การตั้งค่าภาพเคลื่อนไหวก่อน (Preset Animation)

รูปที่ 5 Preset Animation
|
การนำเสนอภาพนิ่ง
ข้อมูลและรูปภาพจะแสดงพร้อมกันในเวลาเดียวกัน อาจทำให้ไม่น่าสนใจ ไม่เห็นลำดับขั้นของกระบวนการ
ไม่เข้าใจระบบการทำงานที่แสดงในเนื้อหา อย่างไรก็ตามโปรแกรมได้เตรียมชุดคำสั่งสำหรับให้ข้อความ
รูปภาพแสดงตามลำดับเป็นขั้นตอนในเวลาต่างกัน พร้อมกับมีเทคนิคการแสดงรูปภาพ
ข้อความเช่นแสดงแบบ Drive in การเลื่อนเข้ามาจากทิศทางต่างๆ (Flying)
การแสดงแบบกล้องถ่ายภาพ(Camera) แสดงวัตถุในพริบตา (Flash once) การเคลื่อนไหวแบบเลเซอร์
(Laser text) cแบบพิมพ์ดีด (Typewriter) การเลื่อนจากด้านบน การลบ จางหาย
เป็นต้น
การตั้งค่าภาพเคลื่อนไหว ให้คลิกเมาส์ที่ข้อความหรือรูปภาพ และใช้เมนูคำสั่งดังนี้
Slide Show > Preset Animation
นำเสนอภาพนิ่ง
> ตั้งค่าภาพเคลื่อนไหว
เมื่อใช้เมนูคำสั่งดังกล่าว รายการลักษณะเคลื่อนไหวจะแสดงให้เห็น (ดังรูปที่
5) ให้คลิกเมาส์เลือกตามต้องการ |
นอกจากเมนูคำสั่งแล้ว ยังมีแถบเครื่องมือเรียกว่าลักษณะพิเศษของภาพเคลื่อนไหว
ประกอบด้วยไอคอนต่างๆ ดังรูปต่อไปนี้
วิธีตั้งค่าภาพเคลื่อนไหว ให้คลิกเมาส์ที่ภาพหรือข้อความ แล้วจึงคลิกเมาส์เลือกไอคอนที่แสดงลักษณะพิเศษของภาพเคลื่อนไหว
ดังรูปข้างบน เช่น แบบ Drive in เคลื่อนไหวแบบเลื่อนข้อความหรือรูปภาพ
แบบกล้องถ่ายรูป การแสดงในพริบตา แบบข้อความเลเซอร์ แบบข้อความพิมพ์ดีด
แบบวางลงจากด้านบน พร้อมกับระบุตัวเลขลำดับที่ของการแสดงในช่องลำดับภาพเคลื่อนไหว
นอกจากนี้ยังมีไอคอนสำหรับภาพเคลื่อนไหวกำหนดเอง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ออกแบบสไลด์กำหนดภาพเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ
ดังมีรายละเอียดในหัวข้อต่อไป  |
ภาพเคลื่อนไหวกำหนดเอง
(Custom Animation)
การกำหนดภาพเคลื่อนไหวเองใช้ไอคอนภาพเคลื่อนไหวกำหนดเอง ในแถบเครื่องมือลักณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวในหัวข้อที่ผ่านมา
หรือใช้เมนูคำสั่งดังนี้
Slide
Show > Custom Animation
นำเสนอภาพนิ่ง
> ภาพเคลื่อนไหวกำหนดเอง
การใช้ไอคอนหรือเมนูคำสั่งดังกล่าว จะมีหน้าต่างให้กำหนดภาพเคลื่อนไหว (ดังรูปที่
6) ต่อไปนี้

รูปที่
6 Custom Animation
จากรูปที่ 6 ในช่องซ้ายมือ เป็นลำดับข้อความ วัตถุ รูปภาพ หรือปุ่มที่ออกแบบไว้ในสไลด์
ซึ่งจะสัมพันธ์กับรูปภาพข้อความในช่องขวามือ หากต้องการนำเสนอภาพนิ่งใดให้มีลักษณะเคลื่อนไหว
ให้คลิกหน้าชื่อภาพนิ่ง ให้เป็นเครื่องหมายถูก
ในรายการส่วนล่างประกอบด้วยแท็ปหัวข้อต่างๆ คือ Order & Timing , Effects,
Chart Effects , Play Settings แต่ละหัวข้อที่ใช้บ่อยๆ มีรายละเอียดดังนี้
Order & Timing เป็นรายการแสดงชื่อภาพนิ่งที่ต้องการให้กำหนดภาพเคลื่อนไหว
ชื่อภาพนิ่งที่เลือกจะปรากฏในช่องข้างล่างซ้ายมือชื่อ Animation order การนำเสนอภาพนิ่งจะเสนอเรียงตามลำดับรายชื่อ
ถ้าต้องการเปลี่ยนลำดับ ให้คลิกเครื่องหมายลูกศร Move ขึ้นหรือลงตามต้องการ
นอกจากนี้ยังมีรายการ Start Animation ให้เลือกการเคลื่อนไหวโดยคลิกเมาส์
(On Mouse Click)หรือ เคลื่อนไหวอัตโนมัติตามเวลาที่กำหนด (Automatically
seconds
after previous event)
Effects เป็นลักษณะพิเศษของภาพเคลื่อนไหวแบบต่างๆจำนวนมาก เช่น เลื่อนจากทิศทางต่างๆ
แสดงแบบกรอบเข้า กรอบออก แถบแยก จางหาย หมุนวน คลี่ ขยาย เป็นต้น (ดังแสดงในรูปที่
7)
ในการนำเสนอข้อความจะมีรายการ Introduce text ด้านขวามือให้เลือกนำเสนอทีละตัวอักษร
ทีละคำ หรือ แสดงข้อความทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
ในหัวข้อ Effects ยังใส่เสียงได้ โดยเลือกเสียงในช่องถัดมา (ดังแสดงในรูปที่
8) เช่นเสียงปรบมือ (Applause) เสียงแก้วแตก (Breaking Glass) เสียงกล้องถ่ายรูป
(Camera) เสียงกลอง (Drum Roll) เสียงปืน (Gunshot) เสียงระเบิด
รูปที่ 7 Effects
|
รูปที่
8 Sound Effect
|
After Animation เป็นรายการสุดท้ายของ Effects ใช้กำหนดสีข้อความหลังจากที่แสดงภาพเคลื่อนไหวแล้ว
โดยอาจกำหนดให้เป็นสีอื่น หรือซ่อนข้อความ หรือไม่กำหนดก็ได้
การเปลี่ยนภาพนิ่ง
(Slide Transition)

รูปที่
9 การเปลี่ยนภาพนิ่ง 
|
การเปลี่ยนภาพนิ่ง (Slide
Transition)
เป็นเทคนิคหรือลักษณะพิเศษในการเปลี่ยนภาพนิ่ง โดยใช้เมนูคำสั่งดังนี้
Slide Show > Slide Transition
นำเสนอภาพนิ่ง
> การเปลี่ยนภาพนิ่ง
จะแสดงหน้าต่าง Slide Transition ( ดังรูปที่ 9)
ให้เลือกรายการ Effect ตามต้องการ เช่นเดียว Effect ของการแสดงภาพเคลื่อนไหวดังที่กล่าวมาแล้ว
เช่น เลื่อนจากทิศทางต่างๆ แสดงแบบกรอบเข้า กรอบออก แถบแยก จางหาย หมุนวน
คลี่ ขยาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังเลือกอัตราความเร็วในการเปลี่ยนภาพนิ่ง
และกำหนดเวลาให้เปลี่ยนภาพนิ่งโดยอัตโนมัติ พร้อมกับเลือกเสียงประกอบได้ด้วย
หลังจากกำหนดเทคนิคการเปลี่ยนภาพเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Apply All (ใช้ในการเปลี่ยนภาพนิ่งทั้งหมด)
หรือ กด Apply (ถ้าต้องการใช้เฉพาะภาพนิ่งที่กำลังออกแบบเพียงภาพเดียว) |
|
|
|
|