From....http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html
Essay
1
แปลและเรียบเรียงจาก
The Gift of Light by Quoc Doan เด็กน้อยช่างสงสัยวัยสามขวบ เป็นบุตรช่างทำกระจกสี ชาวยิว จ้องมองเปลวไฟ สีเขียวที่กำลังลุกไหม้ จากก้อนถ่านหิน มีความประหลาดใจ กับแสงที่ปรากฏ แทนที่มันจะเป็นเปลวสี แดง หรือสีน้ำเงินเช่นปกติ ขณะที่เขาค่อยๆ จ้อง ดูเข้าใกล้ เปลวไฟนั้น เผอิญเป็นเหตุให้ก้อนถ่าน หล่นตกลงบนฟูก ที่เขากำลังนั่งอยู่ เปลวไฟได้ลุกไหม้ขึ้น จนเกือบทำให้ไฟ ไหม้ท่วมตัวเด็นน้อยคนนั้น กระนั้นก็ตาม เปลวเพลิง ได้ไหม้ใบหน้า และ มือข้างหนึ่ง ของเขา จนกลายเป็น รอยไหม้ปรากฏ อย่างถาวรในเวลาต่อมา มารดา ซึ่งเป็นหญิงที่มีการศึกษาอย่างดี ทางศิลปะ และประเพณี เชื่อมั่นว่านี่เป็นลางบอกเหตุแห่งอนาคต ของเด็กน้อยผู้นี้ ต่อมาเมื่อเขาเติบโตขึ้น ก็ได้กลายเป็นสถาปนิก ชั้นแนวหน้า ผู้หนึ่ง ของศตวรรษที่ ๒๐ ด้วยการออกแบบ เน้น รูปทรงเรขาคณิต ของสถา ปัตยกรรม ที่สะท้อนความ สัมพันธ์อันดี ระหว่างที่ว่าง และ ประโยชน์ ใช้สอย คุณค่าการออกแบบที่เด่นชัด จะเกี่ยวข้องกับ ความเป็น มนุษย์ที่ผูกพัน กับ แสงธรรมชาติ Louis Isadora Kahn ถูกจัดเป็นสถาปนิกสำคัญ ที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อ ระหว่าง สถาปัตยกรรม สมัยใหม่ และ หลังสมัยใหม่นิยม ในเวลาต่อมา ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขาน และสร้าง แรงบรรดาลใจ ในการ เรียนรู้ของสถาปนิก รุ่นหลัง ตลอดมา ถือว่าเป็นผู้ที่ได้สัมผัส the gift of light. อย่างแท้จริง ดัง ความเชื่อของมารดา Louis Kahn เติบโตในเมือง Philadelphia สหรัฐอเมริกา เผชิญอุปสรรคต่างๆมากมาย กว่าจะได้บรรลุ ถึงความเป็นอัฉริยะ ในทางศิลปะ และสถาปัตยกรรม ยัง ต้องคอยระวัง ในเรื่องบุคคลิก และการโดน ล้อเลียนจาก รอยแผลเป็นในวัยเด็ก ครูเป็นผู้สร้างความเชื่อมั่นให้เขา ในความมีทักษะในการเขียนแบบ เขียนภาพ และยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่น ให้กับตนเองเมื่อชนะการประกวดภาพวาด แห่งเมือง Philadelphia ระหว่างปีการศึกษาสุดท้าย ของการศึกษาระดับมัธยม เขาได้เลือกเรียนวิชา ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม อันเป็นเหตุทำให้เขาตัดสินใจ เลิกล้มแผนการ ที่จะศึกษาต่อด้าน จิตรกรรมในมหาวิทยาลัย ทั้งที่ก่อนหน้านั้น เขาได้รับการเสนอ ให้ทุนการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศิลปะ ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เขาเปลี่ยนไปเข้าศึกษา วิชา สถาปัตยกรรมต่อมา แต่ก็ไม่ละเลยความสนใจต่อจิตรกรรม ซึ่งเขายังคงชื่นชอบอยู่เสมอ มา ที่ University of Pennsylvania Louis Kahn ศึกษาสถาปัตยกรรม ในแนว Beaux-arts อันเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการพัฒนาการ ความคิด ในการออกแบบของเขา ต่อๆมาในภายหลัง หลังจากจบปริญญา ทางสถา ปัตยกรรม เขาได้มีโอกาศดูงานสถาปัตยกรรม ทั่วยุโรป แทนที่จะ สนใจ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เขากลับสนใจ สถาปัตยกรรม ในอดีต เช่นพวกอาคารในเมืองเก่า Carcassonne ของฝรั่งเศส จาก ประสบ การณ์ ในครั้งนั้น เขายังหวลรำลึกถึงอยู่เสมอว่า It was a great architectural event, centuries ago, when the walls parted and the columns became. The column is the greatest event in architecture, the play of shadow and light , of infinite mystery, The wall is open. The column becomes the giver of light. อัน เป็นสิ่งเตือนใจ ถึงอำนาจของ "the gift of light" แสงธรรมชาติ เป็นข้อคำนึงที่สำคัญ ของการออกแบบโครงสร้างอาคาร ไม่ใช่การเปิด หน้าต่างที่กว้างขวาง หากแต่การให้แสง สอดแทรก เข้าสู่ภายในอาคาร เพื่อการแยกแยะ ที่ว่าง และ รูปทรงทางเรขาคณิต ของอาคาร การ แยกประเภท ของที่ว่างอย่างชัดเจน ระหว่างพื้นที่ "serve or master" และพื้นที่ "servant" ซึ่ง เป็นแนวคิดหลัก ของการออกแบบ Richardson Medical Laboratory (1957-1965) ที่มหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย การเสนอบรรยากาศ ของห้องปฏิบัติการของ นักวิทยาศาสตร์ เป็นเช่นเดียว กับห้องเขียนภาพ ของจิตรกร ควรเป็นที่ว่าง ที่มีชีวิตชีวา และสุขสบาย สำหรับการ ทำงาน ห้องที่อบอุ่นด้วยแสงธรรมชาติ จึงเป็นความ ต้องการที่จำเป็น ตามคำอ้างที่ว่า No space you can devise can satisfy these requirements. I thought what they should have was a corner for thought, in a word, a studio instead of slices of space. เขาจัดเรียงกลุ่มห้องปฏิบัติการ สามกลุ่ม เชื่อมต่อกันด้วย ปล่องเป็นที่รวมพื้นที่ของ "servant" ไว้ด้วยกัน ประจำแต่ละกลุ่ม ของห้องปฏิบัติ การ โครงสร้างอาคาร ที่ออกแบบสนับสนุน เป็นระบบสำเร็จรูป คอนกรีตเสริมเหล็ก ทำส่วนยื่นไว้ตรงมุม เป็นการพัฒนาสุนทรีย์ ของโครง สร้างที่ก้าวหน้าในยุคนั้น คุณค่าอย่างเดียวกัน ในการจรรโลงความเป็นมนุษย์ ด้วยแสงธรรมชาตินี้ ถูกนำมาพัฒนาต่อไป ในงาน ออกแบบ Salk Institute (1959-1965) ที่ La Jolla เป็นลักษณะของ การออกแบบชุมชน แยกออก เป็นส่วนๆ ส่วนค้นคว้า เป็นอาคารกล่องสี่เหลี่ยม ผืนผ้า สองหลัง วางคู่ขนาน มีลานสะท้อนแสงตรงกลาง ไกลออกไป ตรงเนินด้านล่าง เป็นส่วนพักอาศัย ทุกอาคารหันรับแสงธรรมชาติ โดยตรง จากด้านมหาสมุทรแปซิฟิค Louis Kahn เน้นแสงธรรมชาติ ปรากฏผ่านรูปทรงสถาปัตยกรรม ทางเรขาคณิต อย่างชัดเจน งานออก แบบ ในระยะเริ่มแรก Yale Art Gallery ที่เมือง New Haven ในรัฐ Connecticut เขาให้แสง กระจายเข้าสู่ ภายในอาคารในระดับต่ำ ทำให้ เพดาน ซึ่งเป็นโครงประสาน ของรูปปิระมิดสามเหลี่ยม สะท้อนให้ ปรากฏชัดเจน เพดานลักษณะนี้ ยังเป็นที่เก็บซ่อนท่อ และกระจายแสง ประดิษฐ์ได้ดีอีกด้วย ดังที่เขา กล่าวไว้ว่า better distribution of the general illumination without any diminishment of the opportunities for specific illumination. ยังเป็นการเน้นความ มีอำนาจทางโครงสร้าง ของอาคารอีกด้วย การใช้รูปทรงหลักทางเรขาคณิต ยังคงเน้นใช้ ต่อเนื่องไป ถึงโครงการออกแบบ อาคารรัฐบาลที่ Dacca ในประเทศ Bangladesh (1962-1974) เป็นการใช้อิฐเป็นวัสดุ หลักของโครงสร้าง เสริมงานคอนกรีต ตรงส่วนเจาะ เป็นช่องเปิด ขนาดใหญ่ การจัดวางเป็นชั้น ซ้อนกันหลายชั้น (layers) เพื่อคุณค่า ของแสงธรรมชาติ สอด แทรก กระจาย เข้าสู่ที่ว่าง สำคัญๆ ภายในอาคาร สะท้อนการพัฒนาต่อเนื่อง จากอาคารโบราณในอดีต ที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับ งานออก แบบ อาคารห้องสมุด ที่ Philip Exeter Academy เน้นคุณค่า ของแสง ธรรมชาติเหมือนกัน กล่าวโดยสรุป ให้ความสำคัญของการออกแบบ ในแนวคลาสสิค เน้นความพิศวง ของแสงธรรมชาติ ที่ปรากฏภายใน และภายนอกอาคาร ที่กำหนดจากรูปทรงทางเรขาคณิต ที่เคร่งครัด เป็นการปลุกชีวิต แห่งความรุ่งโรจน์ ของสถาปัตยกรรม ในแนว Beaux arts เปลี่ยนจากความกลัว "the gift of light" ในอดีตแต่เยาว์วัย มาเป็นความกล้า ในการใช้สร้าง สิ่งที่ มีคุณค่ากับงานสถาปัตยกรรม ที่ต้องกล่าวจนถึงปัจจุบัน
Bibliography 1. Henderson, Brain. A Delicate Balance. Architecture (July 1993): 46-49. 2. Kieffer, Jeffery, Criticism: A Reading of Louis Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism 271 (1993): 3-17. 3. artists,many. Modern Architecture. New York: Times Press, 1989. 4. Steel, James. Architecture in Detail: Salk Institute, Louis I. Kahn. London: Phaidon Press Limited, 1993. 5. Tyng, Alexander. Beginnings: Louis Kahnนs Philosophy of Architecture. New York: John Wiley and Sons, Inc., 1984. 6. Venturi, Robert, Salk Addition:Pro and Con, Architecture ( July 1993): 41-45. Endnotes (by the author in the original text) 1. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6.2. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 10.3. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24 .4. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 6. 5. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 45. 6.. Patrick Pacheco, A Sense of Where You Are, Art and Antiques (December 1990), 117. 7. Pacheco, 117. 8. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 9. Steele, 42,43. 10. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 6. 11. Kieffer, 3. 12. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark,Progressive Architecture (October 1993), 44. 13. Jeff Kieffer, Criticism: a Reading of Louis I Kahn's Salk Institute Laboratories, Architecture and Urbanism (1993), 3. 13. Micheal Crosby, The Salk Institute:Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 14. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 15. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 16. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 17. Alexander Tyng, Beginnings (New York :John Wiely and Sons,1984), 140. 18. James Steele, Architecture in Detail: Salk Institute (London: Phaidon Press Limited,1993), 24. 19. Steele, 37. 20. Alexander Tyng, Beginnings (New York : John Wiely and Sons,1984), 140. 21. Ibid., 36 22. Ibid., 4 23. Ibid., 4 24. Micheal Crosby, The Salk Institute: Appraising a Landmark, Progressive Architecture (October 1993), 43. 25. William J.Curtis, Modern Architecture (London: Phaidon Press Limited,1996), 613. 26. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 33. 27. Richard Saul Wurman, What will be Has Always Been; Words of Louis I. Kahn (New York: Access,1986), 27. 28. Ibid.,189 see also: http://calvin.cc.ndsu.nodak.edu/Arch/Kahn/Kahn.html |