รายงานกลางภาค ปีการศึกษา 2541

ให้นิสิตสำรวจสื่อที่เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาจเป็นสื่อในรูปคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หรือรายการวิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ โดย

1. บอกที่มาของสื่อ ผู้เขียนหรือผู้ผลิต
2. สรุปว่าสื่อนั้นนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร เสนอเป็นประจำหรือไม่
3. เมื่อผู้อ่านหรือผู้ดูได้อ่านหรือดูสื่อนั้นแล้วมีผลหรือไม่ อย่างไรต่อการรับรู้เรื่องราว และปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร
4. ท่านคิดว่าผู้สร้างหรือผู้จัดทำสื่อมีจุดมุ่งหมายอย่างไร มี "นิเวศน์สำนึก" หรือไม่ และสื่อนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่ เพียงไรในการสร้างนิเวศน์สำนึกให้ผู้อ่านหรือผู้ดู
5. การนำเสนอของสื่อนั้นแปลกใหม่ น่าสนใจหรือไม่อย่างไร ท่านคิดว่าสื่อนั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร จงประเมินค่าและแนะนำหรือเสนอแนะสื่อนั้นๆ

รูปแบบการนำเสนอรายงาน

1. เสนอในชั้นและอภิปรายร่วมกัน
2. เขียนเป็นรายงานส่งภายในวันที่ 7 มกราคม 2542
ความยาวของรายงาน 7-10 หน้า

หมายเหตุ นิสิตอาจเสนอรายงานเป็นกลุ่ม 3 คน หรือเสนอคนเดียวก็ได้


รายงานปลายภาค ปีการศึกษา 2541

ให้นิสิตเลือกเสนอรายงานศึกษาหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งต่อไปนี้

  1. คืนโลกแก่ผองเรา. มัชฌิมา วัฒกะวงศ์ และถาวร อัมรี แปลและเรียบเรียงจาก Reclaim the Earth ของเลโอนี คาลเดอคอตต์ และสเตฟานี เลแลนด์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจนเดอร์เพรส, 2540.
  2. วิถีสู่ธรรมชาติ เล่ม 1 : เกษตรกรรมธรรมชาติและสำนึกใหม่ในโลกตะวันตก. มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เขียน, นวลคำ จันภา แปลจาก The Road Back to Nature พิมพิ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2541.
  3. วิถีสู่ธรรมชาติ เล่ม 2 : เส้นขนานระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญา. มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เขียน, นวลคำ จันภา แปลจาก The Road Back to Nature พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2541.
  4. วิถีสู่ธรรมชาติ เล่ม 3 : หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความอุดมของแผ่นดิน. มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เขียน, นวลคำ จันภา แปลจาก The Road Back to Nature พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2541.
  5. ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ทางออกของเกษตรกรรมและอารยธรรมมนุษย์. มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เขียน. รสนา โตสิตระกูล แปล. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2541.
  6. ธรรมวิทยาศาสตร์ : เรื่องของมนุษย์ โลก และจักรวาล. นายแพทย์ประสาน ต่างใจ เขียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิภูมิปัญญา, 2538.
  7. มิตรภาพและความทรงจำ : สารคดีท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เจนเดอร์เพรส, 2540.
  8. เกษตรกรรมสำนึก : ทัศนะทวนกระแสจากจุดยืนด้านสังคมและนิเวศน์วิทยา. เดชา ศิริภัทร เขียน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2532.
  9. ห่วงใยในป่าฝน : ชะตากรรมของป่าฝนและอิทธิพลต่อมนุษย์. สก็อต ลิวอิส เขียน. กรรณิการ์ พรมเสาร์ แปล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2537.
  10. แรงดลใจ. ธีรภาพ โลหิตกุล เขียน. กรุงเทพฯ : กองทุนห้องสมุดศลาลจำปีรัตน์ วัดชลประทานรังสฤษฏ์, 2540.
  11. พลิกพื้นไทยให้เขียวชอุ่ม : ทางเลือกใหม่เพื่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม. พระไพศาล วิสาโล, สมควร ใฝ่งามดี เขียน. กรุงเทพฯ : โครงการประยุกต์เพื่อศาสนาเพื่อการพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม คระกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา, 2536.
  12. จีระศักดิ์ ยอดระบำ. บินใต้ดิน : เพลงชีวภาพจากนกเถื่อน. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ต้นกำเนิด, 2539.
  13. ศิเรมอร อุณหธูป. ร่มไม้ชายคา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : แพรวสำนักพิมพ์, 2539.
  14. เนื่อง. เรื่องของสัตว์ : การอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่าง คน สัตว์ และต้นไม้ใบหญ้า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2540.
  15. สงวนศรี วิบูลชุติกุล. ซึมซับความงามละไม : บทกวีและภาพประกอบ. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่, 2539.
  16. ชัยชน โลว์เจริญกุล. ไพรหม่น: บทกวีสะท้อนหัวใจของคนรักป่า. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2535.
  17. คนปลูกต้นไม้. กรรณิการ์ พรมเสาร์ แปลจาก The Man Who Planted Trees. ของฌ็อง ฌิโอโน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2539.
  18. โกศล อนุสิม. ผีเสื้อป่า : วิถีความแตกต่างระหว่างเด็กบนภูผากับเด็กในเมืองหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โครงการหนังสือสร้างสรรค์เยาวชน, 2539.
  19. ประเสริฐ จันคำ. ลมหายใจแห่งทุ่งหญ้า : จากประสบการณ์อันขมขื่นมาเป็นร้อยกรองแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เอื้ออาทรสำนักพิมพ์, 2539.
  20. พนม นันทพฤกษ์. ดงคนดี : ความงดงามแห่งวิถีชนบท. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร, 2540.

ก. เนื้อหาของรายงานควรครอบคลุมประเด็นต่างๆดังนี้

1. ลักษณะเนื้อหา แนวคิดสำคัญของเรื่อง โดยเฉพาะแนวคิดที่สำคัญกับสิ่งแวดล้อมและ/หรือนิเวศน์สำนึก
2. กลวิธีการนำเสนอ ท่านคิดว่าผู้เขียนนำเสนอเนื้อหาได้ชัดเจน น่าสนใจหรือไม่ อย่างไร
3. ประเมินคุณค่าของหนังสือทั้งในด้านแนวคิด ศิลปการประพันธ์ คุณค่าในการประเทืองปัญญาและประเทืองอารมณ์
4. ลักษณะเด่นที่น่าสนใจของหนังสือ ท่านคิดว่าควรแนะนำหนังสือนี้ให้ผู้สนใจอื่นๆหรือไม่

นอกจากนี้ นิสิตอาจเลือกนำเสนอประเด็นที่คิดว่าเหมาะสมอื่นๆ

ข. รายงานความยาวประมาณ 5-7 หน้า
ค. นำเสนอรายงานด้วยรูปแบบรายงาน บทความวิชาการ บทความวิจารณ์ หรือบทความสารคดี
ง. กำหนดส่ง ศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2542.


หน้าหลัก