แปลและเรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/branding.html |
สถาปัตยกรรมแห่งตราประทับหรือยี่ห้อ
พิจารณาการออกแบบเพื่อการตลาด โดย Anthony Catsimatides วันเผยแพร่: December 9, 2000 ในตลาดการค้าทุกวันนี้ ตราประทับหรือยี่ห้อไม่ว่าของปัจเจกชนหรือบรรษัท เป็นเรื่องสำคัญซึ่งผู้ออกแบบมักนำมาเป็นประเด็นแรกๆของความคิดในการออกแบบ สำนักงานใหญ่ของบรรษัทใหญ่ๆทั้งหลาย สร้างขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของบรรษัทตนเองอย่างมีอิสระเสรีและเป็นปกติ แบบสมัยสากล-The International style ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามสร้างให้เกิดในสถาปัตยกรรมยุคทันสมัย เป็นการลบล้างความเป็นส่วนตัวและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะของตนออกไปจากสถาปัตยกรรม โดยการแทนที่ตราประทับเดียวหรือเอกลัษณ์เดียวให้เป็นเยี่ยงมาตรฐานสากลสำหรับทั้งหมด ตราประทับ ถือเป็นส่วนแท้จริงหนึ่งของเอกลัษณ์ทางวัฒนธรรมและการตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลที่มีมาประดังอย่างมากมาย แต่ละบรรษัทต่อสู้เพื่อสอดแทรกความมีตัวตนที่เด่นชัดของเขาไว้ในตลาดการค้า การจดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าถือเป็นการยืนยันในความสำเร็จอันนี้ ถ้าไม่มีเครื่องมือสำหรับเรื่องดังกล่าวนี้ บริษัทที่รุ่งเรืองทั้งหลายจะไม่มีพลังเพียงพอที่จะสร้างปรากฏการณ์ที่เป็นจริงทางพฤตินัยได้เลย และสิ่งนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันสำหรับปัจเจกชนด้วย ปราศจากความมีตัวตน (หรือมีชื่อเฉพาะ) ศิลปิน นักปรัชญา กวี นักวิทยาศาสตร์ และนักคิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ก็จะไม่มีใครรู้จักหรือรำลึกถึงได้ การออกแบบตราประทับของ Paul Rand ตั้งแต่ช่วงกลางของศตวรรษที่ ๒๐ ให้กับบริษัทต่างๆ เช่น IBM, UPS และABC เป็นแบบอย่างของการประทับตราเป็นเอกลักษณ์ของบริษัทเหล่านี้ไว้ในตลาดการค้าที่สำคัญ การระลึกถึงตราประทับ จนกลายเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีประจำเป็นปกติธรรมดาในครอบครัว โดยเราหวังความสำเร็จและมั่นคงของบริษัทไปในความสัมพันธ์กันกับตราประทับของเขาเป็นพิเศษ แม้การสร้างตราประทับให้เป็นเอกลัษณ์ในงานสถาปัตยกรรม ชี้วัดความสำเร็จไม่ได้เสมอไป แต่ทว่าตราประทับก็เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบที่มากกว่าผลของการสัมพันธ์กับบริษัทหรือเอกลักษณ์ ไม่มีบรรษัทใหญ่ไหนที่จะประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากการกำหนดคุณค่าทางสาธารณะอันแรกให้คงไว้ได้ก่อน สถาปัตยกรรมมีบทบาทไม่น้อยเลยสำหรับเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกๆนักบริหารระดับสูงมักคำนึงถึงเรื่องตราประทับพอๆกับเรื่องเศรษฐกิจสำหรับอาคาร และมุ่งค้นหาภาพลักษณ์อันหนึ่งอันใดที่จะคงอยู่ร่วมเป็นสิ่งเดียวกันกับบริษัทของพวกเขา มีบ่อยครั้งที่ตราประทับปรากฏให้เห็นเป็นเสมือนแบบสมัยที่เลอเลิศสำหรับสถาปนิก ทำให้นึกถึงงานออกแบบของ Frank O. Gehry หรือ Frank Lloyd Wright ทั้งคู่พัฒนาแบบสมัยที่โดเด่นของตน อันถือเป็นคุณลักษณะเฉพาะตนในงานของพวกเขา เหมือนภาพวาดหนึ่งของ Michaelangelo หรือ Leonardo da Vinci เราระลึกถึงแบบสมัยหนึ่งๆที่มีส่วนร่วมกันอย่างอิสระ บางทีการได้มาของตราประทับนี้ เกิดขึ้นจากเหตุผลที่มาจากญาณทัศนะภายในจิตของสถาปนิก เป็นการปรากฏในความสัมพันธ์ของรูปทรงอย่างเป็นอิสระและโดดเด่นออกมานั้นเป็นผลที่มีอยู่จริงได้ McDonalds อาจเป็นคนแรกที่ตระหนักว่า ตราประทับทางการค้านั้นไม่เพียงพอ อาคารที่สะท้อนตราประทับหรือยี่ห้ออย่างเป็นระบบการเชื่อมต่อของชิ้นส่วนและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจนั้น จะกลายเป็นแบบแห่งความทรงจำสำหรับลูกค้าด้วย และแล้วโค้งสีเหลืองของ The McDonald กลายเป็นสัญญลักษณ์แห่งความทรงจำของเครือข่ายร้านอาหารจานด่วนเรื่อยมา ไม่เพียงแต่ในอเมริกาเท่านั้น หากแต่เกิดปรากฏขึ้นทั่วโลก ปัจจุบันเครือข่ายร้านอาหารแบบจานด่วนเป็นพันๆ นำเอาตราประทับมาเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไปด้วย เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเสนอภาพลักษณ์ในสื่ออื่นๆ
ยังมีตัวอย่างอีกเป็นพันๆ ที่สร้างสถาปัตยกรรมเป็นเช่นตราประทับหรือยี่ห้อที่ทรงอำนาจในการจดจำอันถือเป็นเอกลักษณ์ เครือข่ายร้านอาหารจานด่วนเช่น Kentucky Fried Chicken, Taco Bell และ McDonalds นับเป็นพวกที่โดดเด่นที่ดังและสังเกตุได้ชัดเจน ตัวอย่างอื่นยังรวมไปถึงพวกเครือข่ายร้านค้าปลีก (โชห่วย) เช่น Safeway พวกเครือข่ายภัตตาคาร พวกร้านเสื้อผ้า และศูนย์ร้านค้าคอมพิวเตอร์ปลอดภาษี เกิดขึ้นทุกซอกทุกมุมของตลาดการค้าทั่วไป เราอาจระลึกถึงบริการของ UPS เมื่อมองเห็นรถบรรทุกที่มีแถบสีน้ำตาลและแถบสีเหลืองบนตู้พ่วง ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น โดยที่เราไปมีส่วนรับรู้ในภาพลักษณ์เหล่านี้จนกลายเป็นนิสัยของเรา ตราประทับหรือยี่ห้อของบรรษัทต่างๆ กลายเป็นเครื่องมือแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่ไปพร้อมพัฒนาการของบริษัท สถาปัตยกรรมเป็นกุญแจดอกหนึ่งในความสำเร็จของพวกเขาเหล่านั้น คราวหน้าถ้าท่านเผอิญผ่านร้าน McDonalds โปรดบันทึกโค้งอันทรงอำนาจนี้ไว้ด้วย |