ความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของประชาชน

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เข้าร่วมในการประชุมทาง
วิชาการเรื่อง çความเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์ของประชาชนé (Public
Understanding of Science) ซึ่งจัดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต (Proceeding ของ
การประชุมดังกล่าวสามารถสืบค้นได้บนอินเทอร์เน็ตที่ http://www.dur.ac.uk/
~dss0www1/ และ http://www.counterbalance.org/pusforum/) โดยมี
ผู้จัดคือ Steve Fuller ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเดอ
แรม สหราชอาณาจักร การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายประเทศ และมี
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดจนมีการถกเถียงอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง

çความเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์ของประชาชนé นับว่าเป็นการศึกษาแขนงใหม่
ที่เพิ่งเริ่มมีผู้สนใจและทำการวิจัยมาเมื่อไม่นานมานี้ และก็มีวารสารทางวิขาการชื่อ
Public Understanding of Science ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมแห่งหนึ่งในการ
ศึกษาวิจัยในสาขาใหม่นี้ จุดหมายหลักของการค้นคว้าในด้านนี้ก็ได้แก่การตอบปัญหาว่า
ประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์อาชีพ มีความคิด มีทัศนคติ หรือมีความเข้าใจ
ของวิชาวิทยาศาสตร์อย่างไร และทัศนคติหรือความเข้าใจดังกล่าวนี้จะมีผลในเชิง
นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (ในแง่การสนับสนุนวิทยาศาสตร์ของรัฐบาล
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน หรือการให้การศึกษาแก่ผู้ที่จะเป็นนัก
วิทยาศาสตร์อาชีพต่อไป ฯลฯ) อย่างไร มูลเหตุประการหนึ่งที่ทำให้มีการศึกษาวิจัย
แขนงนี้มากขึ้นในโลกตะวันตกเช่นสหราชอาณาจักรก็คือ ในระยะหลังนี้มีความรู้สึกกัน
ว่า ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์นั้นลดต่ำลง และมีผู้สนใจเป็น
นักวิทยาศาสตร์น้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ที่สนใจเรียนสาขาวิชาอื่นๆ เช่นการบริหาร
หรือการจัดการ สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่า จะทำให้สมรรถนะในการ
แข่งขันของประเทศลดน้อยลง จึงมีการรณรงค์โดยรัฐบาลเพื่อให้เด็กนักเรียน ตลอด
จนประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น (Fuller 1997: 1-2)
ทั้งนี้ก็ด้วยความคาดหมายที่ว่า เมื่อประชาชนมีความเข้าใจวิชาวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ก็จะทำให้สมรรถนะในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรดียิ่งขึ้น

สำหรับการศึกษาความเข้าใจของประชาชนต่อวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เราเห็นกันทั่วไปว่า คนไทยจำนวนมากยังมีความเชื่อ
ในเรื่องราวต่างๆที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่นโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ หรือศาสตร์
การดูฮวงจุ้ย แต่การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดูจะไม่ช่วย
ให้วิทยาศาสตร์ชนะใจของประชาชน แทนที่ ศาสตร์Ž อื่นๆเหล่านี้เลย การเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปเป็นการบอกให้จำว่า อะไรเป็นอะไร และเมื่อมีการ
ค้นคว้าหรือการทดลอง ก็มักมีการกำหนดหรือการคิดไว้ก่อนว่า ผลที่ออกมาควรจะ
เป็นเช่นไร เช่นผลที่ออกมาจะต้องไม่ไปขัดกับทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่ ยิ่งไปกว่า
นั้นการศึกษาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมนั้น มักเน้นหนักที่การแก้โจทย์ มากกว่าการ
ทดลอง ทั้งๆที่การสังเกตทดลองเป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์ และเมื่อการศึกษาไป
ผูกพันอยู่กับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่เน้นการสอบแบบหาคำตอบที่ถูกต้อง
เพียงคำตอบเดียวเพียงเท่านั้น สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงอย่างมาก นอกจากนี้การ
สอนทฤษฎี หรือ องค์ความรู้Ž ทางวิทยาศาสตร์ก็ตั้งอยู่บนความเข้าใจว่า ทฤษฎีดัง
กล่าว เช่นทฤษฎีของดาร์วินหรือไอน์สไตน์ เป็นความจริงที่เถียงไม่ได้ เพราะถ้า
เถียงก็จะสอบไม่ได้ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบนี้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการ
พัฒนาความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด เพราะถ้าสอน
วิทยาศาสตร์ให้เป็นกลุ่มของข้อมูลหรือ องค์ความรู้Ž ให้จดจำเท่านั้น วิทยาศาสตร์
ก็จะไม่มีอะไรที่แตกต่างกับโหราศาสตร์ ซึ่งมี องค์ความรู้Ž ให้จดจำเวลาเรียน
เช่นเดียวกัน การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจทำให้
โหราศาสตร์หรือศาสตร์การดูฮวงจุ้ยเฟื่องฟูอย่างที่เห็นกันนี้ก็ได้

การพัฒนาความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของประชาชนให้ได้ผลดี คงจะต้องเริ่ม
จากการตระหนักว่า ตัวองค์ความรู้ที่สอนกันมาสืบทอดกันมานั้น อาจเป็นเท็จก็ได้แม้
ในขณะนี้ ดังนั้นการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่ควรจะมีการยอมรับไว้ก่อน
ว่า องค์ความรู้ดังกล่าวเป็นจริงเสมอ การไม่ยอมรับเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่า
การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเหมือนกับการท่องไปในโลกกว้าง ที่ผู้ที่เที่ยวไปอาจจะพบ
กับอะไรที่ตนเองไม่คาดคิดมาก่อน ผู้เรียนจะพบว่าเขาถูกบ้างผิดบ้าง แต่อย่างน้อย
เขาก็ได้พบด้วยตัวของเขาเอง การคิดว่าทฤษฎีเช่นของไอน์สไตน์หรือดาร์วิน อาจ
เป็นเท็จก็ได้นั้น เป็นการปลูกฝังอุปนิสัยการช่างสงสัย และการคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์
ซึ่งผู้เขียนเองได้เสนอไว้ว่า เมื่อใดที่มีการคิดเชิงวิจารณ์ เมื่อนั้นความคิดดังกล่าว
ไม่สามารถถูกจำกัดอยู่ในที่ใดที่หนึ่งได้ (โสรัจจ์ 2541)

กล่าวโดยสรุป ความเข้าใจวิทยาศาสตร์ของประชาชนจะประสบผลสำเร็จได้
ก็ต่อเมื่อวิทยาศาสตร์หวนกลับมาสู่จิตวิญญาณดั้งเดิมของวิทยาศาสตร์เอง ดังที่ปรากฎ
ในการต่อสู้ของกาลิเลโอกับอำนาจของศาสนจักรดังที่ทราบกันดี จิตวิญญาณนั้นได้แก่
ความคิดเชิงวิจารณ์ และความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ท่องไปในโลกแห่งการเรียนรู้ รวมทั้ง
การที่ไม่ถูกจำกัดครอบงำโดยการศึกษาแบบแผน ความรู้สึกเช่นนี้จะมีประโยชน์อย่าง
มากต่อความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเมื่อผู้คิดเริ่มรู้จักนำเอาสิ่งที่ตน
คิดไปใช้ในการทำงานของตน วิทยาศาสตร์ก็จะประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่ที่
มีต่อประชาชนโดยรวม อันได้แก่การสร้างสรรค์ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
และการบรรลุอุดมคติของการอยู่ร่วมกันเป็นรัฐของประชาชน

เอกสารอ้างอิง

Steve Fuller. 1997. Science. Buckingham: Open UP.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. 2541. ขอบฟ้าแห่งปรัชญา: ความรู้ ปรัชญา และสังคม
ไทย.
(ได้รับการสนับสนุนการพิมพ์จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)