From....http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html

Essay 1 แปลและเรียบเรียงจาก

The Gift of Light

by Quoc Doan

เด็กน้อยช่างสงสัยวัยสามขวบ เป็นบุตรช่างทำกระจกสี ชาวยิว จ้องมองเปลวไฟ สีเขียวที่กำลังลุกไหม้ จากก้อนถ่านหิน มีความประหลาดใจ กับแสงที่ปรากฏ แทนที่มันจะเป็นเปลวสี แดง หรือสีน้ำเงินเช่นปกติ ขณะที่เขาค่อยๆ จ้อง ดูเข้าใกล้ เปลวไฟนั้น เผอิญเป็นเหตุให้ก้อนถ่าน หล่นตกลงบนฟูก ที่เขากำลังนั่งอยู่ เปลวไฟได้ลุกไหม้ขึ้น จนเกือบทำให้ไฟ ไหม้ท่วมตัวเด็นน้อยคนนั้น กระนั้นก็ตาม เปลวเพลิง ได้ไหม้ใบหน้า และ มือข้างหนึ่ง ของเขา จนกลายเป็น รอยไหม้ปรากฏ อย่างถาวรในเวลาต่อมา มารดา ซึ่งเป็นหญิงที่มีการศึกษาอย่างดี ทางศิลปะ และประเพณี เชื่อมั่นว่านี่เป็นลางบอกเหตุแห่งอนาคต ของเด็กน้อยผู้นี้

ต่อมาเมื่อเขาเติบโตขึ้น ก็ได้กลายเป็นสถาปนิก ชั้นแนวหน้า ผู้หนึ่ง ของศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยการออกแบบ เน้น รูปทรงเรขาคณิต ของสถา ปัตยกรรม ที่สะท้อนความ สัมพันธ์อันดี ระหว่างที่ว่าง และ ประโยชน์ ใช้สอย คุณค่าการออกแบบที่เด่นชัด จะเกี่ยวข้องกับ ความเป็น มนุษย์ที่ผูกพัน กับ แสงธรรมชาติ Louis Isadora Kahn ถูกจัดเป็นสถาปนิกสำคัญ ที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อ ระหว่าง สถาปัตยกรรม สมัยใหม่ และ หลังสมัยใหม่นิยม ในเวลาต่อมา ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขาน และสร้าง แรงบรรดาลใจ ในการ เรียนรู้ของสถาปนิก รุ่นหลัง ตลอดมา ถือว่าเป็นผู้ที่ได้สัมผัส “the gift of light.” อย่างแท้จริง ดัง ความเชื่อของมารดา

Louis Kahn เติบโตในเมือง Philadelphia สหรัฐอเมริกา เผชิญอุปสรรคต่างๆมากมาย กว่าจะได้บรรลุ ถึงความเป็นอัฉริยะ ในทางศิลปะ และสถาปัตยกรรม ยัง ต้องคอยระวัง ในเรื่องบุคคลิก และการโดน ล้อเลียนจาก รอยแผลเป็นในวัยเด็ก ครูเป็นผู้สร้างความเชื่อมั่นให้เขา ในความมีทักษะในการเขียนแบบ เขียนภาพ และยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่น ให้กับตนเองเมื่อชนะการประกวดภาพวาด แห่งเมือง Philadelphia ระหว่างปีการศึกษาสุดท้าย ของการศึกษาระดับมัธยม เขาได้เลือกเรียนวิชา ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม อันเป็นเหตุทำให้เขาตัดสินใจ เลิกล้มแผนการ ที่จะศึกษาต่อด้าน จิตรกรรมในมหาวิทยาลัย ทั้งที่ก่อนหน้านั้น เขาได้รับการเสนอ ให้ทุนการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศิลปะ ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เขาเปลี่ยนไปเข้าศึกษา วิชา สถาปัตยกรรมต่อมา แต่ก็ไม่ละเลยความสนใจต่อจิตรกรรม ซึ่งเขายังคงชื่นชอบอยู่เสมอ มา ที่ University of Pennsylvania Louis Kahn ศึกษาสถาปัตยกรรม ในแนว Beaux-arts อันเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการพัฒนาการ ความคิด ในการออกแบบของเขา ต่อๆมาในภายหลัง หลังจากจบปริญญา ทางสถา ปัตยกรรม เขาได้มีโอกาศดูงานสถาปัตยกรรม ทั่วยุโรป แทนที่จะ สนใจ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เขากลับสนใจ สถาปัตยกรรม ในอดีต เช่นพวกอาคารในเมืองเก่า Carcassonne ของฝรั่งเศส จาก ประสบ การณ์ ในครั้งนั้น เขายังหวลรำลึกถึงอยู่เสมอว่า

“It was a great architectural event, centuries ago, when the walls parted and the columns became. The column is the greatest event in architecture, the play of shadow and light , of infinite mystery, The wall is open. The column becomes the giver of light.”

อัน เป็นสิ่งเตือนใจ ถึงอำนาจของ "the gift of light" แสงธรรมชาติ เป็นข้อคำนึงที่สำคัญ ของการออกแบบโครงสร้างอาคาร ไม่ใช่การเปิด หน้าต่างที่กว้างขวาง หากแต่การให้แสง สอดแทรก เข้าสู่ภายในอาคาร เพื่อการแยกแยะ ที่ว่าง และ รูปทรงทางเรขาคณิต ของอาคาร การ แยกประเภท ของที่ว่างอย่างชัดเจน ระหว่างพื้นที่ "serve or master" และพื้นที่ "servant" ซึ่ง เป็นแนวคิดหลัก ของการออกแบบ Richardson Medical Laboratory (1957-1965) ที่มหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย การเสนอบรรยากาศ ของห้องปฏิบัติการของ นักวิทยาศาสตร์ เป็นเช่นเดียว กับห้องเขียนภาพ ของจิตรกร ควรเป็นที่ว่าง ที่มีชีวิตชีวา และสุขสบาย สำหรับการ ทำงาน ห้องที่อบอุ่นด้วยแสงธรรมชาติ จึงเป็นความ ต้องการที่จำเป็น ตามคำอ้างที่ว่า

“No space you can devise can satisfy these requirements. I thought what they should have was a corner for thought, in a word, a studio instead of slices of space.”

เขาจัดเรียงกลุ่มห้องปฏิบัติการ สามกลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วย ปล่องเป็นที่รวมพื้นที่ของ "servant" ไว้ด้วยกัน ประจำแต่ละกลุ่ม ของห้องปฏิบัติ การ โครงสร้างอาคาร ที่ออกแบบสนับสนุน เป็นระบบสำเร็จรูป คอนกรีตเสริมเหล็ก ทำส่วนยื่นไว้ตรงมุม เป็นการพัฒนาสุนทรีย์ ของโครง สร้างที่ก้าวหน้าในยุคนั้น คุณค่าอย่างเดียวกัน ในการจรรโลงความเป็นมนุษย์ ด้วยแสงธรรมชาตินี้ ถูกนำมาพัฒนาต่อไป ในงาน ออกแบบ Salk Institute (1959-1965) ที่ La Jolla เป็นลักษณะของ การออกแบบชุมชน แยกออก เป็นส่วนๆ ส่วนค้นคว้า เป็นอาคารกล่องสี่เหลี่ยม ผืนผ้า สองหลัง วางคู่ขนาน มีลานสะท้อนแสงตรงกลาง ไกลออกไป ตรงเนินด้านล่าง เป็นส่วนพักอาศัย ทุกอาคารหันรับแสงธรรมชาติ โดยตรง จากด้านมหาสมุทรแปซิฟิค Louis Kahn เน้นแสงธรรมชาติ ปรากฏผ่านรูปทรงสถาปัตยกรรม ทางเรขาคณิต อย่างชัดเจน งานออก แบบ ในระยะเริ่มแรก Yale Art Gallery ที่เมือง New Haven ในรัฐ Connecticut เขาให้แสง กระจายเข้าสู่ ภายในอาคารในระดับต่ำ ทำให้ เพดาน ซึ่งเป็นโครงประสาน ของรูปปิระมิดสามเหลี่ยม สะท้อนให้ ปรากฏชัดเจน เพดานลักษณะนี้ ยังเป็นที่เก็บซ่อนท่อ และกระจายแสง ประดิษฐ์ได้ดีอีกด้วย ดังที่เขา กล่าวไว้ว่า

“better distribution of the general illumination without any diminishment of the opportunities for specific illumination.”

ยังเป็นการเน้นความ มีอำนาจทางโครงสร้าง ของอาคารอีกด้วย การใช้รูปทรงหลักทางเรขาคณิต ยังคงเน้นใช้ ต่อเนื่องไป ถึงโครงการออกแบบ อาคารรัฐบาลที่ Dacca ในประเทศ Bangladesh (1962-1974) เป็นการใช้อิฐเป็นวัสดุ หลักของโครงสร้าง เสริมงานคอนกรีต ตรงส่วนเจาะ เป็นช่องเปิด ขนาดใหญ่ การจัดวางเป็นชั้น ซ้อนกันหลายชั้น (layers) เพื่อคุณค่า ของแสงธรรมชาติ สอด แทรก กระจาย เข้าสู่ที่ว่าง สำคัญๆ ภายในอาคาร สะท้อนการพัฒนาต่อเนื่อง จากอาคารโบราณในอดีต ที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับ งานออก แบบ อาคารห้องสมุด ที่ Philip Exeter Academy เน้นคุณค่า ของแสง ธรรมชาติเหมือนกัน กล่าวโดยสรุป ให้ความสำคัญของการออกแบบ ในแนวคลาสสิค เน้นความพิศวง ของแสงธรรมชาติ ที่ปรากฏภายใน และภายนอกอาคาร ที่กำหนดจากรูปทรงทางเรขาคณิต ที่เคร่งครัด เป็นการปลุกชีวิต แห่งความรุ่งโรจน์ ของสถาปัตยกรรม ในแนว Beaux arts เปลี่ยนจากความกลัว "the gift of light" ในอดีตแต่เยาว์วัย มาเป็นความกล้า ในการใช้สร้าง สิ่งที่ มีคุณค่ากับงานสถาปัตยกรรม ที่ต้องกล่าวจนถึงปัจจุบัน

Essay 2 แปลและเรียบเรียงจาก

That What You Desire and That What Is Available

by Marchelle Rice

(กรณีศึกษา..The Salk Institue. La Jolla, California, USA.)

Louis Kahn เป็นสถาปนิกชาวยิว อพยพมาจาก Estonia ในรัสเซีย เป็นผู้สร้างสถาปัตยกรรม ให้โดดเด่น ใน ลักษณะของความ มีแง่มุม กำแพง และ ที่ว่างสร้างความเป็น ธรรมชาติของอาคารที่มี รูปทรงที่เคร่งครัด เขาเกิดในปี 1901 ที่รัสเซีย และย้ายมาพำนักใน สหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกัน เคยชนะการประกวดวาดภาพ และเขียนรูป ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยม ศึกษาและได้รับปริญญาตรี ทางสถาปัตย กรรม ในปี 1925 จากมหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย ได้รับการสอนในแนว Beaux Arts จากศาสตราจารย์ Paul P. Cret แล้ว ก็ได้ทำงาน ในสำนักงาน ของ อาจารย์ท่านนี้ ในระหว่างปี 1929-1930 อิทธิพลทางความคิด บางส่วน ได้รับ แรงบรรดาลใจจากเพื่อน Buckminster Fuller และ Frederick Kiesler ในงานออกแบบช่วงปี 1930s และ 1940s. เป็นเวลานานร่วม สามสิบปี ก่อนรับงานออกแบบ The Salk Institute เขาได้ออกแบบ อาคารอื่น ไว้มากมาย รวมทั้งพวก homes, synagogues, dormitories and medical facilities จากประสบการณ์ ของการออกแบบที่ผ่านมา เป็นผลของการพัฒนา ไปสู่งานออกแบบ The Salk Institute. La Jolla, California. ต่อมา เขาเคยกล่าวไว้ว่า

"Inspiration is to express our inclination."

Kahn เชื่อว่าผลลัพท์ของการออกแบบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ plan แต่ขึ้นอยู่กับหลักการออกแบบอื่นอีกมากมาย เช่น form, content, and context ดังนั้น ความประสงค์ทั้งหมด ในการออกแบบ The Salk Institute แสดงออกโดยส่วนต่างๆเหล่านั้น นักวิทยา ศาสตร์ที่ทำงานค้นหาคำตอบ จากปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ได้มุ่ง แสวงหาเพื่อชื่อเสียง ในการรักษาโรคเหล่านั้น ให้หายโดยตรง แต่มุ่งมั่นเพื่อบรรลุ ความปารถณา แห่ง ตนเอง ที่ยิ่งใหญ่เหนือขึ้นไปอีก ฉันใด ฉันนั้น สำหรับสถาปนิกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทั้ง Kahn และ Salk เห็นตรงกันว่า นอกเหนือจากการ ออกแบบ เพื่อการใช้งานแล้ว อาคาร จะต้องให้คุณค่าของแรงบรรดาลใจแก่ผู้อยู่ และผู้มาเยี่ยมเยียนด้วย เขาจึง ไม่สามารถออกแบบ อาคารอย่าง ธรรมดา บนสถานที่นี้ได้ หากต้องสร้างสิ่งเร้าใจ เพื่อผสมผสาน ความ ปารถณาแห่งตน กับความบรรดาลใจ ของ วิทยาการ สมัยใหม่ในปัจจุบันด้วย

The Salk Institute จึงถูก สร้างสรรค์ ให้เป็นศูนย์กลาง ที่อุทิศเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ คุณค่า และสุขภาพทั้ง มวล เพราะถ้า นักวิทยา ศาสตร์ ปารถณาเพียงเพื่อหาคำตอบของ การขจัดเชื้อโรค อันเป็นต้นเหตุของ โรคภัยไข้เจ็บ ของสุขภาพเพียงอย่าง เดียวแล้ว ขบวนการนั้น ก็ไม่พอเพียง กับการให้การช่วยเหลือ อย่างที่สุด และเด็ดขาดได้ เหมือนคำกล่าวของ Kahn ที่ว่า "That which you desire and that which is available" ในความหมายสองนัยคือ ความสงบ (Silence) และ ความสว่าง ( Light) รูปทรงของอาคารนี้ ประ กอบขึ้นมาจากส่วนต่างๆ ที่แสดงออกมาในรูป ของ สี เส้น รูปทรง แสง และ ความสมดุลป์ของสถานที่ก่อสร้าง ผลลัพท์การออกแบบเขา คือการสร้างภาพ ของ ความเหงียบ ความสันโดษ แทนดั่งชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้ความเหงียบ สร้างปัญญาไปสู่การค้นพบความรู้ Kahn พยายามสร้าง สภาพแวดล้อมของการทำงาน ให้เกิดผลทางความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด แสง น้ำ และ อากาศ จึงเป็นประโยชน์อย่าง เหลือเฟือในการแสวงหา ความคิดที่จำเป็น ในการค้นหา คำตอบได้ โดยการวางตำแหน่งอาคารในจุดเนินสูงที่หันหน้า สู่มหา สมุทร ซึ่ง เป็นบ่อเกิด ทางชีววิทยา ของสิ่ง มีชีวิตทั้งหลาย ดังแสงสว่างในความมืด (ในมหาสมุทร) ทำให้เกิดอนาคต (เกิดสิ่งที่มีชีวิต)

ความคิดนี้ ดูออกจะซับซ้อนในความเข้าใจ ในกรณีของสถานที่ตั้ง แต่ความเรียบง่าย ในการจัดองค์ประกอบ ทาง สถาปัตยกรรม พอจะ เข้าใจได้จาก ภาพที่มองเห็น จากกลุ่มอาคารที่กระจายในสถานที่ เรียงตาม แนวของชายฝั่ง บริเวณที่ลานโล่ง ระหว่างตึกปฏิบัติการ Luis Barragan ภูมิสถาปนิก ชาวแม๊กซิกัน กำหนดให้ เป็นลานคอนกรีตแข็ง ที่ปราศจากต้นไม้ ยกเว้นช่องแบ่งลาน เป็นทางน้ำไหล ลักษณะ โดยทั่วไป เสมือน เป็นกระจก หรือ ผืนผ้าใบ เขียนภาพ ของจิตรกร สะท้อนภาพของท้องฟ้าที่ชัดแจ้ง อาคารสร้าง ความ รู้สึกดูมั่นคง ต่อ การต้านพายุ ที่อาจผ่านเยือนสถานที่ตั้งได้ ในบางโอกาศ วัสดุสำหรับอาคารจึง ต้องทนทาน ต่อสภาพ ของดินฟ้าอากาศ ในบริเวณนั้น เช่น ลมพายุ ลมที่มีสารของเกลือเจือปน อากาศ ที่ร้อนอบอ้าว ในบางฤดู ของรัฐแคลิปฟอเนีย วัสดุเช่น ไม้สักเคลือบผิว คอนกรีต สำหรับภาย นอก และ สเตนเลส สตีล คนกรีต ไม้สัก สำหรับภายใน ผิวคอนกรีต ที่สีค่อนไปทางแดง ใช้กับภายนอก ทำให้ลักษณะอาคารทั่วไป ดู คล้ายอาคารโบราณใน สมัย โรมัน (Pozzolana architecture) ที่เขาชื่นชอบ การกำหนดวัสดุ ไม่มากชนิด ทำให้อาคารที่ปรากฏดูเรียบง่าย แต่ความคิดในรายละเอียดบางส่วน เช่นผนังคอนกรีตสำเร็จ ทำให้แนว รอยต่อ และผืนผนัง ทั้งหมด ดูน่าสนใจ การแสดงออก ทางความ เรียบง่ายของอาคาร ดูเหมือนเป็นการช่วย ลดความยุ่งเหยิง ในจิตใจของ นักวิทยาศาสตร์ที่ มีความจำเป็น ต้องหมกมุ่นอยู่กับปัญหา ที่ซับ ซ้อนเป็น ประจำ อยู่แล้ว แนวแกนหลักการวางอาคาร อยู่ในแนว ตะวันออก และตะวันตก ในแนวแกนหลักของที่ตั้งนี้ เป็นที่ตั้ง อาคารพัก อาศัย ลานเปิดโล่ง และอาคารปฏิบัติการ สองหลัง Kahn และ Salk เห็นตรงกันว่า มหาสมุทร และท้องฟ้า เป็นสิ่งที่ได้มาเพื่อ ตอบสนอง ให้เกิดแรงบรรดาลใจ กับนักวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลา ของการพักผ่อน ได้อย่างดี เป็นตัวเชื่อมนักวิทยาศาสตร์ เข้าไว้กับ ธรรมชาติ ความ ร่วมมือกันอย่างดี ระหว่าง สถาปนิก กับเจ้าของอาคารเช่นนี้ นับเป็นเรื่องที่หาได้ยาก คุณค่าต่างๆ จึงบังเกิดขึ้น เช่น การเชื่อม บรรยากาศ ของโลกศิลปะ และวิทยาศาสตร์เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน

ในสถานที่นี้ อาคารหลัก ของโครงการนี้ คือตึกปฏิบัติการ สองหลัง และอาคารพักอาศัย อาคารปฏิบัติการมีความยาว ๒๔๕ ฟุต เพดานสูง ๑๑ ฟุต มีช่วงพาดยาว ๖๕ ฟุต ใช้ระบบคานชนิด vierendeel truss โครงสร้างอาคารทั้งหมด ออกแบบป้องกัน แผ่นดินไหว ตามเทศบัญญัติ อาคาร ของรัฐแคลิปฟอเนีย ผนังภายในสามารถ เปลี่ยน เคลื่อนย้ายได้ เพื่อความเหมาะสมกับ การติดตั้ง หรือ เพิ่มเติมเครื่องมือต่างๆ เหนือเพดานเป็นพื้นที่สำหรับท่อ และ อุปกรณ์อื่น มีความสูง ๙ ฟุต สามารถเข้าไปตรวจซ่อมความเสียหายได้สะดวก อาคารปฏิบัติการ และสถานที่พักอาศัย Kahn จัดเป็นความคิดของพื้นที่ "serve" และส่วนบริการ เช่น ห้องเครื่องระบบน้ำ ห้องแก๊ส ห้องทำ ความร้อน ห้อง เครื่องปรับ และระบายอากาศ จัดเป็นส่วนพื้นที่ "servant" ของอาคาร Kahn คิดว่า ถ้าไม่แยกส่วนของอาคารดังกล่าวนี้ ส่วนบริการบางสิ่ง จะทำความยุ่งเหยิงให้อาคารในภายหลังได้

งานสร้างสรรค์ที่ The Salk Institue นี้เกิดจากบุคคลสองคนที่มีความปารถนาตรงกัน Kahn เป็นศิลปิน ที่มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ ในขณะ ที่ Dr. Salk เป็นนัก วิทยาศาสตร์ ที่มีความคิดเป็นศิลปิน มีความต้องการพื้นฐาน คือ ต้องการสร้าง สถานที่ เพื่อเชิญศิลปิน เช่น Picasso ให้มาเยือนได้ ด้วยความพากภูมิใจ ทั้งสองมุ่งสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรม ที่มีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ และเปี่ยมล้นด้วยแรงบรรดาลใจ ในการแสวงคำตอบ จากความมืด ไปสู่ ความสว่าง ความมืดเป็นที่ทำงานของจิตใจ พัฒนาไปสู่ความสว่าง อันเป็นที่ ทำงานของกายต่อไป จนบรรลุผล เป็นการค้นหาด้วยแรงปารถนา ที่ไกลเกินจากสิ่งจำเป็นที่ต้องการ จากความเหงียบ นำไปสู่ความสว่าง เป็นความปารถณา ที่จะทำให้บังเกิดขึ้น กับงานสร้างสรรค์ที่ The Salk Institue นี้ Kahn ได้เปิดเผยความปารถนาภายใน ของตนเอง ออกมาปรากฏ ในงาน ออกแบบนี้ อย่างสมบูรณ์แล้ว ก่อน ที่เขาจะหมดลมหายใจในปี ๑๙๗๔ ด้วยผลงานของเขา จะเป็นดังคำกล่าวที่ว่า

"What was has always been, what is has always been and what will has always been"

Bibliography

1. Henderson, Brain. A Delicate Balance. Architecture (July 1993): 46-49. 2. Kieffer, Jeffery, Criticism: A Reading of Louis Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism 271 (1993): 3-17. 3. artists,many. Modern Architecture. New York: Times Press, 1989. 4. Steel, James. Architecture in Detail: Salk Institute, Louis I. Kahn. London: Phaidon Press Limited, 1993. 5. Tyng, Alexander. Beginnings: Louis Kahnนs Philosophy of Architecture. New York: John Wiley and Sons, Inc., 1984. 6. Venturi, Robert, Salk Addition:Pro and Con, Architecture ( July 1993): 41-45. Endnotes (by the author in the original text) 1. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6.2. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 10.3. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24 .4. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6. 5. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 45. 6.. Patrick Pacheco, A Sense of Where You Are, Art and Antiques (December 1990), 117. 7. Pacheco, 117. 8. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 9. Steele, 42,43. 10. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 6. 11. Kieffer, 3. 12. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark,Progressive Architecture (October 1993), 44. 13. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 3. 13. Micheal Crosby, The Salk Institute:Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 14. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 15. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 16. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 17. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 18. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 19. Steele, 37. 20. Alexander Tyng, Beginnings (New York : John Wiely and Sons,1984), 140. 21. Ibid., 36 22. Ibid., 4 23. Ibid., 4 24. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 25. William J.Curtis, Modern Architecture (London: Phaidon Press Limited,1996), 613. 26. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 33. 27. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 27. 28. Ibid.,189

see also:

http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html

http://home.earthlink.net/~lkuper/arkitect/Kahn.html

http://www.skewarch.com/archi-lab/