ขบวนการและวิธีการออกแบบสถาปัตยกรรม
Architectural Design Methodology
 

เรื่อง ปัญหาการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
แนวคิดของขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม

บทบาทสถาปนิกและกระบวนการตัดสินใจในการออกแบบสถาปัตยกรรม


ปัญหาของการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ได้มีความตระหนักในปัญหาทางสภาพแวดล้อมมากขึ้น โดยลำดับ เช่น ปัญหา การจราจร เสียง สิ่งปฏิกูล ความ ขาดแคลนที่ว่าง สาธารณะ ความแออัด เสื่อมโทรม และความน่าเกลียด ของอาคารหรือสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น การเติบโตของเมือง หรือ ชุมชนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิด ความสับสนและไม่มั่นคงทางจิตใจ ของผู้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมเหล่านั้นมากมาย  ปัญหาเหล่านี้ ส่วนหนึ่ง เกิดจากผลงานการออก แบบสถาปัตยกรรม โดยตรงของสถาปนิก   จึงทำให้ความเชื่อมั่นในความสามารถของการ ออกแบบ เริ่มถดถอยและไม่แน่ใจ ต่อการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน  ซึ่งมีความ ยุ่งยาก และสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ตามความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่รวด เร็ว มีการเรียกร้องของผู้ใช้อาคารที่ต้องการคุณภาพมากยิ่งขึ้น  จาก ความสลับซับซ้อนและ ยุ่งยากของปัญหาการออกแบบสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน   ทำให้ สถาปนิกจำเป็นต้องปรับปรุง ทบทวน ความรู้ความสามารถ และบทบาท เพื่อรักษาคุณภาพของการปฏิบัติวิชาชีพให้คงเป็น ที่ยอมรับในสังคมต่อไป ในขบวนการทางความคิดในการออกแบบของสถาปนิกในปัจจุบัน ส่วนมากเป็นการ ดัดแปลงและลอกเลียนแบบอย่างอาคารเดิม ตามสมัยนิยมอย่างต่อเนื่อง ทั้งอาคารในประเทศ และต่างประเทศ โดยละเลยถึงความเข้าใจต่อปัญหาที่เปลี่ยนแปลง มีความถูกต้อง  อย่าง ชัดเจน  และเหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน  การสอนวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม ยังคงเน้นถึงผลของการออกแบบ มากกว่าขบวน การทางความคิดในการออกแบบ  ที่มีการวิ เคราะห์ปัญหา และการ แก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอย่างมีระเบียบแบบแแผน นักวิจารณ์การ ศึกษาส่วนหนึ่ง มีความ เห็นว่า การสอนวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ยังคงยึดถือแนวทาง การศึกษาของยุคสมัยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่  คือการเน้น การบันทึก  ลำดับความต่อเนื่อง ของ ผลงานในรูปผลผลิตทางศิลป รูปทรงตามสมัยนิยม มากกว่าการบันทึกและทบทวนความ เข้าใจในแง่การแก้ปัญหาเฉพาะตามยุคสมัยที่แตกต่างกัน  และอีก ส่วนหนึ่งเกิดจากการเน้น ความเข้าใจของทฤษฎีสถาปัตยกรรม  ที่ไม่กระจ่างชัด  หรือกำหนดเป็นพื้นฐานที่แน่นอนใน เนื้อหาทางวิชาการไม่ได้  การบันทึก เนื้อหาทางวิชาการที่ใช้เป็นเอกสารประกอบการศึกษา ไม่ได้เกิดจากผลการค้นคว้าที่มีวิธีการที่น่าเชื่อถือมากนัก ขาดการศึกษาเข้าใจในสาขาวิชา อื่นที่เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อขบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม เช่น  วิชาการตาม ทฤษฎีทางสาขาวิชาสังคมศาสตร์ หรือจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมศาสตร์ ของ มนุษย์ เป็นต้น ปัจจุบันในวงวิชาการ และวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม   เริ่มมีความตระหนักและความ เข้าใจ    ในความจำเป็น ที่ต้องศึกษาค้นคว้า ทางสถาปัตย กรรมในแง่ความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับสภาพแวดล้อม เพื่อกำหนดเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีที่แน่นอน และพอเพียงเพื่อเป็นบรรทัดฐาน และแนวทาง ใน กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม  การศึกษาเพื่อกำหนดทฤษฎีทาง สถาปัตยกรรมในแง่ผลงาน และขบวนการทางความคิดข องการออกแบบ มีความจำเป็น ควบคู่ กันไปในวงการศึกษาสถาปัตยกรรมปัจจุบัน อย่างไรก็ตามบทความนี้  เน้นการศึกษาเฉพาะ ขบวนการและวิธีการออกแบบสถาปัตยกรรมเท่านั้น

หนังสืออ้างอิง ปัญหาการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

George  Chadwick  "Physical Chang and Human  Ecology"  in  A Systems View of Planning, pp. 1-21.

Jon  Lang  et  al., "Emerging  Issues  in  Architecture"  in Designing for Human Behavior, pp. 3-14.

Jon  Lang  "The  Built  Environment  and  Social   Behavior: Architectural Determinism Revisited", VIA 4, 1978.

Geoffrey Broardbent, "Introduction" Design in  Architecture, pp. VII-XIV.

Horst  Rittel,  "Some  Principles  for  the  Design  of   an Educational System for Design", DMG Newsletter, December 1970.

 


แนวคิดของขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม

การออกแบบ เป็นการกระทำเพื่อสรุปความคิด ข้อแนะนำ และข้อเสนอแนะ  ในรูป แบบแปลนและรายละเอียด หรือแบบจำลอง  เป็นการล่วงหน้า ก่อนที่จะมี การดำเนินการต่อ ไปให้ปรากฏเป็นผลงานที่แล้วเสร็จ  คืออาคารทางสถาปัตยกรรมหรืองานศิลปอื่นๆ  ขบวน การออกแบบเริ่มต้นโดยการ    เสนอข้อกำหนด ที่แสดงความต้องการต่างๆและผลที่จะตอบ สนองความต้องการเหล่านั้นในรูปผลิตผลที่ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน ในอดีตความต้องการ หรือปัญหาการออกแบบ ง่ายไม่ยุ่งยากและซับซ้อนมากนัก  การนำรูปแบบเดิมที่เคยแก้ปัญหา หรือตอบสนองความต้องการที่คล้ายคลึงกัน ก็สามารถกระทำโดยการลอกเลียนหรือดัดแปลง เล็กน้อยได้ ขบวนการออกแบบนี้เรียกว่า "unselfconscious" หรือ การออกแบบไร้สำ นึก  แต่สถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนไป ปัญหามีความยุ่งยากมากขึ้น  และมี ระยะเวลาของ การแก้ปัญหาจำกัดมากกว่าเดิม  การออกแบบปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเป็นขบวนการที่เรียกว่า "selfconscious" หรือ การออกแบบมีสำนึก ซึ่งสถาปนิก มีบทบาทสำคัญในขบวนการออก แบบลักษณะนี้ ปัจจุบันนี้   การออกแบบมีสำนึก   แยกออกเป็นสองลักษณะ   คือ    "solution oriented" ขบวนการที่มุ่งถึงผลงาน หรือค้นหาคำตอบเป็นสำคัญ  โดยไม่สนใจที่มาของคำ ตอบเหล่านั้น อีกลักษณะหนึ่งคือ "problem oriented or system oriented" ขบวน การที่ดำเนินการค้นหา ผลงานหรือคำตอบ   ที่สามารถตรวจสอบขั้นตอนหรือที่มาของคำตอบ ต่างๆได้    อันจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงขบวนการแก้ปัญหาและคำตอบที่ได้มาในโอ กาศต่อไปได้ การออกแบบมีสำนึกทั้งสองลักษณะนี้   อาจเน้นความแตกต่างในลักษณะของความคิด สองลักษณะคือ "analysis" การคิดแบบวิเคราะห์ และ "synthesis"  การคิดแบบสัง เคราะห์ ซึ่งความคิดทั้งสองลักษณะรวมอยู่ในขบวนการออกแบบของสถาปนิก การออกแบบมี สำนึก ลักษณะแรก (solution oriented) คือเน้นขั้นตอนการสังเคราะห์ในการออกแบบ เป็นสำคัญ วิธีการออกแบบนี้บ้างครั้งผิดพลาดในการแก้ปัญหา  คือในกรณีที่คำตอบได้มาจาก ปัญหา หรือคำถาม ที่ผิด การพัฒนาความคิดในการออกแบบจึงเริ่มให้ความสำคัญกับ  การออก แบบมีสำนึกอีกลักษณะ (problem oriented) คือเน้นขั้นตอนการวิเคราะห์มากขึ้น  หรือ แยกแยะออกจากขบวนการสังเคราะห์อย่างชัดเจน โดยอ้างว่าหากมีการวิเคราะห์ปัญหาได้ ถี่ถ้วน หรือชัดแจ้งมากขึ้นเท่าไร ก็สามารถค้นหาคำตอบ ได้ง่ายขึ้น เท่านั้น  และป้องกันการ แก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องได้ อีกทั้งขบวนการออกแบบยังให้ความสำคัญของ "system" ระบบ ที่ แสดงขั้นตอนของความคิดให้เป็นระเบียบ ง่ายต่อการตรวจสอบขั้นตอนต่างๆของความคิดใน การแก้ปัญหาที่หลากหลายทางสถาปัตยกรรม และการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาต่างๆได้ ถูกต้องแม่นยำ ยิ่งขึ้น สถาปนิกมีการจัดระบบและระเบียบของความคิดแตกต่างกันไป  หรือมีวิธีการคิดและ การแก้ปัญหาหลากหลายวิธี ตามความแตกต่างของความรู้ ความ สามารถ และประสบการณ์ ของแต่ละบุคคล แต่จากการศึกษาในขบวนการทางความคิดของมนุษย์  พอสรุปเป็นผลทาง ทฤษฎี ได้ว่า "model" รูปแบบจำลอง ความคิดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรม เป็น ลักษณะของ ขบวนการ (process) ประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis)  การสัง เคราะห์  (synthesis) การประเมินผล หรือเปรียบเทียบ (evaluation)  การเลือก หรือตัดสินใจ (choice) การประมวลผลในทางปฏิบัติ (implementation)  ส่วนลำดับ ของขั้นตอน ยังไม่ สามารถกำหนดเป็นระเบียบชัดเจนได้ว่า เป็นการต่อเนื่องทุกขั้นตอนแบบ วงจร หรือเป็นความสัมพันธ์ เชิงปฏิภาค ระหว่างสองขั้นตอนใด ขั้นตอนหนึ่ง โดยเฉพาะ  หรือมี การสลับขั้นตอนต่างๆโดยอิสระ  ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับประเภท ชนิดของปัญหา  ความแตกต่าง ส่วนบุคคลของสถาปนิก และประสบการณ์ ทางการศึกษาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างข้อโต้แย้งที่ว่า การวิเคราะห์ควรเกิดขึ้นก่อนจึงทำให้การสังเคราะห์เป็นไปได้ง่าย  ซึ่งมักเป็นที่ยอมรับใน ทางสาขาวิชา วิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แต่ทางสาขาวิชาทางศิลปะ อาจแย้งว่า การวิเคราะห์ จะเป็นการเสียเวลา และไม่ก่อให้เกิดผลทางความคิดสร้างสรรค์ หากไม่กำหนด หรือ ทายเดาคำตอบเป็นการล่วงหน้าก่อน  ส่วนสำคัญของความคิดน่าจะขึ้นอยู่กับ  ขบวนการดำเนิน การวิเคราะห์ตรวจสอบผลการสังเคราะห์ที่กระทำล่วงหน้านั้น   จนกระทั่งครบถ้วนและสา มารถปรับปรุงคำตอบจนเป็นที่พอใจ  ขบวนการความคิดที่สำคัญลักษณะนี้ คือ  เน้นความสัม พันธ์เชิงปฏิภาคระหว่างขั้นตอน การสังเคราะห์-การวิเคราะห์ เป็นสำคัญ ขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม    "the   architectural    designing process" มีการศึกษาเปรียบเทียบในลักษณะ ที่ ให้สอดคล้อง กับขบวนการแก้ปัญหา  "the problem-solving  process" ที่ศึกษากันในสาขาวิชาพฤติกรรมมนุษย์ศาสตร์  และกับ ขบวนการตัดสินใจ "the decision-making process" ที่ศึกษากันในสาขาวิชาธุระกิจ และการจัดการ   การพิจารณายอมรับว่าขบวนการออกแบบมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับขบวน การคิด ในลักษณะ ดังกล่าว  ย่อมทำให้เกิดแนวทางของ การศึกษา ค้นคว้า  และการพัฒนา ขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมได้กว้างขวางยิ่งขึ้น


หนังสืออ้างอิง แนวคิดของขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม

George  Chadwick,  "Planning as a Conceptual  System"  in  A Systems View of Planning, pp. 22-82.

Jon  Lang  and Charles Burnette, "A Model of  the  Designing Process" in Designing for Human Behavior, pp. 43-51.

Geoffrey  Broadbent,  "Development  of  Design  Methods"  in Design in Architecture, pp. 252-271.

Koberg and Bagnall, "The Design Process is a Problem-Solving Journey", in The Universal Traveler, pp. 16-28.


บทบาทสถาปนิกและกระบวนการตัดสินใจในการออกแบบสถาปัตยกรรม

เป็นที่ยอมรับกันว่า  สถาปนิกเป็นผู้มี่บทบาทสำคัญผู้หนึ่ง  ในการออกแบบและดำเนิน การก่อสร้างอาคารต่างๆในปัจจุบัน และดูเหมือนว่าบทบาทนี้ เป็ เจตนา รมณ์ที่มุ่งหวังไว้ให้ เป็นบรรทัดฐานของการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในระหว่างตอนปลายศตวรรตที่ 19 และ ตอนต้นศตวรรตที่ 20 กล่าวโดยรวม สถาปนิก เป็นผู้มีความรู้และความสามารถทั่วๆไป  ใน ขบวนการต่างๆของการออกแบบและก่อสร้างอาคาร  เป็นผู้นำและประสานการทำงานร่วม กันระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขาของงานที่เกี่ยวข้องกัน  ทำให้เกิดผลสรุปทางความคิด ในการออกแบบและก่อสร้าง  จนสถาปัตยกรรมแล้วเสร็จเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ในที่สุด  อา คารต่างในอดีตเกิดขึ้นจากการออกแบบและการตัดสินใจที่ไม่เป็นระบบที่ชัดเจนนัก ส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นจากการดำเนินการร่วมกัน ระหว่างสถาปนิก กับเจ้าของ อาคารที่เป็นคนรวยหรือผู้ปก ครองที่มีอำนาจ  และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการดำเนินการตามลำพัง  ของคนธรรมดาสามัญ เอง กับ ช่างก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง  หรือโดยพ่อค้าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในเชิงธุ ระกิจ  ในปัจจุบันการออกแบบและการก่อสร้างอาคารต่างๆ  มีความต้องการและจำเป็น ที่ต้องอาศัย กระบวนการ ออกแบบและการตัดสินใจที่เป็นระบบและระเบียบแบบแผนมากขึ้น เพราะมีผู้ร่วมทำงานกับสถาปนิก ที่มีความหลากหลายอาชีพและมีอำนาจในการตัดสินใจร่วม มากขึ้น อีกทั้งปัญหาในการออกแบบและก่อสร้างอาคาร มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย ความจำเป็นของขบวนการออกแบบและตัดสินใจของสถาปนิก   ที่ต้องมี ระบบ และวิธี การที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เพราะสถาปนิกมีความรู้เข้าใจต่อปัญหาต่างๆจำกัดลง เนื่องจาก ปริมาณความยุ่งยาก และสลับซับซ้อน ของปัญหาการ ออกแบบสถาปัตยกรรมปัจจุบัน   มีมากขึ้น กว่าในอดีตเกินความรอบรู้โดยลำพังของสถาปนิกคนเดียว   ที่จะหาแนวทางแก้ไขอย่างถูก ต้อง และมีผลดี อย่าง สมบูรณ ์ต่อสาธารณะชนผู้เกี่ยวข้อง  หรือผู้ใช้อาคารที่ออกแบบโดยตรง อย่างมีประสิทธิภาพได้ ในการดำเนินการออกแบบอาคารแต่ละประเภท  จำเป็นที่ สถาปนิก ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินใจหลายคน  ทำงานร่วมกับผู้ชำนาญการหลายประเภท   และต้อง เกี่ยวข้องกับ รูปแบบการจัดการ การทำงานที่มีระบบ และ ระเบียบแบบแผนมากขึ้น   การออก แบบมีการทำงานในแต่ละขั้นตอน เกี่ยวข้องกับผู้ร่วมงานต่างๆกันในแต่ละขั้นตอน เช่นในระ ดับการออกแบบขั้นต้น มีการ ทำงานร่วมกับผู้ตัดสินใจในระดับหนึ่ง การดำเนินงานของสถาป นิกอาจอยู่ในรูปของทีมงานออกแบบ  ที่ขึ้นอยู่กับสถาปนิกหัวหน้าโครงการ  ผู้จัดการการก่อ สร้าง  หัวหน้าสถาปนิกออกแบบ ที่ปรึกษางานระบบที่เกี่ยวข้องต่างๆ  ตัวแทนเจ้าของงาน นักเศรษฐศาสตร์การเงินและประมาณการค่าก่อสร้างเป็นต้น   ถ้า สถาปนิก ยังต้องมีบทบาท เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการตัดสินใจต่อการออกแบบและก่อสร้างอาคารตามหลักของวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบ ทางกฏหมาย เมื่อ เกิดความผิดพลาดต่อการออกแบบและตัดสินใจแล้วนั้น ก็ต้องมีความจำเป็น ความเข้าใจ  และความชำนาญในการจัดสร้างระบบและระเบียบการ ทำงานออกแบบ และตัดสินใจในขั้นตอนต่างๆได้อย่างเหมาะสม  จึงจะทำให้การดำเนินการ ออกแบบและการก่อสร้างอาคารมีผลสัมฤทธิ์โดยสมบูรณ์ในที่สุด ในยุคของ สถาปัตย กรรมสมัยใหม่ "the modern movement" บทบาทที่เด่นชัดของ สถาปนิก คือ นักคิดสร้างสรรค์ "creator" เป็นผู้มีความรอบรู้ทั่วไป  ในทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับงาน ออกแบบสถาปัตยกรรม  มากกว่าการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะอย่าง  ต้น ฉบับของการศึกษาสถาปัตยกรรม  ได้รับอิทธิพลส่วนมาก จากกลุ่มสถาปนิก ที่มีชื่อ เสียงในสมัย นั้น  เช่น Walter Gropius, Frank Lloyd Wright, Alva Aalto, Mies  Van de Rhoe และ Louis I Kahn เป็นต้น สถาปนิกเหล่านี้เป็นทั้งครูสอน และ ประกอบบอาชีพทางสถาปัตยกรรมพร้อมกันทั้งสองบทบาท ขบวนการออกแบบเน้นความคิดการสังเคราะห์ ค้นหาคุณภาพที่เป็นเลิศทางรูปทรง  และที่ว่าง ของ สถาปัตยกรรม  วิธีการแก้ปัญหาเป็นลักษณะ คล้ายคลึงกันในทุกอาคารที่ออกแบบ  แม้ว่าบางคนมีการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม  แต่ผู้ร่วม งานทุกคน มีประสบการณ์ และพื้นฐานการศึกษาที่คล้ายคลึงกัน  โดยได้รับการถ่ายทอดวิชา การและประสบการณ์จากสถาปนิกเจ้าของสำนักงาน ปัญหาที่เน้นในการออกแบบแต่ละสำนัก มีความแตกต่างชัดเจน   แต่ละสำนักยึดถือปัญหาเฉพาะเป็นแบบเดียวกันในการออกแบบอา คารทุกหลัง เช่น Walter Gropius เน้นปัญหาการออกแบบที่เกี่ยวข้อง  ทางเทคโนโลยี สังคม และ เศรษฐกิจ ใช้รูปทรงเรขาคณิต ที่ตอบสนองในด้านงบประมาณที่ประหยัด  และ สะดวกกับกรรมวิธีการก่อสร้าง Frank Lloyd Wright  เน้นการออกแบบที่รูปทรงและที่ ว่างทางสถาปัตยกรรม  กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นสำคัญ   โดยคำนึงถึง ความเหมาะสมในแง่เศรษฐกิจ  และ ความเหมาะสมในขบวนการก่อสร้างน้อยมาก  Mies Van de Rhoe เน้นการแก้ปัญหาในด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับรูปทรงทางสถาปัตยกรรม ให้ความสำคัญ ต่อคุณค่าทางความงามของวัสดุ  และการก่อสร้างที่เป็นผลิตผลทางการอุตสา หกรรม Louis I kahn และ Alva Aalto เพิ่มการเน้นปัญหาทางด้านสังคมชุมชนคล้าย กัน ทั้งสองเริ่มให้ความสำคัญ กับ ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา  มีส่วนร่วมในการออกแบบและตัด สินใจ  เช่น วิศวกรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางโครงสร้าง การก่อสร้าง หรือ  แพทย์และช่าง เทคนิคในสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ สถานพักฟื้นผู้ป่วยและโรงพยาบาล เป็นต้น กล่าวโดยสรุปสำหรับยุคนี้ คือ ขบวนการออกแบบ  ไม่มีการ กำหนดชัดเจนในขั้นตอน ของการออกแบบ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถาปนิกเป็นสำคัญ และโดยลำพัง  ลักษณะความคิด เป็นขบวนการทางสังเคราะห์ "creativity in design" เน้นความคิดในแง่การสร้าง สรรค์  มากกว่าการวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะของอาคารที่มีความแตกต่างกัน  มีการเสนอผล ของการออกแบบ หลายรูปแบบ ก่อนมีการตัดสินใจสุดท้าย โดยลำพังของสถาปนิก มีการนำปัญ หาทางขบวนการอุตสาหกรรม เช่นระบบการก่อสร้างสำเร็จรูปมาใช้ในการตัดสินใจ คำนึง ถึง ผลทางเศรษฐกิจ  ความเหมาะสมของสัดส่วนมนุษย์กับการกำหนดพื้นที่ใช้สอยของอาคาร เริ่มมีการศึกษาและให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมของผู้ใช้อาคาร   อย่างไร ก็ตามสถาปนิกยัง เป็นนักพยากรณ์ ที่มีวิธีการยากต่อการตรวจสอบข้อผิดพลาด และปรับปรุงการออกแบบในโอ กาศต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้น สำหรับอาคาร ที่เป็นผลงานต่อมา คือ  ปัญหาที่ไม่สอดคล้องตรงกัน เกิดช่องว่างระหว่าง ประโยชน์ใช้สอยในการออกแบบ กับประโยชน์ใช้สอยจริงของผู้ใช้อาคาร การคาด การณ์ที่ผิดพลาดในแง่จิตวิทยาและสังคม สำหรับอาคารประเภทที่อยู่อาศัยและ สำนักงานขนาดใหญ่ ในยุคหลังของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ "the post-modern movement" มีการพัฒ นาและเปลี่ยนแปลงขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมจากยุคก่อน   สืบเนื่องมาจากผลงานที่ ประสบความล้มเหลว ในการใช้สอยเพิ่มขึ้น เป็นลำดับ  มีการทบทวนคุณค่าทางรูปทรงสถาปัต ยกรรม ที่ตอบสนองผลทางด้านจิตวิทยามากขึ้น ขบวนการตัสินใจไม่ขึ้นอยู่กับสถาปนิกโดยลำพัง  มีกลุ่มเจ้า ของงานและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องมาร่วมในการตัดสินใจ  บท บาทของสถาปนิกยังเป็นนักสังเคราะห์ แต่ทำงานในลักษณะกลุ่มมากขึ้น เพราะเจ้า ของงาน ต้องการสถาปนิกที่มีความสามารถเด่นชัด ในแง่ของการนำเสนอความคิดที่ยอดเยี่ยม แปลก ใหม่ และมุ่งเน้นงานทางสร้างสรรค์  ที่มีผลโดยตรง ต่อ การแข่งขันทางธุระกิจเป็นสำคัญลำ ดับแรก ส่วนในแง่การปฏิบัติอื่นได้รับการร่วมงานจากผู้เชี่ยวชาญต่างๆ บทบาทของสถาปนิก เริ่มจะเปลี่ยน เป็นผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมมากขึ้น     โดยมีนักวิ เคราะห์โปรแกรมศึกษาเฉพาะล่วงหน้า   สร้างข้อจำกัดของการออกแบบที่ค่อนข้างชัดเจน จึงทำให ้เกิดการพัฒนาขบวนการออกแบบ เป็นแนวทางการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ มีขบวน การตัดสินใจที่มีระบบและเป็นระเบียบมากขึ้น   พัฒนาความคิด ทางการ สังเคราะห์ควบคู่กับ การวิเคราะห์ เพื่อการตรวจสอบโปรแกรมการออกแบบ ให้มีความถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น การอธิบายผลงานการออกแบบในแง่เชิงเหตุผล  และสนับสนุนโดยหลักฐานด้านข้อมูล   มี ความต้องการจากเจ้าของงานมากขึ้น  รูปแบบของสำนักงานเป็นลักษณะการจัดการและทำ งานร่วมกัน เป็นกลุ่มใหญ่ มากขึ้น เป็นลักษณะของนักออกแบบหลายชนิดและหลายประเภทรวม กัน มีการกำหนดและแยกบทบาทของสถาปนิกนักการศึกษา  และสถาปนิกนักปฏิบัติ ออกอย่าง เด็ดขาดและชัดเจนยิ่งขึ้น รูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน  ทำให้ปัญหาการ ออกแบบสถาปัตยกรรม มีความยุ่งยาก และสลับซับซ้อน เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเช่นเดียวกัน


หนังสืออ้างอิง บทบาทสถาปนิกและกระบวนการตัดสินใจในการออกแบบสถาปัตยกรรม

Howard  Mitchell,  "Professional  and  Client:  An  Emerging Collaborative Relationship" in Designing for Human Behavior,  pp. 15-22.

C.  Christopher  Jones,  "The State of  the  Art  in  Design Methods"   in  Emerging  Methods  in  Environmental  Design   and Planning, pp. 3-11.

Lars  larup,  "Changing Roles in Environmental  Design:  The Designer as Co-Learner" Journal of Architectural Education,  Vol. 26 no. 4, 1974.

Stephen  J. Kirk and Kent F. Spreckelmeyer, Creative  Design Decisions:   A   systematic  Approach  to  Problem   Solving   in Architecture, pp. 2-18, 1988.
 



เรื่อง ความหมายของสถาปัตยกรรม

การแก้ปัญหา กับแบบจำลองการออกแบบ


ความหมายของ"สถาปัตยกรรม

การศึกษาสถาปัตยกรรม สามารถกระทำได้ในสองนัย คือ การศึกษาชนิดของอาคาร โดยตรง และ การศึกษาขบวนการออกแบบอาคารของสถาปนิก  การศึกษาอาคาร โดยตรง หรือผลิตผลของการออกแบบ  มักกระทำในการเรียนการสอน  วิชาประวัติศาสตร์สถาปัตย กรรมในอดีต  ศึกษารูปแบบของอาคาร  และการพัฒนา ในแต่ ละยุคสมัย   ส่วนการเน้นถึง ขบวนการ การออกแบบของแต่ละอาคารมีไม่เด่นชัดนัก ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม เน้นรูป ลักษณะของอาคาร  การวิวัฒนาการ และ วัสดุการก่อสร้างแต่ละยุคสมัยของอาคาร  การ ประเมินคุณภาพงานสถาปัตยกรรม เป็นการคาดการณ์โดยนักประวัติศาสตร์ และสรุปผลทาง ทฤษฎี โดยหลักฐาน ที่วิเคราะห์จากชนิดของอาคาร และวัสดุ หรือการก่อสร้างที่เป็นผลผลิต ของการออกแบบอาคารนั้นๆทั้งสิ้น การศึกษาแนวความคิด ในการออกแบบ ของผู้ออกแบบ โดยตรงมีน้อย อาจเป็นเพราะอาคารที่มีคุณภาพ บางชนิดไม่สามารถทราบ  หรือระบุสถาปนิก ผู้ออกแบบได้อย่างชัดเจน เป็นผลิตผลของขบวนการออกแบบ ที่ Alexander (1964) เรียกว่า การออกแบบไร้สำนึก (unself-conscious design) การศึกษาสถาปัตยกรรมในระยะหลัง   หรือที่เรียกว่า   สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ เริ่มสนใจวิเคราะห์ แนวความคิดของสถาปนิกที่ออกแบบอาคารนั้นๆ และ การศึกษาประวัติ ศาสตร์สถาปัตยกรรม  นักประวัติศาสตร์จะการวิเคราะห์อาคารในอดีต  พร้อมศึกษาผนวก ความคิดของสถาปนิกที่เกี่ยวข้อง มาสรุปเป็นทฤษฎีสถาปัตยกรรมร่วมกัน คุณภาพของอาคาร ที่ประเมินมาสรุป เป็นเนื้อหาของ วิชาสถาปัตย กรรม  จึงเป็นลักษณะของอาคารที่เป็นผลของ การออกแบบที่ Alexander (1964) เรียกว่า การออกแบบมีสำนึก (self-conscious design) หรืออาคารที่มีสถาปนิก เป็นผู้ออกแบบเป็นสำคัญ คุณภาพของอาคาร หรือสถาปัตย กรรมที่ดี จึงต้องตอบสนองกิจกรรมผู้ใช้อาคาร  และแนวความคิดของผู้ออกแบบที่สอดคล้อง กันด้วย ความงามของรูปทรงอาคาร จึงเป็นเรื่องความเหมาะสม กับประโยชน์ของการ ใช้สอยของผู้ใช้ สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัสดุและการก่อสร้างหรืออื่นๆ ที่สถาปนิก เป็นผู้ กำหนดแนวคิดของการออกแบบอาคารไว้ล่วงหน้า ของอาคารนั้นๆ การศึกษาสถาปัตยกรรม โดยนัยของขบวนการออกแบบ หรือกิจกรรม ของสถาปนิก ผู้ออกแบบ  จึงมีความสำคัญมากขึ้น เป็นลำดับในปัจจุบัน การศึกษา สถาปนิก หรือกิจกรรมของผู้ออกแบบอาคารโดยอาชีพ มีการพัฒนาการ ศึกษาขบวนการ ออกแบบ ตั้งแต่การออกแบบไร้สำนึกในอดีต คือการดัดแปลงเล็กๆน้อยๆ เป็นวิวัฒนาการโดยมีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน จากรูปแบบอาคาร ที่เป็นที่นิยมกัน ในแต่ละยุคสมัย จนถึงการออกแบบมีสำนึก ที่มุ่งการแก้ปัญหาของอาคารแต่ละชนิด เป็นลักษณะ เฉพาะกรณี โดยตรงตามสถานการณ์ที่เป็นจริงในปัจจุบัน หากความต้องการของสถาปนิกโดยอาชีพ ในการออกแบบอาคารในปัจจุบัน  มีความ จำเป็นเพียงใด การศึกษาขบวนการออกแบบอย่างมีสำนึกของสถาปนิก  ก็จะมีความจำเป็น ดังนั้น เพราะวัฒนธรรมการออกแบบอย่างมีสำนึก  เป็นผลิตผลของการศึกษาสถาปัตยกรรม ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการสอน ที่กำหนด ขบวนการชัดแจ้ง มีข้อกำหนดแน่นอน  มีการแข่ง ขันในด้านสังคมและธุระกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาคาร และขนาดของโครงการออกแบบ ทำ ให้ต้องมีกำหนด การเลือกการบริการของสถาปนิก เหมือนเช่นการเลือกช่างก่อสร้างที่มีฝีมือ ดี ในการก่อสร้างอาคารที่มีชื่อเสียงในอดีต เนื้อหาของการศึกษาสถาปัตยกรรม จึงจำเป็น ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรม และขบวนการคิด การตัดสินใจของสถาปนิก เป็นสำคัญด้วย ผู้ให้ความสำคัญกับวิธีการออกแบบ ในระยะเริ่มแรก ของการ ศึกษาสถาปัตยกรรมตาม นัยนี้ คือ Viollet-le-Duc สถาปนิกและวิศวกรชาวฝรั่งเศส นักคิดเชิงเหตุผล  ของยุค Neo-Gothic  ของศตวรรตที่ 19 ในข้อเขียน "On  method"  (Violett-le-Duc, 1872) เขากล่าวว่า สถาปนิกในยุคนั้น เผชิญปัญหา ความอคติ ความเป็นประเพณีนิยมทาง ความคิด และความขายหน้าต่อการยอมรับ ความยุง่เหยิงและสับสนของนักประวัติาสตร์  ที่ เกี่ยวกับศิลป  ที่ชี้นำความคิดค่อนข้างเคร่งครัด และเป็นหลักการที่เด่นชัดเกินไป  ละเลย ความซับซ้อน ของ ปัญหาการออกแบบที่เป็นจริง เช่น ความก้าวหน้าของความรู้ ความเข้าใจ ที่เพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง  เกี่ยวข้องกับวัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง  การแสวงหาความรู้ เพิ่มขึ้นได้มากเพียงไร ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบและการตัดสินใจได้ถูกต้องเท่า นั้น  การได้รับความรู้ที่มีประโยชน์ทางการปฏิบัติ   มีประโยชน์ และจำเป็นในการแยกแยะ และจำแนกเป็นหลักการ หรือวีธีการในการออกแบบได้อย่างมากมาย วิธีการที่เขาหมายถึง คือ "programme of requirements"  หรือความจำเป็นที่ต้องเอาใจใส่ต่อการคำนวณ ในการเลือกกรรมวิธีของการก่อสร้าง ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติของวัสดุต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ ใน แง่การปฏิบัติเท่านั้น   แต่ต้องสอดคล้องกับรูปลักษณ์ที่ปรากฏด้วยในแง่ของ ความเป็นเอกภาพ ความสัมพันธ์แก่กันและกัน ในแง่ของสัดส่วนและขนาด  กรรม วิธีการ ตกแต่ง อันเป็นส่วนหนึ่งของ หลักของการออกแบบ เป็นต้น นี่คือการเริ่มต้นของการศึกษา สถาปัตยกรรม โดยนัยของสถาปนิก หรือขบวนการออกแบบ ที่แยกจากการศึกษาตัวอาคารที่ เป็นผลของการออกแบบ เพียงอย่างเดียว การโต้แย้งกันถึงวิกฤติของสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน ส่วนมากจะเป็นวิกฤติที่เกี่ยวข้อง กับวิธีการการออกแบบ    การเรียกร้องความเป็นสถาปัตยกรรมของมนุษย์    (humane architecture) ที่ต้องการการตกแต่งประดับประดาเพื่อผลทางจิตใจ นอกเหนือ จาก ประโยชน์ใช้สอยทางร่างกายอย่างเดียว  เรียกร้องการออกแบบ ที่ถูกต้องในแง่การปฏิบัติ ความสะดวกสบายทางกายภาพ ปลอดจากความเสียหาย ในแง่ เทคนิคประกอบอาคาร  และ การปรับตัวทางร่างกายและจิตใจของผู้ใช้อย่างเหมาะสม   เนื้อหาการศึกษาเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องการปรับปรุง  ขบวนการ  หรือวิธี การออกแบบเป็นสำคัญ   หรืออาจกล่าวได้ว่า ความหมายของ สถาปัตยกรรม กับวิธีการออกแบบ เป็นสิ่งเดียวกัน

 

การแก้ปัญหา คือ แบบจำลองของการออกแบบสถาปัตยกรรม

(Problem solving as a model for architecture)

มีการอ้างแบบจำลองของการออกแบบ  ในลักษณะต่างๆกัน  เช่นการออกแบบ  คือ ขบวนการตัดสินใจ  หรือการออกแบบ คือ ขบวนการจัดการของระบบข้อมูล  หรือการออก แบบ คือขบวนการพญากรณ์ เป็นต้น การพิจารณาแบบจำลองการออกแบบ  จากวงกว้างไป สู่วงแคบ ที่เกี่ยวกับขบวนการ ของกิจกรรม ในการ ออกแบบสถาปัตยกรรม คือ การอ้างแบบ จำลองการออกแบบ  คือ  ขบวนการแก้ปัญหา  หรือกิจกรรมของการแก้ปัญหา (problem solving activity) และ วิธีการ (method) คือ แบบจำลองของกิจกรรม Newell and Simon (1972) ได้ให้คำจำกัดความของ ปัญหา ดังนี้คือ  บุคคลใด บุคคลหนึ่ง เมื่อเผชิญกับปัญหา เขามีความ ต้องการบางสิ่งบางอย่าง  แต่ยังไม่ทราบขั้นตอน ของกิจกรรม  ที่จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้บรรลุความต้องการนั้น  กิจกรรมหรือขั้นตอน ต่างๆของกิจกรรม เพื่อดำเนินการจากจุดเริ่มของปัญหา   ไปสู่จุดสุดท้ายของการได้ผลลัพท์ ของการแก้ปัญหา คือ การออกแบบ (design) ซึ่งมีความต้องการอาคารที่มีผลดีสูงสุด ขั้น ตอนของกิจกรรมการออกแบบ  คือขบวนการแก้ปัญหา (problem-solving  process) หรือ ขบวนการออกแบบ (design process) การจะอธิบายการออกแบบ สถา ปัตยกรรม  ในแง่ของการแก้ปัญหา  ค่อนข้างจะเป็น นามธรรม ไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจนนัก หากทำการสังเกตุการปฏิบัติงานของสถาปนิกใน สำนักงาน จะพบว่าการกระทำไม่อยู่ในลักษณะของการแก้ปัญหาเลย  หากบางครั้งเป็นการ ดำเนินงานที่อาจทราบการกระทำเพื่อความต้องการก่อนล่วงหน้า เช่นการปฏิบัติ งานตาม ลักษณะที่เคยกระทำมาแล้ว ตามกฏเกณท์ที่มีหลักการแน่นอน จนเป็นลักษณะเหมือนเป็นเช่น การกระทำตามนิสัยที่ปกติ ลักษณะการกระทำซ้ำๆ การดั´ปลงเล็กๆน้อยๆ หรือการเลียนแบบ ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นการกระทำที่เรียกว่า  เป็นขบวนการแก้ปัญหาได้ตามที่นิยามไว้  โดย สรุปอาจกล่าวได้ว่า ขบวน การแก้ปัญหา  เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ ออกแบบสถาปัตยกรรมเท่านั้น สิ่งที่ระบุว่าเป็นปัญหานั้น  มีหลายชนิด   บางชนิด อาจถือเป็น ส่วนปลีกย่อยของปัญหา เช่น การเล่นต่อเติมคำ (crosswords) การเล่นหมากรุก (chess) การเลือกเส้นทาง ขับรถไปทำงาน หรือจะทำอาหารกินในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้น่าจะเรียกว่า  puzzles เพราะเราสามารถรู้การกระทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ได้ก่อนล่วงหน้า   ทราบการกระทำ เพราะอาศัยข้อมูลที่มีอยู่เดิมแล้ว ขบวน การออกแบบที่เรียกว่า puzzle solving นี้อาจ เทียบเคียงการออกแบบที่ Alexander (1964) เรียกว่า การออกแบบไร้สำนึก ปัญหาการออกแบบโดยทั่วไป อาจแตกต่าง จากปัญหาอื่น ตรงที่ว่า  สถาปนิกไม่ทราบ แน่นอนว่าเขาต้องการกระทำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไรชัดเจนนัก เช่นเพียงต้องการออก แบบบ้านสำหรัºครอบครัว  ÁÕÊÁÒªÔ¡ 6 คนสร้างบนเนินเขาที่มีพื้นดินลาดชัน  เขาต้องดำเนิน การความต้องการ หรือความปราถนาต่อไป เพื่อให้ได้ข้อกำหนดที่แน่นอนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อ การกระทำนี้เสร็จสิ้นแล้ว การบรรลุผลในขั้นสุดท้ายก็ไม่เป็นสิ่งยุ่งยากอีกต่อไป เหมือนดังที่ Rener Banham (1965) เคยอ้างว่า ปัญหาการออกแบบ ที่กำหนด ได้อย่างเด่นชัด คือปัญหา ที่ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยสรุป ส่วนหนึ่งของปัญหาการออกแบบ คือการค้นหาอะไรที่เป็น ปัญหา  หรือที่  Pena(1977)  นิยามการ ออกแบบส่วนหนึ่ง  คือ  ขั้นตอนการค้นหาปัญหา (problem seeking) หรือ ขั้นตอนการทำโปรแกรมออกแบบ (programming phase) ก่อนที่จะดำเนินขั้นต่อไป ที่เขาเรียกว่า ขั้นตอนการออกแบบ (design phase)  หรือขั้น ตอนการแก้ปัญหา (problem solving) จากการที่พิจารณาถึงกิจกรรมต่างๆ  ในสำนักงานสถาปนิกแล้ว  กิจกรรมบางส่วนที่ เกี่ยวกับการออกแบบ เป็นลักษณะของ puzzle solving  หากยอมรับความแตกต่าง ระหว่าง ผลของการแก้ปัญหา กับ ผลของการแก้ puzzles แล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในสำนักงานสถาปนิก ไม่ใช่การแก้ปัญหาทั้งหมด  และการแก้ปัญหาทาง สถาปัตยกรรม ก็ไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบทั้งหมด ประเด็นนี้คือ การกำหนดความแตกต่าง ของผลการออกแบบอย่างไร้สำนึก ออกจากผลการออกแบบอย่างมีสำนึกออก อย่างเด่นชัด ข้อสังเกตุประการหนึ่ง คือว่า กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนงานสถาปัตยกรรม หรืออาจ รวมถึงขั้นตอนการออกแบบ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้อง  กับการออกแบบอย่าง ไร้สำนึก หรือกิจกรรมของ puzzles solving ในทางปฏิบัติจริงได้ เพราะเป็นเหตุผลที่ เกี่ยวกับเวลา และงบประมาณ แผนภูมิสรุปความเข้าใจตามที่กล่าวข้างต้น สามารถ แจกแจงได้ดังนี้ คือ

 

Model of Design as Problem solving

••• Architectural design •••••

(Alexander 1964)=

(Pena 1977)=



หนังสืออ้างอิง

Heath, Tom, Method in Architecture, New York: John  wiley & sons, 1984, pp. 1-56.

Pena, William, Problem Seeking: An Architectural Programming Primer, Boston:Cahners, 1977.

Alexander,  Christopher,  Notes on the  Synthesis  of  Form, Cambridge, Mass.:Harvard University Press, 1964.



เรื่อง ศาสตร์ของวิธีการออกแบบ (Design Methodology)
แบบจำลองของขบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม


ศาสตร์ของวิธีการออกแบบ (Design Methodology)

การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีของวิธีการ  "procedural theory"  จะเกี่ยวข้องกับ การอธิบาย และการแจกแจง อย่างชัดแจ้ง ของขบวนการ หรือ ขั้นตอน  ที่เกี่ยวกับการ ออกแบบสถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อม และอื่นๆ ศาสตร์ของวิธีการออกแบบ คือ การศึกษา ขบวนการและวิธีการต่างๆของการออกแบบ รวมทั้งการศึกษาวิธีการคิด  และวิธีปฏิบัติของ สถาปนิกหรือนักออกแบบนั่นเอง  วัตถุประสงค์ของการศึกษา  ก็เพื่อการค้นหาและสร้างพื้น ฐานของความรู้ ทางทฤษฎี สนับสนุนการศึกษา และการปฏิบัติ ของการออกแบบสถาปัตยกรรม ความรู้นี้จะสามารถช่วยให้สถาปนิก   หรือนักออกแบบกำหนดขบวนการออกแบบของตัวเอง อย่างเหมาะสม กับ ปัญหาสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน   แทนที่จะใช้ขบวนการออกแบบที่จำเจ และซ้ำซาก จนเกิดเป็นความเคยชิน ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจุบัน การศึกษาในแนวทางนี้ยังมีความสนใจน้อย ข้อเสนอทางวิชาการที่ปรากฏเป็น หลักฐานการอ้างอิง ยังอยู่ในขั้นการเริ่มต้น และมีการโต้แย้ง ที่ยังสรุปเป็น พื้นฐานทางทฤษฎี ไม่ชัดเจนนัก  แต่อย่างไรก็ตาม  นับเวลาการศึกษาเป็นระยะเวลาประมาณเกือบสามสิบปี ตั้งแต่มีการประชุม ทางวิชาการเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้น ที่เมือง ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1962 และครั้งสุดท้าย ณ สถานที่เดียวกัน ในปี ค.ศ. 1982 ซึ่งการประชุมทางวิ ชาการทั้งสองนี้ ถือเป็นการเริ่มต้น ของ ยุคการศึกษา และเป็นยุคการสืบต่อการศึกษา  ของ ขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม ผลการประชุมทางวิชาการแขนงนี้ ที่ได้จัดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 จนถึง ปัจจุบัน นับ ว่าเป็นการบันทึก การวิวัฒนาการของศาสตร์ทางวิธีการออกแบบ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง  โดย การประชุมที่สำคัญๆ พอแยกออกเป็นสองฝ่าย คือการ ประชุมของฝ่าย ที่จัดให้มีขึ้น ณ  ประ เทศอังกฤษ ดังมีผลการบันทึกเป็นเอกสารทางวิชาการดังนี้คือ ในปี 1962 -Jones  and Thornley  (1963) ในปี 1965 -Gregory (1966) ในปี 1971 -Cross  (1972) ในปี 1973 ไม่มีการบันทึก ในปี 1967 ทั้งสามครั้ง -Broadbent and Ward  (1969) ในปี  1976  -Evans,  et al. (1982) ในปี 1980  -Jacques  and  Powell (1981) และ ในปี 1982 -Langdon et al. (1984) และอีกฝ่าย มีการประชุมหลาย ครั้งที่จัดในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญ ควรแก่การ กล่าว อ้างถึง คือในปี 1968  ที่เมือง บอสตัน -Moore (1970) และในปี 1974 ที่เมืองนิวยอร์ค -Spillers (1974) เนื้อหาวิชาการ ความแตกต่างในการศึกษาและค้นคว้า ที่เกี่ยว ข้องกับ ศาสตร์ของวิ ธีการออกแบบสถาปัตยกรรม พอจะสรุปได้จากเอกสาร  ที่เป็นบันทึกผลการประชุมทางวิชา การดังกล่าว คือ

ก.   การจัดการของขบวนการออกแบบ " the  managment  of  design process" การศึกษาอยู่ในระหว่าง ปี ค.ศ.1962-67 เกี่ยวข้องกับการเสนอขั้นตอนการออก แบบอย่างเป็นระบบชัดเจน เสนอวิธีการตรวจสอบเชิงปริมาณด้วย  โดยเนื้อหาและวิธี การ พัฒนาการมาจากสาขาวิชาอื่น เช่น วิธีการต่างๆของ การแก้ปัญหา การจัดการ และ การค้นคว้าเชิงปฏิบัติการ  ที่ได้มีการพัฒนาในระหว่างสมัย สงครามโลกครั้งที่สอง  และปี ค.ศ. 1950s

ข.   โครงสร้างของปัญหาการออกแบบ " the  structure  of  design problems" เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากขบวนการออกแบบที่เน้นระบบของขั้นตอน  และวิธีการ ตัดสินใจ  ในช่วงระยะเวลา ปี ค.ศ. 1966-73  โดยเน้นถึงความสำคัญของปัญหาที่ สลับซับซ้อนทางสถาปัตยกรรม  และโต้แย้งว่า เป็นลักษณะ ของปัญหาที่ยาก ต่อการที่จะกำหนด หรือแยกแยะออกได้ชัดเจนในเชิงปริมาณ  ใช้เป็นแนวทางการศึกษาเสนอขบวนการ  หรือ กรรมวิธีการออกแบบ

ค.    ธรรมชาติของกิจกรรมการออกแบบ "  the  nature  of  design activity " เน้นปัญหาที่ยุ่งยากในการออกแบบ และยุทธวิธีต่างๆในการแก้ปัญหาเหล่านั้น การศึกษาครอบคลุมถึง วิธีการสอบสวน และตรวจสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของสถาป นิก หรือนักออกแบบโดยเฉพาะ การศึกษาในช่วงเวลา ปี ค.ศ. 1970s-79 ของแนวทาง นี้ให้น้ำหนักความสนใจ ต่อการศึกษาพฤติกรรมของสถาปนิก หรือนักออกแบบโดยตรง  โดย อาศัยการศึกษาเปรียบเทียบ ด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมมนุษย์ จากสาขาวิชาแขนงอื่น

ง. ปรัชญาของวิธีการออกแบบ " the philosophy of design method " ในช่วงเวลา ปี ค.ศ. 1972-82 มีเอกสารสำคัญหลายชิ้น เสนอการศึกษาทบทวนแนวทาง ที่ใช้ ในการศึกษาขบวนการออกแบบที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเริ่มสนใจศึกษาขบวนการออกแบบ โดยตรง เพื่อนำข้อดีข้อเสียที่ได้รับจากการศึกษาโต้แย้ง มาใช้ ในการ ปรับปรุงแนวทางของ การศึกษาต่อไป เนื้อหาของเอกสารทางวิชาการ ที่ได้มาจากการประชุมทางวิชาการที่แล้วมาในอดีต นี้ ถือว่าเป็นการพัฒนา ทางวิชาการ ออกแบบที่สำคัญ เป็นพื้นฐานทางวิชาการที่จะสามารถทำ การกำหนดแนวทางของการศึกษาค้นคว้าต่อไปได้  เพราะได้ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับ การ แจกแจงความคิดในการออกแบบ  การอธิบายถึงธรรมชาติของปัญหาการออกแบบที่ ยุ่งยาก การสังเกตุพฤติกรรมการออกแบบที่เกิดขึ้นจริง และมีการสะท้อน ถึง รากฐานแนวคิด ของขบวนการออกแบบที่ชัดเจนมากขึ้น อันทำให้การศึกษา วิธีการ  และขบวนการออกแบบ มีแนวโน้มพอที่จะกำหนดเป็น ทฤษฎÕทาง ขบวน การออกแบบสถาปัตยกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อ การศึกษาสถาปัตยกรรมต่อไปได้ในอนาคต คำว่า วิธีการออกแบบ " design methods " เป็นการใช้อ้างถึง  ขั้นตอน ต่างๆ " procedures " โดยเฉพาะ  ที่เป็นลักษณะของการกระทำในการออกแบบของสถาปนิก แยกการกระทำ เป็นขั้นตอนต่างๆเป็นลำดับ ชัดเจน สามารถสอน เรียนรู้  และอธิบายได้ กล่าวโดยสรุป ศาสตร์ของวิธีการออกแบบ อ้างถึง การศึกษาวิธีการออกแบบต่างๆ เหล่านี้


หนังสืออ้างอิง  ศาสตร์ของวิธีการออกแบบ (Design Methodology)

Nigel  Cross, Development in Design Methodology,  New  York: John Wiley & Sons, 1984, pp. vii-x.

Donald P. Grant, A Design Methods Group Reference Sheet  for the New Student of Design, Sheet No. 1 - 6/1978.


แบบจำลองของขบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรม

(Models of The Architectural Design Process)

แบบจำลองทางความคิด "model" ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการออกแบบ กำหนดขึ้นจากประสบ การณ์ของสถาปนิกแต่ละคน ที่ทบทวน มาจากผล ของการปฏิบัติ ในวิชาชีพสถาปัตยกรรม  จาก ผลการศึกษา สามารถจำแนกลักษณะของแบบจำลอง ออกเป็นสองลักษณะ คือ  ลักษณะแบบ จำลอง ที่ยึดถือขบวนการออกแบบ เป็นเช่นเดียวกันกับ  ขบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ "the creative problem-solving process" ที่มีการพัฒนาส่วนใหญ่ จากวิชาในสา ขาจิตวิทยา และ พฤติ กรรมศาสตร์ และอีกลักษณะ ที่ยึดถือขบวนการออกแบบ เป็นเช่นเดียว กันกับ   ขบวนการตัดสินใจเชิงสร้างสรรค์  "the  creative   decision-making process" ที่มีการพัฒนาส่วนใหญ่ มาจากวิชาในสาขาการบริหาร และการจัดการศาสตร์ ขบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ขบวนการออกแบบที่อุปมาเป็นเช่นเดียวกันกับ ขบวนการแก้ปัญหานั้น  พอสรุปเป็นขั้น ตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ

ก. การกำหนดปัญหา "problem definition, problem  formulation, or transformation"

ข.  การเสนอความคิดแก้ปัญหาในแนวทางต่างๆ  "variety generation, divergence, or idea production"

ค.   การตัดทอนและสรุปแนวทางแก้ปัญหาสุดท้าย  "variety reduction, convergence, or selection"

ขั้นตอนของการแก้ปัญหาในการออกแบบสถาปัตยกรรมนี้ได้มาจากการศึกษาทางทฤษฎี  เชิงเปรียบเทียบ กับขบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์  ในวิชาจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับ ขบวนการของความคิดสร้างสรรค์ และพฤติกรรมมนุษย์ศาสตร์  ที่มีการพัฒนาการศึกษาเป็น เวลายาวนาน ความคิดสร้างสรรค์  เกิดขึ้นได้ทั้ง ขบวน การคิดแบบวิทยาศาสตร์  และขบวนการคิด แบบศิลป ทั้งการประพฤติปฏิบัติในแง่นามธรรม และในแง่รูปธรรม  เป็นการรวมความรู้สึก และ ความฉลาดรู้ เข้Òด้วย กัน  แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ระหว่าง  การหยั่งรู้ด้วยความรู้สึก และหยั่งรู้ด้วยประสบการณ์ที่เคยรู้มาก่อน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ขึ้นอยู่กับความตระหนัก ในความสามารถทั้งสองนี้ ผลของการกระทำไม่เหมือนสิ่งที่เคยกระทำ  หรือปรากฏใน สังคมขณะนั้น  นักคิดเชิงรูปธรรม ได้ความรู้จากข้อมูล หลักฐาน  แต่อาจ รวม กำหนดการคิด เริ่มต้น  ด้วยความรู้สึกที่ได้รับจากสิ่งรอบตัว แล้วพัฒนาขบวนการคิดต่อเนื่องด้วย  เหตุผล ไปพร้อมความรู้สึก ของ ความสุนทรีย์  ที่ได้รับจาก ประสบการณ์ นักคิดเชิงนามธรรม  ได้รับ ความรู้  ความเข้าใจ จากการตอบสนองโดยทันที ของกลไกความรู้สึกนึกคิดในสมอง  ดำ เนินการโดยตลอด  และต่อ เนื่อง เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  และประสบการณ์ของ ความรู้สึกนึกคิดที่สะสมมาในอดีต การศึกษาขบวนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เป็นการรวม คุณค่าของความคิดทั้งสองเข้าด้วยกัน การแก้ปัญหาการออกแบบที่ใช้ได้ มิใช่เป็นคำตอบเชิง สร้างสรรค์เสมอไป แนวทางการแก้ปัญหา ทางสถาปัตยกรรม เชิงสร้าง สรรค์  จะต้องผนวก ความคิดการจินตนาการและแรงบันดาลใจ เข้ากับการแก้ปัญหาความคิดด้วยเหตุผลเสมอ ขบวนการออกแบบในแนวทางนี้ จะต้องไม่ทำให้ ความคิด เป็นลักษณะที่เคร่งครัดเกิน ไป ขบวนการออกแบบต้องสอดคล้องกับวิธีการที่ยืดหยุ่น "soft" ทั้งด้านเหตุผลและความรู้ สึก Don Koberg และ Jim Bagnall (1972, 1980)  ได้เสนอแบบจำลองของขบวน การแก้ปัญหาการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เป็นสามขั้นตอนที่สำคัญ คือ

1. การวิเคราะห์ "analysis"

2. การกำหนดรู้ "definition"

3. การสังเคราะห์ "synthesis"

การเชื่อมต่อที่สำคัญของการคิดเชิงนามธรรม และเชิงรูปธรรม คือ ขั้นตอนการกำ หนดรู้ เป็นลักษณะของขั้นตอนที่จะสร้างแนวคิดการแก้ปัญหา อย่างเคร่าๆ  "conceptual stage" ก่อนที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมทางสถาปัตยกรรม อาจเป็นขั้นตอนการ ค้นหา คุณค่า เช่น อาคารที่มีคุณค่าสถาปัตยกรรม "the essence of building" หรือ เนื้อหาของงานศิลป์ "the art-content" เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาศ ให้สถาปนิก  ขยาย ความคิดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบในรูปของ โปรแกรม  สู่การออกแบบที่เป็นรูปธรรมของ อาคาร และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมในที่สุด ขั้นตอนการวิเคราะห์ เป็นขั้นตอนของความคิดที่เป็น อิสระของ ส่วนบุคคล  และค่อน ข้างเคร่งครัดกว่า ขั้นตอนการสังเคราะห์ ซึ่งเป็นการครอบคลุม การค้นหาทางเลือกต่างๆ ให้ชัดแจ้งต่อการเลือกและตัดสินใจ  รวมทั้งการ ประมวลผลไปใช้ในทางปฏิบัติ  ขั้นตอนทั้ง หมดของขบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ควรเป็นดังนี้

1. analysis- การวิเคราะห์

2. definition- การกำหนดรู้

3. synthesis- การสังเคราะห์

3.1 options- การเสนอทางเลือก

3.2 decision-making- การตัดสินใจ

3.4 implementation- การประมวณผล
 
 

ขบวนการนี้ Koberg และ Bagnall ได้สรุปผลมาจากการศึกษาเปรียบเทียบ  กับ ขบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ที่ได้ศึกษาค้นคว้าและเสนอ เป็นแบบจำลอง ทางความคิด โดยผู้รู้ในสาขาอื่นต่างๆมากมาย  เช่น  Graham  Wallas  (1926)  John  Dewey (1933)  Alex  Osborn (1953) Osborn-Parnes (1956)  William  Gordon (1961) M. Asimov (1962) และ J. Rossman (1964) เป็นต้น แต่เมื่อนำมาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเหมาะสม กับการออกแบบโดยตรงทางสถาปัต ยกรรม และประกอบกับการศึกษาเปรียบเทียบ ถึงผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเชิง สร้างสรรค์ของมนุษย์  ที่ได้ให้ข้อสังเกตุถึง ขบวนความคิดสร้างสรรค์นั้น  เป็น ขบวนการที่ เกิดขึ้นย้อนกลับไปกลับมา  ระหว่าง  ความคิดที่กำหนดให้เกิดขึ้น  "making   things happen" และ ความคิดที่ยินยอมให้เกิดขึ้น "allowing things to happen" ดังนั้น Koberg และ Bagnall ได้สรุปผลการศึกษา  เป็นแบบจำลองของขบวนการออกแบบสถา ปัตยกรรม ที่อุปมาเป็นขบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ประกอบกันกับคุณลักษณะด้านพฤติก รรมเฉพาะของสถาปนิกด้วย โดยแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้คือ

แบบจำลอง ของขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม

เสนอโดย Don Koberg and Jim Bagnall (1972,1980)

1.acceptance-การยอมรับปัญหา

2.analysis-การวิเคราะห์

3.definition-การกำหนดรู้

4.ideation-การเสนอแนวคิดต่าง

4.synthesis-การสังเคราะห์

5.selection-การเลือก/ตัดสินใจ

6.implementation-การประมวลผลทางปฏิบัติ

7.evaluation-การประเมินผล
 

การยอมรับปัญหา  เกิดขึ้นโดยอาศัยองค์ประกอบร่วมทางพฤติกรรม  เช่น  การ สร้างวัตถุประสงค์  ความตั้งใจ ความกระตือรือร้น  แรงกระตุ้นโดยเฉพาะส่วนตัว  แรง ปราถนา และความกล้าหาญ เป็นต้น

การวิเคราะห์  เป็นการแยกแยะ หรือแปลเปลี่ยนปัญหา  เพื่อให้สอดคล้องกับ การรับรู้เข้าใจโดยประสบการณ์ เกิดโดย ความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็น  การตั้ง คำถาม ความเอาใจใส่ ความรู้สึกที่ออ่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า ความมีสติ เป็นต้น

การกำหนดรู้   เกิดขึ้นโดยคุณลักษณะเฉพาะตัว  ของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น การรู้แจ้งโดยทันทีทันใด การมีจุดประสงค์ที่แรงกล้า ความสามารถ คิดเชิงอุปมา อุปมัย เปรียบเทียบ  ความสามารถในการกำหนดแนวทาง การคิดโดยเน้นพื้นฐานสำคัญๆ  ความ เป็นผู้มีความอิสระ และนักประสานความคิดที่หลากหลาย เป็นต้น

การเสนอแนวคิดต่างๆ เกิดโดยคุณลักษณะที่ เป็นผู้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับ ปรุง  และมีความช่างคิดในหลายแง่มุม จึงทำให้มีความสามารถกำหนดแนวทาง  หรือผล ความคิดหลายด้าน เป็นผู้มีลักษณะ เปิดเผย จริงใจ กล้าเสี่ยง ผจญภัย  และช่างประดิษฐ์ คิดค้นคว้าสิ่งใหม่ๆเสมอ

การสังเคราะห์ เป็นการรวมสิ่งแยกแยะต่างเข้าด้วยกัน เป็นคำตอบอย่างสังเขป หรือ การนำ เสนอข้อคิดเห็นอย่างเคร่าๆ (conjectures) เป็น สมมติฐาน ของผล การออกแบบล่วงหน้า

การเลือก/ตัดสินใจ  เกิดโดยประสบการณ์เฉพาะตัว  ความมีเหตุผล  การ เปรียบเทียบ ความกล้าไม่ลังเล เอาใจใส่ มีความเชื่อมั่นในตนเอง  และมีความยุติธรรม เป็นต้น

การประมวลผลทางปฏิบัติ เกิดโดยคุณสมบัติ ของการเป็นนักปฏิบัติ  ไม่ใช่นักเพ้ อฝัน  เป็นนักชำนาญการ เป็นผู้มีความมัธยัสต์ ชอบปรับปรุง ซ่อมแซม แก้ไข  เพื่อให้เกิด ประโยชน์ กล้าแสดงออก เป็นต้น

การประเมินผล เกิดโดยคุณลักษณะของ การเป็นนักวิจารณ์ ชอบการโต้แย้ง นัก ประเมินคุณค่า ชอบสะท้อนความคิดเห็น ย้อนรอย คาดการณ์  และแสวงหา ความ รู้ อยู่เสมอ เป็นนักสร้างสรรค์  ชอบการก่อมากกว่าการทำลายล้าง  เป็นผู้มีการปรับปรุงตัวเองเสมอ เป็นต้น


หนังสืออ้างอิง รูปแบบจำลองของขบวนการออกแบบ

George Chadwick, "Models", in A System View of Planning, pp. 186-202.

Geoffrey Broadbent, "Models", in Design in Architecture, pp. 87-96.

Don  Koberg  and  Jim  Bagnall, "The  Design  Process  is  a Problem-Solving Journey", in The Universal Traveler, pp. 16-28.

Don  Koberg, "Universality of Process: To See Them All Is  To See  But  One", in Design Methods and Theories, vol. 14,  no.  1, 1980, pp. 25-34.

ยงยุทธ ณ นคร "ความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนการสอน ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์" ใน สถาปัตยกรรม วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2530, หน้า 5-21.

ยงยุทธ ณ นคร  "ความคิดสร้างสรรค์กับการพัฒนาการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม (2)  ตอนวิธีการของ  Synectics" ใน  สถาปัตยกรรม  วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับที่ 1 ปีการศึกษา 2532, หน้า 68-81.


 


 

เรื่อง แบบจำลองของขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม

ที่มาของการสร้างแบบจำลอง

การออกแบบ คือ ขบวนการสร้างสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน

ลักษณะของขบวนการออกแบบ



 

แบบจำลองขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม

(A Model of Environmental Design Process)

ที่มาของการสร้างแบบจำลอง

ปัญหาการออกแบบสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน นักวิชาการได้ขยายความรวมไปถึง  การ ออกแบบสภาพแวดล้อม ขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม คือ ส่วนหนึ่ง ของขบวนการออกแบบ สภาพแวดล้อม  "the environmental design process" สถาปนิก คือ  นักแก้ปัญหา และจำลองสภาพแวดล้อม  ให้เกิดความเหมาะสม และ สอดคล้อง กับพฤติกรรมมนุษย์  ทฤษฎี ทางสถาปัตยกรรม  จึงต้องเกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมศาสตร์  และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ กับ สภาพแวด ล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แบบจำลองของความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมศาสตร์ และ

ทฤษฎีการออกแบบสภาพแวดล้อม

(The Behavioral Sciences and Environmental Design Theory)

ที่มา -Jon T. Lang, Creating Architectural Theory พอจะกำหนดได้ดังนี้

The Behavioral Science Architectural Theory Practice

----Positive Normative Theories and models

 of the environment--people and their interactions

----- Substantive ----Professed subs.

Building design---Designer's World View Building performance

Decision theory---Procedural---Professed proc.

Praxis context-----Research method



 

พิจารณาในแง่วิชาการทางด้าน  พฤติกรรมศาสตร์ การออกแบบอีกนัยหนึ่ง  หมายถึง ขบวนการเรียนรู้ "a learning process" ซึ่งสถาปนิก พยายามที่จะกำหนด  สมมติฐาน ของปัญหาต่างๆ ก่อนแล้วจึงค้นหา แนวทางในการเสนอคำตอบ  ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ สภาพแวดล้อม กล่าวคือ สถาปนิก พยายามเปลี่ยนแปลง ขยายความ หรือกำหนดปัญหาใหม่ๆ เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ  การเรียนรู้ถึงปัญหา และ  แนวทางแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม อยู่ตลอดเวลา  ขบวนการ เป็น ลักณะการกระทำซ้ำๆ โดยการกำหนดและบันทึก  ปัญหาและ แนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ  จนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ คือ การได้รับความรู้  และความ เข้าใจ ต่อ ปัญหาและการแก้ปัญหา มากขึ้นจนเป็นที่พอใจ  เหมาะสมกับเวลาและสถานะภาพ ที่เอื้ออำนวยในขณะนั้น ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ของการออกแบบ สภาพแวดล้อม คือปัญหาไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน  โดยปราศจากอคติ ขบวนการออกแบบจึงต้องใช้  การผสมผสานของการคิด เชิง วิเคราะห์ และการคิดเชิง สังเคราะห์  เข้าด้วยกันและย้อนกลับไปกลับมาตลอดเวลา เมื่อไรก็ตาม ที่ระยะเวลากำหนดสิ้นสุดลง หมดสิ้นความกระตือรือร้น หรือมีความพอใจในระดับหนึ่ง เกิดขึ้น ขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อมก็สิ้นสุด ผลของการออกแบบ  จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ กับ ความสมบูรณ์ของผลการแก้ปัญหา  หากแต่ขึ้นอยู่กับความพอใจ ในระดับหนึ่งของผู้ออกแบบ เท่านั้น

 

การออกแบบ คือ ขบวนการสร้างสมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน

(Design as Hypothesis Formation and Testing)

หากจะพิจารณา ขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นเช่น ขบวนการเรียนรู้ และรับ รู้ "perception" ด้วยกันแล้ว การออกแบบ คือ ขบวนการกำหนด หรือ  สร้าง สมมติฐาน เป็นข้อคิดเห็นเบื้องต้น  "conjectures" ต่อการปรับปรุง หรือ  เปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพ แวดล้อมในปัจจุบัน แล้วจึงทำการทดสอบสมมติฐานนั้นๆ จนเป็นที่พอใจก่อนการยอมรับเป็นคำ ตอบ ของการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อม สมมติฐานของการออกแบบ  อาจหมายถึงแบบร่างของ ความคิดในแง่ของกายภาพ  ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองโปรแกรมการออกแบบ  ในลักษณะความ ต้องการทางพฤติกรรมของผู้ใช้อาคาร หรือ แบบจำลองของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขบวน การแก้ปัญหาที่ถือว่า  พอจะกระทำเป็น ระบบ หรือ เป็นขบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้  คือ ขบวนการทดสอบสมมติฐาน ส่วนขบวนการกำหนดสมมติฐานเบื้องต้น  เป็นความสามารถของ การคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล อาจไม่เป็นขบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยตรงก็ได้ ด้วยเหตุ นี้  ขั้นตอนการทำโปรแกรมการออกแบบ น่าจะ อ้างถึงขบวนการความคิด  เพื่อการแสวงหา สมมติฐานเบื้องต้น  เป็นแนวทางการค้นหาคำตอบอย่างเคร่าๆก่อน   ซึ่งต่อไปจะทำให้เกิด ขบวนการทดสอบ และ ปรับปรุง แก้ไข อันนำไปสู่การกำหนดสมมติฐานใหม่ แล้วทดสอบต่อๆไป อีก กระทำซ้ำๆเช่นนี้จนบรรลุถึง สมมติฐานสุดท้ายที่เกิดขึ้นจนเป็นที่พอใจ และ ยอมรับ  เป็น คำตอบของขบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมในที่สุด  คุณภาพของสมมติฐานที่ได้มา  ขึ้นอยู่กับ การสร้างสมความรู้ที่มีมาอย่างพอเพียง  และความ สามารถในการแสวงหาข้อมูลใหม่ๆ  ใน การนำมาใช้ประเมินผลต่อสมมติฐานนั้นๆ จนเป็นที่พอใจ ขบวนการออกแบบในลักษณะนี้  ให้ข้อสังเกตุคือ ความ แตกต่างของบุคคล  ทำให้เกิด ความแตกต่างทางคุณค่านิยม  อันทำให้มีภาพลักษณ์ของสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  อีกทั้งผู้ที่ เกี่ยวข้อง กับการปรับปรุง สภาพ แวดล้อม ก็มีขบวนการทางความคิด ความเข้าใจ  และความ ชำนาญในการแก้ปัญหา ที่แตกต่างกันด้วย กล่าวโดยรวม คือ  แต่ละบุคคลมีความรอบรู้ต่อคุณค่าของ สภาพแวดล้อมที่ไม่สมบูรณ์เท่าเทียมกัน  "symmetry of ignorance"  จึงจำเป็น ต้องมีการกระทำร่วมกันระหว่างบุคคล  ในขบวนการแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือ  การออกแบบ สภาพแวดล้อมใดๆที่มีขึ้น ขบวนการออกแบบจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจน เพื่อที่ จะได้ให้โอกาศของแต่ละบุคคล มีส่ว¹ร่วมตาม บทบาทที่เหมาะสม ในการแก้ปัญหา หรือ ปรับ ปรุงสภาพแวดล้อมร่วมกันได้ด้วย
 

ลักษณะของขบวนการออกแบบ

(The Characteristics of Design Process)

ขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม สามารถบรรยายได้ในหลายแนวทาง ตามระดับของ การเสนอแนะโดยทั่วไป   ซึ่งประกอบด้วยการกระทำเชิงฉลาดต่างๆ   "intellectual activities"   ประกอบเป็นขั้นตอน   ตามความแตกต่างของผลที่มุ่งหวังในแต่ละขั้นตอน ความคิดเชิงฉลาดขั้นพื้นฐานเหล่านี้ คือ

1. การคิดเชิงวิเคราะห์ 2. การคิดเชิงสังเคราะห์ 3. การพยากรณ์ 4. การประเมินผล และ 5. การตัดสินใจ

ในชีวิตประจำวัน  ขบวน การคิดเหล่านี้  เกิดขึ้นโดยสำนึกบ้าง ไร้สำนึกบ้าง  และบางทีก็เกิดขึ้นอย่างผิดๆถูกๆ  หา ความแน่นอนไม่ได้ ขั้นตอนสำคัญๆ ของขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม  อาจพิจารณาเป็นแบจำลองของ การตัดสินใจโดยทั่วๆไป  เพราะขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม  จัดอยู่เป็นหนึ่ง ของขบวน การตัดสินใจทั้งหลาย   คือ 

1.  ความฉลาด  -Intellegence,  2.   การออกแบบ -Design, 3. การเลือก -Choice, 4. การประมวณผลก่อน -Implementation, 5. การประมวณผลหลัง  -Postimplementation   และ   6. การประเมินผลสุดท้าย -Evaluation

สิ่งเหล่านี้ เป็นขั้นตอนพื้นฐาน ของขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อม  แม้ว่า ในแง่การปฏิบัติทางวิชาชีพ  เช่น ทางสถาปัตยกรรม จะนิยมอ้างถึงขั้นตอนต่อไปนี้ คือ 

1. การเสนอโปรแกรม -Programming, 2. การออกแบบ -Design, 3. การประเมินผล และตัดสินใจ  -Evaluation and Decision, 4.  การก่อสร้าง  -Construction, และ 5. การประเมินผลหลังการครอบครอง -Postoccupany evaluation

ลักษณะ แบบจำลองนี้ โดยทั่วไปเป็นขั้นตอน แบบต่อเนื่อง  แต่บางโอกาศอนุโลมให้ขั้นตอนต่อไปเกิดขึ้น โดยที่ขั้นตอนแรกก่อนไม่ทันบรรลุผล แล้วย้อนกับ มาพิจารณาทบทวนใหม่  เพื่อให้เกิดผลบรรลุ ของขั้นตอนนั้น และแต่ละขั้นตอนไม่จำเป็นต้อง กำหนดวิธีการที่เคร่งครัด  และชัดแจ้งเสมอไป การทบทวนของ แต่ละขั้นตอน อาจย้อนกลับมากระทำได้เสมอ เมื่อได้รับรู้ หรือ  เรียนรู้ ข้อมูลใหม่เพิ่มเติม  หรือเมื่อผู้ออกแบบเกิดความขัดแย้งต่อคำตอบ  ที่สนองต่อชนิด ของ ความต้องการที่ไม่เหมือนกัน อาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ขบวนการออกแบบ คือ ขบวนการโต้เถียงอย่างหนึ่ง  "an argumentative process" ที่เกี่ยวข้องกับ การ เสนอความเห็น  หรือสมมติฐานเบื้องต้น ต่างๆ และการประเมินผล ต่อสมมติฐานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ขบวนการออกแบบ เป็นการเสนอความเห็น  ที่ว่าความต้องการต่างๆอันเป็นปัญหาของการออกแบบ   ควรแปล สภาพ  เป็นความสัมพันธ์ในแง่ทางกายภาพที่เป็นระบบ อย่างไร  จึงจะบรรลุความประสงค์ ของผู้ใช้อาคาร หรือ ผู้ที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ การเสนอความเห็น หรือ กำหนด สมมติฐานต่างๆ เป็น การพยากรณ์ล่วงหน้า ความสามารถ ในการ พยากรณ์  ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ ต่อปรากฏการณ์ที่เป็นจริง ต่อปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ของผู้ออกแบบแต่ ละบุคคล  ที่มีประสบการณ์ สะสมมา ต่างกัน ปรากฏการณ์ที่เป็นจริง  คือ  ทฤษฎีความเข้าใจ เรื่อง ความสัมพันธ์ ของบุคคลที่มีต่อสภาพแวดล้อม และวิทยาการที่กำหนดความสัมพันธ์  อัน ประมวลจาก ผลการเรียนรู้ของผู้ออกแบบแต่ละบุคคล การตัดสินใจที่ดี  เกิดมาจากการอ้างท ฤษฎีที่ถูกต้องเหมาะสม กับขั้นตอนที่ต้องมีการตัดสินใจนั้นๆ แบบจำลองของ ขบวนการออกแบบสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ที่เสนอโดย Dr. Jon T. Lang: A General Model of Design Praxis เป็นดังนี้

Intellegence-- Design-- Choice-- Implementation

Present context-- Prediction of Future & contraints

Perception of Problem(s)--Goals--Behavioral Program--Building Program--
Reiterative Design of Possible Solutions--Prediction and Evaluation of These

--One Good Enough? Yes or No-- Imple. Post Occupancy Evaluation

Values of Participants

Positive Substantive and Procedural Theory





หนังสืออ้างอิง

Jon  T. Lang, Creating Architectural Theory: The Role of  the Bavioral Sciences in Environmental Design, New York: Van  Nostrand Reinhold, 1987, pp. 21-72.

วิมลสิทธ์ หรยางกูร พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม  มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการ ออกแบบและวางแผน สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพุทธศักราช 2526 หน้า 99-143




 

เรื่อง แบบจำลองของขบวนการตัดสินใจในการออกแบบสถาปัตยกรรม

(A Model of Decision-Making in Design)

1. วงจรของโครงการออกแบบ

(The Facility Cycle)

2. ขบวนการตัดสินใจ

(A Model of Decision-Making Process)

3. วิธีการตัดสินใจ

(Decision-Making Techniques)


ขบวนการออกแบบ

(The Design Process)

เป็นที่ยอมรับกันว่า หน้าที่ของสถาปนิก และวิศวกรในขบวนการออกแบบ คือ การแปล เปลี่ยน ความต้องการ และ ความปราถนาของลูกค้า ที่กำหนดไว้ อย่าง ชัดเจน เป็นคำตอบ ของการออกแบบ ซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ กับ ผู้รับเหมาการก่อสร้าง ผ่านแบบก่อ สร้าง และรายการประกอบแบบก่อสร้างต่างๆ แต่เมื่อ พิจารณา ขบวนการที่สนับสนุน และ เกี่ยวข้องให้ครบวงจรแล้ว ขั้นตอนของการออกแบบ จนการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ สา มารถกำหนดเป็นวงจรต่อเนื่อง ของโครงการออกแบบ "the facility cycle" ไดดั้งนี้ คือ
 
1. ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ "feasibility phase" เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของวงจร คือ การตรวจสอบ และกำหนดความต้องการ ความ ประสงค์ ของเจ้าของอาคาร และผู้อยู่อาศัย ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ และความสัม ฤทธิ์ผลของประโยชน์ใช้สอยอาคาร เป็นการเสนอการวางแผนโครงการ ที่จะทำให้มีการดำ เนินการ ให้บรรลุผลสูงสุด ทั้งขบวนการออกแบบ ขบวนการก่อสร้าง และขบวนการเข้าอยู่ อาศัย หรือครอบครองและดูแลรักษา รวมถึงขบวน การลงทุนเพื่อผลทางธุระกิจของโครงการ การวางแผนงานล่วงหน้าต่างเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจว่า อะไรที่ต้องทำ จะทำ อย่างไร เสร็จสิ้นเมื่อไร และใคร เป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำ ลักษณะงาน เช่น การกำ หนดข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนโครงการ ของอาคารและสถานที่ก่อสร้างที่เหมาะสม การกำ หนดขอบเขต ของการทำโครงการ การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ และข้อจำกัดของสถาน ที่ก่อสร้าง การประเมินผล คุณภาพการอยู่อาศัย การบริการ ทีผู้อยู่อาศัยพึงประสงค์ ผลกระ ทบของสภาพแวดล้อมที่เกิดจากโครงการ วางแผนเกี่ยวกับข้อกำหนด และข้อจำกัดในการ ออกแบบ และการจัดทำโปรแกรมการออกแบบ เป็นต้น

2. ขั้นตอนการออกแบบ "design phase" การออกแบบโครงการ สืบเนื่องมาจากผลสรุปของการกำหนด ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนแรก ของการศึกษา โครงการ ผลที่มุ่งหวังในขั้นตอนการออกแบบนี้ คือ แบบ และ รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ วัสดุ และการก่อสร้างอาคาร และการปรับปรุงสภาพแวดล้อม โดยรอบ แบบแสดงการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่างๆ รูปร่างลักษณะอาคาร โครงสร้าง และ งานระบบ ที่ประกอบอาคารต่างๆ การออกแบบเป็นการแปลเปลี่ยน เป้าหมาย และวัตถุประ สงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรก ให้เป็นแนวทาง หรือ แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน ที่จะดำเนินการก่อสร้างได้ต่อไป และทราบงบประมาณค่าใช้จ่ายของโครงการได้ ล่วงหน้าโดยประมาณ ขั้นตอนนี้ให้ข้อกำหนด และมาตราฐานของคุณภาพอาคารได้ในระดับหนึ่ง

3. ขั้นตอนการก่อสร้าง "construction phase" เป็นขั้นตอนการแปลเปลี่ยนความคิด และแบบจำลองต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมที่สมบูรณ์ เพื่อสามารถ ประเมิน คุณภาพของโครงการได้ อย่างครบถ้วนต่อไป ในขั้นตอนการดำเนินการ ก่อสร้าง แม้มีการวางแผนไว้แล้วล่วงหน้า แต่การเปลี่ยนแปลงปรับปรุง ทางเทคนิควิทยา การของการก่อสร้าง สามารถกระทำได้ เมื่อประสบกับอุปสรรคในขณะทำการก่อสร้าง หรือ ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีให้เกิดความเหมาะสม กับขีดความสามารถ ใน การก่อสร้าง ของผู้รับ เหมาการก่อสร้าง ที่อาจแตกต่างกัน หรือเพื่อให้เกิดความเหมาะสม กับสถานะการณ์ทาง เศรษฐกิจ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ในเวลาระหว่าง การก่อสร้าง อีกทั้งยังเป็นขั้นตอน ที่ผู้รับ ผิดชอบการก่อสร้าง สามารถประเมินผลงาน สำหรับการก่อสร้างในอนาคตได้

4. ขั้นตอนการเข้าครอบครอง "occupancy phase" เป็นขั้นตอนที่จะใช้ในการประเมินผล เป็นลักษณะของงานค้นคว้า เพื่อปรับปรุงความรู้ ทางวิชาการ ที่เกี่ยว ข้องระหว่าง มนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการออกแบบได้ต่อไป อีกทั้งเป็น การตรวจสอบ ผลดีผลเสียในแง่การดำเนินการ และจัดการ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สอยอา คาร ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาอาคาร การใช้หรือประหยัดพลังงานที่เกี่ยวข้องกับอา คาร ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อสภาพแวดล้อมข้างเคียง รวมถึงการ ประเมินผลกำไร และขาด ทุนในด้านธุระกิจของโครงการทั้งหมดด้วย
 

แบบจำลองของวงจรโครงการออกแบบ


 

ขบวนการและวิธีการตัดสินใจ

(Decision-making Methodology)

การตัดสินใจ มีลักษณะของ ขบวนการ และวิธีการรวมกัน ในที่นี้ หมายถึงขั้นตอน ที่ เกี่ยวข้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นระเบียบวิธี มีความก้าวหน้า ตามลำดับขั้นตอน คือ

1. ขั้นตอนการกำหนดปัญหาที่ชัดเจน

"problem definition"

2. ขั้นตอนเสนอทางเลือกของคำตอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น

"generation of alternatives that address the problem"

3. ขั้นตอนการทดสอบทางเลือกของคำตอบเหล่านั้น โดยเกณฑ์กำหนดที่ชัดเจน

"testing of alternatives against a set of well-defined

criteria" และ

4. ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเลือกคำตอบที่แก้ปัญหาได้ดีที่สุด

"selecting the alternative that best solves the problem"

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในที่นี้ หมายถึง การยอมรับในเบื้องต้นว่า ปัญหาต่างๆใน การออกแบบ สามารถวิเคราะห์ได้โดย เริ่มการสังเกต ุเป็นลักษณะ ของ ปรากฏการณ์ และ ต่อมาก็กำหนดเป็นสมมติฐาน เพื่อแสดงถึงปรากฏกาณ์นั้นมีผลกระทบกับ กฏ และ ข้อบังคับ ภายนอก ที่เฉพาะเจาะจง เป็นอย่างไร ขบวน การนี้ถือได้ว่า เป็นขบวนการแก้ปัญหา ที่เริ่ม จากการเสนอ เพื่อการยอมรับโดยทั่วไป ในพื้นฐานของการกำหนดปัญหาก่อน แล้วจึงดำเนิน การต่อไป ผ่านขบวน การประเมิน วิเคราะห์ และทดสอบสุดท้ายด้วย วีธีการที่แน่ชัดในการ แก้ปัญหานั้นๆ โดยสรุป การตัดสินใจ ต้องเป็นลักษณะของ ขบวนการ และวิธีการ รวมกัน
 

ขบวนการตัดสินใจ

(A Decision-Making Process)

ขั้นตอนของการตัดสินใจ แยกออกเป็น 3 สถานะภาพ คือ 1. context หรือสถานะ การณ์ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาในขณะนั้น 2. process หรือขบวนการ เมื่อ ต้องการเปลี่ยน แปลงปัญหา เป็นคำตอบใดคำตอบหนึ่ง และ 3. product หรือผลผลิต เมื่อคำนึงถึงคำตอบ ที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาสุดท้าย ปัญหา จะเกิดขึ้น ในสภาวะการณ์เฉพาะ "context" ของความคิดนามธรรม ที่เกี่ยว ข้องกับรสนิยม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สภาพสังคม ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและการ ยอมรับทางสังคม ขบวนการของการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล "process" ที่ถูกกำหนดในสภา วะการณ์นี้ เกิดจากการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของปัญหาที่เกิดขึ้น ผลผลิต "product" คือ ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาในรูปธรรมของขบวนการ เช่น ยุทธวิธี แบบแปลน รายการประกอบ หรือ อาคารที่เกิดขึ้น เป็นต้น
 

แบบจำลองของขบวนการตัดสินใจ

(A Model of Decision-Making Process)

Decision-Making Process=context--- process---product

info.& analysis-- speculation-- evaluation-- synthesis-- recommendation
 

ในสภาวะการณ์เมื่อปัญหาเกิดขึ้น การกระทำเป็นหลักเบื้องต้น ของสถาปนิก คือ การ กำหนดข้อจำกัดต่างๆ "constraints" ในด้านประโยชน์ใช้สอย เศรษฐกิจ และสังคม ที่มี ต่อปัญหานั้นๆ จะประมวลเป็นลักษณะของข้อมูล "information" ในการพิจารณาไปพร้อมๆ กับการกำหนดคำตอบที่เหมาะสม และเป็นไปได้ เช่น ในขั้นตอนของโปรแกรมการออกแบบ "architectural programming" ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ตัดสินใจ อยู่ที่การค้นหาคำตอบ ทางความคิดแง่นามธรรม และแผน การทางยุทธวิธี ของการแก้ปัญหาอย่างกว้างๆ ในขั้นตอน การปรับปรุงการออกแบบต่อมา "design development" ข้อมูลจะเจาะจง กระชับเข้า กับ คำถามที่เกี่ยวกับ เศรษฐกิจ หรือ ราคา ขนาด ของการจัดแจงที่ว่างต่างๆ เป็นต้น เมื่อข้อมูลดังกล่าว มีการกำหนดเด่นชัด และมีการวิเคราะห์แล้ว "information analysis" ความคิด จะดำเนินการ กลั่นกรอง และการจัดแจงปรับปรุงข้อมูลเกิดขึ้น " information speculations" เพื่อการแก้ปัญหา และโดยการประเมินผล " evaluation" ช่วยการ ตัดสินใจ ในการกำหนดคำตอบต่างๆทีมีความเหมาะสม กับข้อกำ หนด และข้อจำกัดต่างของปัญหา การสังเคราะห์ของการออกแบบ "synthesis" คือการรวมความ คิดในการแก้ปัญหาต่างๆ กับการสังเกตุ ที่ปรากฏระหว่างการประเมินผล แล้วสรุป เป็นแนวทางเดียวของการแก้ปัญหา ในที่สุด คำตอบเดียวก็ถูกเลือกและกำหนด โดยผู้ตัดสิน ใจ ในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ ขั้นตอนสุดท้าย ของขบวนการตัดสินใจ คือ การชี้แจงคำตอบที่ได้รับ เพื่อเป็นแนวทาง และข้อเสนอแนะ "recommendation" ให้กับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการประมวลข้อมูลที่เกิด ขึ้น จากขบวนการตัดสินใจ ในทำนองเดียวกัน เป็นการต่อเนื่อง สำหรับขั้นตอน การออก แบบ ขั้นอื่นๆอีก ต่อไปจนครบวงจรทั้งหมด กล่าวคือ ผลผลิตของแต่ละขั้นตอนการออกแบบ จะเป็น การสะสมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานความคิด หรือข้อเสนอแนะ ในการตัดสินใจ ของลำดับการดำ เนินการขั้นตอนต่อๆไป การตัดสินใจที่กระทำในแต่ละขั้นตอน จะเป็นส่วนเกี่ยวข้อง กับพัฒนา การของขั้นตอนการออกแบบ ทั้งสิ้น เช่น การตัดสินใจที่ได้แนวทางความคิด ของโปรแกรม การออกแบบ และแนวทางของยุทธวิธีการแก้ปัญหา จะเป็นฐานข้อมูลที่ใช้ในการกำหนด แบบ ร่าง หรือแบบแปลน ต่างๆของการตัดสินใจ และกำหนดเลือก รูปแบบของอาคารในขั้นสุด ท้าย ก่อนนำไปสู่ขั้นตอน การก่อสร้าง และ ขั้นตอนการประเมินผล การ ครอบครอง จนครบ วงจรของการออกแบบและก่อสร้างโครงการต่างๆ
 

วิธีการตัดสินใจ

(Decision-Making Techniques)

ในการศึกษาขบวนการออกแบบที่สมบูรณ์ "design methodology" จำเป็นต้องรวม ขบวนการ "process" และ วิธีการ "method or technique" เข้าด้วยกัน วิธีการตัด สินใจ มีการศึกษากันมาก ในวิชาธุระกิจ และการจัดการ "management science" มี การนำมาประยุกต์ใช้ เป็นวิธีการตัดสินใจ ในขั้นตอนต่างๆ ของขบวนการ ออกแบบ "the facility cycle" วิธีการต่างๆ "techniques" ขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายที่ต้องการ " purposes" ในแต่ละขั้นตอนของวงจรการออกแบบ และมีแบบจำลอง กฏเกณฑ์ของความคิด ที่ใช้เป็นเครื่องมือ "tools" ในการตัดสินใจ ดังต่อไปนี้

1. Function analysis ใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายที่ต้องการในการออกแบบ เครื่อง มือในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดว่า ทำไม อาคาร ระบบ หรือ องค์ประกอบต่าง จึงถูกออก แบบ และ การออกแบบกระทำ เป็นอย่างไร เช่น วิธีการของ Graphical function analysis หรือ Function analysis system technique (FAST) วิธีการนี้ พัฒนา ขึ้นในระยะเวลาระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สอง โดย บริษัท General Electric เพื่อ แก้ปัญหา การขาดแคลนวัสดุ และแรงงานในขณะนั้น

2. Group creativity มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ค้นหาและกำหนดแนวความคิดต่างๆ เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้อง กับขบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยตรง ของกลุ่มผู้ออกแบบและตัดสินใจ ที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน เครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ เช่น วิธีการของ Brainstorming, Synectics, Delphi, Manipulation และ Pattern analysis เป็นต้น

3. Life-cycle costing เพื่อใช้ในการวัดผลที่แน่นอน ของแนวทางการแก้ปัญหา ต่างๆ ที่เสนอเป็นทางเลือก แต่ละคำตอบมีผลดีทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการผลิต หรือ การเงินเพียงไร ซึ่งจะทำให้การออกแบบ และดูแลรักษาอาคาร มีผลต่อการใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการที่ใช้ในการตัดสินใจ เช่น Present worth method, Annualized method, Return-on-investment, Saving-to-investment ratio, และ Payback period เป็นต้น

4. Decision analysis มีจุดมุ่งหมาย เพื่อใช้ในการวัดผลทางเลือกต่าง โดยทั้งที่ เกี่ยวข้องกับการเงิน "monetary benefit" และที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน " non-monetary benefit" เป็นการใช้ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ มากำหนดการตัดสินใจ การ เลือก ที่ใช้ประเมินคุณค่าที่ชัดเจน และกำหนดบนพื้นฐาน ของความพอใจ เท่าเทียมกันหมด เช่น วิธีการที่ใช้ในการ Defining design objectives, Objectives scaling, Weighting of objectives และวิธีการที่ใช้ในการ Alternative evaluation เป็นต้น

5. Post-occupancy evaluation เพื่อใช้ในการประเมินผลของการครอบ ครอง ของผู้ใช้อาคาร ผู้ดำเนินการควบคุมและดูแลอาคาร และผู้อื่นที่มีผลกระทบกับอาคาร หรือโครงการที่สร้างขึ้น วัตถุประสงค์ของการประเมินผล เพื่อใช้สภาพแวดล้อมที่ปรากฏปัจจุ บัน เป็นแบบจำลองของโปรแกรมความต้องการ ของสภาพแวดล้อม ที่จะทำให้เกิดขึ้น ใน อนาคต ตรวจสอบการดำเนินการ เรื่องโปรแกรมที่ใช้กำหนด และเป้าหมาย ของการออก แบบตั้งแต่เริ่มของโครงการเดิมนั้น ข้อมูลที่ได้รับ นอกจากจะมีผลของการปรับปรุง เปลี่ยน แปลง ข้อกำหนดในการทำโปรแกรมการออกแบบ การดำเนินการออกแบบ และก่อสร้าง อาคารหรือโครงการ ในอนาคต แล้ว ยังเป็นข้อมูลในการกำหนดทฤษฎีทางการศึกษาสถาปัต ยกรรมด้วย วิธีการที่ใช้ค้นหาข้อมูลต่างๆ คือ วิธีการที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัย เชิงวิทยาศา สตร์ต่างๆ เช่น Observation, Interviewing, Questionaires, Objective environmental data collection และ Data analysis เป็นต้น

6. Communication เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ และการเข้าเข้าใจ ในผลของความ คิดต่างๆที่นำเสนอ อย่างชัดเจนก่อนสรุปการตัดสินใจ ในทุกขั้นตอนการออกแบ และการก่Íสร้าง วิธีการที่ใช้ เช่น Group dynamics, Modeling, Computer-aided design และ Mathematical analysis เป็นต้น โดยสรุปแบบจำลอง ของขบวนการ และวิธีการตัดสินใจ "a model of decisiom-making methodology" ที่ใช้ในการออกแบบและการก่อสร้างสถาปัตยกรรม คือความสัมพันธ์ ในทั้งสามขบวนการ ดังกล่าว คือ ขบวนการออกแบบ "the facility cycle" ขบวนการตัดสินใจ "decison-making process" และ วิธีการตัดสินใจ " decision-making techniques" ดังแสดงเป็นแบบจำลองได้ดังนี้
 

แบบจำลองของขบวนการตัดสินใจในการออกแบบสถาปัตยกรรม

(A Model of Decision-Making in Architectural Design)

Proposed by Stephen J. Kirk and Kent F. Spreckelmeyer,

in "Creative Design Decisions", 1988.

The Facility Cycle=feasibility-- design-- occupancy-- construction

Decision-Making Process= Information--Speculation--Evaluation--Synthesis-Recommendation

Decision-Making Techniques=ข้อมูลการตัดสินใจของแต่ละขั้นตอนในวงจรการออกแบบและการก่อสร้าง

Function Analysis

Group Creativity

Life-Cycle Costing

Decision Analysis

Post-Occupancy Evaluation

Communication


หนังสืออ้างอิง

Kirk, J. Stephen and Kent F. Spreckelmeyer, Creative Design Decisions: A Systematic Approach to Problem Solving in Architecture, New York: Van Nostrand Reinhold Company, 1988, pp. 20-57.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร การจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อการออกแบบงานสถาปัต ยกรรม สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 2528