มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลย์และยั่งยืน

มาตรา 288 เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติติ่ไปนี้
1. จัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่ หรือ
2. เข้าไปมีส่วนในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่ได้เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน
3. มีส่วนร่วมในการพิจารณาให้อนุญาตในการริเริ่มโครงการ หรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่ของตนที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่

ในระหว่างการทำประชาพิจารณ์รัฐธรรมนูญเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะกรรมาธิการการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีคุณสนิท กุลเจริญ เป็นประธานได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นว่ามีรัฐธรรมนูญบางมาตราที่สมควรเพิ่มเติมแก้ไขถ้อยคำ จึงได้เสนอต่อ สสร. ประกอบการแปรยัตติ เช่น

มาตรา 45 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีแห่งท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลย์และยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
เห็นควรตัดคำว่า ซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่น เนื่องจากบุคคลในฐานะปัจจเจกบุคคลมีสิทธิที่จะอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ฯลฯ โดยไม่จำเป็นต้องรวมตัวเป็นชุมชนท้องถิ่น


มาตรา 57 สิทธิของบุคคลที่จะดำรงชีพในสภาพแวดล้อมซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนอย่างปกติและต่อเนื่องย่อมได้รับความคุ้มครอง
การทำให้ น้ำ อากาศ แสงแดด หรือปัจจัยแห่งการดำรงชีพตามธรรมชาติอย่างอื่นเปลี่ยนแปลงไป จนกระทบต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของบุคคลจะกระทำมิได้
เว้นแต่จะเป็นการกระทำโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณประโยชน์
เห็นควรเพิ่มคำว่า "ดิน" ในวรรคสอง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความครอบคลุมยิ่งขึ้น

ในร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) อันมีคุณอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาร่าง และคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ค่อนข้างมาก
กล่าวคือ มีบทบัญญัติหลายมาตรา ดังเช่น
มาตรา 45 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีแห่งท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลย์และยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 57 สิทธิของบุคคลที่จะดำรงชีพในสภาพแวดล้อมซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนอย่างปกติและต่อเนื่องย่อมได้รับความคุ้มครอง
การทำให้ น้ำ อากาศ แสงแดด หรือปัจจัยแห่งการดำรงชีพตามธรรมชาติอย่างอื่นเปลี่ยนแปลงไป จนกระทบต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของบุคคลจะกระทำมิได้
เว้นแต่จะเป็นการกระทำโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณประโยชน์

มาตรา 59 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับคำชี้แจงข้อมูล และเหตุผลจากหน่วยงานราชการ หน่อยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมอันใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 70 บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศและรับราชการ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์และปกป้องศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนในการบำรุงรักษาและใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลย์และยั่งยืน

เห็นควรมีการเพิ่มหลักการ ผู้ใดเป็นผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluters Pay Principle) เข้าไว้มาตรานี้

นอกจากนั้น ยังเห็นกันว่าควรเพิ่มมาตรา 5/25 (ร่างเดิม) ที่ถูกตัดทิ้งไปเข้าไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหญ่ด้วยเนื่องจากสะท้อนให้เห็นนโยบายของรัฐด้านสิ่งแวดล้อม

มาตรา 5/25 (ร่างเดิม) มีดังนี้ "รัฐพึงกำหนดนโยบายการวางแผนพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมีการกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ชนบทอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ


หน้าหลัก