Department of English
Faculty of Arts, Chulalongkorn University
2202313
Translation: English-Thai
Informative Text (English-Thai) Discussion
The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive. They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion. Suggestions and comments are welcome. |
In
Italy, pizza was traditionally the food of the poor. In 19th century
Naples, a pizza was often no more than a flat disk of bread with salt
and oil. Tomatoes were an occasional luxury, and cheese did not
feature until 1889, when a Neapolitan chef created a pizza in the
colors of the Italian flag (with red tomatoes, white mozzarella, and
green basil) and named it in honor of the reigning queen,
Margherita. This was the dish that Italian emigrants took to the
USA at the turn of the century. The first American pizzeria
opened in New York in 1905, but the dish did not catch on outside
Italian community.
Pizza only came to the attention of the broader American public after the Second World War. The late 1940s saw a countrywide pizza boom. Entrepreneurs in Chicago reinvented the Neapolitan dish for American appetites by giving it a thicker base and creating all manner of varied toppings. The infinite adaptability of pizza made it almost impossible not to like; today, 93% of Americans eat pizza at least once a month.
Translation 1: Grammar-Translation Method
ที่ประเทศอิตาลี
พิซซ่าตามธรรมดาแล้วเป็นอาหารคนจน
[2] In 19th century Naples, a pizza was often no more than a flat disk of bread with salt and oil.
ที่เมืองเนเปิลส์สมัยคริสตศตวรรษที่ 19
พิซซ่าทั่วไปไม่มีอะไรนอกจากแผ่นแป้งกลมแบน ๆ
โรยเกลือกับน้ำมัน
[3] Tomatoes were an occasional luxury, and cheese did not feature until 1889, มะเขือเทศเป็นของพิเศษ จะใช้ก็บางทีเท่านั้น และเนยแข็งไม่ใส่จนกระทั่งปี ค.ศ. 1889
when a Neapolitan chef created a pizza in the colors of the Italian flag
มีพ่อครัวชาวเนเปิลส์ทำพิซซ่าสีธงชาติอิตาลีขึ้นมา
(with red tomatoes, white mozzarella, and green basil) and named it in honor of the reigning queen, Margherita. (โรยมะเขือเทศสีแดง
เนยแข็งมอตซาเรลลาสีขาว และใบกระเพราสีเขียว)
พิซซ่าแบบนี้เองเป็นอาหารที่ชาวอิตาเลียนอพยพนำไปยังประเทศอเมริกาตอนต้นคริสต์
ศตวรรษ 20
[5] The first American pizzeria opened in New York in 1905,
ร้านพิซซ่าอเมริกันแห่งแรกเปิดที่นครนิวยอร์กเมื่อ ค.ศ. 1905
but the dish did not catch on outside the Italian community. แต่ไม่แพร่หลายออกไปนอกชุมชนชาวอิตาเลียน
[¶2; 6] Pizza only came to the attention of the broader American public after the Second World War.
พิซซ่าเพิ่งจะมารู้จักกันในหมู่ชาวอเมริกันทั่วไปก็หลังสงครามโลกครั้งที่
2
[7] The late 1940s saw a countrywide pizza boom.
เกิดยุคนิยมพิซซ่าขึ้นช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940
[8] Entrepreneurs in Chicago reinvented the Neapolitan dish for American appetites
นายทุนในเมืองชิคาโกแปลงโฉมอาหารถิ่นเมืองเนเปิลส์ชนิดนี้ขึ้นใหม่
ให้ถูกปากคนอเมริกัน
by giving it a thicker base and creating all manner of varied toppings. โดยทำฐานให้หนาขึ้น และโรยหน้าสารพัด
[9] The infinite adaptability of pizza made it almost impossible not to like;
พิซซ่าพลิกแพลงได้ไม่มีที่สิ้นสุดอย่างนี้
จึงทำให้ไม่มีทางจะไม่ชอบพิซซ่าไปได้
today, 93% of Americans eat pizza at least once a month. ทุกวันนี้ คนอเมริกัน 93
เปอร์เซ็นต์ รับประทานพิซซ่าไม่ต่ำกว่าเดือนละครั้ง |
Translation
2: Sample for Critique
|
Translation
3: Sample for Critique
ในประเทศอิตาลีพิซซ่า เดิมทีเป็นอาหารของคนจน ในเมืองเนเปิลส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พิซซ่าเป็นเพียงแผ่นแป้งกลมใส่เกลือและน้ำมันเท่านั้น บางครั้งหรูหน่อยจึงจะใส่มะเขือเทศ และเพิ่งมาใส่ชีสเมื่อปี ค.ศ. 1889 เมื่อพ่อครัวชาวเนียโปลิตันทำพิซซ่าเป็นสีธงชาติอิตาลี (ใช้มะเขือเทศสีแดง ชีสมอซซาเรลล่าสีขาว และใบโหระพาสีเขียว) และตั้งชื่อว่ามาร์แกริต้าเป็นเกียรติแก่พระราชินีที่ครองราชย์อยู่ในขณะนั้น อาหารชนิดนี้ผู้อพยพชาวอิตาเลียนได้นำไปยังสหรัฐอเมริกาด้วย ตอนช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ร้านพิซซ่าแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาเปิดขึ้นในนครนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ. 1905 แต่ไม่เป็นที่นิยมนอกชุมชนชาวอิตาเลียน กว่าคนอเมริกันทั่วไปจะ เริ่มหันมาสนใจพิซซ่ากันมากขึ้นก็คือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง ช่วงท้ายทศวรรษ 1940 พิซซ่ากลายมาเป็นที่นิยมทั่วประเทศ ผู้ประกอบการในชิคาโก้ปรับปรุงอาหารเนียโปลิตันชนิดนี้เสียใหม่ ให้เข้ากับลิ้นชาวอเมริกัน ด้วยการใช้แผ่นแป้งหนาขึ้นและสร้างสรรค์หน้าต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากพิซซ่าดัดแปลงได้ไม่สิ้นสุด ทำให้น้อยคนนักที่จะไม่ชอบพิซซ่า ทุกวันนี้ชาวอเมริกันร้อยละ 93 รับประทานพิซซ่าอย่างน้อยเดือนละครั้ง |
Reference
Discussion
Vocabulary
Links
Pizza History
Other Food or Food Related Articles and Information
Source
Home | Introduction to Translation | Translation Resources | English Help
Last updated April 26, 2018