โดย
เรียบเรียงจาก....http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Genius/michalko.htm
เกี่ยวกับผู้เขียน
Michael Michalko เป็นผู้ชำนาญทางความคิดสร้างสรรค์ผู้หนึ่ง เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมความคิดสร้างสรรค์สำหรับองค์การต่างๆ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Thinkertoys (คู่มือความคิดสร้างสรรค์ทางธุระกิจ) และเรื่อง ThinkPak (สำรับการระดมความคิด). หนังสือเล่มใหม่ของเขาคือ Cracking Creativity (ความลับของคนอัจฉริยะทางสร้างสรรค์) จะพิมพ์เสร็จในราวเดือน พฤษภาคม, 1998. ติดต่อและให้ข้อเสนอแนะเขาได้ที่ michalko@frontiernet.net.
อัจฉริยบุคคลสร้างความคิดต่างๆได้อย่างไร ? อะไรคือส่วนเหมือนของความคิดที่สร้างสรรค์ของภาพ "Mona Lisa," และการเกิดแพร่ขยายของทฤษฎีสัมพันธภาพ ? อะไรคือลักษณะประวัติศาสตร์ทางยุทธวิธีการคิดของ Einsteins, Edisons, da Vincis, Darwins, Picassos, Michelangelos, Galileos, Freuds, and Mozarts ? เราสามารถเรียนรู้อะไรบ้างจากเขาเหล่านั้น ?
เป็นเวลาหลายปีที่ผู้รู้และนักวิจัยพยายามศึกษาอัจฉริยบุคคลผ่านสถิติที่สำคัญ ด้วยข้อมูลกองโตที่จะบ่งบอกเรื่องนี้ การศึกษาอัจฉริยบุคคลในปี1904 ของเขา Havelock Ellis บันทึกไว้ว่า อัจฉริยบุคคลมักมีพ่ออายุราว 30 ปีและมีแม่อายุราว 25 ปีมักเจ็บป่วยตอนวัยเด็ก ผู้รู้อื่นรายงานว่าหลายคนมักเป็นโสด (เช่น Descartes), หลายคนกำพร้าพ่อ (เช่น Dickens) หรือกำพร้าแม่ (เช่น Darwin). ในที่สุดข้อมูลกองโตเหล่านี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อื่นใดเลย
ในทางการศึกษาพยายามเชื่อมโยงด้วยการวัดระหว่างความฉลาดกับความเป็นอัจฉริยะ แต่ความฉลาดอย่างเดียวไม่เพียงพอ Marilyn von Savant ผู้มี IQ สูงสุดถึง 228 ตามที่มีการบันทึกไว้ไม่เคยสร้างผลงานอะไรให้ปรากฏทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะ นอกจากการเป็นนักเขียนคอลัมท์ถาม-ตอบของนิตยสาร Parade เท่านั้น นักฟิสิกซ์ชนิดเข้ากรุหลายคนมีคะแนนความฉลาดสูงกว่าผู้ได้รางวัลโนเบลคือ Richard Feynman ซึ่งถือว่าเป็นอัจฉริยบุคคลชาวอเมริกันคนล่าสุด (เขามี IQ แค่ยอมรับได้เพียง 122).
อัจฉริยบุคคลไม่มีผลเกี่ยวกับคะแนน1600 ในการทดสอบความสามารถและทัศนะคติ (SAT) ซึ่งทดสอบเกี่ยวกับความสามารถในการรู้ภาษา ๑๔ ภาษาในระดับอายุ ๗ ขวบ ทำแบบฝึกหัด Mensa ด้วยเวลาที่รวดเร็ว การมีคะแนนความฉลาดที่สูงพิเศษ หรือแม้กระทั่งมีความปราดเปรื่อง หลังจากพิจารณาการโต้แย้งนำโดย Joy. P. Guilford นักจิตวิทยาการเรียนรู้ผู้เน้นความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในยุค 60's หลายคนสรุปตรงกันว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่เหมือนกับความฉลาด คนบางคนมีความคิดสร้างสรรค์ห่างกันกว่าเขาหรือเธอที่ฉลาด หรือมีคะแนนการทดสอบความฉลาดห่างกันจากคะแนนความคิดสร้างสรรค์
คนส่วนมากมีความฉลาดโดยเฉลี่ย สามารถจัดการข้อมูลหรือตอบสนองปัญหาได้ตามที่คาดหวังทั่วไป เช่นเมื่อถามว่า "อะไรคือครึ่งหนึ่งของ ๑๓ ?" คนส่วนมากตอบได้ทันทีว่า ๖ ครึ่ง ท่านเองก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนทั่วไป
ปกติเรามักคิดในแง่การคิดซ้ำๆ กับปัญหาที่คล้ายปัญหาเดิมๆในอดีต เมื่อเราเผชิญปัญหาต่างๆ เราจะระลึกถึงคำตอบในอดีตที่ได้ผลมาแล้ว เรามักถามว่า "อะไรที่เคยคิด เคยเรียน หรือเคยทำมากับปัญหานี้ในชีวิต ?" แล้วเราก็วิเคราะห์เพื่อเลือกแนวคิดที่เหมาะสมตามประสบการณ์ในอดีต เว้นแนวทางอื่นออกไป และทำเฉพาะแนวคิดที่กระจ่างตรงไปที่คำตอบของปัญหานั้น เพราะเป็นขั้นตอนที่มั่นคงตามประสบการณ์ เรามักยะโสในข้อสรุปนี้เป็นความถูกต้องเสมอ
ในทางกลับกัน อัจฉริยบุคคลมักคิดใหม่ ไม่คิดซ้ำๆแบบเก่า เมื่อเขาเผชิญปัญหาเขามักถามว่า "มีแนวทางที่แตกต่างมากน้อยเพียงไรที่ข้าพเจ้าควรมองหา ?" "ข้าพเจ้าสามารถทบทวนความคิดที่พบได้อย่างไร ?" และ "จะมีวิธีอื่นอีกไหมที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ?" แทนการกล่าวว่า "อะไรที่ข้าพเจ้าเคยถูกสอนมาให้แก้ปัญหานี้ ?" เขามักชอบตอบสนองที่ต่างจากธรรมดาทั่วไปและมักเป็นพิเศษ นักคิดใหม่ที่ก่อประโยชน์แบบนี้ (productive thinkers) มักกล่าวว่า มีวิถีทางที่แตกต่างมากมายในการตอบสนอง "๑๓" และการลดครึ่งที่แตกต่างกัน ดังแสดงตัวอย่างต่อไปนี้
(หมายเหตุ: ดังที่ท่านเห็น, ในการเพิ่มเติมค่า ๖ ครึ่ง โดยสนองตอบกับค่า ๑๓ ในลักษณะต่างๆกัน และการลดครึ่งในความแตกต่างนั้น อาจกล่าวได้ว่าครึ่งของ ๑๓ คือ ๖ ครึ่ง หรือ ๑ และ ๓ หรือ ๔ หรือ ๑๑ และ ๒ หรือ ๘ และ ฯลฯ)
ด้วยการคิดใหม่ ใครๆสามารถกำหนดทางเลือกได้มากมายเท่าที่จะกระทำได้ ท่านสามารถพิจารณาแนวทางที่เบลอได้เท่ากับแนวทางที่เด่นชัด มันเป็นความเต็มใจที่จะสำรวจแนวทางทั้งหมดเป็นสำคัญ แม้ว่าสิ่งที่พบเป็นแค่ความหวังเท่านั้น Einstein ครั้งหนึ่งเคยถูกถามว่า อะไรคือความแตกต่างระหว่างเขากับคนอื่นทั่วไป เขาตอบว่าถ้าท่านขอร้องให้คนทั่วไปหาเข็ม ๑ เล่มในกองฟาง เขาจะหยุดทันทีเมื่อเขาพบเข็ม ในทางกลับกัน เขาคนนั้นควรแหวกฟางต่อไปเพื่อค้นหาเข็มเล่มอื่นๆที่อาจมีอีกในกองฟางนั้น
ท่านอธิบายลวดลายที่ปรากฏในตัวอย่างนี้อย่างไร ? คนส่วนมากมองเห็นลวดลายเป็นรูปโครงร่างสี่เหลี่ยมที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปวงกลมหลายๆรูปเรียงต่อกันเป็นแถวๆสลับกันไป
มันไม่ง่ายที่จะมองเห็นเป็นแถวของเสาสี่เหลี่ยม หรือเสากลมต่างๆ แต่เมื่อมีคนบอกเราจึงเห็น นี่เป็นเพราะเรามักใช้ความเคยชินในการนำสิ่งที่เห็นไปเหมือนกับประสบการณ์ที่สั่งสมในใจของเราในอดีต อัจฉริยบุคคลมักไม่คิดและทำอะไรตามนิสัยเดิมๆ แต่จะมองทางเลือกอื่นๆเพื่อคิดและทำใหม่
เมื่อไรก็ตามที่ Richard Feynman ผู้เคยได้รางวัลโนเบล คิดไม่ออกกับปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เขามักสร้างยุทธวิธีใหม่ๆทางความคิด เขารู้สึกว่าความเป็นอัจฉริยะของเขาเกิดจากความสามารถที่จะไม่อ้างถึงวิธีคิดของคนอื่นๆที่แล้วมากับปัญหานั้น เขากลับสร้างความคิดใหม่ขึ้นแทนที่ ดังนั้นเขาเลยไม่แยแสกับความคิดที่ไม่สามารถแก้ปัญหานั้นๆได้ เขาจะมองหาแนวทางที่แตกต่างมากมายจนกว่าจะพบการเปลี่ยนแปลงจินตนาการของเขา เขาช่างเป็นนักคิดใหม่เพื่อประโยชน์ทีเดียว
Feynman เสนอการสอนการคิดใหม่ๆ ในระบบการศึกษาของเราแทนการคิดแบบเดิมๆ เขาเชื่อว่าผู้ใช้คณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จคือ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นทางใหม่ของความคิดในสถานะการณ์นั้นๆ เขายังเชื่อต่อไปอีกว่าแม้แนวทางเดิมของความคิดคนอื่นที่เคยดีเด่น ก็ไม่ดีเท่ากับวิธีคิดที่เราเองสร้างขึ้นมา และเป็นแนวทางใหม่ที่สะท้อนมาจากการค้นพบของตนเอง
ปัญหา 29 + 3 ถูกพิจารณาว่าเป็นปัญหาของชั้นเรียนระดับสาม แต่เพราะมันต้องการวิธีการที่ก้าวหน้า Feynman ชี้ให้เห็นว่าชั้นเรียนระดับแรกการบอกจำนวนเลขนั้น เด็กคนหนึ่งสามารถเรียงจำนวนโดยการบอกจำนวนเลข 30, 31, 32. ด้วยวิธีการเว้นช่องว่าง-เป็นวิธีการที่มีประโยชน์อันหนึ่งในการเข้าใจเรื่องการวัดและเรื่องเศษส่วน เด็กสามารถเขียนจำนวนเลขมากในช่องและต่อด้วยจำนวนที่มากกว่า 10. ใช้นิ้วมือหรือวิชาพีชคณิต (2 คูณอะไรแล้วบวก 3 จึงจะได้7?). เขาสนับสนุนการสอนด้วยทัศนะคติที่คนถูกสอนควรค้นหาวิธีการแก้ปัญหาในแนวทางต่างๆโดยการลองผิดลองถูก
การคิดแบบเดิมๆเป็นการนำไปสู้ความคิดที่จำกัด นี่เป็นสาเหตุทำไมเราจึประสบความล้มเหลวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงกับประสบการณ์ในอดีตเพียงผิวเผินเท่านั้น การทำความเข้าใจปัญหาหรือกำหนดโดยอิงกับประสบการณ์เดิมทำให้ผู้คิดหลงทางได้ การคิดแบบเดิมมักนำเราไปสู้ความคิดธรรมดาๆไม่ใช่ความคิดริเริ่มใหม่ๆ ถ้าท่านคิดแบบที่เคยคิด ท่านจะได้ผลเป็นสิ่งเดิมๆด้วยเป็นความคิดเก่าๆ
ในปี ค.ศ.1968, ประเทศ Swiss ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมนาฬิกา คนสวิสนั่นเองที่คิดประดิษฐ์นาฬิกาอิเล็คโทนิกขึ้นที่สถาบัน Neuchatel, ในประเทศ Switzerland เป็นครั้งแรก แต่โดนปฏิเสธโดยทุกโรงานทำนาฬิกาของชาวสวิส โดยพื้นฐานทางประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรม เขาเชื่อว่ามันไม่สามารถจะเป็นนาฬิกาสำหรับอนาคตได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันต้องอาศัยพลังงานจากแบ็ตเตอรี่ ไม่มีเพลาเหวี่ยง สปริง และเฟืองหมุน บริษัท Seiko ในประเทศญี่ปุ่นยอมรับความคิดนี้ในขณะที่โรงงานสวิสปฏิเสธ นำไปแสดงในงานนาฬิกาโลกจนเป็นที่นิยมทั่วโลกในตลาดนาฬิกาปัจจุบัน เมื่อบริษัท Univac คิดค้นด้านคอมพิวเตอร์ เขาปฏิเสธที่จะพูดคุยกับนักธุระกิจที่พยายามสอบถาม เพราะเชื่อว่าคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น ไม่มีผลในแง่ทางธุระกิจ ตามด้วย บริษัท IBM. ซึ่งเชื่อในประสบการณ์เดิมที่ว่าในตลาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีโอกาสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลย จริงๆแล้วเขายังปักใจเชื่อไปอีกว่าจะมีคนเพียง ๕ หรือ ๖ คนเท่านั้นที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แล้วต่อมาก็บริษัท Apple. (ซึ่งเริ่มผลิตออกมาจนเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน)
โดยนัยธรรมชาติ กลุ่มยีนที่ไม่มีความแตกต่างจะไม่สามารถพัฒนาต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อถึงตอนนั้นการแปลงระหัสทางพันธุกรรมของความฉลาดก็จะถูกเปลี่ยนเป็นความโง่ ผลต่อเนื่องที่ตามมาคือเคราะห์กรรมของการคงอยู่แห่งมนุษยชาติ เราทุกคนมีความคิดต่างๆที่ถูกเก็บสะสมไว้ และแนวความคิดจากประสบการณ์ช่วยให้เราคงอยู่และรุ่งเรือง แต่เมื่อปราศจากการเพิ่มความคิดที่หลากหลายแล้ว ความคิดธรรมดาเดิมๆของเราก็จะกลายเป็นของเน่าเสีย เสียประโยชน์ไปในที่สุด เราก็จะเป็นผู้แพ้ในการแข่งขันของเรา
โปรดพิจารณาสิ่งต่อไปนี้:
เมื่อ Charles Darwin กลับประเทศอังกฤษหลังการไปเยี่ยมหมู่เกาะ Galapagos เขาส่งซากสัตว์นกกระจอกเทศตัวหนึ่งให้ผู้เชี่ยวชาญทางสวนสัตว์พิจารณา หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญคือ John Gould. สิ่งที่เปิดเผยออกมาไม่ใช่สิ่งที่ Darwin สนใจแต่กลับเป็นสิ่งที่ตัว Gould เองสนใจต่างหาก
บันทึกของ Darwin ทำให้ Gould เข้าใจและสนใจเพียงแค่รายชื่อของพวกนกเท่านั้น เขาตรวจสอบจำนวนที่แตกต่างทางเผ่าพันธ์ของนกกระจอกเทศกลับไปกลับมา ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในบันทึกนั้น แต่เขาไม่รู้ถึงอะไรอื่น เขาตั้งข้อสันนิษฐานเอาว่าพระเจ้าสร้างนกแต่ละชนิดในคราวสร้างโลก ดังนั้นซากของมันแม้ได้มาจากสถานที่ต่างกันก็ย่อมเหมือนกัน เขาจึงไม่สนใจความแตกต่างของสถานที่ Gould คิดว่านกที่แตกต่างกันเนื่องมาจากเผ่าพันธ์เท่านั้น
ข้อสังเกตุคือว่าสิ่งที่ที่พบนั้นมีผลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของบุคคลทั้งสอง Gould คิดตามในสิ่งที่เขาตั้งเงื่อนไขในการคิด เหมือนผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษีทั้งหลาย คือไม่ได้มองบันทึกในแง่ของวิวัฒนาการที่ถูกต้องมาก่อนที่จะเห็นพวกนกกระจอกเทศเหล่านั้น. Darwin เสียอีกที่ไม่รู้ว่าซากนั้นเป็นนกกระจอกเทศ เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลที่มีความฉลาดมีความรู้และความชำนาญมักมองไม่เห็นสิ่งที่ตนไม่เคยเห็น รวมทั้งบุคคลที่มีความรู้และความชำนาญน้อยกว่ากลับสร้างกรอบความคิดและแนวทางให้พวกเราคิดและเข้าใจโลกในขณะนี้
ข้าพเจ้าประทับใจต่อทฤษฎีวิวัฒนาการของ Darwin เสมอ เพราะการเลือกทางธรรมชาติกลายเป็นความฉงนต่อความพยายามทางวิชาการที่จะสะท้อนความคิดของเขาในแง่ความคิดสร้างสรรค์และอัฉริยภาพ ในมุมมองของข้าพเจ้าเกี่ยวกับอัฉริยภาพมีรากฐานความเข้าใจมาจากความแตกต่างที่มองไม่เห็นและการเลือกที่สั่งสมมาเดิมๆของ Donald Campbel ซึ่งเป็นแบบจำลองทางความคิดสร้างสรรค์ที่เขาพิมพ์เผยแพร่ในปี 1960. Campbell ไม่ใช่คนแรกที่เห็นความเกี่ยวข้องระหว่างความคิดของ Darwin เรื่องวิวัฒนาการกับความคิดสร้างสรรค์ เริ่มแรกในปี 1880 นักปรัชญาที่มีชื่อชาวอเมริกัน William James เขียนบทความเรื่อง "Great Men, Great Thoughts, and the Environment," อ้างความเกี่ยวข้องระหว่างความคิดของ Darwin กับอัฉริยภาพ ผลงานของ Campbell ได้ถูกนำมาอ้างถึงในงานวิชาการมากมายต่อมารวมทั้งงานของ Dean Keith Simonton และ Sarnoff Mednick.
จากผลงานเหล่านี้ นักวิชาการส่วนมากแนะนำว่า อัฉริยะภาพเกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีววิทยาของ Darwin ธรรมชาติเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นสำคัญ ธรรมชาติสร้างให้เกิดความเป็นไปได้ผ่านการลองผิดลองถูก แล้วปล่อยเลยให้เป็นขบวนการเลือกสรรทางธรรมชาติว่าเผ่าพันธ์ไหนจะคงมีอยู่ต่อไป ในธรรมชาติมีจำนวนถึง 95% ของเผ่าพันธ์ใหม่ๆที่ล้มเหลวและหมดสิ้นการวิวัฒนาการในช่วงเวลาสั้นๆ
อัฉริยภาพเปรียบได้กับวิวัฒนาการทางชีววิทยา ต้องการการแพร่ขยายที่ทำนายไม่ได้เพราะเต็มไปด้วยทางเลือกและความเห็นที่หลากหลายต่างๆนานา บนทางเลือกและความเห็นเหล่านี้ การรักษาความคิดที่ดีที่สุดไว้อย่างชาญฉลาดจะช่วยการพัฒนาและการสื่อสารต่อๆไป ความคิดที่สำคัญของทฤษฎีนี้คือว่า ท่านต้องมีวิธีการในการสร้างความแตกต่างทางความคิดของท่าน ความแตกต่างที่มองไม่เห็นเกิดมาจากการสั่งสมความรู้ที่ไม่เกิดประโยชน์ใดๆไว้
อัฉริยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สร้างทางเลือกและความเห็นมากมายอย่างไร ? ทำไมหลายความคิดของเขาดีและแตกต่าง ? เขาสร้างความแตกต่างที่มองไม่เห็นไปสู่การริเริ่มและแปลกใหม่ได้อย่างไร ? นักวิชาการรุ่นใหม่ได้รับมรดกทางหลักฐานที่สามารถแยกแยะวิธีคิดของอัฉริยบุคคลได้ จากบันทึกส่วนตัว การโต้ตอบ การสนทนา และความคิดต่างๆของนักคิดที่ยิ่งใหญ่ของโลก สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนวิธีการคิดที่ไม่ธรรมดา เป็นรูปแบบการคิดที่ทำให้อัฉริยบุคคลสามารถสร้างความคิดริเริ่มและแปลกใหม่ที่อัศจรรย์ให้เกิดขึ้น
ต่อไปนี้เป็นการอธิบายโดยสังเขปถึงยุทธวิธีทางการคิดและรูปแบบการคิดสร้างสรรค์ของอัจฉริยบุคคลทางสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และอุตสาหกรรมในอดีตที่ผ่านมา
อัจฉริยบุคคลมักค้นพบในสิ่งที่ไม่มีใครอื่นพบมาก่อน Leonardo da Vinci เชื่อว่าความรู้เกิดมาจากปัญหาต่างๆ ท่านต้องเริ่มการเรียนรู้โดยการทบทวนหรือจัดโครงสร้างของปัญหาเหล่านั้นเสียใหม่ เรารู้สึกว่าการมองปัญหาครั้งแรกเกิดขึ้นโดยมีอคติมองตามความเคยชิน เขาจึงมักปรับเปลี่ยนปัญหาโดยมองในลักษณะอื่นที่ต่างจากเดิมเรื่อยๆไป ในแต่ละครั้งที่มองปัญหาต่างไป ก็จะค่อยๆเริ่มเข้าใจประเด็นของปัญหานั้นได้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ทฤษฎีทางสัมพันธภาพของ Einstein มีสาระคือการอธิบายความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันในแง่มุมทั้งหลายที่แตกต่างกัน วิธีการจิตวิเคราะห์ของ Freud ออกแบบมาเพื่อค้นหารายละเอียดที่ไม่อาจพบได้ด้วยวิธีการที่มีมาก่อนอันนำไปสู่แนวคิดใหม่ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ผู้คิดต้องเลิกล้มความเกี่ยวข้องกับประสบการณ์เดิมและปรับแนวคิดในปัญหานั้นเสียใหม่ การไม่ยึดติดในมุมมองหนึ่งใดนั้น อัจฉริยบุคคลไม่เพียงแต่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เขายังสร้างสถานการณ์แวดล้อมอื่นเป็นเครื่องสนับสนุนขึ้นอีกด้วย เขากำหนดสิ่งใหม่ต่างๆ ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์ความฝันทั้งหลายแหล่ แต่เสมือนเป็นอย่างที่ Freud มักถามเป็นเบื้องต้นเกี่ยวกับความฝันที่มีความหมายทั้งหลายที่อุบัติในจิตใจของเรา
การแพร่สะพัดของความคิดสร้างสรรค์ในยุค Renaissance มีบันทึกความรู้มากมายที่ทั้งภาษาเขียนและภาษาภาพ เช่นงานของ Da Vinci และ Galileo. ที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่แสดงความคิดชัดเจนในรูปภาพของไดอะแกรม แผนที่ ภาพวาด ขณะที่คนในสมัยนั้นใช้เพียงภาษาคณิตศาสตร์และการอธิบายด้วยคำพูดเท่านั้น
คราวใดที่อัจฉริยบุคคลอาศัยคำพูดช่วยการอธิบายน้อยลง เขาจะพัฒนาความสามารถในเชิงทัศนวิสัยและความสามารถรอบตัวเพื่อเปิดเผยข้อมูลในวิธีการต่างๆ เมื่อ Einstein เผชิญปัญหาใด เขาจะจัดการในวิธีการต่างๆที่หลากหลายเท่าที่กระทำได้ รวมทั้งการทำภาพไดอะแกรม เขามีความคิดเป็นรูปทัศน์ เห็นภาพของปัญหาในหลายมิติ ไม่จำกัดที่ภาษาทางคณิตศาสตร์และการอธิบายด้วยคำพูดเท่านั้น แม้ว่าคำพูดและตัวเลขเป็นเรื่องสำคัญช่วยการเขียนและการพูด แต่มันก็ไม่เป็นสิ่งที่เลอเลิศเพียงอย่างเดียวในขบวนการคิดของเขาเสมอไป
หนึ่งในการพรรณาที่สมบูรณ์ในปรัชญาของ Einstein ที่พบในจดหมายถึงเพื่อนของเขา Maurice Solovine ในจดหมายนั้น Einstein อธิบายความยากในการใช้คำพูดเพื่ออธิบายปรัชญาวิทยาศาสตร์ของเขา เพราะกระทำได้เพียงคร่าวๆเท่านั้น ในจดหมายเริ่มด้วยภาพง่ายๆประกอบด้วย (1) เส้นตรงที่แทนอักษร E (experiences), ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา และ (2) A (axioms), หรือความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ซึ่งวางไว้เหนือเส้นตรงนั้นคือไม่เชื่อมกันโดยตรงกับ E
(หมายเหตุ: นี่เป็นประมาณการจากภาพต้นฉบับของ Einstein ในแหล่งเก็บเอกสารของเขาที่มหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งนครเจรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล)
Einstein อธิบายในแง่จิตวิทยาที่ A อยู่เหนือ E แต่ไม่เป็นนัยทางเหตุผลเชื่อมโยงจาก E ถึง A แค่เพียงการเชื่อมต่อเป็นนัยๆเท่านั้น สามารถลบล้างได้เสมอ จากความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์เหล่านี้ (A, axioms) สามารถพิจารณาลงความเห็นโดยหลักทั่วไปเพื่อไปสู่เรื่องเฉพาะได้ (S) การลงความเห็นนี้ถือสิทธ์เป็นความถูกต้องได้เลย สาระนี้ Einstein กล่าวว่ามันเป็นทฤษฎีที่กำหนดสิ่งที่เราสังเกต เขาแย้งว่าความคิดทางวิทยาศาตร์เป็นเพียงการคาดคะเนหรือเดาเอาเท่านั้น นอกจากผลลัพท์สุดท้ายที่นำไปสู่ระบบใดระบบหนึ่งที่บ่งชี้ถึงลักษณะของเหตุผลที่ง่ายๆ (logical simplicity) เพราะคำพูดไม่สามารถที่จะอธิบายให้เกิดความพอใจได้ Einstein จึงมักทำความคิดของเขาให้ปรากฏด้วยการเขียนภาพไดอะแกรมแสดงสาระและคุณลักษณะที่สำคัญในปรัชญาของเขา
คุณลักษณะที่แตกต่างของอัจฉริยบุคคลคือผลผลิตที่มากมาย Thomas Edison มีสิทธบัตรของความคิดถึง1,093 ชิ้น เขารับรองสิ่งผลิตที่เป็นส่วนของตนเองและส่วนของผู้ช่วยของเขา ในส่วนของเขามีสิ่งคิดค้นเล็กๆในทุก 10 วัน และในสิ่งสำคัญๆในทุกหกเดือน Bach ประพันธ์เพลงได้ ทุกสัปดาห์แม้ขณะที่เขาป่วยและเหน็ดเหนื่อย Mozart ประพันธ์เพลงได้ถึง 600 เพลง Einstein มีชื่อจากบทความเรื่องสัมพันธภาพ แต่มีบทความอื่นที่ตีพิมพ์ถึง 248 เรื่อง T.S. Elliot มีจำนวนร่างของบทประพันธ์ "The Waste Land" ทั้งที่ปนเปดีบ้างไม่ดีบ้างมากมายก่อนกลายเป็นผลงานที่เป็นเลิศ ในการศึกษานักวิทยาศาสตร์จำนวน 2,036 คนในประวัติศาสตร์ คณบดี Kean Simonton มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเดวิส พบว่าส่วนมากไม่เพียงแต่คิดค้นงานสำคัญ แต่ก็ยังมีงานห่วยๆอีกมากด้วย จากผลงานที่มีปริมาณนำไปสู่ผลงานที่มีคุณภาพของอัจฉริยบุคคลในที่สุด
คณบดี Keith Simonton เขียนหนังสือเรื่องของอัจฉริยบุคคลทางวิทยาศาสตร์ในปี 1989 แนะนำว่าความเป็นอัจฉริยะเกิดขึ้นเพราะเขาเหล่านั้นมีความสามารถสรรสร้างการผสมผสานที่แปลกใหม่เหนือความปราดเปรื่องอื่นใด ทฤษฎีของเขาเกี่ยวข้องทางนิรุกติศาสตร์ เช่นคำว่า cogito--"ข้าพเจ้าคิดว่า-มีความหมายเริ่มแรกคือเขย่าเข้าด้วยกัน "shake together": intelligo เป็นรากศัพท์ของ "intelligence" หมายถึงเลือกเอามา "select among." นี่เป็นเป็นลางสังหรณ์แรกเกี่ยวกับประโยชน์ของการยอมรับความคิดที่สุ่มเอามาจากความคิดต่างๆและประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกสรรมาจากสิ่งที่เคยสะสมไว้ก่อน เหมือนเด็กเล่นการต่อรวมของชิ้น Legos อัจฉริยบุคคลมักเอาความนึกคิด จินตภาพ และความคิดต่างๆมารวมกันหรือจัดรวมกันเสียใหม่ทั้งด้วยความมีสำนึกและไร้สำนึกในจิตใจ ลองพิจารณาสมการของ Einstein, E=mc2. Einstein ไม่ได้สร้างแนวความคิดใหม่ๆของ พลังงาน มวล และความเร็วของแสง หากแต่เป็นการรวมแนวความคิดเดิมๆของสิ่งเหล่านี้ในวิธีใหม่ เขามองเห็นเช่นเดียวกันกับคนอื่นแต่มีบางสิ่งที่แตกต่างกันเท่านั้น กฎทางกรรมพันธ์ ที่นักพันธุกรรมสมัยใหม่กำหนดนั้นก็มีรากฐานมาจากกฎเดิมของ Gregor Mendel แต่หากเขาผสมผสานวิชาคณิตศาสตร์และชีววิทยาเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นวิทยาศาสตร์ในแนวทางใหม่ขึ้น
หากมีรูปแบบพิเศษสำหรับความคิดของอัจฉริยบุคคล มันคือความสามารถที่สร้างความเคียงกันของสิ่งที่แตกต่างกันได้ เรียกได้ว่าเป็นความสะดวกในการเชื่อมโยงในสิ่งที่ไม่เคยถูกโยงกันมาก่อน ทำให้เห็นในสิ่งที่ไม่มีใครเห็นมาก่อน Leonardo da Vinci เน้นความสัมพันธ์กันระหว่างเสียงของระฆังกับเสียงหินกระทบน้ำ การกระทำดังนี้ทำให้เขาค้นพบเสียงเดินทางเป็นคลื่นต่างๆ ในปี1865 F.A. Kekule พบรูปร่างของโมเลกุลเบ็นซิลโยงกันเป็นเหมือนรูปงูกินหางโดยบังเอิญ Samuel Morse งงอยู่เป็นนานในความพยายามที่จะค้นหาสัญญาน โทรเลขที่แรงพอจะรับได้ระหว่างคาบฝั่งมหาสมุทรหนึ่งๆ วันหนึ่งเขาเห็นม้าเทียมรถถูกสัปเปลี่ยนระหว่างสถานีทำให้ได้ความคิดเช่นการส่งของสัญญานโทรเลขให้มีกำลังแรงขึ้นได้สำเร็จ คำตอบคือให้สัญญานชนิดสืบทอดกัน เดินทางเป็นช่วงๆสลับการเร่งเพิ่มกำลังของสัญญานนั้นๆ Nickla Tesla เน้นการเชื่อมโยงกันระหว่างการหมุนเวียนขึ้นตกของดวงอาทิตย์และเครื่องยนต์ที่เป็นชนิด AC โดยใช้สนามแม่เหล็กเป็นตัวสร้างการหมุนแบบต่อเนื่องเหมือนการขึ้นตกของดวงอาทิตย์
นักฟิสิกซ์และนักปรัชญา David Bohm เชื่อว่าอัจฉริยบุคคลสามารถคิดได้แตกต่างมากมาย เพราะเขาอดทนต่อสิ่งที่รุมล้อมระหว่างข้อขัดแย้งและเรื่องราวที่ไม่ลงรอยกันได้ Dr. Albert Rothenberg นักค้นคว้าทางกระบวนการคิดสร้างสรรค์ผู้หนึ่ง กำหนดความสามารถนี้เป็นคุณสมบัติหนึ่งของอัจฉริยบุคคลเช่น Einstein, Mozart, Edison, Pasteur, Joseph Conrad, และ Picasso ในหนังสือของเขาชื่อ The Emerging Goddess: The Creative Process in Art, Science and Other Fields เขียนในปี 1990. นักฟิสิกซ์ Niels Bohr เชื่อว่าถ้าท่านยึดเอาสิ่งที่ขัดแย้งมารวมกันไว้ได้ จะช่วยให้ท่านชลอความคิดและจิตใจเดิมๆให้เคลื่อนจากไปสู่รูปแบบใหม่ต่อไปได้ การเอาความขัดแย้งหรือสิ่งตรงกันข้ามมาปั่นรวมกันจะสร้างเงื่อนไขสำหรับมุมมองใหม่และปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระขึ้น ความสามารถในการจินตนาการของ Bohr ในเรื่องแสงสว่างที่ประกอบด้วยอนุภาคเล็กและคลื่นแสงนำไปสู่หลักของการประกอบกันเป็นองค์สมบูรณ์ ( the principle of complementarity) ของเขา. Thomas Edison สร้างระบบไฟฟ้าแสงสว่างในแง่ปฏิบัติ โดยการรวมระบบสายไปแบบวงจรขนาน กับความต้านทานสูงของใส้ในหลอดไฟฟ้าของเขา สิ่งทั้งสองอย่างนี้ไม่เคยมีการพิจารณามาก่อน เพราะในข้อเท็จเดิมที่เข้ากันไม่ได้เลย แต่ทว่า Edison กลับสามารถทนต่อกระแสความขัดแย้งของสองสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เขาสามารถค้นพบความสัมพันธ์ที่มีประโยชน์ในที่สุด
Aristotle พิจารณาการอุปมาเป็นสิ่งบอกหนึ่งของอัจฉริยบุคคล เชื่อว่าคนที่สามารถรับรู้ระหว่างสองสิ่งที่แตกต่างกันแล้วนำมาผสมผสานกันได้น่าจะเป็นคนที่มีพรสวรรค์อย่างหนึ่ง ในสิ่งที่ไม่เหมือนกันแท้จริงแล้วมักมีอะไรเหมือนกันในบางอย่างเสมอ Alexander Graham Bell สังเกตุการเปรียบเทียบกันระหว่างกลไกการทำงานภายในหู กับ การเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนเแผ่นผืนที่แข็งแรงสามารถเคลื่อนเหล็กได้นำไปสู่ความคิดของเครื่องโทรศัพท์ Thomas Edison สร้างเครื่องหีบเสียงได้ในวันหนึ่งหลังจากการอุปมาอุปมัยระหว่าง กรวยของเล่นเด็ก กับ การเคลื่อนไหวของคนกระดาษและการสั่นเสทือนของเสียง โครงสร้างใต้น้ำคิดค้นจากการสังเกตุการสร้างท่อต่อเนื่องกันเป็นอุโมงค์ยาวในไม้ของหนอนทะเล Einstein ได้รับการอธิบายหลักการแง่นามธรรมต่างๆของเขา จากการวาดภาพเชิงเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นประจำวัน เช่น การพายเรือ หรือการยืนบนชานชลาขณะที่รถไฟแล่ยผ่านเลยไป
เมื่อไรก็ตามที่เราพยายามทำสิ่งใดแล้วล้มเหลว เราจะเลี่ยงไปทำอย่างอื่น อาจกล่าวได้ว่าหลักการแรกของความคิดสร้างสรรค์คือความบังเอิญ เราอาจถามตัวเองว่าทำไมความล้มเหลวเกิดขึ้นในสิ่งที่เราตั้งใจทำ นี่เป็นเหตุผลต่อสิ่งที่คาดหวัง แต่ความบังเอิญที่สร้างสรรค์กระตุ้นให้เกิดคำถามที่แตกต่าง เช่น เราได้ทำอะไรไปแล้ว ? จงตอบคำถามนี้ใหม่ ในแนวทางที่ไม่ได้นึกถึงมาก่อนจะให้ประโยชน์ในการกระทำที่สร้างสรรค์ได้ มันไม่ใช่เพราะโชค แต่จากการที่อุบัติขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์และมีระเบียบสูงส่ง Alexander Fleming ไม่ใช่นักฟิสิกซ์คนแรกที่สังเกตุเห็นการขึ้นรากลายเป็นรูปแบบการเพาะเลี้ยงจากการศึกษาแบ๊คทีเรียที่ตายแล้ว นักฟิสิกซ์ธรรมดาทั่วไปมักละเลยความสัมพันธ์นี้ไป ในขณะที่ Fleming เห็นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และประหลาดใจต่อความเป็นไปได้นี้ การสังเกตุเห็น "ความน่าสนใจ" นี้นำไปสู่การคิดค้นยาเพนนิซิลินที่ช่วยเหลือคนนับล้าน Thomas Edison ขณะนึกถึงการทำเส้นใยคาร์บอน เขาปล่อยใจกับการบีบชิ้นดินน้ำมันของเล่นไปมาบนนิ้วมือ เมื่อก้มลงมองมาที่มือคำตอบเกิดขึ้นทันทีในสายตาคือการบิดเกลียวของใยคาร์บอนเหมือนเส้นเชือก. B.F. Skinner เน้นหลัการเบื้องต้นของวิธีการวิทยาศาสตร์คือ เมื่อท่านพบบางสิ่งที่น่าสนใจ ให้หยุดสิ่งอื่นๆเสียแล้วมาใส่ใจกับสิ่งนั้นแทน หลายสิ่งปิดกั้นโอกาศที่จะได้คำตอบในขณะที่เขาเลิกล้มความคิดเดิมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อัจฉริยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่รอคอยสิ่งที่ต้องการตามโอกาส แต่เขาจะแสวงหาการค้นพบโดยความบังเอิญ
การระลึกถึงยุทธวิธีการคิดทั่วไปของอัจฉริยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ แล้วนำมาประยุกต์กับตัวท่านจะช่วยทำให้งานและชีวิตของท่านมีการสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น เขาเหล่านั้นมีความเป็นอัจฉริยะก็เพราะเขารู้ว่าจะคิดอย่างไร แทนการคิดอะไร ในปี 1977 นักสังคมวิทยา Harriet Zuckerman พิมพ์เผยแพร่งานศึกษาของเขาเกี่ยวข้องกับผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล และอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา หล่อนพบว่าศิษย์จำนวนถึง ๖ คนของ Enrico Fermi เป็นผู้ได้รับรางวัลนี้ Ernst Lawrence และ Niels Bohr แต่ละคนมีศิษย์จำนวน ๔ คน. J.J. Thompson และ Ernest Rutherford เป็นสองคนในจำนวนนั้น และยังเคยฝึกผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้ถึง ๑๗ คน นี่ไม่ใช่ความบังเอิญ มันเห็นได้ชัดว่าผู้เคยได้รับรางวัลโนเบลเหล่านี้ ไม่แค่เป็นผู้มีความสามารถด้วยตนเองเท่านั้น แต่ยังสอนผู้อื่นถึงการคิดอย่างสร้างสรรค์ได้อีกด้วย กลุ่มตัวอย่างของ Zuckerman พิสูจน์ให้เห็นว่า อิทธิพลทางความคิดสร้างสรรค์ได้มาจากครูผู้สอนให้เขาคิดในรูปแบบและยุทธวิธีที่แตกต่างหรือการคิดอย่างไรมากกว่าการคิดอะไร
This page is Copyright (C) 1998 Michael Michalko
Last updated: 15th March 1998