English Help  


Last updated September 14, 2021