แปลและเรียบเรียงจาก...http://www.plannet.com/features/colorarch.html
สีในสถาปัตยกรรม
โดย Anthony Catsimatides

1/4/99

จนกระทั่งเมื่อสองสามปีที่แล้ว สีขาวกลายเป็นความเยือกเย็นที่สวยงาม แน่นอนถ้าท่านอาศัยในเมืองนิวยอร์ค สีดำเป็นสีเดียวให้เลือกในทุกโอกาส สถาปนิกส่วนมากเอาใจใส่เรื่องการใช้สี การเลือกวัสดุ มีโอกาสสำหรับสถาปนิกอย่างเหลือเฟือในการเลือกสีโดยไม่จำเป็นต้องยื่นคอลงไปดูในกระป๋องสีเลย การใช้สีแม้เป็นเรื่องจำเป็น เมื่อวัสดุต่างๆมีสีที่ต้องให้พิจารณา ตัวอย่างเช่น เหล็กและกระจก เป็นวัสดุยอดนิยม เช่นเดียวกับกำแพงหินและก้อนแก้ว เครื่องเรือนไม้มักปล่อยทิ้งไว้เป็นสีผิวเดิมตามธรรมชาติ เพื่อสะท้อนความกลมกลืนแบบชิงเด่นกันกับสีวัสดุอื่นดังกล่าว

เมื่อสีถูกนำมาใช้โดยนักทันสมัย- the Modernists พวกเขามักใช้พวกสีหลักๆ ใช้เพื่อการเน้น สีถูกใช้ด้วยความระมัดระวังสำหรับพวกนักทันสมัย สีตามธรรมชาติของวัสดุต่างๆ มักคงไว้อย่างบริสุทธิ์เพื่อสะท้อนคุณค่าตามธรรมชาติของวัสดุนั้นๆ Frank Lloyd Wright เป็นปรมาจารย์ทางการเลือกใช้วัสดุตามคุณค่าสีของมัน แต่สีมีความสำคัญและมีการนำไปใช้หลายวิธีในของเขตของสถาปัตยกรรม Le Corbusier ชอบสีหลักสีเหลืองที่มีความระยับ หรือสีแดงที่เน้นออกมาจากคอนกรีต และใช้เป็นดังอุบายเสมอตลอดงานอาชีพนี้ของเขา

ในยุดปัจจุบันนี้ Bernard Tschumi ใช้สีหลักเหล่านี้ในแนวทางที่น่าสนใจกว่าการเน้นอย่างเดียว วิธีการใช้ของเขาในโครงการออกแบบสำหรับ Parc De La Villette นอกเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศษ เคลือบผิวสุดท้ายด้วยสีแดง งานนี้ท้าทายกับความร้อนแรงของแสงอาทิตย์ในกรุงปารีส และแผ่ขยายไปยังความเขียวขจีของทุ่งหญ้าในสวนวิทยาศาสตร์

บางทีสถาปนิกที่ใช้สีได้ดีที่สุดเท่าทีคิดได้ และเป็นวิธีไม่ธรรมดาคือ Michael Graves การก้าวเกินไม่จากจินตภาพในการออกแบบของเขาและเพ่งไปที่สีตามลำพัง ไม่ใช่เรื่องง่ายในการกระทำ และอาจไม่เป็นการฉลาดเลยที่จะทำความเข้าใจงานสถาปัตยกรรมของเขาอย่างนี้ นอกจากความเข้าใจเรื่องการใช้สีอย่างไรสำหรับเขาเท่านั้น แบบแผนเรื่องสีของเขามักทำเพื่อให้ดูดีมีค่ามากขึ้น แม้การออกแบบของเขาในช่วงเวลาของยุคทันสมัย เขาใช้สีหลักๆตามความนิยม ข้าพเจ้าพิศมัยการใช้สีแม้ในงานร่างภาพเขียนของเขา แม้ในกระดาษสีเหลืองที่สถาปนิกทั่วไปใช้ร่างภาพ ซึ่งกลายเป็นสีพื้นรองรับเป็นด้านหลังของภาพที่เกิดขึ้นจากการออกแบบ ราวกับกระดาษที่มีสีเป็นฐานรองรับเหมือนดังที่ศิลปินละเลงน้ำมันลงไปผืนผ้าใบก่อนเขียนภาพ

ข้าพเจ้ามีโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์เล็กๆทางโบราณวัตถุอียิปต์ ในมหาวิทยาลัย - Emory University ที่ออกแบบโดย Michael Graves หลายปีมาแล้ว มีสามเรื่องที่ข้าพเจ้าติดใจในเรื่องการใช้สี คือ ใช้แล้วทำให้เกิดความสงบขึ้นในสถานที่ มีความตรงกันข้ามกันรวมอยู่ด้วย และมันทำให้ห้องต่างๆมีชีวิตชีวาเพราะวิธีการที่สีถูกนำไปใช้ เหล่านี้เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์อย่างมากในการเคลื่อนไหว แม้ว่าที่ว่างสำหรับการแสดงนิทรรศการไม่ใหญ่โตและกว้างขวางมากนัก แต่อำนาจหรือที่ว่างถูกเน้นโดยสีเขียวทึม สีเหลืองงามตามธรรมชาติของไม้ และกระจก ที่ส่องแสงเป็นประกายเช่นตะเกียงที่จุดเกิดแสงสลัวๆ ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนเป็นการรวมวงมโหรีของแสง

คนอเมริกันส่วนมากชอบห้องสีขาว สีขาวเป็นความเย็นง่ายในการอยู่อาศัย และเพราะมันเป็นกลางที่ทำให้แบบสมัยและรูปร่างของห้องไม่ล้าสมัย Richard Meier ยึดสีขาวเป็นเอกลักษณ์หรือฐานคิดของการใช้สี รูปทางเรขาคณิต ยังมีผลดีกับการใช้สีขาว เพราะมุมและความโค้งเห็นชัดคมเมื่อมีแสงส่องมากระทบ ยิ่งส่งผลเมื่อมีแสงสาดส่อง และด้วยอาศัยวิทยาการการเล่นแสงภายใน มีความเป็นไปได้ในการทดลองเพื่อการลวงตาของที่ว่าง โดยการยึดติดไว้กับสีขาว ข้าพเจ้าพบว่าแม้ในทุกส่วนของยุโรป สีขาวก็เป็นที่โปรดปราณ ด้วยการติดยึดกับอากาศของชาวกรีซ เช่นในเมืองเอเธนส์ ไม่ค่อยมีลมบ่อยนัก ห้องชุดสีขาวจึงช่วยรักษาความเย็นไว้ได้นาน หลายเหตุผลที่ไม่ควรจำกัดใช้สี โดยเพราะปัจจัยทางจิตวิทยาลำพังเดียว ในกรณีบ้านชะโลมด้วยสีขาวหมดบนเกาะของกรีก การแบ่งกั้นเพื่อป้องกันด้านกายภาพเกิดขึ้นระหว่างความร้อนผ่าวของแสงอาทิตย์ภายนอกกับผู้อยู่อาศัยภายใน

เมื่อสีมามีบทบาทในที่ว่าง ลักษณะของที่ว่างเปลื่ยนไป ผลกระทบทางจิตวิทยาต่อความรู้สึกทางอารมณ์ของบุคคลเกิดขึ้นเป็นสำคัญ เป็นการดีสำหรับสถาปนิกที่จะศึกษาและค้นหาการประยุกต์ใช้สีตามทฤษฎีทางจิตวิทยาในงานออกแบบของเขา ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวล่วงในรายละเอียดเกี่ยวกับอาคารและห้องในเรื่องนี้ แต่ปลอดภัยที่จะตัดสินว่าหลายๆบ้านที่ข้าพเจ้าไปเยี่ยมมา และหลายๆอาคารสำนักงานที่เคยทำงานในเวลาหลายๆปีนั้น สถาปนิกไม่ค่อยแสดงสิ่งบอกเหตุในเรื่องความสำคัญของสีเลย

ในสำนักงานส่วนมากที่ข้าพเจ้าทำงาน แม้เป็นอาคารสร้างและออกแบบใหม่ให้กับลูกค้าพวกบรรษัททั้งหลาย เช่นอาคารใหม่ของ Autodesk's ในเมือง San Rafael, CA, หรือ อาคารใหญ่ Pacific Bell ในเมือง San Ramon, CA, มีบรรยากาศหมองหม่นตลอดเวลา ขาดชีวิตชีวาที่จะกระตุ้นให้อยากทำงานตลอดได้ทั้งวัน ทั้งๆที่มีจำนวนคนทำงานเป็นพันๆในทั้งสองอาคารนี้ คือราวพันคนในตึก Autodek และเกือบเจ็ดพันคนในตึก Pac Bell. แต่นี่ไม่น่าเป็นเหตุผลที่นำมาใช้เป็นข้อโต้แย้งกับข้าพเจ้าในเรื่องแบบแผนการใช้สีโดยเฉพาะการใช้สีภายในอาคารทั้งสองนี้ได้เลย

สีเทาถูกนำมาใช้เป็นส่วนมาก เพราะเป็นกลางๆดี แต่ด้วยสีเทาอ่อน ท่านสามารถเอาทุกสีเน้นๆมาใช้กับมันได้เลย และน่าจะจบลงที่สร้างผลความพอใจในความสัมพันธ์กันได้ แต่กลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ทุกๆชั้นของอาคารเป็นการใช้สีที่เหมือนๆกันทุกชั้น คือโทนสีเทา หรือสีเบทแบบสุภาพๆ ท่านจะจบลงที่อารมณ์เฟื่อนๆขาดความเร้าใจ บางทีนักจิตวิทยาวิเคราะห์เรื่องนี้แล้ว บางทีอาจค้นพบกระบวนการและเปิดเผยสิ่งสำคัญในการเสริมค่าสภาพแวดล้อมที่หม่นหมองนี้ได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นอะไรที่เราจบลงตรงที่การตกแต่งที่ยังเป็นความลับทำนองนี้อีก

บางที่แผนการใช้สีขาวเป็นความนิยม จึงมีการใช้กันทั่วไป ในราวกลางปี 1980's เมื่อข้าพเจ้าทำงานในเมืองนิวยอร์ค เครื่องเรือนสีเทา หรือไม่ก็มีสีแดงหรือสีขาวตัดขอบใช้กันเป็นส่วนมาก เราใช้แผ่นบุฟอร์ไมก้าสีเทามากมาย จนข้าพเจ้าคิดว่านี้เป็นการรักษาให้บริษัทดำเนินการธุระกิจได้ตลอดไปหรือไม่ โชคดีที่แนวทางนี้ผ่านไปแล้ว ผ่านไปสู่โทนสีเทาแบบใหม่ ที่ใช้ได้ดีคือที่ว่างแสดงภาพที่มีผนังสีขาว และพื้นไม้เคลือบเงาสีตามธรรมชาติ ข้าพเจ้ายังคิดว่านี่เป็นวิธีที่มองภาพเขียนได้ดีที่สุด ในพิพิธภัณฑ์ D'Orsay ในนครปารีส Guy Olente ออกแบบที่ว่างอย่างร้อนแรง แต่การใช้สีช่วยให้สงบลงได้ เกือบทุกความรู้สึกของภาพเขียนดินสอช่วยหยุดสายตาในการสังเกตุงานศิลปะอย่างมีระเบียบขึ้น ด้วยพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เช่นนี้ มันยากที่จะเพ่งไปเจาะจงที่งานศิลปะอย่างเดียว โดยเฉพาะเมื่อท่านต้องท่องเที่ยวไปในเมืองปารีสในเวลาเพียงสองสามวัน และท่านต้องทัศนางานศิลปะด้วยเวลาอันสั้นเท่าที่กระทำได้ นี่ถือเป็นความมีโชคของนักทัศนาจรในสภาวะการณ์เช่นนี้

สี จะมีความสำคัญมากหากอาคารไม่อยู่ภายใต้อาณาเขตที่แน่นอนเดียวกันของโลก ตัวอย่างเช่น ท่านจะไม่ใช้โทนสีเดียวสำหรับภายนอกของอาคารในเมืองนิวยอร์ค เหมือนเช่นที่ใช้ในเมืองซานฟรานซิสโก เหตุผลคือ ท้องฟ้าในเมืองนิวยอร์คส่วนมากเป็นสีเทา และแสงอาทิตย์ไม่จ้าแรงเหมือนในเมืองซานฟรานซิสโก ทางฝั่งด้านตะวันตกของอเมริกา แสงอาทิตย์แรงกว่าและสดใสตลอดวัน จากข้อเท็จจริงนี้ จะเป็นการปลอดภัยที่เลือกใช้สีสด เช่นสีลูกพีช สีแสด หรือสีเขียวของพลอย ทำเกิดผลที่สดใสเป็นเลิศ เมืองนิวยอร์คมีอากาศรุนแรง และอาคารส่วนมากเป็นผนังอิฐ หิน หรือผิวปูนฉาบ เป็นวัสดุถูกเลือกใช้กันเป็นปกติ ในขณะที่สีถูกกำหนดใช้เป็นส่วนมากโดยนักออกแบบ ช่างก่อสร้าง และสถาปนิกที่แทบจะเป็นคนใบ้กันไปหมด ที่มักเลือกการใช้สีแดงหม่นๆ สีเหลืองแบบซีดๆ และสีอื่นๆที่ทำให้ดูเรียบร้อยๆเท่านั้น

การใช้สี เป็นพื้นฐานสำคัญของงานออกแบบสถาปัตยกรรม ขาดการใช้สีนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นท่านต้องเริ่มลงมือศึกษาการใช้มันอย่างไรดีถ้าท่านตัดสินใจจะเป็นสถาปนิกต่อไปภายหน้า ข้าพเจ้าคิดว่านักออกแบบภายในใช้สีเก่งกว่าสถาปนิก อาจเป็นเพราะเขาได้รับการฝึกสอนอย่างดีจากโรงเรียน แม้นว่าการเป็นนักออกแบบภายในคล้ายกับการจับจ่ายซื้อของตามห้าง ต้องคอยเลือกซื้อของเพื่อการติดตั้งภายในอาคาร นี่ทำให้หมดสงสัยในความจำเป็นของการประสานเรื่องสีเข้าด้วยกันของ เก้าอี้ โต๊ะ พรม ผ้าม่าน กระเบื้อง และอื่นๆ ถ้าสถาปนิกได้รับการฝึกฝนเบื้องต้นในเรื่องการออกแบบภายใน บางทีเขาจะเอาใจใส่เรื่องการใช้สีกับอาคารทั้งภายนอกและภายในมากขึ้น มันเป็นเรื่องที่นิยมกันในการออกแบบผิวเปลือกนอกของอาคาร โดยไม่ค่อยคำนึงถึงสีภายใน นี่อาจถูกต้องสำหรับอาคารร้านค้าหรืออาคารสำหรับที่อยู่อาศัย แต่มันมีข้อยกเว้นในเรื่องนี้ และมักถือเป็นการแยกแยะกันทางความคิดฝันบนความเสี่ยงของการปฏิบัติตามอย่างที่เป็นปกติธรรมดาทั่วไป

ดังนั้นครั้งต่อไป ท่านควรคิดถึงเรื่องการเลือกใช้โทนสีสำหรับอาคาร โดยการพิจารณาในทางปฏิบัติที่ไม่เป็นเพียงแค่ภาพถ่ายที่หวังให้มีการปรากฏในสิ่งพิมพ์ที่แพร่หลาย แต่ควรคำนึงเพื่อผลเป็นสวัสดิการในระยะยาวที่ควรมีให้กับผู้เกี่ยวข้องในที่ว่างของแต่ละคนด้วย