ความเหมาะสมในการให้ความเห็นทางการเมืองของผู้บริหารระดับสูง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549
รูปหน้า 1 หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549
ไล่นายกฯ
- คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
นำทีมคณาจารย์เปิดแถลงข่าวล่าชื่อขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นจากนายกรัฐมนตรี
เพราะขาดความชอบธรรมและจริยธรรมของผู้นำ อันเนื่องมาจากวิกฤตหุ้น ที่คณะรัฐศาสตร์
จุฬาฯ เมื่อวันที่ 2 ก.พ.
รูปหน้า 1 หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549
ไล่"ทักษิณ" - คณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย
ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์
ออกแถลงการณ์พร้อมล่ารายชื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เนื่องจากไม่ได้ทำตัวเป็นแบบอย่างของผู้นำประเทศที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล
เมื่อวันที่ 2
กุมภาพันธ์ ที่คณะรัฐศาสตร์
ข่าวหน้าใน หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549
-ล่าชื่อคณาจารย์-น.ศ.จี้ลาออก
"ทางคณะจะเปิดให้คณาจารย์จากทุกคณะ
นิสิต และผู้ที่สนใจเข้าร่วมลงชื่อสนับสนุนจนถึงวันที่ 3 ก.พ. จากนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชนผ่านทางสื่อมวลชนในนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้แม้ว่า
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร บุตรสาวนายกรัฐมนตรี กำลังศึกษาอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์นั้นก็ไม่มีผลต่อการดำเนินการครั้งนี้
และทางคณะไม่ได้คำนึงว่าจะเป็นการกดดันหรืออย่างไร เพราะคิดว่าน.ส.แพทองธารเป็นเพียงนิสิตคนหนึ่งไม่ได้แตกต่างจากนิสิตคนอื่นๆ"
ศ.ดร.อมรา กล่าว
ข่าวหน้าใน หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549
-อาจารย์จุฬาฯลุกฮือจี้ให้ออก
"ถ้าการยื่นจดหมายเปิดผนึกครั้งนี้
ไม่มีการตอบรับจากนายกฯก็จะทำจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ซึ่งขณะนี้กำลังทำการล่ารายชื่ออาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคณะอยู่ และนอกจากนี้ก็มี
ศิษย์เก่าที่ทราบข่าวก็เข้าร่วมลงชื่อจำนวนมาก และส่วนเรื่องที่อาจารย์ในคณะรัฐศาสตร์คนใดจะไปร่วมในวันที่
4 ก.พ.นั้น เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนที่มีสิทธิ์ทำได้จึงไม่มีการปิดกั้น"
ศ.ดร. อมรากล่าว
ข่าวหน้าใน หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่
3 กุมภาพันธ์ 2549
นางอมรา พงศาพิชญ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะรัฐศาสตร์จะล่ารายชื่ออาจารย์จากคณะอื่นด้วย แต่จะไม่ไปร่วมชุมนุมกับม็อบนายสนธิวันที่
4 ก.พ.เว้นแต่อาจารย์คนไหนจะไปก็ถือเป็นสิทธิส่วนตัว
ข่าวหน้า 1 หนังสือพิมพ์
Amara Pongsapich, dean of Chulalongkorn's political science faculty, said Mr Thaksin
had a moral obligation to step down immediately.
After
this, the constitution should be amended with the support of civil society and
various organizations under the constitution to pave the way for a new election
and consequently a new leader.
อธิการบดีออนไลน์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549
ดังนั้นการแสดงความคิดเห็นของแต่ละบุคคลถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้
มหาวิทยาลัยไม่ได้ปิดกั้นตรงนี้ แต่ก็ต้องดูด้วยว่าเสรีภาพทางวิชาการถ้าอยู่ในขอบเขตที่ควรจะเป็นเราก็ต้องรักษาไว้
เหมือนกับการอธิบายสิ่งที่เป็นความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ
ฉะนั้นการที่คณาจารย์จำนวนหนึ่งมีความคิด
ความเห็นก็เป็นความเห็นในส่วนบุคคลของเขา เราก็ไม่มีอะไรที่จะปิดกั้นตรงนั้น
แต่ก็มีคำถามตามมาว่าเมื่อมีคนจำนวนหนึ่งแสดงความคิดเห็น
ในฐานะที่เป็นสถาบันไม่ว่าจะเป็นสถาบันใดก็ตาม มันคืออะไร ก็ต้องบอกตรง ๆ
ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่บริหารงานโดยองค์คณะบุคคล อธิการบดีจะไปเที่ยวพูดอะไรก็ต้องแยกแยะบทบาทให้ชัดเจน
เพราะพูดในฐานะสุชาดา กีระนันทน์
หรือในนามอธิการบดีมหาวิทยาลัย และเป็นผู้แทนของสถาบัน
การที่มหาวิทยาลัยเป็นองค์คณะบุคคลหมายความว่าต้องได้รับ
ได้มีการปรึกษาหารือ มีความเห็นชอบแล้วถึงได้พูดในฐานะสถาบันได้
สิ่งนี้ก็เป็นหลักปฏิบัติปกติที่ทำเป็นอยู่ประจำเพราะฉะนั้นโดยสรุปแล้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเป็นกลางชัดเจน
ยึดถือระบอบประชาธิปไตย และเคารพในสิทธิส่วนบุคคล
ซึ่งวิธีการดำเนินงานของเราถ้าจะเป็นความคิดในองค์รวมของสถาบันจะต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองต่าง
ๆ ของคณะบุคคลที่ทำหน้าที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัย ทั้งสภามหาวิทยาลัย
ที่ประชุมคณบดีต่าง ๆ
ในสังคมปัจจุบันนี้มีข้อมูลที่หลากหลาย
การเข้าถึงข้อมูลของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ตนเห็นว่าใครที่พูดอะไรออกไปแล้ว
เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการพูดด้วย
แต่คิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปด้วยดี คิดว่าทุกคนจะหันหน้าเข้ามาคุยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติสูงสุดเท่าที่จะทำได้
เพราะปัญหาภายนอกรุมเร้าเข้ามา
ดังนั้นเมื่อมองถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงเข้าใจถึงปัญหาที่กระแทกเข้ามาในมหาวิทยาลัยเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นภาวะคุกคามต่างประเทศ หรือการเปลี่ยนแปลงภายในของเราเอง
ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องใช้วิจารณญาณ ใช้สติปัญญาในการคิดไตร่ตรองให้ดี
ข่าวหน้าใน หนังสือพิมพ์คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 7 กุมภาพันธ์
2549
ศ.ดร.อมรา กล่าวว่า เรื่องเหล่านี้ไม่มีปัญหาอะไร
คิดว่าสถานการณ์น่าจะคลี่คลาย เพราะมีแรงสนับสนุนจากหลายฝ่าย
ทั้งภายในและภายนอกทุกแห่ง ทั้งจากโทรศัพท์ โทรสาร อีเมลจากในและต่างประเทศ
รวมทั้งนิสิต นักศึกษาที่เรียนในคณะรัฐศาสตร์ก็คงจะไม่มีปัญหาเช่นกัน ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะเชิญนักวิชาการร่วมหารือที่ทำเนียบรัฐบาล
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นั้น ตนไม่มีความเห็น
ไม่ทราบ คงจะไม่เข้าร่วมเนื่องจากมีภารกิจอื่นอยู่แล้ว
สำหรับจุดยืนของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กรณีที่มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงและกดดัน
รวมทั้งกรณีของบุตรสาวของนายกรัฐมนตรีจะวางตัวเช่นไรนั้น ขอยืนยันว่าไม่หวั่นไหว และไม่มีอะไร
ส่วนที่ว่าจะเป็นการแตกแยกระหว่างคนจุฬาฯ หรือไม่นั้น เห็นว่าไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ และเราก็คงแสดงความชัดเจนในจุดยืน
และวิธีการทำงานของเราต่อไป
ข่าวหน้าใน หนังสือพิมพ์คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์
2549
เมื่อถามถึงความเห็นส่วนตัว และจะร่วมลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งของพ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น ศ.ดร.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทร์
กล่าวว่า ก็เข้าใจว่าตนเป็นบุคคลสาธารณะ แต่ต่อให้พูดในฐานะส่วนตัวแต่พอลงข่าวก็ต้องพ่วงท้ายว่าในตำแหน่งอธิการบดีจุฬาฯ
ดังนั้น เรื่องนี้ขอเก็บไว้ในใจดีกว่า
แล้ววันหลังค่อยคุยกันแบบกุ๊กกิ๊ก เพราะเคยเป็นเพื่อนร่วมเรียนมัธยมที่โรงเรียนมาร์แตร์เดอีมาด้วยกันมีแต่ให้กำลังใจ
....................................................
สุดท้ายขอให้ทุกท่านตัดสินใจเอาเองถึงความเหมาะสมในการแสดงความเห็นทางการเมืองของผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 ท่าน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
+ Thai Silk
+ รถมือสอง
+ รถยนต์ รถบ้าน
+ Toyota มือสอง Honda มือสอง Isuzu มือสอง
+ Benz มือสอง BMW มือสอง Mini มือสอง
+ Vios มือสอง Altis มือสอง Civic มือสอง Accord มือสอง