คำนาม (NOUNS)
หน้าที่ของคำนาม
1.
เป็นประธานของกริยา
คำนามที่มีหน้าที่นี้จะมีตำแหน่งปรากฏหน้ากริยาเสมอ เช่น
Jack loves Jill.
2.
เป็นกรรมของกริยา คำนามหน้าที่นี้จะปรากฏหลังกริยา
ก. เป็นกรรมตรง เช่น
Jack loves Jill.
ข. เป็นกรรมรอง เช่น
John
gives Jill money. My sister
sent Mary a birthday card.
3. เป็นกรรมของบุพบท
คำนามจะปรากฏหลังบุพบท เช่น
I
took it from John.
4. ขยายกริยาให้ประธานหรือกรรมมีความหมายสมบูรณ์
คำนามนี้จะปรากฏหลังกริยา
ก. ขยายให้ประธานมีความหมายสมบูรณ์ คำนามหน้าที่นี้มักจะอยู่หลังกริยา to be เช่น Susan is a nurse.
ข. ขยายให้กรรมสมบูรณ์ คำนามหน้าที่นี้จะปรากฏหลังกรรม เช่น
They
elected John leader.
5. ประกอบนาม ใช้วางหน้าคำนาม นามลักษณะนี้ทำหน้าที่เหมือน adjectives
ตัวอย่างเช่น
Jack
is waiting at the bus stop.
Did
you enjoy the football match last week?
6. ขยายความของนามอื่น เป็นลักษณะนามซ้อนนาม จะปรากฏหลังนามที่มันขยาย
โดยมีเครื่องหมาย comma ( , ) คั่นระหว่างนามทั้งสอง
ก. นามนั้นทำหน้าที่ขยายนามที่เป็นประธาน เช่น
John,
my brother, is strong.
Their
country,
ข. นามนั้นทำหน้าที่ขยายนามที่เป็นกรรม เช่น
I
admire my teacher, Mr. Jackson.
He
traveled by train, the
7. นามที่ขยายด้วยประโยคที่ทำหน้าที่คล้ายคุณศัพท์ จะปรากฏหน้าคำ relative
pronouns ได้แก่ who, which, whom, whose, และ
that เช่น
The
girl who has been sick for
months is better now.
This
is the house
that Jack built.
8. ใช้เรียกชื่อนามที่ผู้พูดประสงค์จะพูดด้วย
จะปรากฏต้นประโยคเป็นส่วนมากและท้ายประโยคด้วย เช่น
John,
come here., Good
morning., Mr. Kenneth.
หมายเหตุ คำที่อยู่ติดกับนามและอยู่หน้านาม
เรียกว่า Determiners
คำดังกล่าวนี้จะกำหนดให้คำนามนั้นใช้ได้ต่าง ๆ กัน
เช่นใช้ในความหมายเจาะจง (ตัวอย่างเช่น the boy, this
car) หรือในความหมายไม่เจาะจง (ตัวอย่างเช่น a
boy, some cars) หรือแสดงปริมาณ (เช่น many
boys, both cars)
คำ determiners จะอยู่หน้านามนับได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
และอยู่หน้านามนับไม่ได้ แต่ปกติจะไม่อยู่หน้านามเฉพาะ
คำ determiners ได้แก่
1.
Articles : a, an, the.
2.
Possessives : my, your etc.
3.
Demonstratives
: this, these, that, those
4.
Numerals : one, two, first, second, next, last etc.
5.
Quantifiers : some, any, no, few, less, each, either etc.
6.
The
Genitive : Johns, childrens, boys etc.
7.
Wh-determiners : what (ever),
which (ever), whoever, whose.
คำนามเอกพจน์และพหูพจน์
(SINGULAR
AND PLURAL NOUNS)
การแบ่งแยกคำนามอาจแบ่งเป็นชนิดนามนับได้และนับไม่ได้ หรือแบ่งตามรูป
เป็นคำนามรูปเอกพจน์ (singular nouns) และนามรูปพหูพจน์ (plural nouns) ก็ได้
โดยทั่วไปคำนามนับได้เท่านั้นจึงจะมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์ นามที่นับไม่ได้
จะมีแต่รูปเอกพจน์เท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วคำนามรูปเอกพจน์
อาจจะหมายถึงนามนับได้ที่มีจำนวนเพียงหนึ่งเท่านั้น เช่น a dog หรืออาจจะหมายถึงนามที่มีจำนวนมากนับไม่ถ้วนไม่อาจแยกเป็นจำนวนเดียวได้
เช่น gold, water และอาจหมายถึงนามที่นับได้หลายสิ่ง เช่น sheep
ก็ได้ ดังนั้นเพียงรูปของนามอย่างเดียว ยังไม่อาจตัดสินได้ว่าเป็นนามชนิดใด
ต้องขึ้นอยู่กับความหมายของคำนามนั้นที่ปรากฏอยู่ในประโยคด้วย
เช่นเดียวกับคำนามที่นับไม่ได้บางตัว อาจมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์ก็ได้
แต่วิธีใช้และความหมายของคำนั้นแตกต่างกัน
เช่น wood (เป็นนามนับไม่ได้ แปลว่า ไม้)
woods (เป็นนามนับได้ แปลว่า ป่า)
work (เป็นนามนับไม่ได้ แปลว่า งาน)
works (เป็นนามนับได้ แปลว่า โรงงาน
หรือผลงาน)
ดังนั้นการเปลี่ยนรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์
เราจะเปลี่ยนเฉพาะกับนามนับได้เท่านั้น
ความหมายของคำพหูพจน์เมื่อเปลี่ยนรูปแล้วจะแสดงว่ามีมากกว่าหนึ่ง
กฎการเปลี่ยนรูปเอกพจน์เป็นรูปพหูพจน์ มีดังนี้
1. เติม s
หลังนามเอกพจน์ทั่วไป เช่น
girl girls, mouth mouths
2. เติม s
หลังนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย e เช่น
rose roses, noise noises
3. เติม es หลังนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย
s, z, ch, sh, x (ให้สังเกตว่า เมื่อเปลี่ยนรูปพหูพจน์แล้ว พยางค์ออกเสียงเพิ่มขึ้น)
เช่น
brush brushes
dish dishes
fox foxes
sandwich sandwiches
ยกเว้น
คำ monarch monarchs เพราะ
ch ออกเสียง [K]
4. ก. เติม es หลังคำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย
o และหน้า o เป็นพยัญชนะ เช่น
hero heroes
echo echoes
tomato tomatoes
Negro Negroes
ข. เติม s หลังคำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย
o และหน้า o เป็นสระ (a, e, i, o, u) เช่น
studio studios
cuckoo cuckoos
radio radios
zoo zoos
ค. คำยกเว้นต่อไปนี้ แม้ข้างหน้า o จะเป็นพยัญชนะก็ให้เติม s หลังนามเอกพจน์เท่านั้น
kilo kilos
solo solos
piano pianos
zero zeros
photo photos
memo memos
คำบางคำมีรูปพหูพจน์ 2 รูป
cargo cargos,
cargoes
volcano volcanos, volcanoes
mosquito mosquitos, mosquitoes
5. ก. คำนามที่ลงท้ายด้วย y ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
เช่น
fly flies
army armies
ข. คำนามที่ลงท้ายด้วย y และหน้า
y เป็นสระให้เติม s หลังนามเอกพจน์
เช่น
key keys
guy guys
ค. คำยกเว้น ถ้านามนั้นเป็นคำนามเฉพาะ ให้เติม s
หลังนาม
Mary Marys
Henry Henrys
ตัวอย่างเช่น
There
are two Walters and three Roberts in our class.
Are
the Smiths coming to your party tomorrow night?
ง. พยัญชนะเดี่ยว, ตัวเลขเดี่ยว อาจแสดงรูปพหูพจน์ได้ โดยเติม s หลังคำนั้น
ๆ
ตัวอย่างเช่น 9 9s, t
ts
ตัวอย่างเช่น
There
are two ms in accommodation.
Your 5s look almost like 8s.
There
are too many ands in the sentence.
จ. อักษรตัวย่อ และ ปี ค.ศ. เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ใส่ s หลังอักษรย่อ หรือ
ปี ค.ศ. แต่ในปัจจุบันนิยมใส่เพียง s
เท่านั้น เช่น
M.P.s (หรือ MPs), 1940s (หรือ 1940s), Ph Ds (PhDs), M.A.s (หรือ M.A.s)
สำหรับปี ค.ศ. เมื่อใส่ s หลังปีที่ลงท้ายด้วย 0 จะมีความหมายว่าระยะเวลาในช่วงปีนั้น
It
happened some time in the 1840s (1840s)
1840s หมายถึงระหว่างปี 1840 1849 อ่านว่า eighteen
forties
1850s หมายถึงระหว่างปี 1850 1859 อ่านว่า eighteen
fifties
1900s หมายถึงระหว่างปี 1900 1999 อ่านว่า nineteen
hundreds
6. ก. คำนามพยางค์เดียวที่ลงท้ายด้วย f และ fe ให้เปลี่ยน f,
fe เป็น Ves
เช่น
wife wives
leaf leaves
wolf wolves
ข. คำนามที่ลงท้ายด้วย oof,
ief, ff เมื่อเปลี่ยนเป็นพหูพจน์ให้เติม s
หลังนาม
roof roofs
cliff cliffs
chief chiefs
handkerchief handherchiefs
ค. คำยกเว้นต่อไปนี้ แม้นามเอกพจน์จะลงท้ายด้วย f,
fe ให้เติม s หลังนาม
เช่น
safe safes
reef reefs
strife strifes
หมายเหตุ
มีบางคำมีรูปพหูพจน์ได้ 2 รูป เช่น
hoof hoofs,
hooves
scarf scarfs, scarves
7. คำนามต่อไปนี้ เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ ให้เปลี่ยนรูป
woman women
tooth teeth
mouse mice
man men
goose geese
8. คำนามต่อไปนี้ เมื่อเป็นรูปพหูพจน์ลงท้ายด้วย en
ox oxen
child children
9. คำนามประสม (Compound nouns)
ก. ถ้านามประสมนั้นมีลักษณะเป็นคำเดียว (เขียนติดกันหรือมี
hyphen คั่น เมื่อเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนเฉพาะนามตัวหลัง
โดยใช้กฎเหมือนกับที่กล่าวแล้วข้างต้น เช่น
matchbox matchboxes
salesman salesmen
roommate roommates
footprint footprints
bookshelf bookshelves
eyelid eyelids
housewife housewives
railway railways
fisherman fishermen
workman workmen
handbag handbags
ข. คำประสมที่เกิดจาก noun + preposition,
adjective + noun, noun + adverb, prefix + noun หรือ noun +
preposition + noun เมื่อเปลี่ยนรูปพหูพจน์ให้เปลี่ยนเฉพาะคำนาม
ซึ่งเป็นคำหลักเท่านั้น ตัวอย่างเช่น
mother in law mothers
in law
looking glass looking
glasses
living rooms living
rooms
washing machine washing
machines
looker on lookers
on
passer by passers
by
commander in chief commanders
in chief
man of war men
of war
mouthful mouthfuls
ค. คำประสมต่อไปนี้นิยมทำเป็นรูปพหูพจน์ทั้งสองส่วน เช่น
man servant men
servants
woman journalist women
journalists
gentleman farmer gentlemen
farmers
หมายเหตุ
ตำแหน่งที่ใช้นำหน้าชื่อ สกุล จะมีรูปพหูพจน์ 2 รูปดังนี้
Miss
the Misses
e.g. Miss
Smith the
two Miss Smiths
หรือ the Misses Smith
10. คำนามต่อไปนี้มีรูปซ้ำกันทั้งนามเอกพจน์และพหูพจน์ ได้แก่
deer deer
sheep sheep
fish fish
series series
species species
salmon salmon
11. คำนามต่อไปนี้ไม่เปลี่ยนรูปพหูพจน์ เมื่อมีจำนวนนับประกอบข้างหน้า ได้แก่ dozen,
foot, score, hundred, thousand, million
ตัวอย่างเช่น
We
have sold three score of salmon today.
Give
me three dozen of those eggs.
แต่เมื่อคำเหล่านี้บางคำ ไม่มีจำนวนนับประกอบข้างหน้า
ไม่ระบุจำนวนที่แน่นอน เมื่อต้องการเปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์ จะเติม s หลังนาม เช่น hundreds, scores,
dozens, thousand, millions
e.g.
Ive
told you that dozens of times.
All
that happened thousands of years ago.
12. คำนามพหูพจน์ เมื่อใช้ประกอบนามอีกตัวหนึ่ง จะเปลี่ยนใช้รูปเอกพจน์
แม้ความหมายจะยังเป็นพหูพจน์ เช่น
a two-mile walk
a five-pound note
a six-lane motorway
13. คำนามต่อไปนี้มีรูปเป็นเอกพจน์ แต่ใช้ในความหมายพหูพจน์ ได้แก่
poultry
people
cattle
clergy
police
majority
minority
หมายเหตุ คำ people (ประชาชน) peoples (คนหลายเชื้อชาติ)
e.g. Vermin
are harmful animals or insects.
Police
are controlling the crowds.
These
cattle are on their way to the slaughter house.
14. คำนามที่บอกสัญชาติ ที่ลงท้ายด้วย ss และ se จะใช้รูปเดียวกันทั้งนามเอกพจน์และพหูพจน์
a Japanese two
Japanese
a Swiss two
Swiss
15. คำนามต่อไปนี้มีรูปเป็นพหูพจน์ แต่ใช้อย่างรูปเอกพจน์เสมอ
works (โรงงาน, ผลงาน)
ethics (จริยธรรม)
physics (วิชาฟิสิกส์)
politics (วิชาการปกครอง)
headquarters (สำนักงานใหญ่)
statistics (วิชาสถิติ)
mumps (คางทูม)
measles (โรคหัด)
ตัวอย่าง
A
headquarters was established near the city.
A steel works has just been opened.
Physics
is a science.
16. คำนามต่อไปนี้มีรูปเป็นพหูพจน์ และใช้อย่างนามพหูพจน์ ได้แก่
contents (สารบัญ)
fireworks (ดอกไม้ไฟ)
goods (สินค้า)
italics (ตัวพิมพ์เอน)
congratulations (คำแสดงความยินดี)
manners (กิริยามารยาท)
premises (โรงเรือน)
wages (ค่าจ้าง)
waters (น่านน้ำ, ทะเล)
customs (ภาษีศุลกากร)
airs (ลักษณะท่าทาง)
scissors (กรรไกร)
stairs (ขั้นบันไดบ้าน)
tongs (คีม)
trousers (กางเกงขายาว)
belongings (ทรัพย์สมบัติ)
earnings (เงินที่หาได้)
savings (เงินออมทรัพย์)
ตัวอย่าง
She
can use her savings to buy a car.
George
has very good manners.
Mr.
George takes all his wages home to his wife.
These
trousers are too tight for me.
คำนามดังกล่าวบางคำ เมื่อใช้เป็นคำขยายนาม จะเปลี่ยนรูปเป็นเอกพจน์
trouser buttons
trouser pockets
ยกเว้นคำบางคำยังคงรูปของพหูพจน์
a sports car
a savings bank
the arms race
17. คำนามที่มาจากภาษาอื่น ใช้รูปพหูพจน์ตามภาษาเดิม กฎการเปลี่ยนมีดังนี้
ก. คำนามที่ลงท้ายด้วย us (ภาษาละติน) เปลี่ยนรูปพหูพจน์ เป็น i
เช่น
stimulus stimuli
alumnus alumni
bacillus bacilli
แต่มีคำบางคำที่มีรูปพหูพจน์ 2 รูป คือจากภาษาเดิม
และจากกฎภาษาอังกฤษ รูปพหูพจน์ภาษาเดิม มักใช้ในแง่วิชาการ เป็นศัพท์เทคนิค
ขณะที่รูปพหูพจน์ภาษาอังกฤษ ใช้ในความหมายธรรมดาทั่ว ๆ ไป ได้แก่
cactus cacti,
cactuses
focus foci,
focuses
radius radii,
radiuses
terminus termini,
terminuses
syllabus syllabi,
syllabuses
fungus fungi,
funguses
และคำต่อไปนี้ ใช้กฎปกติในการเปลี่ยนรูปพหูพจน์
circus circuses
virus viruses
genius geniuses
ข. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย a (ภาษาละติน) เมื่อเปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์ เปลี่ยนเป็น ae (ออกเสียง อี / i
: /) เช่น
larva larvae
vertebra vertebrae
alga algae
คำต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์ 2 รูป ทั้งจากรูปภาษาเดิม
และรูปภาษาอังกฤษ ได้แก่
formula formulas,
formulae
antenna antennas,
antennae
คำต่อไปนี้ใช้รูปพหูพจน์ปกติเท่านั้น ได้แก่
arena arenas
diploma diplomas
drama dramas
ค. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย um (ภาษาละติน) เมื่อเป็นพหูพจน์ให้เปลี่ยนเป็น
a (ออกเสียงเออะ / e / ได้แก่
curriculum curricula
bacterium bacteria
erratum errata
medium media
stratum strata
คำต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์ 2 รูป ได้แก่
aquarium aquariums,
aquaria
memorandum
memorandums,
memoranda
symposium symposium,
symposia
คำต่อไปนี้ใช้รูปพหูพจน์ปกติเท่านั้น ได้แก่
museum museums
ultimatum ultimatums
ง. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย is (ภาษากรีก) เมื่อเป็นนามพหูพจน์ เปลี่ยนเป็น
es ออกเสียงอีส / i : z / ได้แก่
basis bases
analysis analyses
crisis crises
diagnosis diagnoses
hypothesis hypotheses
parenthesis parentheses
synopsis synopses
thesis theses
คำต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์ปกติ โดยเติม es หลังนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย s
เช่น
metropolis metropolises
จ. คำนามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย on (ภาษากรีก) เมื่อเป็นนามพหูพจน์เปลี่ยน on เป็น a ออกเสียง / / เช่น
criterion criteria
phenomenon phenomena
คำนามต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์ 2 รูป ได้แก่
automaton automatons,
automata
คำนามต่อไปนี้เปลี่ยนรูปพหูพจน์ โดยเติม s
ได้แก่
neutron neutrons
electron electrons
ฉ. คำนามที่ลงท้ายด้วย ex หรือ ix (ภาษาละติน) เมื่อเปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์ มีรูปเป็น ices
ออกเสียงอิชีส / isi:z
/ ได้แก่
vortex vortices
codex codices
คำนามต่อไปนี้มีรูปพหูพจน์ 2 รูป ได้แก่
apex apexes,
apices
appendix appendixes,
appendices
matrix matrixes,
matrices
index indexes,
indices
ช. คำนามที่ลงท้ายด้วย eau (ออกเสียงโอ / ou /) เมื่อเป็นพหูพจน์เติม x เป็น eaux ออกเสียงโอช์ /-ouz/ ได้แก่
bureau bureaux
plateau plateaux
tableau tableaus
คำนามที่แสดงความเป็นเจ้าของ
(THE GENITIVE (POSSESSIVE
FORMS))
เมื่อต้องการแสดงว่านามนั้นเป็นเจ้าของ (possessive)
มีวิธีแสดงโดยใส่ apostrophe ( หรือ s) หลังนามนั้น ดังมีกฎต่อไปนี้
1. ใส่ s หลังคำนามเอกพจน์ทุกตัว เช่น
The
cats food is in the plate.
Do
you know my bosss house?
The
boys shorts are black.
The
princesss crown is precious.
2. ใส่ s หลังคำนามพหูพจน์ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย s
เช่น
The
childrens school is big.
The
mices legs are short.
The
gentlemens room is clean.
3. ใส่ หลังคำนามพหูพจน์ทุกตัวที่ลงท้ายด้วย s
เช่น
The
princesses eyes are brown.
The
babies mother is dead.
4. นามที่เป็นชื่อเฉพาะและนามสกุลที่ลงท้ายด้วย s นิยมใส่แต่
apostrophe () แต่จะใส่ apostrophe (s) ก็ได้ เช่น
We
live near St.James Square (St. Jamess
Square)
Louis
son is an engineer. (Louiss son)
ถ้านามนั้นเป็นชื่อในภาษากรีกซึ่งมีมากกว่าหนึ่งพยางค์ จะใส่แต่ หลังนาม เช่น
Archimedes
Law
Socrates
philosophy
5. ถ้าคน 2 คนร่วมกันเป็นเจ้าของสิ่งเดียวกัน ให้ใส่ s หลังนามตัวหลังเพียงครั้งเดียว
These
are Peter and Marys children.
David
and Jonathans friendship lasts long.
6. ถ้าคน 2 คนต่างก็เป็นเจ้าของแต่ละสิ่งให้ใส่
s หลังนามทุกตัว เช่น
Lucys
and Nancys houses are on the same street.
Peters
and Johns sons are classmates.
7. ใส่ s หลังคำนามตัวสุดท้ายของนามวลี
(noun phrase) เช่น
the King of Spains daughter
some peoples opinions
the British governments recent decision
8. คำนามที่ใส่หลัง s
บางคำอาจละไว้ในฐานที่เข้าใจได้ ดังต่อไปนี้
ก. คำนามที่ได้กล่าวถึงแล้วครั้งแรก และไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำอีก
หรือคำนามที่ไม่ได้บ่งครั้งแรก แต่ก็สามารถเข้าใจได้จากข้อความในประโยค เช่น
I
parked my car next to Johns.
These
photographs are Dicks.
ข. ใช้ในโครงสร้างที่มีนามซึ่งขยายด้วย of อยู่แล้วเป็น double genitive ตัวอย่างเช่น
a portrait of my fathers
that dog of Roberts
ค. ละ s เมื่อนามนั้นเป็นชื่อวัด, โรงแรม, โรงละคร, ห้างร้าน,
โรงพยาบาล,
สนามกีฬา, ร้านอาหาร, บ้าน
He
asked me to lunch at Claridges.
There
was Macbeth at the Princes.
I
bought this dress at Harrods.
We
go to St.Pauls (Church) on Sundays.
Please
stop at the chemists (shop).
I
have an appointment at the dentists (clinic).
Lets
buy a loaf at the bakers (shop).
9. ใส่ s หลังคำนามที่บอกระยะทาง,
เวลา, น้ำหนัก, จำนวนเงิน
เช่น
in a month or twos time.
half an hours walk
a nights rest
three days work
a months salary
todays programme
a weeks holiday
10. ใส่ s หลังคำนามที่แสดงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ,
สภาพทางการเมือง, คณะบุคคลที่ทำงานร่วมกัน,
ผลงานทางศิลป, สถานที่ประชาชนอยู่อาศัย,
สถาบัน
the courts decree (คำพิพากษาของศาล)
the earths atmosphere (บรรยากาศของโลก)
the countrys population (พลเมืองของประเทศ)
the clubs finances (การเงินของสโมสร)
the companys officials (เจ้าหน้าที่ของบริษัท)
the committees business (งานของคณะกรรมการ)
11. ใช้
s หลังวลีที่นิยมใช้บางตัว เช่น
at arms length (ยาวเท่าแขน)
a stones throw (ระยะห่างที่ก้อนหินตก)
at ones wit end (หมดปัญญา)
12. ใช้ s หลังคำ someone,
somebody, anyone, anybody, everyone, everybody, nobody, no one เช่น
no ones
someones
everybodys
13. ใส่
s หลังคำนามที่เป็น abstract noun ในรูป for...sake ได้แก่
for mercys sake (เพื่อเห็นแก่ความเมตตา)
for goodnesss sake (เพื่อเห็นแก่ความดี)
for arts sake (เพื่อเห็นแก่ศิลป)
การใช้โครงสร้าง of
(THE
OF-CONSTRUCTION)
ปกติการแสดงความเป็นเจ้าของของสิ่งที่ไม่มีชีวิต จะใช้ of แทน apostrophe
ก. เมื่อนามนั้นไม่มีชีวิตหรือไม่มีเพศ เช่น
the legs of the table
the top of the mountain
the wings of the aeroplanes
ข. ใช้กับคำนามที่มีรูปมาจากวิเศษณ์ (adjective)
เช่น
the troubles of the poor
the infirmities of the crippled
หลักในการเลือกใช้ of หรือ
apostrophe
1. โดยทั่วไปนิยมใช้รูป apostrophe กับนามบุคคลและสัตว์ตลอดจนถึงกลุ่มคน
แต่ of ใช้กับนามนับไม่ได้ (mass noun และ
abstract noun) เช่น
a discovery of oil
the progress of science
2. โดยทั่วไป apostrophe หรือรูป genitive นิยมใช้ในความหมายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับกิริยา เช่น
แต่ใช้ of ในความหมายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิริยากับกรรม
เช่น
the discovery of
3. นิยมใช้ of แทน apostrophe เมื่อนามวลีที่ทำหน้าที่ขยายประกอบด้วยคำหลายคำ
the departure of the 4.30 train for
4. คำนามที่บอกเวลานิยมใช้ apostrophe และเมื่อคำนามนั้นบอกสถานที่มีคำคุณศัพท์ขั้นสุด
(superlative) ตามมา เช่น
the worlds best chocolate
นามที่นับได้และนับไม่ได้
(COUNTABLE AND UNCOUNTABLE
NOUNS)
คำนามอาจแบ่งได้ 2 ชนิด คือนามนับได้ (Countable
Nouns หรือ Count Nouns) และนามนับไม่ได้ (Uncountable
Nouns หรือ Mass Nouns)
I. Count
Nouns หมายถึงคำนามที่นับได้เป็นชิ้น ๆ หรือแต่ละสิ่ง แต่ละคน
และสามารถทำเป็นรูปพหูพจน์ได้ คืออาจเติมจำนวนนับลงหน้านามนั้นได้ เช่น a
boy, two boys เป็นต้น
คำนามนับได้หมายถึง
ก. นามของคน, สัตว์, พืช เช่น friend, cat, bird,
rose
ข. นามของวัตถุที่มีรูปร่าง มีตัวตน สามารถมองเห็นได้ เช่น ball, car, hat, hand, house
ค. นามที่บอกหน่วยการวัด ตวง ชั่ง, หน่วยของสถาบันทางสังคมและหน่วยของภาษา
ฯลฯ เช่น metre, hour, dollar, family, club,
word
ง. นามที่บอกหน่วยย่อยเฉพาะของมวลสาร (mass)
เมื่อจัดแยกออกจากกลุ่มก้อน เช่น part, element, piece,
slice, drop
จ. อาการนามบางคำที่มีความหมายเฉพาะเรื่อง เช่น idea,
nuisance, sake, scheme
II. Mass
Nouns หมายถึงคำนามที่นับไม่ได้
ไม่อาจแยกเป็นอันเดียวได้ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน
แสดงความมากน้อยด้วยปริมาณไม่ใช่จำนวนนับ ไม่อาจเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ได้ mass
nouns อาจแยกย่อยเป็น
ก.
foods
เช่น sugar, bread, cream
ข.
metals,
minerals เช่น gold, coal, nylon, soil, wood
ค.
liquid,
แก๊ส เช่น oil, water, ink, oxygen
ง.
อาการนาม เช่น equality, honesty, ignorance
จ.
ชื่อภาษา ได้แก่ English, French
ฉ.
คำนามที่เกิดจาก กิริยา + ing
เช่น camping, cooking, training
ช.
คำที่แสดงภาพ, ความคิด, ทัศนคติ,
อารมณ์, คุณสมบัติ, การกระทำ
รวมทั้งสาขาวิชา ได้แก่
luggage กระเป๋า
advice คำแนะนำ
behaviour ความประพฤติ
news ข่าว
permission การอนุญาต
information ข้อมูล
lightning ฟ้าแลบ
music ดนตรี
คำนามนับไม่ได้ (Mass Nouns) ไม่มี article
a, an นำหน้าและใช้กิริยาเป็นเอกพจน์เสมอ เช่น
Blood
is thicker than water.
Gold
is more valuable than silver.
มีคำ mass nouns หลายคำที่มีความหมายตรงกับคำ
count nouns เช่น
Mass Count
traffic a
vehicle
bread a
loaf
clothing a
garment
laughter a
laugh
luggage a
suitcase
คำ mass nouns ไม่มีรูปพหูพจน์
เพราะนับไม่ได้
แต่เมื่อต้องการทราบเป็นจำนวนปริมาณมากน้อยก็สามารถนับได้ในรูปต่อไปนี้คือ
1. เมื่อนำหน้านามด้วย a piece of หรือ a bit of
(ใช้กับนามจำพวกวัตถุ) และ a drop of (ใช้กับนามจำพวกของเหลว) ฯลฯ ได้แก่
a piece of (paper,
string, advice, information, furniture, chalk, bread, meat, cloth, sugar,
metal, cheese, chocolate, jewellery, equipment)
an item of (news)
a drop of (water,
oil, blood, honey, syrup)
a spot of (grease,
blood, ink)
a set of (furniture)
2. นำหน้าคำที่บอกลักษณะ, รูปร่าง ได้แก่
a bar of (soap,
chocolate, ice cream)
a heap of (earth,
sand, wheat, rice)
a roll of (cloth,
paper)
a sheet of (paper,
metal)
a pile of (rubbish)
a grain of (sand,
salt, rice)
a tube of (glue,
tooth paste)
3. นับได้จากภาชนะที่บรรจุนามเหล่านั้น ได้แก่
a bag of (flour)
a bucket of (water)
a bottle of (milk)
a cup of (water,
tea, coffee)
a bowl of (rice,
soup, water)
4. นับได้จากจำนวนน้ำหนัก ความยาว ความกว้าง เนื้อที่ปริมาตรของสิ่งนั้น
an acre of (land)
a pint of (beer,
milk)
a gallon of (oil,
water)
a kilo of (sugar)
a metre of (cloth,
silk)
5. คำ mass nouns อาจใช้เป็นนามนับได้
เมื่อมีความหมายว่าชนิด เช่น
The
two common metals for kitchen utensils are aluminium
and stainless steel.
Various
fruits were on display at the fair.
6. คำบางคำเมื่อหมายถึงมวลสาร, วัตถุ, ปรากฏการณ์ทั่ว ๆ ไป ถือเป็นนามนับไม่ได้ (mass nouns) แต่เมื่อหมายถึงหน่วยเดียวของมวลสารนั้น หรือปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
ก็นับเป็นนามนับได้ (count nouns) เช่น
All
plants need light. (mass noun)
Do
you have a light by your bed?
(count noun)
Houses
were built of stone. (mass nouns)
Wait! I have a stone in my shoe. (count noun)
ยังมีคำอื่น ๆ ที่เป็นทั้งนามนับได้ (count
noun) และนามนับไม่ได้ (mass noun) ขึ้นอยู่กับความหมายที่กล่าวแล้ว
ได้แก่
sake hair noise
space time fire
war duty history
hope thought decision
kindness language success
นามธรรม
(ABSTRACT NOUNS)
เป็นคำนามที่แสดงสภาพ, เหตุการณ์, ความรู้สึก, อารมณ์, ความคิด, เจตคติ,
และการกระทำ ตลอดจนคุณสมบัติ เช่น
Athletics has always been emphasized
in this school.
Physics
is a difficult subject.
Jealousy
is an evil thing.
Disappointment
may lead to bitterness.
โดยทั่วไปคำ abstract nouns เป็นได้ทั้งนามนับได้ (count nouns) และนามนับไม่ได้
(mass nouns) โดยมีข้อแตกต่างดังนี้
1. คำนามที่กล่าวถึงเหตุการณ์
และโอกาส จะนับเป็นนามนับได้ ได้แก่ talk, knock, shot, meeting
e.g. I
had a talk with Jane.
There
was a loud knock at the door.
The
committee had three meetings.
คำบางคำเหล่านี้เป็นนามนับไม่ได้ เช่น
I
dislike idle talk.
Modern
planes fly faster than sound.
He
was deep in thought.
2. คำ abstract
nouns ต่อไปนี้อาจใช้เป็นนามนับได้ และนามนับไม่ได้ขึ้นอยู่กับความหมาย
เมื่อเป็นนามนับได้ หมายถึงเฉพาะรายเป็นการเจาะจงคนใดคนหนึ่ง เช่น
He has had a good
education.
In
most countries, education is the responsibility of the state.
It
is said that knowledge is power.
A
good knowledge of English is essential.
นามที่จัดเป็นหมวดหมู่
(COLLECTIVE NOUNS)
1. คำที่บอกลักษณะการจัดนามของคนสัตว์สิ่งของเข้าเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่เช่นเดียวกับคำสมุหนามในภาษาไทย
เช่น โขลงช้าง ฝูงนก กลุ่มคน เป็นต้น คำนามเหล่านี้มีรูปทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
เช่น one group of stars, three groups of stars กลุ่มนามเหล่านี้จะใช้กับนามนับได้
เฉพาะอย่างในรูป Noun + of + Noun ได้แก่
an army (of soldiers)
a crowd (of
people)
a herd (of
cattle)
a flock (of
sheep)
a crew (of
sailors)
a gang (of
thieves, bandits, prisoners, workers)
a pack (of
cards, wolves, cubs, scouts, thieves)
a constellation (of stars)
a packet (of
cigarettes, envelopes)
a bouquet (of
flowers)
a cluster (of
stars, bees)
a herd (of
cattle, elephants, cows)
a fleet (of
ships, buses, aircraft)
a group (of
people, children, students)
a troop (of
monkeys, children, soldiers, scouts)
a company (of
travellers, soldiers)
a shoal (of
fish)
a flock (of
sheep, goats, birds)
a team (of
players, politicians)
a pile (of
books)
a band (of
musicians, thieves)
a range (of
hills, mountains)
a collection (of
coins, stamps)
2. คำนามเป็นกลุ่มต่อไปนี้เมื่อหมายถึงกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
หรือรวมกลุ่มกันเพื่อเหตุผลใดโดยเฉพาะ
อาจจะใช้กิริยาเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้แล้วแต่ความหมาย
ถ้าความหมายรวมเป็นหน่วยเดียวกัน (unit) ก็ใช้กิริยาเป็นเอกพจน์
แต่ถ้าหมายถึงจำนวนที่แยกรายตัวรายบุคคลในกลุ่ม จะใช้กิริยาเป็นพหูพจน์
ได้แก่คำ
tribe, family, committee, club,
audience, government, administration, team, choir, jury, class, orchestra,
crew, staff, clergy, gentry
e.g. The
audience is enjoying the
show.
are
The
government never
makes up its mind in a hurry.
make up their
mind
3. คำ collective
nouns ต่อไปนี้มีรูปเป็นเอกพจน์เท่านั้น แต่ใช้กิริยาเป็นพหูพจน์
ได้แก่ cattle, people, police, offspring, folk, vermin
e.g These
cattle are on their way to market.
These
people are waiting for the bus.
The
police have caught the murderer.