อินเตอร์เน็ตและการศึกษาไทย

วิโรจน์ อรุณมานะกุล

1. ความเป็นมา

            ยุคปัจจุบันนอกจากจะเป็นยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว  ยังเป็นยุคแห่งสารสนเทศไร้พรมแดนด้วย   และเป็นยุค
ที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเริ่มก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในภาคธุรกิจและในภาคการศึกษา  ดังจะเห็นได้จาก
การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศนโยบายที่จะให้ทุกห้องเรียนสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ภายในปี
ค.ศ. 2000 และนักเรียนทุกคนต้องได้รับการศึกษาด้านเทคโนโลยีนี้  ในประเทศไทยเอง ถึงแม้จะไม่มีการ
ประกาศแผนนโยบายด้านนี้ชัดเจน  อินเตอร์เน็ตก็เริ่มก้าวเข้ามาสู่สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ
อุดมศึกษา  ดังจะเห็นได้จากการที่มหาวิทยาลัยต่างๆ  ได้ลงทุนติดตั้งระบบเครือข่าย network ภายในและต่อ
เข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อให้อาจารย์และนิสิตนักศึกษาได้ใช้อินเตอร์เน็ตกัน
            การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เป็นการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้โดยมีจุด
มุ่งหมายเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา   ซึ่งในเรื่องนี้  มีผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มอง
เห็นข้อดีของการใช้ประโยชน์จากสื่อนี้เพื่อการศึกษา  เพราะมองว่าอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าถึงข้อ
มูลได้อย่างมากมายและสะดวกรวดเร็ว ช่วยให้มีการเรียนรู้แบบ self center มากขึ้น  ขณะที่อีกกลุ่มจะมองการ
นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในเชิงลบ  คือมองถึงผลกระทบของสื่อนี้ต่อระบบการศึกษาว่า จะส่งผลให้เกิดการปรับ
เปลี่ยนโครงสร้างการศึกษาไปจนถึงล้มล้างระบบและสถาบันการศึกษาที่มีมากว่า 2500 ปี
 

2. ทำไมต้องนำสื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาในมหาวิทยาลัย

            มีเหตุผลและปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หลายๆคนเชื่อว่าการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบ
การศึกษาแทบจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เหตุผลหลักสำคัญอันหนึ่ง คือความจำเป็นทางเศรษฐกิจ  Prowse
(1995) ได้ชี้ให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายของการศึกษาที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ  ค่าใช้จ่ายของหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยใน
สหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้น 174% ภายใน 10 ปี  มากกว่าอัตราขยายตัวของ consumer price ถึง 3 เท่า  van
Vught (1997) กล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มจาก 9% ของรายได้ครัว
เรือน (median family income) ในปี 1979 ไปเป็น 15% ในปี 1994  หากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ค่าใช้จ่ายจะ
เพิ่มมากยิ่งขึ้น (20% ในปี 1979  และ 40% ในปี 1994) การเพิ่มของค่าใช้จ่ายด้านการศึกษานี้เกิดขึ้นทั้งในยุ
โรปและในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาด้วย  การที่จะลดค่าใช้จ่ายลง จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้    โดย
van Vught (1997) ได้ชี้เปรียบเทียบให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายต่อหัวของการเรียนในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกานั้น
สูงถึง US$12,500 ส่วนในอังกฤษสูงถึง US$10,000  แต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวของการเรียนในแบบ distant learning
(คำนวณจาก 11 มหาวิทยาลัยใน China, France, India, Indonesia, Iran, Korea, South Africa, Spain,
Thailand, Turkey and the UK) นั้นไม่ถึง US$350  เขาจึงเชื่อว่า การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการ
สอนแบบ distant learning จะเป็นรูปแบบของมหาวิทยาลัยในอนาคต  เพราะรูปแบบมหาวิทยาลัยแบบที่เป็น
อยู่ไม่เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  เพราะมีแต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
เรื่อยๆ ในขณะที่การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนจะเริ่มลดลง
            อีกปัจจัยหนึ่งเป็นเรื่องของการเติบโตอย่างรวดเร็วของศาสตร์แต่ละศาสตร์ Noam (1995) ได้ยกตัว
อย่างวารสารวิชาการ Chemical Abstracts ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 31 ปีเพื่อตีพิมพ์บทคัดย่องานวิจัยออกมา 1 ล้าน
ชิ้น  และใช้เวลาอีก 18 ปีต่อมาสำหรับตีพิมพ์บทคัดย่ออีก 1 ล้านชิ้น  แต่ปัจจุบันในใช้เวลาไม่ถึง 2 ปีก็สามารถตี
พิมพ์บทคัดย่อออกมาได้กว่า 1 ล้านชิ้น  ความเติบโตนี้เองที่ทำให้มีการแตกแขนงของสาขาวิชาต่างๆมากมาย
ทำให้มหาวิทยาลัยไม่ afford ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญในทุกๆสาขา  แม้แต่ในภาควิชาเดียวกัน ก็ยังมีการแยกย่อย
สาขาจนแทบหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในมหาวิทยาลัยได้ยาก
การใช้ อินเตอร์เน็ตช่วยแก้ไขปัญหานี้เพราะทำให้เกิด virtual community ของผู้ที่มีความสนใจร่วมกันแต่อยู่ห่าง
ไกลกันได้  ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้   นอกจากนี้ในเรื่องของ การสะสมสิ่งตีพิมพ์ก็เป็นไปได้
ยากที่มหาวิทยาลัยจะทำให้ได้ครอบคลุมสมบูรณ์แบบเหมือนเดิม  เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ   โดย
Noam ยกตัวอย่างของวารสาร Chemical Abstracts ซึ่งค่าสมาชิกรายปี ได้เพิ่มจาก $12 ในปี 1940 เป็น
$3,700 ในปี 1977 และเป็น $17,400 ในปี 1995  ในปัจจุบัน  จึงมีแนวโน้มที่จะลดค่าใช้จ่ายด้านนี้   เริ่มมีการ
จัดพิมพ์วารสาร online  หรือเปิดให้บริการเป็นสมาชิกวารสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
            นอกจากปัจจัยทางเศรษฐกิจแล้ว  ปัจจัยทางสังคมก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การนำเทคโนโลยี
อินเตอร์เน็ตเข้ามาในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก  การเติบโตและการเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์   และการแพร่หลายของการใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการคาดหวังจากสังคมว่า มหาวิทยาลัยจำ
เป็นต้องมีเทคโนโลยีด้านนี้พร้อมเพื่อรองรับความต้องการของนิสิต ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างภาพว่า
มหาวิทยาลัยได้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
 

3. ผลกระทบของอินเตอร์เน็ตต่อระบบการศึกษา

            แม้ว่าผู้คนจะยอมรับอินเตอร์เน็ตว่ามีประโยชน์ต่อการทำวิจัยเพราะช่วยในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้
สะดวกรวดเร็ว  แต่ก็มีผู้ที่มองว่าอินเตอร์เน็ตจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อระบบการศึกษาใน
ปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการควบคุมความรู้ (knowledge) หรือข่าวสาร
(information) ซึ่งจะส่งผลให้รูปแบบสถาบันการศึกษาอ่อนแอลงและเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด   Noam (1995) ได้
ชี้เปรียบเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของ information flow ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  โดยกล่าวว่า ในยุค
แรก นักบวชจะเป็นผู้ครอบครองและถ่ายทอด information โดยการท่องจำ  ต่อมาเมื่อมีระบบการเขียน จึงมีการ
จัดเก็บข้อมูล มีห้องสมุดขึ้น เช่น Great Library of Alexandria  ซึ่งมีการจัดระบบข้อมูลความรู้และกระบวนการ
หาความรู้คล้ายๆกับการมีภาควิชาต่างๆในปัจจุบัน  ลักษณะแบบนี้เป็นการรวมศูนย์ความรู้ไว้ที่หนึ่ง  ผู้สนใจจะ
ต้องเดินทางเข้ามาเพื่อรับการถ่ายทอดความรู้นั้นจากผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าทรงคุณวุฒิ  รูปแบบการศึกษาแบบ
นี้คงอยู่มาเป็นเวลา 2500 ปี  แต่ปัจจุบันทิศทางของ information flow กำลังเปลี่ยนไป  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเข้า
มาหาความรู้  แต่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเรียกดูข้อมูลความรู้ให้มาหาตนได้  เมื่อเป็นดังนี้ มหาวิทยาลัยซึ่งมี
หน้าที่หลักสองอย่างคือ  เป็น authority ในการ transfer information และเป็นแหล่งรวบรวม information  ก็จะ
ค่อยๆสูญเสียความสำคัญของบทบาททั้งสองลงในที่สุด
            Noam (1995) ยังกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้  แตกต่างจากเมื่อคราวที่เริ่มมีสื่อวิทยุโทร
ทัศน์  ซึ่งในตอนนั้นหลายคนเชื่อกันว่าสื่อวิทยุโทรทัศน์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาอย่างมาก
แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้เป็นไปเช่นที่ทำนาย  จึงมีผู้วิจารณ์ว่าสื่ออินเตอร์เน็ตก็จะเป็นเช่นเดียวกัน  แต่ Noam แย้งว่า
สื่ออินเตอร์เน็ตมีลักษณะที่ต่างไป  เพราะการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนของ information flow ใน
ขณะที่การนำสื่อวิทยุโทรทัศน์มาใช้ไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จุดนี้  นอกจากนี้สื่อวิทยุโทรทัศน์ยังเป็นสื่อ
ที่ถูกควบคุมด้วยคนจำนวนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำในสังคมได้ง่าย  ในขณะที่สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่เสรีและไม่
สามารถถูกควบคุมด้วยคนจำนวนน้อยได้   Baldino (1996) มองว่า การควบคุม information มีความสำคัญต่อ
กลุ่มชนที่เป็นชนชั้นนำในสังคม   ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา  แสดงให้เห็นว่าชนชั้นนำดำรงบทบาทตัวเองอยู่ได้โดย
อาศัยการควบคุม information คือกำหนดว่าใครควรจะรู้ และควรจะรู้อะไร  ผ่านสถาบันการศึกษาซึ่งทำหน้าที่
สืบทอดอุดมการณ์ต่างๆ (ideological values) ของชนชั้นนำ สถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทเพื่อสนับสนุนโครง
สร้างของสังคม โดยการ   "make sure that whoever has access to knowledge only knows what we want
them to know, and make sure that they think just like we want them to think"  จึงไม่แปลกอย่างไรที่สื่อ
วิทยุโทรทัศน์เมื่อถูกนำเข้ามาในสังคมจึงถูกควบคุมโดยชนชั้นนำเพื่อสืบทอดอุดมการณ์เดิมไว้  ทั้งนี้เพราะสื่อ
วิทยุโทรทัศน์มีธรรมชาติที่เป็นการกระจายเสียงและภาพจากสถานีแม่ข่าย  จึงถูกควบคุมได้ง่ายกว่า  ต่างจาก
สื่ออินเตอร์เน็ตซึ่งใครก็สามารถทำหน้าที่ให้ข้อมูลก็ได้ขอเพียงมีแค่คอมพิวเตอร์ส่วนตัวสักเครื่อง ก็สามารถสร้าง
web site เพื่อให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆได้
            นอกจากความคิดที่ว่า สื่ออินเตอร์เน็ตจะลดบทบาทความสำคัญของสถาบันการศึกษา  ผลกระทบที่
เห็นได้ชัดกว่า คือ การเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการเรียนการสอน  ทั้งนี้เพราะสื่ออินเตอร์เน็ตจะทำให้เรื่องของ
สถานที่และเวลาลดความสำคัญลง เพราะผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมารวมกันในห้องเรียน  ไม่จำเป็นต้องมาเรียนใน
ชั่วโมงเดียวกัน  แต่สามารถเข้าเรียนจากที่ไหนก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต access จะเข้าเรียนเวลาใดก็ได้ตามสะดวก
นอกจากนี้ ผู้เรียนยังสามารถเปรียบเทียบรายวิชาที่ตัวเองเรียนกับรายวิชาที่เปิดสอนในที่อื่นๆได้ด้วย  บทบาท
ของอาจารย์จึงไม่ใช่ผู้ที่รู้ดีที่สุดในชั้นเรียนอีกต่อไป  นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้จากแหล่งอื่นและนำมา
เปรียบเทียบได้   ในบริบทใหม่นี้  อาจารย์จึงเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยตรงในแบบเดิมมา
เป็นพี่เลี้ยงในการเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่า   ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้ด้วยตัวเองเป็นหลักโดยอาศัยคำ
แนะนำจากอาจารย์   รูปแบบการเรียนการสอนจึงเปลี่ยนจากการบรรยายความรู้มาเป็น problem solving
oriented และเป็น team-based
 

4. ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา

            อีกกลุ่มเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบขนาดนั้น  แต่กลับมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่
จะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตของมหาวิทยาลัยสู่กลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้นได้ van Vught (1997)
เชื่อว่า information technology จะเข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่จะไม่สามารถ
เข้ามาแทนที่การมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้   โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาแต่ก็
ยอมรับกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  จากเดิมที่เป็นห้องเรียนมีผนังล้อมรอบก็จะเป็น school without
wall  และเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนมาเป็นแนวการเรียนการสอนแบบกระตุ้นให้เรียน
และค้นคว้าเป็นทีม (stimulate team-based learning)
            ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web
site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี
หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร
ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง
นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด
ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง
ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group
 

5. บทวิเคราะห์

            ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการศึกษาในแบบปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำ
เป็นที่จะนำเทคโนโลยีมาช่วย เช่น อัดวีดีโอเทปการบรรยายของอาจารย์ชื่อดังแล้วเปิดให้นิสิตนักศึกษาดูผ่าน
ทางอินเตอร์เน็ต หรือจัดการสอนผ่าน online conference  ข้อดีของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ได้อยู่ที่
ว่าทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เป็นเพราะว่าจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเพราะ
สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้จำนวนมากกว่า  ปัญหาเรื่องการขาดเงินสนับสนุนจากรัฐและแหล่งทุนเอกชน ก็จะ
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ถ้าเช่นนั้นแล้ว อนาคตการเรียนการสอน
ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะเปลี่ยนไปเป็นแบบ distance learning เป็นหลักหรือไม่  ในความจริงแล้ว
ในปัจจุบัน ประเทศไทยเองก็มีมหาวิทยาลัยเปิดที่สอนแบบ distance learning อยู่ เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช  แต่การที่มหาวิทยาลัยปิดอื่นๆก็ยังคงบทบาทสำคัญอยู่ได้นั้นเป็นเพราะสังคมให้คุณค่ากับการเข้า
มาศึกษาจนได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัยปิดเหล่านี้   จริงอยู่ที่ว่าอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน
flow of information  แต่ในความเป็นจริง  นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ
แสวงหาความรู้แต่เข้ามาเพราะมหาวิทยาลัยปิดเป็นช่องทางสำหรับการมีใบปริญญาที่สังคมภายนอกให้การ
ยอมรับมากกว่ามหาวิทยาลัยเปิด  บทบาทของมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทยจึงยังไม่สั่นคลอนจากเหตุผลของ
การเปลี่ยนแปลง flow of information นี้จนกว่าแนวโน้มค่านิยมด้านการศึกษาของสังคมจะเปลี่ยนไป เช่น เมื่อ
สังคมเริ่มให้การยอมรับว่าผู้ที่ได้ certificate จากบริษัทหรือหน่วยงานบางแห่งที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยว่ามีคุณภาพ
เทียบได้กับผู้ที่ผ่านเข้ามหาวิทยาลัยปิด   ความจริง  certificate ที่ได้จากการอบรมของบางบริษัทโดยเฉพาะที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเฉพาะด้าน เช่น บริษัท Microsoft  ก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของตลาด   แต่ก็ยังจำกัดในวง
จำกัดจึงยังไม่ส่งผลต่อระบบมหาวิทยาลัย  แต่ถึงกระนั้น  การใช้อินเตอร์เน็ตในระบบการศึกษาเป็นปรากฎ
การณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก  ถึงมหาวิทยาลัยปิดของไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากมหาวิทยาลัยที่สอนแบบ distance
learning ภายในประเทศ  แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับผลกระทบจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เปิดสอน
แบบ distance learning  ทั้งนี้เพราะสังคมไทยให้การยอมรับผู้ที่ได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยต่าง
ประเทศค่อนข้างมาก  และมหาวิทยาลัยต่างประเทศเองก็แสวงหารายได้จากการศึกษามาก  ดังเช่นที่ van der
Wende (1997) ได้ชี้ว่ารายได้จากนักศึกษาต่างชาติเป็นรายได้สำคัญของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย อังกฤษ
และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะออสเตรเลียที่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายส่วนแบ่งตลาด 3.3% ในปี 1994 เป็น 7.5%
ในปี 2010   ดังนั้น จึงเป็นไปได้สูง ที่รูปแบบการศึกษา distance learning จะเข้ามาสู่ประเทศไทยโดย
มหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ  และได้รับการยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะในการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก
ซึ่งมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทยยังไม่มีรากฐานที่มั่นคงเหมือนในระดับปริญญาตรี  ซึ่งสังเกตุได้จากค่านิยม
ในการเลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศระดับปริญญาโทเอกมากกว่าจะศึกษาต่อภายในประเทศ ถ้าปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจมีพร้อม
            ในส่วนของมหาวิทยาลัยไทย  ถึงแม้จะมีการนำสื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา  แต่ยังไม่
เห็นแผนที่ชัดเจนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  มีลักษณะเป็นเหมือนการนำเข้าตามกระแสเทคโนโลยี  และ
ให้ต่างคนต่างใช้เองตามต้องการ   และยังไม่มีการใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาโดยตรง เช่น  ยังไม่พบว่ามีการจัด
สอนหรือจัดเตรียมสื่อการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากนัก    การใช้งานส่วนมากเป็นไปเพื่อการติดต่อพูดคุย
ส่วนตัวมากกว่าแบบอื่น   ในแง่ความพร้อมอย่างเต็มที่ในการนำมาประยุกต์เพื่อการเรียนการสอน  ยังเป็นที่น่า
สงสัยว่ามีความพร้อมแค่ไหน   เครือข่าย network ยังไม่มีประสิทธิภาพเป็นที่พอใจของผู้ใช้  ผู้ใช้มักประสบ
ปัญหาเครื่องในมหาวิทยาลัยไม่พอใช้  หรือไม่สามารถติดต่อจากที่บ้านได้  หากมีรายวิชาต่างๆหันมาใช้สื่อ
อินเตอร์เน็ตเพื่อการสอนมากขึ้น  ก็คงต้องประสบกับปัญหาอย่างแน่นอน   และในส่วนทัศนคติต่อการใช้สื่อ
อินเตอร์เน็ต  เชื่อว่าส่วนใหญ่ยังมองในแง่ดี คือมองในแง่ของประโยชน์ที่จะได้มากกว่า  แต่ก็ยังติดกับค่านิยม
เดิมของการเรียนการสอนคือยังมองการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบของระบบการศึกษา  ดังนั้นการปรับ
เปลี่ยนระบบการศึกษาเป็นการเรียนการสอนผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบคงไม่เกิดหรือเริ่มต้นที่สถาบัน
การศึกษาไทย  แต่ดังที่กล่าวมาแล้ว  สิ่งนี้หากจะเกิดขึ้น ก็คงเกิดจากการนำเข้าของสถาบันการศึกษาต่าง
ประเทศ  เพราะการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศจะใช้ขยายฐานลูกค้า
ของตน
 

บรรณานุกรม
1. Baldino, Eduardo N. (1997) Considerations on the impact of theอินเตอร์เน็ตon education
http://haas.berkeley.edu/~baldino/ba212/index.html
2. Noam,Eli M. (1995). Electronics and the Dim Future of the University. In  Science Volume 270
(October, 1995) pp. 247-249.
3. Prowse, Michael. (1995). ENDANGERED SPECIES in America, 20 November 1995 Financial
Times.
4. van Vught, F.A. (1997) Information Technology: The Next Step in the Development of Academic
Institutions Presented at the 12 May 1997 NUFFIC Seminar on:  Virtual Mobility: New
Technologies and Internationalisation
5. van der Wende, Marijk. (1997) Virtual Mobility: New Technologies and Internationalisation.  In
Ninth Annual Conference of the European Association for International Education Boundaries
and Bridges in International Education, 20-22 November 1997, Barcelona, Spain.