Department of English
Faculty of Arts, Chulalongkorn University
22023124
Introduction to Translation
Informative Text (English-Thai) Discussion
The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive. They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion. Suggestions and comments are welcome. |
Emojis have become a part of our lives, developing from a quirky set of 176 pictures on Japanese mobile phones back in the 1990s to one of the main methods of communication today. They’re used increasingly regularly to augment and replace the written word. An estimated 84% of smartphone users send each other emojis.
“Emoji enable us to encapsulate the nonverbal part of our face-to-face conversations in our digital communication,” explains emoji expert Keith Broni, who “translates” emojis for companies looking to use them in marketing campaigns. The most popular emoji remains the face with tears of joy, closely followed by variations that somehow incorporate hearts—indicating we’re a supportive, loving bunch.
Every year new emojis are added to our keyboards. Companies like Apple and Google have to design emojis and send their proposals to Unicode, the organisation that oversees the administration and creation of the symbols, to allow the symbols to be used across the internet.
Translation 1: Grammar-Translation Method
สัญลักษณ์อิโมจิได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา
developing from a quirky set of 176 pictures จากชุดภาพสนุก ๆ จำนวน 174 ภาพ
on Japanese mobile phones
back in the 1990s ในโทรศัพท์มือถือญี่ปุ่นสมัยทศวรรษ
2530
to one of the main methods of communication today. พัฒนาต่อมาจนเป็นวิธีสื่อสารหลัก
วิธีหนึ่งในปัจจุบัน
[2] They’re used increasingly regularly to augment and replace the written word.
ตัวอิโมจิใช้เสริมและใช้แทนคำเขียนเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเรื่อย
ๆ ผู้ใช้มือถือสมาร์ตโฟนประมาณ 84%
ใช้อิโมจิส่งถึงกัน
[¶2; 1] “Emoji
enable us to encapsulate the nonverbal part “ตัวอิโมจิช่วยให้เราถ่ายทอดส่วนที่
เป็นอวัจนภาษา
of
our face-to-face conversations in our digital
communication,” ในการคุยกันต่อหน้าลงไปในการสนทนารูปแบบดิจิทัล
ได้”
explains emoji expert Keith Broni, นายคีท
โบรนีผู้เชี่ยวชาญอิโมจิอธิบาย
who
“translates” emojis for companies looking to use them in
marketing campaigns. นายคีท "แปล"
ตัวอิโมจิให้กับบริษัทที่ต้องการใช้อิโมจิในแคมเปญการตลาด
[2] The most popular emoji remains the face with tears of joy,
สัญลักษณ์อิโมจิที่ใช้กันมากที่สุดคือรูปหน้ายิ้มทั้งน้ำตา
[3] closely followed by
variations that somehow incorporate hearts— ตามมาติด ๆ ด้วยรูปที่มีหัวใจเป็นส่วนประกอบทั้งหลาย
indicating we’re a supportive, loving bunch. สื่อว่าเราเป็นพวกโอบอ้อมอารีย์และ
รักใคร่กันดี
[¶3; 1] Every year new emojis are added to our keyboards. ทุกปีจะมีสัญลักษณ์อิโมจิตัวใหม่ ๆ
เพิ่มให้ในแป้นพิมพ์ บริษัทต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล
และกูเกิล ต้องออกแบบตัวอิโมจิ และส่งแบบเสนอไปยังองค์กรยูนิโคด
หน่วยงานที่ดูแลการจัดการและการสร้างตัวอิโมจิ เพื่อให้ตัวสัญลักษณ์ใช้ได้ทั่วทั้ง ระบบอินเตอร์เน็ต |
Translation
2: Sample for Critique
สัญลักษณ์อิโมจิเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราแล้ว
จากชุดภาพเก๋ไก๋ 174 ภาพ ในโทรศัพท์มือถือญี่ปุ่นสมัยทศวรรษ
2530
พัฒนาต่อมาจนเป็นวิธีสื่อสารหลักวิธีหนึ่งในปัจจุบัน
ตัวอิโมจิใช้เสริมใช้แทนคำตัวอักษรเป็นปกติธรรมดาขึ้นเรื่อย
ๆ ผู้ใช้มือถือสมาร์ตโฟนประมาณ 84%
ใช้อิโมจิส่งถึงกัน นายคีท โบรนีผู้เชี่ยวชาญอิโมจิ ทำงาน "แปล"
ภาษาอิโมจิให้กับบริษัทที่ต้องการใช้อิโมจิในแคมเปญการตลาด
อธิบายว่า
“ตัวอิโมจิช่วยให้เราถ่ายทอดอวัจนภาษาในการคุยกันต่อหน้า
ในการสนทนาทางดิจิทัล”
สัญลักษณ์อิโมจิที่พบมากที่สุดยังคงเป็นรูปหน้ายิ้มทั้งน้ำตา
ตามมาติด ๆ คือรูปที่มีหัวใจทั้งหลาย
สื่อความหมายว่าคนเราดูแลรักใคร่กัน ทุกปีจะมีสัญลักษณ์อิโมจิตัวใหม่ ๆ
เพิ่มให้ในแป้นพิมพ์ บริษัทต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล
และกูเกิล ต้องออกแบบตัวอิโมจิแล้วเสนอส่งไปยังองค์กรยูนิโคด
หน่วยงานดูแลการจัดการและการสร้างสรรค์รูปอิโมจิ
เพื่อให้ตัวสัญลักษณ์ทั้งหลายแสดงภาพถูกต้องเหมือนกันทั่วทั้งระบบอินเตอร์เน็ต
|
Translation
3: Sample for Critique
การใช้อิโมจิกลายเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว เริ่มจากเป็นเพียงชุดรูปภาพแปลกตา 176 รูปที่มาพร้อมในโทรศัพท์ญี่ปุ่นในช่วงปี 1990 พัฒนามาเป็นวิธีหลักหนึ่งในการสื่อสารของทุกวันนี้ ผู้คนเริ่มหันมาใช้อิโมจิเพื่อเป็นสัญลักษณ์ทดแทนความหมายของคำอย่างแพร่หลายมากขึ้น นับเป็นประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ตโฟนเลยทีเดียว นายคีธ โบรนี ผู้เชี่ยวชาญด้านอิโมจิกล่าวว่า “อิโมจิช่วยเป็นสื่อกลางในการสื่อสารออนไลน์ อธิบายสิ่งที่เราแสดงเมื่ออยู่ต่อหน้ากัน แทนการพิมพ์เป็นคำ” เขาทำงาน “แปล” อิโมจิเพื่อใช้ในการตลาดสำหรับบริษัทมากมาย และอันที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ หน้ายิ้มพร้อมน้ำตาแห่งความดีใจ ตามมาด้วยอิโมจิหัวใจหลากหลายแบบ สื่อว่าเราเป็นกลุ่มเพื่อนที่รักและช่วยเหลือกันอย่างดี มีอิโมจิใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ดทุก ๆ ปี บริษัทอย่าง แอปเปิ้ล หรือ กูเกิลจะออกแบบและส่งคำขอใช้ไปให้ยูนิโคด หน่วยงานที่คอยดูแลและสร้างสัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมถึงคอยอนุมัติอิโมจิก่อนจะสามารถใช้ไปทั่วโลกออนไลน์อีกด้วย |
Reference
Discussion
Vocabulary
Links
Other Cultural History Articles and Information
Source
Home | Translation Resources | English Help
Last updated March 8, 2022