ประมวลรายวิชา

1.  รหัสรายวิชา 2210210
2.  จำนวนหน่วยกิต 3(3-0-6)
3.  ชื่อวิชา

วรรณคดีกับประวัติศาสตร์
(Literature and History)

4.  คณะ/ภาควิชา อักษรศาสตร์ / ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
5.  ภาคการศึกษา ภาคปลาย
6.  ปีการศึกษา 2544
7.  อาจารย์ผู้สอน รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ เถกิงวิทย์
8.  สถานภาพของวิชา วิชาเลือกการศึกษาทั่วไป / วิชาเลือกเสรี
9.  วิชาระดับ ปริญญาตรี
10. จำนวนชั่วโมงที่สอน บรรยาย 3 ช.ม. / สัปดาห์
11. เนื้อหารายวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับประวัติศาสตร์   การนำเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์วรรณคดี ความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์กับภาพที่ปรากฏในวรรณคดี การวิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้ ทั้งของตะวันออกและตะวันตก
12.วัตถุประสงค์ของรายวิชา

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม นิสิตสามารถ

  • วิเคราะห์เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และภาพที่ปรากฏในวรรณคดี
  • วิเคราะห์ผลงานที่กำหนดให้ทั้งของตะวันออกและตะวันตก
13. เนื้อหาสาระของรายวิชา

ประเด็นในการเรียนการสอน

  • ศึกษาวรรณคดีอิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่างๆทั้งของตะวันออกและตะวันตก
14. วิธีจัดการเรียนการสอน
  • บรรยายในชั้นเรียน
  • เรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียน Web-Based Instruction ที่จัดเตรียมไว้ให้ โดยดูได้จาก http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~tanongna/history/
  • ประมวลความรู้เพื่อจัดทำรายงาน
15. สื่อการสอน Web-Based Instruction วิดีทัศน์ แผ่นใส
16. ตารางเรียน พุธ 9.00 -12.00 น.
17. การวัดผลการเรียน รายงาน 30% สอบปลายภาค 70%
ประเมินผลคะแนนโดยใช้ระบบอิงกลุ่ม
18. กำหนดการวัดผล ส่งรายงานวันพุธที่ 16 มกราคม 2545
สอบปลายภาควันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 เวลา 9.00-12.00 น.
19. หนังสืออ่านประกอบ
  1. สามก๊ก ฉบับแปลของเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
  2. มหากาพย์เอล ซิด วรรณกรรมเอกยุโรปยุคกลาง
  3. กระท่อมน้อยของลุงทอม ฉบับแปลของ อ. สนิทวงศ์
  4. วิมานลอย ฉบับแปลของ รอย โรจนานนท์
  5. บางระจัน ของไม้ เมืองเดิม
  6. เพลงยาวนิราศกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
  7. แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง ฉบับแปลของหม่อมเจ้า ขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
  8. In My Hand  ของ Irene Gut Opdyke



Course No. 2210210
Course Title Literature and History
Credit 3(3-0-6)
Course Description Relationship between literature and history; use of historical events in literary creativity; differences between historical events and those presented in literature; analysis of selected works of both the East and the West.


Copyright (c) 2000-2001
Chulalongkorn University

หน้าหลัก