The Works of Luis Barragan
 
 
 
 

..about Luis Barragan
1980 Laureate 

Luis Barragan มีอายุอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1902-1988  เกิดที่เมือง Guadalajara ประเทศเม็กซิโก มีพื้นฐานการศึกษา ทางวิศวกรรม แต่สนใจสถาปัตยกรรม โดยการศึกษาด้วยตนเอง  ในราวปี ค.ศ. 1920's เดินทางไปทั่วประเทศ ฝรั่งเศส และ สเปน ในปี ค.ศ. 1931  ได้อาศัยอยู่ในเมือง ปารีส ชั่วระยะหนึ่ง ขณะนั้น ได้มีโอกาศฟังการบรรยาย สถาปัตยกรรม จาก Le Corbusier การเดินทางของเขา ต่อเนื่องถึงประเทศ มอร็อกโค จนถึงปี ค.ศ. 1951 จากนั้น ย้ายกลับมาพำนัก ที่เมือง เม็กซิโก จนกระทั่งเสียชีวิต เขาเริ่มปฏิบัติ วิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่บ้านเกิดเมือง Guadalajara ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927-1936  การเดินทาง ไปศึกษาในที่ต่างๆ ทำให้เกิดความสนใจ ในสถาปัตยกรรม ท้องถิ่นของ North Africa และ Mediterranean ซึ่งสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมใน ประเทศของของเขา และมีอิทธิพล ทางความคิดในเวลาต่อมา 

ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขานถึง ความมักน้อย สันโดษ แต่เต็มไปด้วยสีสรร และเน้นสีธรรมชาติและผิววัสดุ เน้น แผ่นผืนที่ตรงไปตรงมา ของกำแพงก่ออิฐผิวปูนป้าย การอวดผิวไม้ ใช้น้ำเป็นองค์ประกอบ รวมเป็นผลงานของ สถาปัตยกรรม ที่มีสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างชัดเจน 

Barragan ชอบเรียกตัวเอง เป็นภูมิสถาปนิก จากสิ่งตีพิมพ์ของ St. Martins Press เขาอ้างไว้ว่า สถาปนิกควรสนใจ การออกแบบสวน ให้มีความสำคัญ และมีคุณประโยชน์ มากเท่า การออกแบบบ้านที่สร้าง โดยพัฒนาความงาม และรสนิยม เข้าด้วยกัน เป็นดั่งงานประนีตศิลป์ที่ทรงคุณค่า นอกเหนือไปจากนั้น เขายังกล่าวว่า งานสถาปัตยกรรม ที่ไม่สะท้อน ความสงบ (serenity) ถือเป็นงานออกแบบที่ล้มเหลว 

Barragan ถือเป็นนักบวชผู้หนึ่ง ผลงานของเขาถูกพรรณาว่ามี ความลึกลับ และ ความสงบ ผลงานออกแบบโบถส์  Capuchinas Sacramentarias สะท้อนคุณสมบัติทั้งสองนี้ เพราะเขาสนใจ ม้า เขาออกแบบคอกม้า น้ำพุ และบ่อน้ำ กลมกลืน รวมกันสะท้อน คุณภาพเป็นเช่นเดียวกันหมด 

Barragan ยังเป็นสถาปนิกที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกแม็กซิกัน และสถาปนิกทั่วโลกรุ่นหลัง อย่างน้อยสามชั่วอายุคน 

ในโอกาศที่เขารับรางวัล the Pritzker Architecture Prize เขาได้กล่าวไว้ว่า "มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจ ศิลป์ และความรุ่งเรืองของ ประวัติศาสตร์ โดยปราศจาก การรับรู้ถึงจิตวิญญาน อันเป็นแก่นสาร แห่งศาสนา ซึ่งเป็น สิ่งนำเราไปสู่ ความเข้าใจทั้งมวลของปรากฏการณ์ แห่งศิลป์ที่เกิดขึ้น ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดในสามสิ่งนี้แล้ว จะไม่มี ปิระมิดของอียิปต์ และจะไม่มีโบราณสถานอันเก่าแก่ (Ziggurett) ของแม็กซิโก แล้วสถาปัตยกรรมของ กรีก และโกธิค จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?" 

นอกจากนี้เขายัง ตั้งขอสังเกตุว่า สื่อและสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม มักละเลยคุณค่า ของคำต่อไปนี้ คือ "Beauty (ความงาม), Inspiration (ความบรรดาลใจ), Magic (ความวิเศษ), Spellbound (มนตร์คาถา), Enchantment (ความมีเสน่ห์) หรือแม้แต่คำ Serenity (ความสงบ), Silence (ความเหงียบ), Intimacy (ความคุ้นเคย) and Amazement (ความฉงนสนเท่ห์)" แม้เขายอมรับว่า การกระทำของเขาก็ ยังไม่บรรลุผลนัก แต่เขาก็ไม่เคยละเลย ที่จะตระหนัก ถึงสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ ตอนท้ายของปฐกถาในโอกาสพิเศษนี้ เขาได้ระบุถึง ศิลปของการมอง เป็นเรื่องสำคัญที่ สถาปนิก ควรรู้ว่า การมองนั้น ควรมองให้ไกลเกิน จากการรับรู้ที่เกิดจาก การวิเคราะห์ในแง่ของเหตุผล อยู่เสมอ 

คุณค่าของงานสถาปัตยกรรมของ Luis Barragan 
(ส่วนหนึ่งจากปาฐกถาตอบรับการรับรางวัล the Pritzker Architecture Prize 1980) 

Beauty. เป็นคำยาก ที่นักปรัชชญา จะระบุความหมายได้ชัดเจน และยังอาจพูดได้ว่า เป็นสิ่งเร้นลับที่เกิดขึ้น Beauty จึงถีอเป็นสิ่งที่สวรรค์บรรดาลให้ อาจเกิดได้กับ รอยสัก กำไลเปลือกหอย ที่สาวๆชื่นชอบ หรือ แม้แต่เครื่องใช้ ในครัวเรือน  ทั้งนี้รวมถึง สิ่งก่อสร้าง เช่น โบถส์ วิหาร และ พระราชวัง หรือสิ่งประดิษฐ์ทางอุตสาหกรรม สมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชีวิตมนุษย์จะไร้คุณค่าหากปราศจากสิ่งนี้ 
Silence. ในสวน และบ้าน ที่ข้าพเจ้าออกแบบ ข้าพเจ้าจะพยายามย่างยิ่งยวด เพื่อให้เกิดบรรยากาศ ของความเหงียบ และจะออกแบบให้ น้ำพุเป็นเสมือนสิ่งร้องหาความเหงียบสงบนั้น 

Solitude. ในความสันโดษ  การอยู่ลำพังของ มนุษย์ จะทำให้ค้นพบตัวเองได้ดี ความสันโดษเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ และเกี่ยวข้องเสมอ กับงานสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า ไม่ควรเป็นสิ่งที่ ใครจะหวาดกลัว หรือหลีกหนีมัน 

Serenity. คือความแจ่มใสของท้องฟ้า ความราบรื่นของทะเล ความเย็นอารมณ์ และความสงบของจิตใจ Serenity เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่จะขจัดความกลัวในปัจจุบัน  เป็นหน้าที่ของสถาปนิกโดยตรง ที่จะต้องสร้างสิ่งนี้ให้ถาวร ให้เกิดขึ้นได้ใน บ้าน หรืออาคารที่เขาออกแบบ  ทั้งอย่างโจ่งแจ้ง หรืออย่างแอบแฝงก็ตาม ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่ง ที่พยายามต่อสู้ให้เกิดสิ่งนี้อยู่เสมอ และเราต้องคอยดูแล รักษามันไว้ ไม่ให้ถูกทำลายไป แม้จะโดยการ รู้เท่าไม่ถึงการณ ์ ก็ตามที 

Joy. ใครเลยจะละเลยความปิติร่าเริงนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า งานศิลปะที่สมบูรณ์ ต้องประกอบด้วยคุณค่าของ ความสงัด ความปิติ และความสงบ 

Death. ที่สุดของชีวิต คือความตาย การสิ้นสุดที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยคุณค่าของงานศิลปะ อันเป็นส่วนหนึ่ง ของศาสนาเท่านั้น ที่จะมีชัยชนะเหนือความตายได้ 

Gardens. ในการออกแบบสวน สถาปนิกจะต้องสร้างสรรให้เป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรแห่งธรรมชาติให้ได้ สวนที่สวยงาม จะต้องแสดงอำนาจของธรรมชาติ เพราะธรรมชาติจะเป็นสิ่ง ที่ลดความก้าวร้าวของมนุษย์ ในชีวิตปัจจุบันได้ดีที่สุด 

Fountains. น้ำพุเป็นสิ่งที่นำเราไปสู่ความสันติ ความปิติร่าเริง และความสุนทรีย์ ให้เกิดจินตนาการ เชื่อมความฝันและความเป็นจริงของโลกใบนี้ได้ 

Architecture. งานสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า คือชีวประวัติของตัวข้าพเจ้าเอง สะท้อนเรื่องราวในอดีตที่อยู่ ในความทรงจำถึงบ้านไร่ของบิดา ที่ข้าพเจ้าเติบโตมาจากวัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น ในงานออกแบบ ข้าพเจ้าพยายาม ถ่ายทอด คุณค่าเหล่านั้น ให้เกิดความเหมาะสม กับชีวิตสมัยใหม่ในปัจจุบัน โดยมีกลิ่นไอของอดีตข้าพเจ้าที่ผ่านมา บทเรียนที่ประสบมาจากสถาปัตยกรรม ในชนบท บ้านนอก ของประเทศข้าพเจ้า ที่สร้างแรงบรรดาลใจถาวร กับข้าพเจ้า เช่น ความประทับใจที่เกิดจาก กำแพงป้ายปูนสีขาว ความสงบสันติ ที่เกิดขึ้นที่ ระเบียงมีหลังคา ท่ามกลางสวนผลไม้ ถนนที่มีสีสรรสวยงาม อันเกิดจากบ้านเรือนสองข้าง ที่สร้างร่มเงาให้กับถนน และความ ประทับใจ ลึกลงไปถึงการเรียนรู้ ที่ได้รับจากการเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ ของแม๊กซิโก กับหมู่บ้านใน อัฟริกาเหนือ และโมร๊อกโค ทั้งสองแหล่งนี้ ช่วยเสริมคุณค่าการรับรู้ และเข้าใจ ในความงาม และความเรียบง่าย ใน งานสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า 

The Art of Seeing. เป็นสิ่งที่สำคัญ ทีสถาปนิกต้องรู้จักการดูที่ถูกต้อง หมายถึงการดู ที่เกินเลย ไปจากเหตุผล ของการรับรู้ในสิ่งที่ดู ซึ่งข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งนี้ จากการแนะนำของเพื่อนจิตกรชาวแม็กซิกัน ชื่อ Jesus (Chucho) Reyes Ferreira  และกวีอีกผู้หนึ่งคือ Carlos Pellicer ที่พรรณาเกี่ยวกับการเห็น ดังนี้ คือ Through sight the good and the bad ...we do perceive  (but) Unseeing eyes .....Souls deprived of hope. 

Nostalgia. การคิดถึงบ้าน เป็นความทรงจำของบุคคลในอดีตแห่งตน ศิลปินมักใช้อดีตของตน เป็นแรงบรรดาลใจ ในการสร้าสรรงาน สถาปนิกก็ควรฟัง และนำความระลึกถึงอดีตของตัวเอง หวลกลับมาปรุงแต่ง ใช้ใหม่ให้เหมาะสม  


  http://www.mexconnect.com/mex_/feature/barragan1.html THE HOUSES OF LUIS BARRAGAN From the book "CASA MEXICANA" (C)1989 Tim Street-Porter, published by Stewart, Tabori & Chang, New York.  Casa Gilardi by Luis Barragan:Photograph by Tim Street-Porter -..ที่ตั้งบันไดในลักษณะปติมากรรมมีช่องแสงธรรมชาติด้านบน Casa Galvez by Luis Barragan:Photograph by Tim Street-Porter ...ห้องรับประทานอาหาร ผนังห้องตกแต่งด้วยภาพเขียนของ Pedro Coronel ในปี 1960 โคมไฟ ชั้นวางของติดผนังและโต๊ะอาหารออกแบบโดย Barragan. เก้าอี้เป็นของ Taxco. ผลไม้วางบนภาชนะทำด้วยกระดาษซับแบบธรรมเนียมแม็กซิกัน   San Cristobal by Luis Barragan:Photograph by Tim Street-Porter San Cristobal ถูกออกแบบในลักษณะการตีความใหม่ของอาคารทุ่งนาในอดีต สายน้ำไหลต่อเนื่องเกิดจากท่อส่งน้ำเอียงประกับด้วยกำแพงสูงตระหง่านปิดทั้งสองด้าน   Casa Luna by Luis Barragan:Photograph by Tim Street-Porter ...มุมมองหนึ่งจากสวนที่..Casa Luna เห็นบ่อน้ำเล็กจตุรัส มีน้ำพุตั้งตรงกลาง น้ำไหลเป็นสายทางลงไปสู่อีกบ่อระดับล่างของสวน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสวน the Alhambra Gardens ในประเทศ Spain, บริเวณดังกล่าวคลุมด้วยหลังคาโค้ง มองผ่านเลยต่อไปที่ตัวบ้านด้านหลัง  Casa Galvez by Luis Barragan:Photograph by Tim Street-Porter ..ที่นั่งในห้องมองออกไปภายนอกเห็นบ่อน้ำ น้ำพุ กำแพงทาสีรอบบ่อน้ำ ออกแบบให้กลายเป็นกำแพงด้านที่สี่ของห้อง สร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่างภายนอกกับที่ว่างภายในเข้าด้วยกัน    

Luis Barragan (1902-1988)
ชีวประวัติ 

Louis Barragan เกิดที่เมืองGuadalajara, Mexico in 1902. หลังจากได้รับปริญญาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในปี 1924, เขาได้เดินทางตะเวณทั่ว Europe. แนวคิดในการออกแบบได้รับอิทธิพลจาก Moorish architecture ทางตอนใต้ของ Spain, สถาปัตยกรรมที่ยู่อาศัยในแถบ Mediterranean, สวนต่างๆของ Ferdinand Bac, ข้อเขียนทางทฤษฎีของ Frederick Kiesler, และ Le Corbusier. 

Barragan ออกแบบระยะเริ่มแรกในแนว International Style. However, ในปี 1945 ความคิดเกิดจากประสบการณ์การเดินทางทั่ว Europe และโดยความเข้าใจและรู้สึกด้วยตนเองของ Mexican "regionalism" ประกอบเป็นแนวทางเฉพาะตนขึ้น เพิ่มเติมจากความประทับใจของศิลปะท้องถิ่น Barragan ค้นคว้าการออกแบบสถาปัตยกรรม ที่คงไว้คุณค่าเดิมๆของสถาปัตยกรรมในอดีต (vennacular) ที่เน้นความงาม ของอาคารที่สัมพันธ์ กับธรรมชาติ Barragan มุ่งสร้าง serenity และ beauty จากความประทับใจในวัยเด็ก ที่แวดล้อมด้วย ภูมิสถาปัตยกรรมที่งดงามของบ้านเกิดใน Mexico 

ความไม่เหมือนสถาปนิกในรุ่นเดียวกัน คือ เขานำทฤษฎีความคิดของ ศิลปิน และภูมิสถาปนิก Ferdinand Bac ผู้ซึ่งเน้นสวน ประดุจดั่งสภาพแวดล้อมที่วิเศษ กำแพงหนา ช่องเปิดเล็ก สีที่สดใส เน้นผิว และสีธรรมชาติของวัสดุ เป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม งานในระยะหลัง เพิ่มความสำคัญของแสงธรรมชาติ และน้ำเข้าด้วยกัน 

Barragan เสียชีวิตที่ Mexico City ในปี 1988. 

เอกสารอ้างอิง: 

Dennis Sharp. The Illustrated Encyclopedia of Architects and Architecture. New York: Quatro Publishing, 1991. ISBN 0-8230-2539-X. NA40.I45. p17-18. 

Adolf K Placzek. Macmillan Encyclopedia of Architects. Vol. 1. London: The Free Press, 1982. ISBN 0-02-925000-5. NA40.M25. p142-143. 


http://www.toto.co.jp/GALLERMA/hist/en/exhibi/barrag.htm
The Exhibition of Luis Barragan
'92 Oct.16-Nov.14


บางทีสิ่งที่โดดเด่นของ Barragan's architecture เกิดจากความสามารถในการผสมผสานสิ่งต่างๆเป็นหนึ่งเดียว คือ การใช้น้ำ แสงธรรมชาติ และเงา สีที่ฉูดฉาด และกำแพงที่ทรงพลัง สถาปัตยกรรมเขาโดดเด่น ไม่เพียงแต่สดุดตา หากยังเป็นความมีคุณภาพตามธรรมชาติอีกด้วย Barragan สร้างสถาปัตยกรรมที่แสดงออกถึงอารมณ์ งานนิทรรศการของเขา เป็นภาพถ่ายโดย Yutaka Saito ผู้ประสบความสำเร็จในการจับเนื้อหาความคิดของ  Barragan ในสายตาสถาปนิกของเขา
 exhibition scene
Photo by Mitsumasa Fujitsuka

More of His Works