เรียบเรียงจาก....http://xarch.tu-graz.ac.at/home/rurban/course/intelligent_ambiente/interview_eisenman.en.html

บทสัมภาษณ์ Peter Eisenman

โดย SELIM KODER

aus "Intelligente Ambiente", Ars Eletronica 1992

 

Peter D. Eisenman: เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานสถาปัตยกรรมขยายเกินขีดจำกัดเดิมไปได้มาก ข้อจำกัดหนึ่งคือเรื่องจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือ ในอดีตสถาปนิกจัดการเรื่องบางเรื่องด้วยมือจากสิ่งที่เขาเคยเรียนรู้มา เพราะฉนั้นการออกแบบจึงขาดๆเกินๆ ซึ่งถ้าใครคนหนึ่งออกแบบก็จะใช้มือเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวออกมารวมๆกันโดยเสรี ขบวนการนี้จึงเป็นเรื่องการแก้ไขสิ่งที่เขียนกับสิ่งที่เกิดเป็นจินตภาพล่วงหน้าในหัว แบบที่เขียนครั้งแรกอาจเพี้ยนจากสิ่งที่คิดอยู่ในหัว บางคนจึงต้องคอยมองหาอีกในสิ่งที่เขียนครั้งที่สองและสาม แต่ละครั้งในกระบวนการออกแบบเดิมๆ สถาปนิกจะค่อยๆเข้าไปใกล้กับจินตภาพหนึ่งๆในหัว นี่เป็นการสร้างจินตภาพล่วงหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมเดิมๆ หรือรูปแบบใหม่และความรู้สึกพิเศษๆก็ตาม มันเป็นสิ่งที่ขีดเขียนออกมา จึงเห็นได้ชัดว่า ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถาปนิกก็สามารถเขียนจิตภาพเหล่านั้นออกมาได้เช่นกัน แต่เครื่องก็มีจิตภาพของมันเอง มีการจัดการ กฏเกณฑ์ โครงสร้างและรูปแบบที่สถาปนิกไม่รู้จัก หรือพูดในอีกแง่ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีสิ่งกำหนดล่วงหน้าก่อนแล้ว ถ้าไม่มีใครพบและสังเกตุรู้ก็จะไม่รู้จักมันเลย เห็นได้ชัดว่า มันไม่ใช่กฏเกณฑ์ที่กำหนดล่วงหน้าเช่นเดียวกับกฏระเบียบของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม แต่เป็นกฏระเบียบที่จำกัดเรื่องจินตภาพด้วยการจัดเตรียมของเครื่องจักรกล

ประการแรก..เป็นการทดแทน ที่ใครๆสามารถวางขั้นตอนกฏเกณฑ์ของโครงสร้าง ใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่รู้จักมันล่วงหน้าในสิ่งนั้นมาก่อน เมื่อมันทำการประมวล ก็จะกลายเป็นกระบวนการทดสอบทางคณิตศาสตร์เพื่อผลลัพท์ที่เป็นไปได้ การเขียนเป็นการแก้ไขผลของคณิตศาสตร์เหล่านี้กลายเป็นงานของการออกแบบ สถาปนิกสามารถแก้ไขจินตภาพที่ทำให้กฏเกณฑ์ของโครงสร้างปรากฏและสามารถนำไปก่อสร้างได้ จินตภาพเหล่านี้ต่างออกไปจากประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ที่แต่ละคนกำลังครุ่นคิดอยู่ เป็นการยอมให้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดเผยความอดกลั้นที่ซ่อนเร้นของแต่ละคน ในเชิงจิตวิทยาและประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรม ซึ่งสันนิษฐานเอากันว่าเป็นความรู้และความจริงทั้งหมดของสถาปัตยกรรม ในเมื่อสถาปัตยกรรมต้องการการปรับปรุงเสมอๆ แต่ละคนในช่วงเวลาของตนไม่สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์ของมันทั้งหมดได้ และก็ไม่สามารถเข้าถึงประวัติศาสตร์ของอนาคตได้ด้วย แต่วิทยาการทางคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงความเป็นไปได้ของสิ่งเหล่านั้น

ประการที่สอง..เครื่องคอมพิวเตอร์ยอมให้เกิดความเป็นไปได้ในการรวมใส่ทุกๆสิ่งเข้าด้วยกัน ซึ่งมากเกินกว่าที่วิทยาการก่อสร้างปัจจุบันสามารถกระทำอยู่ เช่น ตัวอย่างอุตสาหกรรมยานอวกาศหรือรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะบังคับให้เข้าสู่กระบวนการผลิตอัตโนมัท ที่สามารถสร้างมันได้ในโรงงาน และเปิดเผยให้เห็นที่จอภาพ แต่นี่ไม่ใช่กรณีของสถาปัตยกรรม จริงๆแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเราเริ่มใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นเท่าไร ความยากลำบากในการผลิตชิ้นส่วนมาตรฐานก็มีมากขึ้นเท่านั้น ชิ้นส่วนประกอบของเหล็ก ถูกผลิตโดยใช้หุ่นเครื่องกลผลิตซ้ำๆในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อมีความแตกต่างเกิดในชิ้นส่วนของเหล็กนี้ หุ่นเครื่องกลก็ไม่สามารถกระทำได้ จำเป็นต้องจัดเปลี่ยนยุทธวิธีทางคอมพวเตอร์เสียใหม่ เพื่อผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงผนังกระจกหรือกรอบบานหน้าต่าง หรืออื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์มาตรฐาน ข้อจำกัดไม่เพียงแต่อะไรที่สถาปนิกสามารถออกแบบเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถออกแบบได้ด้วย แต่ขณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ไปไกลล่วงหน้าความสามารถด้านอุตสาหกรรม สถาปนิกสามารถสร้างสิ่งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีขีดความสามารถยังไปไม่ถึง

ประการสุดท้าย..มีความเป็นไปได้ในอนาคต..หรืออะไรที่สถาปนิกอาจจะเป็น ตามธรรมดาเมื่อสถาปนิกเขียนโครงร่างของรูป การเขียนเป็นลักษณะของเส้น ทุกสถาปนิกเขียนแบบด้วยเส้นและประกอบกันเป็นมวลทึบ เมื่อต้องการทำช่องเปิดก็จะเขียนเส้นที่สองซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมวลทึบ เป็นที่บรรจุและสิ่งที่ถูกบรรจุไว้ นี่เป็นวิธีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากสร้างมวลทึบที่ซับซ้อน วิธีที่เราจำลองมวลทึบที่ซับซ้อนบนเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเขียนเส้นแรกรอบเปลือกนอก แล้วจึงเขียนเส้นรอบภายในเปลือก แล้วจึงตัดชิ้นส่วนในออกจากด้านนอก เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการจำลองมวลทึบ และทางเดียวที่จะทำช่องเปิดก็โดยการชักดึงออกมา เดี๋ยวนี้ ทั้งหมดในการทำงานทางสถาปัตยกรรมตลอดกาลคือ phallocentric (center on male attitude) และเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจปัจจุบัน สถาปัตยกรรมยังคงเป็นปราการสุดท้ายในศิลปะร่วมสมัยของ phallocentrism (ศิลปะที่มุ่งเน้นความเป็นเพศชาย) ข้อแรกเพราะความคิดว่าการปิดล้อมของมันเป็นความจำเป็นของมวลทึบ และเป็นการตกแต่งโครงร่างของรูป รูปกรวยเกิดเพราะเครื่องมือเขียนแบบที่เราผลิตเส้นและมวลทึบ เส้นเหล่านี้ถูกใช้แทนมวลทึบ สิ่งที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้คือว่า ยังมีหลักการอื่นๆที่เป็นไปได้ในการจำลองมวลทึบ อีกนัยหนึ่งการจำลองโครงสร้างนี้เป็นการปั้นดินโคลน เป็นการก่อให้เกิดผลด้วยกลไกภายในตนเอง ที่มีกฏและพฤติกรรมของตนซึ่งเริ่มจากโครงร่างที่คงที่ ไม่ได้เริ่มจากโครงร่างที่จดจำมาก่อน การปั้นโคลนไม่เหมือนอะไรบางอย่าง จริงแล้วมันไม่มีความแน่นอนในการสร้างรูปจากสิ่งที่บรรจุซึ่งอยู่ในนั้น มันมีการจัดการโครงสร้างที่หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวและเติบโต

ถ้ามันเป็นความสามารถในงานสถาปัตยกรรมที่เริ่มต้นจากการจำลองดังกล่าว เราก็เริ่มที่จะมีสถาปัตยกรรมแบบใหม่ สถาปัตยกรรมที่ไม่เป็นเช่น phallocentric อีกต่อไป เดี๋ยวนี้มันไม่หมายความว่าเราจะถูกพักพิงและบรรจุไว้ หากแต่เป็นถูกบรรจุซึ่งถูกมองเห็น เช่นเป็นกากของกระบวนการ และไม่ใช่เป็นดังอุปมาของกระบวนการ อีกนัยหนึ่งก็คือ กระบวนการจินตภาพและความหมายของมันจะเกิดจากการจัดการด้วยตนเอง ตรงข้ามกับกิจกรรมปิดล้อม ประเด็นนี้จะไม่มีใครกล่าวว่าสถาปัตยกรรมไม่ใช่ที่พักพิง ที่ปิดล้อม ที่บรรจุ ฯลฯ แต่มันจะไม่เป็นอุปมาที่จำเป็นในการจัดการของสิ่งเหล่านี้

ในอีกทัศนะ Vitruvius เริ่มต้นที่ปัญหา เขากล่าวว่าสถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งสามสิ่งคือ ความสะดวกสบาย ความมั่นคง และความพึงพอใจ เมื่อเขาพูดถึงความมั่นคง เขาหมายถึงความคงที่ การปิดล้อม ที่พักพิงในโครงสร้างหนึ่ง มันไม่ได้หมายถึงอาคารต้องตั้งอยู่ เพราะเป็นที่แน่นอนว่าอาคารต้องตั้งอยู่ได้แน่ๆ แต่สิ่งที่ Vitruvius กำลังพูดถึงคือว่า สถาปัตยกรรมต้องเพิ่มเติมการยืนขึ้นราวกับว่ามันทนอยู่อย่างนั้นได้ เพราะฉนั้นอุปมาของโครงสร้างจึงมีอยู่พร้อมในสถาปัตยกรรมเช่นดังธรรมชาติให้ไว้ ที่ผมกำลังแนะนำคือว่า สิ่งที่ Vitruvius ให้ไว้ในกระบวนทัศน์แง่กลไกไม่เป็นที่สนใจกันอีกต่อไปแล้ว ขณะที่อาคารต้องตั้งอยู่ได้ มีคนเพียงสองสามคนที่เอาใจใส่อาคารให้ถูกมองดูเหมือนสามารถตั้งอยู่ได้หรือไม่ แทนที่จะเผชิญกับการต้องการเกี่ยวข้องกับคำถามของอำนาจ ของการจำลอง ของไม่ใช่ต้นแบบ และสุดท้ายยึดถือกระบวนทัศน์แง่กลไกไว้มั่นคง เป็น phallocentrism ของสถาปัตยกรรม ซึ่งทนต่อแรงดึงดูดของโลก และโดยอุปมาคงทนอยู่กับการเป็น phallocentric ตลอดกาล ผมเชื่อว่าเรื่องทั้งหมดนี้ ถูกเตรียมไว้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับมือของผู้ออกแบบ ไม่เป็นเรื่องที่มีมาแต่เดิม ไม่ใช่ความเป็นไปได้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จำลองช่องเปิด สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะนำไปสู่ขบวนการออกแบบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Selim Koder: เป็นไปได้ไกลแค่ไหน? ที่เราหวังการใช้ระบบแทนที่ของตัวเลข (digital representation) ในงานสถาปัตยกรรม อะไรคือสิ่งที่เป็นไปได้?

PDE: ผมไม่สามารถที่จะตอบคำถามอะไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ผมไม่รู้ เพราะผมไม่ใช่นักอนาคต แต่ผมแน่ใจว่ามีความต้องการที่จะเข้าถึงงานสถาปัตยกรรมในแง่ขบวนการของตัวเลข ซึ่งยังไม่มีการเริ่มต้น ไม่มีความเป็นจริง ยังไม่มีต้นแบบ และไม่มีการเสนอเป็นความคิดล่วงหน้า กล่าวอีกนัยคือ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้วที่จะเริ่มกันด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปวงกลม หรือรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เรื่องราวของการถือเอาระบบเด็ดขาดของ Cartesian เป็นความจริงล่วงหน้าที่ทุ่มให้กับความงามและเทพยดา ไม่มีอีกต่อไปแล้ว และก็ไม่เอาเป็นความจริงและความจำเป็นต่อความงาม หรือเป็นเพียงความจำเป็นเริ่มแรกของความงามก็ตาม ถ้าสิ่งนี้เป็นจริง ดังนั้นสถาปนิกต้องค้นหาแหล่งกำเนิดใหม่ของการสร้างรูปทรง และด้วยความสัมพันธ์ของมือและจิตใจมนุษย์ ก็ไม่สามารถที่จะสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาได้ เพราะทั้งหมดนั้นสามารถเขียนขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วซึ่งทำได้ด้วยมือของมนุษย์ ความเป็นไปได้ที่มีอยู่ก่อนนั้น เป็นข้อจำกัดของความรู้และประสบการณ์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความรู้และประสบการณ์ของจิตภาพที่เคยมี เพื่อให้สิ่งนี้มีผลต่อสถาปัตยกรรม จินตภาพนั้นต้องสามารถสร้างขึ้นและด้วยเงื่อนไขที่เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือกระบวนการสถาปัตยกรรมได้

เรื่องทำนองนี้ เราต้องมีเครื่องกลที่มีความเร็วกว่า มิฉนั้นจะมีปัญหายุ่งเหยิงสำหรับเรื่องเวลาและการใช้พลังงานของเรา และด้วยเหตุผลทำไมสถาปนิกส่วนมากไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการออกแบบ เพราะมันเป็นกระบวนการที่สิ้นเปลืองเวลามาก และมันเป็นผลเสียที่ทำอาคารชุ่ยๆด้วยคอมพิวเตอร์มากกว่าการทำอาคารชุ่ยๆด้วยมือ ด้วยเหตุนี้เราจึงให้ข้อจำกัดของวิทยการคอมพิวเตอร์ไว้ที่การช่วยเหลือการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาในอนาคต เพราะว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งตัวเครื่องและโปรแกรมสนับสนุนที่เรามี ที่สำนักงานสามารถมีได้ ยังไม่เหมาะสมทางเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้ในการทำงาน ถ้าเราจำกัดไว้ที่งานเราทำกันที่ Atlanta (Emory Center for the Arts) ค่าใช้จ่ายที่เราดำเนินการขั้นสูงสุด จะไม่เหมาะสมเลยถ้าเราต้องใช้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งไปเป็นการนำร่อง ดังนั้นเราจึงต้องหาทางผสมผสานกับเครือข่ายสำนักงาน และร่วมเวลากับการใช้คอมพิวเตอร์เหมือนวิธีที่เขาใช้ร่วมกันของมหาวิทยาลัย

SK: ในวิธีการคล้ายกันที่เลียนแบบอย่างของ Emory University Computer Center ?

PDE: แต่ก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายสูง ผมคิดว่าจนกว่าการก่อสร้างทางอุตสาหกรรมจะตระหนักการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังมีข้อถูกจำกัดเช่นเดียวข้อจำกัดในการใช้ดินสอ จนเมื่อเราสามารถทำให้คอมพิวเตอร์เป็นอิสระจากการนักออกแบบ อิสระจากกระบวนการ อิสระจากการก่อสร้าง มิฉนั้นก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีข้อจำกัด มันไม่สนองตอบด้านประโยชน์ได้มากนัก

SK: มีสองประเด็นที่ท่านเอ่ยไว้ก่อนหน้านี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ให้คุณภาพที่ล้าหลัง เมื่อการใช้มือโดยตรงของผู้ออกแบบสิ้นสุดลงในการเลือกรูปแบบใด "มันพอเพียงแก่ข้าพเจ้าแล้วหรือยัง? มันบิดเบือนความจริงไหม? นั่นคือคุณภาพที่ล้าหลัง มันเป็นเพราะสาเหตุการออกแบบหรือครับ?

PDE: มันเป็นเพราะธรรมชาติที่ไม่สามารถทำนายสิ่งที่ผลิตได้ เมื่อท่านโปรแกรมอะไรที่กำหนดเป็นขั้นๆ เช่นขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ ท่านไม่จำเป็นต้องรู้ก่อนล่วงหน้าว่ากรอบเป็นเช่นไร ท่านไม่จำเป็นต้องรู้สิ่งที่เกิดขึ้นก่อน (a priori) อะไรที่อาจเกิดขึ้นได้และกำลังจะเกิดขึ้น และท่านก็ไม่รู้เมื่อท่านเห็นความไม่แน่นอนนั้น ในการจัดการการเปลี่ยนแปลงหน่วยของคณิตศาสตร์ของมันต่อไป หรือโยกย้ายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง มันไม่สามารถจัดการด้วยความรู้เฉพาะบุคคลอีกต่อไป กล่าวอีกนัยคือ กฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความรู้และประวัติศาสตร์ แต่เราในฐานะบุคคล ไม่สามารถเข้าถึงความรู้และประวัติศาสตร์ของความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือเพิ่มขึ้นด้วยกฎทางคณิตศาสตร์เหมือนเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ นี่คือสิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้เราได้

SK: ถ้าเราจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเช่นเครื่องมือ เพื่อการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเด็นที่สองคือใช้ตามธรรมชาติของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่นที่ Mathematica เราใช้วิเคราะห์คลื่นเรดาห์ ความชื้น เสียง (white noise) ฯลฯ

PDE: ผมกำลังพูดว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีข้อจำกัด เรายังไม่มีโปรแกรมที่สนองสิ่งที่เราต้องทำในงานสถาปัตยกรรม เรายังไม่มีโปรแกรมที่จำลองช่องเปิด โปรแกรมที่มียังล้าหลังอยู่ เช่น โปรแกรม FORM-Z มีประโยชน์แต่ยังล้าหลังอยู่ดี สิ่งที่เราต้องการคือ ลักษณะโปรแกรมที่สามารถจำลองข้อมูลที่ซับซ้อนทางชีววิทยาและฟิสิกส์ที่มีใช้ในสถาบันค้นคว้าเหล่านั้น ซึ่งมันสามารถใช้เป็นแบบจำลองในงานสถาปัตยกรรมได้

SK: เอาเป็นว่าถ้ามีเครื่องกลไกดังกล่าว ซึ่งผมคิดว่าบางอันน่าจะเป็นที่ต้องการมาก แล้วราคาของมันก็จะไม่มีผลกระทบอีกต่อไป แต่เพราะอุสาหกรรมของสถาปัตยกรรมยังเข้าไปไม่ถึงมากนัก เหมือนเช่นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฯลฯ ท่านคิดอย่างไร? กับการกล่าวเช่นนี้

PDE: ผมจินตนาการเอาว่าสิ่งนี้น่าจะเกิดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานสถาปนิก กลุ่มสถาปนิกผ่านทางสมาคม A.1.A ก็สามารถซื้อหาเครื่องคอมพิวเตอร์พิเศษนั้นได้ ผมประมาณเอาว่าทุกสำนักงานสถาปนิกไม่สามารถมีเครื่องเช่นนี้ได้ตามลำพัง แต่สิ่งนี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้น เพราะอาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกลนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลง เพราะว่ามันไม่ใช่อาชีพที่มีช่องว่างสำหรับการทดลอง เราทดลองเพื่อความเสียหายของเรา ไม่มีใครจ่ายเงินให้เราทำเช่นนั้น ตราบใดที่ไม่มีใครจ่ายเงินให้ใคร เราก็สูญเสียเงิน สถาบัน Silicon Graphics ไม่สนใจที่จะนำสถาปนิกชั้นนำทั้งห้า (กลุ่มห้าสถาปนิก..ที่ Eisenman เป็นหนึ่งในกลุ่ม) ไปร่วมในการทดลองเรื่องนี้ เพราะเขาไม่ได้มองการตลาดในเรื่องนี้ เขาไม่ต้องการมองการตลาดทางด้านงานสถาปัตยกรรมที่จะเกิดขึ้นในอีก ๒๐ปีต่อไป

ผมคิดว่าตลาดทางสถาปัตยกรรมจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่มาก เมื่อท่านเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ท่านเริ่มตระหนักความเป็นไปได้ที่จะผลิตผลงานที่พิเศษ ผมคิดว่าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์กำลังเคลื่อนเข้าไปในโรงเรียน แต่ยังไม่ได้นำประสิทธิภาพการค้นคว้าที่คล้ายกันนี้เพื่อเพิ่มต่อสายตรงไปยังสำนักงานเพื่อสามารถใช้สิ่งนี้ได้

SK: มีสองโครงการที่ผมพูดถึงใน Wiesbaden, คือโครงการ the Emory project และ Haus lmmendorff. ผมคิดว่าเป็นตัวแทนความสนใจในวิธีการออกแบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของโครงการ Emory คือการใช้เส้นสายที่กลมกลืนกัน และแนวคิดที่ก้าวหน้าในการวางระบการรวมศูนย์ที่ใช้ในโครงการ Haus Immendorff.

PDE: โครงการทั้งสองมีความแตกต่างกัน โครงการ Emory เป็นการนำเอารูปทรงทางเรขาคณิตที่สม่ำเสมอแล้วหันกลับเป็นการใช้ความกลมกลืนกัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นผิวพื้นทางภูมิศาสตร์ (topological surfaces) ทางสัญจรในโครงการ เกี่ยวข้องกับทัศนคติใหม่ของโครงร่างรอบนอก การใช้ solitan wave (สถานะภาพอิสระ..solitary ตามลำพัง ไม่มีการพึ่งพาใดๆ) แทนรูปทรงที่สามารถเข้าใจโครงรอบนอกที่รู้สึกเคลื่อนไหวได้ในมุมมองต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการบิดตัว จากส่วนตัดทีแปรสภาพด้วยตัวเองขณะที่เคลื่อนขึ้นด้านบนด้วยตัวเองด้วย ดังนั้นส่วนทึบกลับกลายเป็นช่องเปิด และเปลี่ยนกลับช่องเปิดเป็นส่วนทึบ

อีกโครงการคือ ศูนย์ศิลปะเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศษ เกี่ยวข้องกับคำถามของซุ้มหน้า เราใช้สถาปัตยกรรมในเงื่อนไขจารีตนิยม โครงรอบนอก ซุ้มหน้า ภาพตัด และการมองในวิธีที่ต่างกัน สถาปัตยกรรมทันสมัยลืมความคิดเรื่องเหล่านี้ โดยไม่เป็นการหวลกลับไปที่ลัทธิแสดงออกทางอารมณ์ส่วนบุคคล หรือศิลปะสะท้อนอารมณ์ชนิดใดๆนั้น ยังเป็นไปได้ที่จะศึกษาเรื่องเหล่านี้ งานที่แตกต่างลักษณะการสะท้อนอารมณ์เดิม (expressionism) มักสร้างองค์ประกอบจากภายนอกทั้งนั้น แต่ในงานนี้สร้างการสะท้อนทางอารมณ์จากภายในด้วยวัสดุ หรือขบวนการที่เป็นไปได้ในการเลือกใช้วัสดุ แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นภายนอกตามที่นิยมทำกันในสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ

SK: การแปรเปลี่ยนการเขียน (เขียนแบบในทำนองเช่นการเขียนหนังสือ) ไปที่การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เกิดขึ้นเป็นเรื่องรองในความสัมพันธ์ของงานสถาปัตยกรรมหรือ?

PDE: บอกผมซิอะไรที่ท่านหมายถึงความสัมพันธ์เป็นเรื่องรอง?

SK: ขณะที่ความสัมพันธ์ชั้นต้นระหว่างด้านรูปทรงและจินตภาพของความคิด ความสัมพันธ์รองคือระหว่างจินตภาพของความคิดและต้นฉบับ

PDE: ความสัมพันธ์เบื้องต้นสำหรับสถาปัตยกรรม บ่อยครั้งที่จะเป็นความสัมพันธ์ด้านรูปทรงและจินตภาพของความคิด คือเมื่อท่านได้ความคิดท่านจึงได้รูปทรง และแล้วเมื่อรูปทรงนั้นถูกเขียนและแสดงออกในรูปของเรื่องราว (text) เรื่องราวที่เป็นไปได้ในรูปทรง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์รอง เป็นการเขียน (หนังสือ) ไม่ใช่การเขียนแบบ

SK: และถ้ามันเป็นการแปรเปลี่ยนรูปไปเป็นการเขียน มันเป็นการแปรเปลี่ยนแบบไหน?

PDE: การแสดงออกทางตัวเลข อาจเป็นการจัดแจงโดยการเขียนแบบ หรือการเขียนหนังสือ ขึ้นอยู่กับท่านจะใช้มันอย่างไร วิธีที่เราใช้มันเป็นการจัดแจงของการเขียนหนังสือที่ตรงข้ามกับการเขียนแบบ แต่มันอาจมีผลเท่ากัน เมื่อสิ่งหนึ่งเกี่ยวข้องจากตัวกลางหนึ่งไปสู่ตัวต่อไป สิ่งนั้นไม่ใช่การเขียนหนังสือ การเขียนหนังสือเป็นการกลับไปที่จินตภาพทางความคิด หรืออีกนัย มันเป็นการเชื่อมโยงกลับไปที่จินตภาพของความคิด การเขียนแบบทั้งหมดไม่ใช่จินตภาพของความคิด การเขียนหนังสือทุกชนิดไม่ใช่จินตภาพของความคิดเสมอไป แต่การเขียนหนังสือที่ผมกำลังพูดถึง มันแตกต่างจากการเขียนแบบ

SK: ดังนั้นเราสามารถพูดได้ไหมว่า การดำเนินการนี้เกิดขึ้นเพราะเครื่องมือที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมไม่พอเพียง?

PDE: นี่เป็นเรื่องที่กำลังเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่เดิมนั้นด้านการก่อรูปและด้านเครื่องมือเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด มันเป็นการยากที่จะแนะนำว่าอะไรที่เรากำลังอ่านนั้นเป็นต้นฉบับ แม้เรากำลังอ่านด้วยเครื่องมือ เพื่อที่จะอ่านข้อเขียนหนึ่ง เราต้องลดทอนความใกล้ชิดระหว่างด้านรูปทรงหรือภาพวาดและด้านเครื่องมือ แล้วจึงเริ่มอ่านภาพวาดไม่ใช่ด้วยเครื่องมือแต่ด้วยการเขียนหนังสือในตัวของมันเอง

SK: ด้วย ดรรชนี?

PDE: ใช่ บางที แต่ดรรชนีในทางสถาปัตยกรรมมักเป็นเรื่องรอง เพราะว่ากำแพงนั้นจะไม่เป็นสิ่งอื่นไปกว่าเรื่องหลัก

SK: ท่านหมายถึง มันต้องคงอยู่ เช่นสิ่งที่เหลือเฟือ?

PDE: ใช่.


available electronic books