Department of English

Faculty of Arts, Chulalongkorn University


2202124  Introduction to Translation

 

Informative Text (Thai-English) Discussion

The translations given on this page are neither comprehensive nor definitive.  They are here to give you an idea of the range of possibilities and to spark discussion.  Suggestions and comments are welcome.

 

Translate the following into English.


เราอาจคิดว่าพริกเป็นพืชท้องถิ่นของไทย แต่อันที่จริงแล้ว พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้  นักโบราณคดีค้นพบพริกในหลุมศพของชาวเปรูสมัยราว ๖,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล  หลักฐานนี้จึงแสดงว่ามีการใช้พริกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว

ชื่อภาษาอังกฤษของพืชชนิดนี้มาจากคำภาษาสเปนว่า chile  สันนิษฐานว่าคาดว่าพ่อค้าชาวยุโรปน่าจะเป็นผู้นำพริกเข้ามายังประเทศในราวสมัยอยุธยา ตอนกลาง และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว  ในปัจจุบันมีการบริโภคพริกกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นเครื่องเทศสำคัญชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากมีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูง  สารสองตัวนี้ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น  ที่สำคัญวิตามินซีช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย  จากการสำรวจของกรมส่งเสริมการเกษตรพบว่าปีหนึ่งคนไทยกินพริกถึง ๑๐๙,๕๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม
 

 

 

Translation 1

We might think that the chili is a native Thai plant but chilies actually originated in South America. Archaeologists have found chili in 6,500 B.C. Peruvian tombs, showing that the chili has been around since prehistoric times.

The English term for this plant comes from the Spanish word chile. It is thought that European merchants brought the chili into middle-Ayutthaya Siam, and it became widely popular. Today chili is used everywhere since it is an important spice in cooking and is good for one’s health due to its rich vitamin C and beta-carotene which aids in blood circulation. Notably, vitamin C helps reduce risk of cancer. According to a Department of Agricultural Extension survey, Thais consume up to 109,500,000 kilograms of chili per year.

 

 

Translation 2

We might think of the chili as native to Thailand but, in fact, they originated in South America. Archeologists have found chili peppers in Peruvian burial sites from 6,500 B.C.E.—evidence that this spice has been around since prehistoric times.

The English word for chili comes from the Spanish chile. European traders probably introduced these peppers to Thailand during the middle Ayutthaya period and they were quickly adopted by the locals. Chili is now widespread not only because of its culinary uses as a potent spice but also because of its health benefits, with high vitamin C and beta-carotene, both of which promote better circulation. More significantly, vitamin C helps reduce the risk of cancer. A Department of Agricultural Extension survey reveals that Thais consume up to 109,500,000 kilograms of chili a year.

 


Translation 3

We might think that chili is a Thai plant.

 

Reference

 

 


 

Discussion

 


 

Vocabulary


 

Links

General Information, History



 

Source

จักรพันธุ์ กังวาฬ, “พริก- เผ็ด สวย ดุ และมีรอยยิ้มในคราบน้ำตา,” นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๒๘๗ มกราคม ๒๕๕๒  <http://www.sarakadee.com/2009/02/21/chili/>


พริก เป็นส่วนประกอบสำคัญในสำรับอาหารไทยนับไม่ถ้วน ทั้งต้มยำ ผัดพริก ผัดเผ็ด แกงส้ม แกงกะทิ ฯลฯ จนเราอาจคิดว่าพริกเป็นพืชท้องถิ่นของไทย แต่ความจริงแล้วพริกมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ นักโบราณคดีค้นพบพริกในหลุมศพของชาวเปรูยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๖,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช และคาดว่าชาวพื้นเมืองอเมริกาใต้เริ่มปลูกพริกเป็นพืชสวนครัวเมื่อราว ๖,๐๐๐ ปีก่อน พริกจึงเป็นเครื่องเทศที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

เมื่อ พริกที่เราเคี้ยวเริ่มออกฤทธิ์ในปาก เรารู้สึกถึงความเผ็ดร้อนลุกลามบริเวณลิ้น กระตุ้นให้น้ำลายท้นออกมา หากความเผ็ดร้อนยังทวีขึ้น ใบหน้าเราเริ่มแดง น้ำมูกไหล น้ำตาเอ่อคลอตา เหงื่อโซมตัว หรือบางครั้งเผ็ดจนกระทั่งลมออกหู ตาพร่า และรู้สึกเหมือนหัวจะระเบิด แต่น่าแปลกที่สุดท้ายเรากลับรู้สึกสุขสดชื่นทั้งที่ปากยังบวมเจ่อแสบร้อนจากการกิน พริก
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าร่างกายของเราจะปลดปล่อยสารเอนดอร์ฟินออกมาต่อสู้กับ ความเจ็บปวดแสบร้อนที่ได้รับจากพริก สารเอนดอร์ฟินนี้ทำให้เรารู้สึกมีความสุขอย่างอ่อน ๆ เหตุนี้เองบรรดาผู้หลงใหลพริกจึงหวนกลับมาแสวงหาความเผ็ดครั้งแล้วครั้งเล่า

ความ เผ็ดของพริกเกิดจากสารเคมีชื่อว่า แคปไซซิน (capsaicin) ซึ่งเป็นสารธรรมชาติจำพวกอัลคาลอยด์ หากเราลองเอาเม็ดพริกมาผ่าครึ่งซีก จะเห็นเนื้อเยื่อแกนกลางสีขาวภายใน หรือที่เรียกว่า “รกพริก” บริเวณนี้เป็นส่วนที่มีสารแคปไซซินอยู่มากที่สุด จึงเป็นส่วนที่เผ็ดที่สุดของพริก ขณะที่ส่วนเปลือก เนื้อพริก และเมล็ดมีสารแคปไซซินอยู่น้อย จึงไม่ตรงกับที่คนทั่วไปมักคิดว่าเมล็ดคือส่วนที่เผ็ดมากที่สุดของพริก

แล้ว รู้ไหมว่าความเผ็ดของพริกมีหน่วยวัดที่เป็นวิทยาศาสตร์และเป็นสากลด้วย
บุคคลที่เริ่มคิดค้นวิธีวัดความเผ็ดของพริกเมื่อราว ๙๐ ปีก่อน คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน โดยเขาตั้งกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ชิมและให้คะแนนพริกโดยเฉพาะ วิธีทดสอบคือการทำให้สารละลายที่สกัดได้จากพริกเจือจางลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งสารละลายนั้นไม่หลงเหลือความเผ็ดอยู่เลย พร้อมจดบันทึกว่าทำการเจือจางทั้งหมดกี่ครั้ง ถ้ามีการเจือจางมากครั้งแสดงว่าพริกเผ็ดมาก หากมีการเจือจางน้อยครั้งแสดงว่าพริกนั้นเผ็ดน้อย

กระทั่ง ภายหลังมีการนำเครื่องมือที่เรียกว่า HPLC (High Performance/Pressure Liquid Chromatography) มาใช้วัดปริมาณสารแคปไซซินในพริกแต่ละชนิดโดยตรง โดยเทียบปริมาณสารที่วัดได้เป็น หน่วยสโควิลล์ (Scoville Unit) และกำหนดให้ ๑ ส่วนในล้านส่วน (ppm) ของสารแคปไซซิน มีค่าเท่ากับ ๑๕ หน่วยสโควิลล์

เมื่อ พริกมีหน่วยวัดความเผ็ดเป็นมาตรฐาน ย่อมทำให้เราเปรียบเทียบระดับความเผ็ดของพริกแต่ละพันธุ์ทั่วโลกได้ และอาจมีบางคนอยากรู้ว่าพริกพันธุ์ใดเผ็ดที่สุดในโลก
ขณะที่พริกขี้หนู (Thai Bird Pepper) ของไทย แม้เม็ดเล็กแต่ก็เผ็ดร้อนแรงและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จัดเป็นพริกที่มีความเผ็ดในลำดับต้น ๆ ของโลก ในระดับ ๑๐๐,๐๐๐-๓๕๐,๐๐๐ หน่วยสโควิลล์ เทียบเท่ากับพริกสกอตช์บอนเนต(Scotch Bonnet) ในประเทศแถบทะเลแคริบเบียน และพริกจาเมกา (Jamaica Hot) ของประเทศจาเมกา

และ ต่อไปนี้คือย่างก้าวสู่โซนอันตราย เพราะเรากำลังจะแนะนำ พริกฮาบาเนโร (Habanero) ที่มีความเผ็ดถึง ๒๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ หน่วยสโควิลล์ นิยมปลูกมากแถบคอสตาริกา เม็กซิโก รวมทั้งที่เทกซัสและแคลิฟอร์เนียในอเมริกา ผลค่อนข้างกลมสีส้มจัดจ้าน ขนาดประมาณนิ้วครึ่งเท่านั้น เมื่อแก่เต็มที่จะมีรสเผ็ดร้อนที่สุด อาจทำให้ผู้ที่กินมันสด ๆ รู้สึกเผ็ดกระทั่งเหมือนหัวตนเองกำลังจะระเบิด

พริก ที่เผ็ดดุยิ่งกว่าฮาบาเนโร คือญาติของมันที่ชื่อว่าเรดซาวีนา ฮาบาเนโร (Red Savina Habanero) พริกซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ และปลูกมากแถบแคลิฟอร์เนียของอเมริกา ขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับพริกฮาบาเนโร แต่มีสีแดงสด จึงเป็นพริกที่เผ็ด สวย ดุ เพราะมีความเผ็ดถึง ๕๘๐,๐๐๐ หน่วยสโควิลล์ แม้แต่การสัมผัสมันด้วยมือเปล่าก็อาจทำให้ผิวหนังของเราแสบร้อนขึ้นทันที พริกเรดซาวีนา ฮาบาเนโร เคยได้ชื่อว่าเป็นพริกที่เผ็ดที่สุดในโลกจากการรับรองของกินเนสส์บุ๊กปี ค.ศ.๑๙๙๔ ก่อนจะเสียตำแหน่งเมื่อโลกค้นพบพริกที่เผ็ดยิ่งกว่า…

พริก บุตโจโลเกีย (Bhut Jolokia) ถูกเรียกขานในหมู่คนท้องถิ่นว่า “พริกผี” ใช่แล้ว มันคือพริกที่เผ็ดที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน ศาสตราจารย์พอล บอสแลนด์ แห่งสถาบันพริก มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐนิวเม็กซิโก เป็นผู้ทดสอบและพบว่าบุตโจโลเกียมีความเผ็ดถึง ๑,๐๐๑,๓๐๔ หน่วยสโควิลล์ เผ็ดมากกว่าแชมป์เก่าอย่างพริดเรดซาวีนา ฮาบาเนโร ถึง ๒ เท่า !
พริกบุตโจโลเกียพบมากในดินแดนห่างไกลทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย โดยเฉพาะที่รัฐอัสสัมและนาคาแลนด์ และรัฐอื่น ๆ ใกล้แนวชายแดนติดกับจีนและพม่า เป็นพื้นที่ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยากจน ทั้งยังเป็นถิ่นฐานของกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่มักทำสงครามสู้รบกับรัฐบาลกลางและ ต่อสู้กันเองอยู่บ่อย ๆ

พริก ที่เผ็ดที่สุดในโลกมีขนาดยาวประมาณ ๒๕-๓๐ มิลลิเมตร รูปร่างค่อนข้างป้อม เปลือกดูยับย่น ส่วนปลายเรียวแหลม เมื่อแก่จัดจะมีสีส้มหรือสีแดง แม้ว่ามีความเผ็ดถึงล้านหน่วยสโควิลล์ จนคนไม่เคยลองอาจคิดว่ามันเผ็ดร้อนเหมือนไฟนรก ทว่ารสชาติของพริกบุตโจโลเกียเป็นที่คุ้นลิ้นของคนท้องถิ่น ชาวรัฐอัสสัมกินพริกบุตโจโลเกียกันมานาน ทั้งเอามาทำซอสพริก พริกดอง หรือแม้แต่กินสด ๆ ขณะที่ทางนาคาแลนด์ ชาวบ้านกินพริกบุตโจโลเกียกันแทบทุกมื้ออาหาร

คาด ว่าพริกเข้ามาสู่ประเทศไทยพร้อมพ่อค้าชาวยุโรปราวสมัยอยุธยาตอนกลาง และได้รับความนิยมแพร่หลายในครัวเรือนของชาวสยามอย่างรวดเร็ว กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารไทยแทบทุกชนิดมาถึงทุกวันนี้

ข้อมูล จากการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยกินพริกคนละ ๕ กรัมต่อวัน หากลองคิดว่าประเทศไทยมีประชากรประมาณ ๖๐ ล้านคน เท่ากับปีหนึ่งคนไทยกินพริกถึง ๑๐๙,๕๐๐,๐๐๐ กิโลกรัม

นอก จากพริกขี้หนู ยังมีพริกที่เผ็ดร้อนแรงและหอมฉุนจนขึ้นชื่อ ก็คือพริกกะเหรี่ยงนั่นเอง

ชาวกะเหรี่ยง ในประเทศไทยอาศัยอยู่ทางภาคเหนือ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ไล่ลงมาตามแนวชายแดนภาคตะวันตกที่จังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ชาวกะเหรี่ยงทุกกลุ่มล้วนปลูกและกินพริกกะเหรี่ยงกันมานาน อย่างไรก็ตาม พริกกะเหรี่ยงแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ ว่ากันว่าพริกกะเหรี่ยงที่เผ็ดจัดและหอมมากต้องมาจากอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

หาก ใครเคยไปจังหวัดเพชรบุรี อาจสังเกตเห็นว่าบรรดาร้านอาหารและร้านก๋วยเตี๋ยวหลายร้านพร้อมใจขึ้นป้ายประกาศว่า ร้านของตนนั้นใช้พริกกะเหรี่ยง
ช่วงต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ เราเดินทางไปถึงถิ่นปลูกพริกกะเหรี่ยงที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง ซึ่งมีพริกกะเหรี่ยงปลูกมากที่ตำบลยางน้ำกลัดเหนือและยางน้ำกลัดใต้ จุดหมายของเราอยู่ที่บ้านห้วยเกษม ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ

เก้า อธิบายการปลูกพริกกะเหรี่ยงให้ฟังว่า “ปลูกพริกกะเหรี่ยงเราไม่ต้องให้น้ำ แล้วต้องปล่อยตามธรรมชาติ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เพราะถ้าเราใช้ปุ๋ยใช้ยา พริกกะเหรี่ยงจะกลายพันธุ์ รสชาติจะไม่เหมือนเดิม แม่ค้าจะไม่รับซื้อเลย เพราะเขาดูรู้”

สิงห์ เสริมว่า “ปีที่แล้วมีเจ้าหนึ่งเขาปลูกพริกกะเหรี่ยง แล้วใช้ปุ๋ยใช้ยา แม่ค้าไม่เอาเลย เขาดูผิวแล้วมันไม่เป็นธรรมชาติ ต้องหยุดปลูกเป็นช่วงเลย คือไม่ใส่อะไรทั้งนั้นจึงจะขายออก”
นอกจากนั้น พวกเขาบอกว่าการปลูกพริกกะเหรี่ยงแซมในไร่ข้าวซึ่งมีความชุ่มชื้น ต้นพริกจะขึ้นดี แข็งแรงและออกผลดกกว่าแปลงที่ปลูกเฉพาะพริกอย่างเดียว

เก้า เล่าว่าพริกกะเหรี่ยงจะออกผลและเก็บได้มากตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงตุลาคม พอเดือนพฤศจิกายนก็ใกล้หมด โดยเขาจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับปลูกในรอบปีถัดไปด้วย
พริกกะเหรี่ยงถ้าขายเป็นพริกสด ราคาขายส่งจากไร่อยู่ที่กิโลกรัมละ ๔๐-๕๐ บาท แต่ถ้าขายเป็นพริกแห้ง โดยพริกสด ๔ กิโลกรัมจะได้พริกแห้ง ๑ กิโลกรัม ราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ ๒๐๐-๒๕๐ บาท

พริก กะเหรี่ยงทั้งสดและแห้งสามารถใช้แทนพริกขี้หนูในการทำอาหารได้ทุกประเภท นอกจากนั้นยังใช้ทำพริกป่น พริกดอง หรือพริกน้ำส้มที่ให้รสเผ็ดถึงใจ
วิถีการปลูกพริกกะเหรี่ยงที่ปล่อยให้ขึ้นตามธรรมชาติดูแลน้อย ไม่ต้องให้น้ำ ไม่ใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง แตกต่างอย่างมากจากแนวทางการปลูกพริกขี้หนูลูกผสมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเรามีโอกาสได้ไปสำรวจ

อำเภอ ชุมแสงเป็นแหล่งปลูกพริกที่สำคัญอีกแห่งของประเทศไทย ในตำบลที่เราไปเยือน ชาวบ้านแทบทุกครัวเรือนทำไร่พริกไม่มากก็น้อย หรือไม่ก็เป็นคนรับจ้างเก็บพริก เดินไปทางไหนก็เห็นแต่ไร่พริกเรียงรายอยู่ทุกที่

เรา เดินผ่านไร่พริกแปลงแล้วแปลงเล่า กระทั่งมาถึงบ้านไม้กลางวงล้อมไร่พริกของ สุด พิญเพียร หญิงวัยกลางคนผู้เป็นเจ้าของไร่ เธอนั่งพักอยู่กับหลานสาวชื่อเยา และปองเพื่อนบ้านหญิงวัยกลางคนที่มาช่วยทำไร่พริกด้วยกัน

ทั้ง สามคนเล่าให้เราฟังว่า พริกที่พวกเธอและชาวบ้านแถวนี้ปลูก ล้วนใช้เมล็ดพันธุ์ที่พ่อค้าคนกลางผู้รับซื้อพริกจัดหามาให้ เป็นเมล็ดพันธุ์พริกบรรจุกระป๋องที่บริษัทสินค้าการเกษตรเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย

“เมล็ด พันธุ์ต้องซื้อเขา กระป๋องละ ๙๐๐ นะ เอากระป๋องมาให้เขาดูสิ” เยาบอก
ปองอธิบายว่าเมล็ดพันธุ์พริก ๑ กระป๋องปลูกได้คลุมพื้นที่ ๑ ไร่
เราดูข้างกระป๋อง ระบุว่าเป็นเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูลูกผสม พันธุ์แชมเปี้ยนฮอต (Champion Hot)

 “ เดี๋ยวนี้คนแถวนี้ใช้แต่ (เมล็ดพันธุ์) พริกกระป๋อง” ปองบอก “พ่อค้าคนกลางเป็นคนเอามาให้ เขาดูว่าแม่ค้าในตลาดที่กรุงเทพฯ หรือนครสวรรค์นิยมพริกพันธุ์ไหน ก็เอาพันธุ์นั้นมาให้เราปลูก”

พ่อ ค้าคนกลางจะออกเงินค่าเมล็ดพันธุ์พริกให้ก่อน โดยมีข้อตกลงกับเกษตรกรว่าต้องขายผลผลิตพริกแก่เขา แล้วค่อยหักค่าเมล็ดพันธุ์จากราคารับซื้อพริก เรียกว่าเป็นการผูกการซื้อขายกันไว้ล่วงหน้า

“ถ้า เราไม่ปลูกพริกพันธุ์ที่เขาหามาให้ได้ไหม” พวกเราคนหนึ่งถาม

“เขา (พ่อค้าคนกลาง) ก็ไม่รับซื้ออีกแหละ เพราะไม่เข้าระบบเขา ไม่ได้เกรดของเขา ไม่เหมือนสมัยก่อน ปลูกพริกพันธุ์อะไรก็ได้ แต่สมัยนี้พ่อค้าจะเอาเมล็ดพันธุ์มาลงให้ลูกไร่ เขาจะหามาเลยอีไหนดีไม่ดี แล้วเขาจะมารับซื้อไปขายอีกที”
พวกเราถามอีกว่าหากเก็บเมล็ดพันธุ์พริกแชมเปี้ยนฮอตไว้ปลูกในปีถัดไปได้ไหม
ปองบอกว่า “เราเก็บไว้เพาะมันก็ขึ้น แต่มันเป็นพริกมือสอง จะไม่เหมือนอย่างที่เขาเอามาให้เรา คือพริกจะออกไม่ดกเหมือนรุ่นแรก แล้วเม็ดพริกจะไม่สวย ทั้งเล็กและสั้นลง”
สรุปว่าเกษตรกรแถบนี้ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์พริกกระป๋องใหม่ทุกปี พ่อค้าคนกลางจึงจะรับซื้อพริกของพวกเขา
ปองบอกว่าการปลูกพริกต้องฉีดยาฆ่าแมลงอาทิตย์ละครั้ง
 “กลิ่นยามันหอมชื่นใจชาวไร่พริกเลยละ” เยาพูดจบแล้วทั้งสามคนหัวเราะพร้อมกัน
ปองพูดบ้าง “สูด (ยาฆ่าแมลง) อยู่ทุกวัน สะสมอยู่ในร่างกายนี่แหละ มันไม่ไปไหนหรอก”
 “พอหมอจากโรงพยาบาลออกมาตรวจที่สถานีอนามัย เขาเกณฑ์ลูกบ้านไปตรวจสารพิษในร่างกายกัน โอ้โห มีหมดทุกคนเลย จะมากจะน้อยเท่านั้น” เยาบอก
เราถามพวกเธอว่าไม่กลัวที่มีสารพิษสะสมในร่างกายหรือ
คำตอบคือ “ก็แล้วจะทำไงล่ะ”
สิ่งที่พวกเธอกังวลมากกว่าน่าจะเป็นเรื่องของราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่แพงขึ้น ทุกวัน
 “ตอนนี้พริกเหลือกิโลละ ๑๐ บาท ลูกจ้าง (เก็บพริก) กินไป ๓ บาท เจ้าของต้นเหลือ ๗ บาท ไหวมั้ย ยาฆ่าแมลงขวดละ ๕๐๐ ปุ๋ยลูกละ ๑,๐๐๐ เมล็ดพันธุ์ก็กระป๋องละ ๑,๐๐๐ ความจริงเรารวยอยู่แล้ว รวยหนี้ไง” ปองพูดแล้วหัวเราะเอง
สุดผู้เป็นเจ้าของไร่พริกค่อนข้างพูดน้อย กล่าวว่า “แต่เราไม่รู้จะไปทางไหน ก็ต้องทำแบบนี้”
“ถ้าเราไม่ใช้ยาฆ่าแมลงได้หรือเปล่า” พวกเราไม่วายสงสัยอีก
“ไม่ใช้ก็หมดสิ เพลี้ยมันลง” ปองมองหน้าคนถาม “มียาอะไรมาให้ใช้ล่ะ นึกว่ามีจะได้เอามาลอง”
เธอกล่าวอีกว่า “ปลูกพริกนี่ยิ่งทำยิ่งจน บอกตรงๆ เลย”
แต่ว่าเกษตรกรอย่างพวกเธอขายพริกที่ตนเองปลูกจนหมด โดยไม่เหลือเก็บไว้กินเอง
 “พริกอย่างนี้กินไม่ได้ มันแสบร้อนปาก ขายหมดแล้วไปซื้อพริกเขามากิน พวกพริกขี้หนูพันธุ์พื้นบ้าน” สุดบอก
“แล้วใครกินพริกอย่างนี้” พวกเราถาม
 “ขายคนเมือง” เยาตอบ “พริกแชมป์อย่างนี้มันไม่หอม เผ็ดโด่ ๆ พวกนี้เขาเอาไปทำพริกแกง ปนกับพริกใหญ่ด้วย ไม่งั้นมันจะเผ็ดโด่”
ปองเสริมว่า “พริกพวกนี้กินแล้วแสบปาก เผ็ดมากแต่ไม่หอม เปลือกก็หนา มันเผ็ดแบบไม่อร่อย เผ็ดโด่ ๆ ไม่มีรสชาติ”

ดู เหมือนเรื่องราวของพริกที่ผ่านมาจะเต็มไปด้วยแง่มุมความเผ็ด ทั้งเผ็ดโด่ เผ็ดร้อน เผ็ดจัดจ้าน เผ็ดหอม เผ็ดมาก เผ็ดน้อย เผ็ดที่สุดในโลก ซูเปอร์ฮอต บิ๊กฮอต…
แต่การชูประเด็นเรื่องรสเผ็ดเพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่เรื่องน่าสนใจทั้งหมดของ พริก (แม้ว่าคนจำนวนมากหลงใหลพริกก็เพราะรสเผ็ดของมัน) แท้จริงแล้วเบื้องหลังความเผ็ดที่อาจทำให้เราถึงกับน้ำตาคลอ พริกยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เราจึงสามารถยิ้มได้ในคราบน้ำตา
ใครเป็นหวัดคัดจมูก ลองกินพริกเผ็ด ๆ แล้วจะช่วยได้ เพราะสารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกและเสมหะจากการเป็นหวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ทั้งบรรเทาอาการไอ จึงทำให้เราจมูกโล่งหายใจสะดวกยิ่งขึ้น

สาร แคปไซซินยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-low density lipoprotein) ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้สร้างคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-high density lipoprotein) ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดต่ำลง

นอก จากนั้นพริกเป็นพืชที่มีวิตามินซีสูงมากและอุดมด้วยสารเบตาแคโรทีน สารทั้งสองนี้มีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด การกินพริกเป็นประจำจึงช่วยให้เลือดไหลเวียนดีช่วยลดความดันและลดการอุดตันของเส้น เลือด เท่ากับช่วยป้องกันการเป็นโรคหัวใจล้มเหลว หรือเสียชีวิตจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน

และ ที่สำคัญ การกินพริกช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง วิตามินซีที่มีมากในพริกจะยับยั้งการสร้างสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในระบบ ทางเดินอาหาร ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเซลล์เนื้อร้าย นอกจากนี้วิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และสารเบตาแคโรทีนในพริกยังช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งในปอดและในช่องปากด้วย



 


Home  |  Introduction to Translation  


Last updated February 13, 2013