นิเวศสำนึกกับวรรณคดีศึกษา

ผู้บรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร
ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวข้อบรรยาย

1. นิเวศสำนึกคืออะไร
2. วรรณคดีศึกษากับการสร้างนิเวศสำนึก
3. การวิจารณ์แนวนิเวศ
4. รายวิชาวรรณคดีกับสิ่งแวดล้อม
5. Websites เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม


@ Ecocriticism

หรือการวิจารณ์วรรณคดีแนวนิเวศสำนึกเป็นแนวการวิจารณ์วรรณคดีโดยเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแนวการวิจารณ์ที่เพิ่งเริ่มเติบโตขึ้นในสหรัฐอเมริกาในยุคที่โลกเริ่มเผชิญกับภาวะวิกฤตทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมากยิ่งขึ้นทุกที คำว่า ecocriticism เพิ่งเริ่มใช้ เมื่อปี ค.ศ.1978 เมื่อ William Rueckert เขียนบทความเรื่อง "วรรณคดีกับ
สิ่งแวดล้อม การทดลองแนวนิเวศ" ต่อมาในปี 1989 มีการประชุม โดยมีปาฐกาของ Prof. Glen Love หัวข้อ "การประเมินค่าธรรมชาติใหม่ การวิจารณ์แนวนิเวศ จากนั้นมาคำว่า ecocriticism ก็ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีการจัดประชุมวิชาการ การสัมมนา และงานเขียนประเภทบทความวิชาการออกมาอีกจำนวนมาก

ในปี 1992 เกิดสมาคมการศึกษาวรรณคดีกับสิ่งแวดล้อม ASLE (The Association for the Study of Literature and Environment) มีสมาชิกถึง 900 คน และมีการจัดทำวารสาร ASLE และจดหมายข่าว ASLE (The American Nature Writing Newsletter)

การวิจารณ์วรรณคดีแนวนิเวศสำนึกมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงให้ความสำคัญกับวรรณคดีที่นำเสนอเรื่องราวของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานเขียนที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ที่เรียกว่า Nature Writing การหยิบยกปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือ ปัญหาทางจริยธรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังถือว่าบทบาทของนักเขียนและนักวิจารณ์สามารถปลุกจิตสำนึกของสาธารณชนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งยังกลับไปอ่านวรรณคดีเก่าที่นำเสนอเรื่องราวของธรรมชาติด้วย

@ กระบวนทัศน์นิเวศสำนึก

ก. ความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติซึ่งมนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติทั้งมวล

ข. ท่าทีของมนุษย์ที่มองธรรมชาติว่าเป็นเพียง "สิ่งแวดล้อม"ของมนุษย์ มนุษย์เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งและจักรวาล ทำให้เกิดทัศนคติว่าธรรมชาติ คือ "ทรัพยากร"ที่มนุษย์มุ่งใช้ประโยชน์ มนุษย์จึงเป็นตัวการสำคัญในการทำลายธรรมชาติและยิ่งก่อให้เกิดวิกฤตมากขึ้นตามลำดับ

ค. มนุษย์ไม่เพียงแต่จะต้องพึ่งพาธรรมชาติแต่ยังสามารถเรียนรู้คติธรรมและปรัชญาชีวิตได้จากธรรมชาติอีกด้วย

ง. นักเขียนและกวีมักตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติในฐานะเป็นกำเนิดหรือมารดาของสรรพสิ่งทั่งมวล (Mother Nature)

@ แนวคิดทางศาสนามักให้ความสำคัญกับธรรมชาติ

3.1 แนวคิดพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับธรรมชาติ

3.2 ธรรมชาติในทัศนะศาสนาอื่น

@ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องพิจารณาอย่างสัมพันธ์กัน ไม่สามารถแยกพิจารณาโดยเอกเทศ ทัศนะหรือกระบวนทัศน์แบบองค์รวม (holistic paradigm) จำเป็นอย่างยิ่งในการพิจารณาปัญหาสิ่งแวดล้อม

@ ปัจจุบันเริ่มมีงานเขียนที่นำเสนอปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทั้งตะวันตกและตะวันออก

-ตัวอย่างงานเขียนร่วมสมัยของไทย คือ วรรณกรรมของ อุดม วิเศษสาทร เช่น บทเพลงแห่งนกกางเขน สายใยแห่งความรัก พระจันทร์สีเขียว

-สื่อต่างๆให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์และสื่อโฆษณา


หน้าหลัก