Cartooning and Creativity

การเขียนภาพเปรียบเปรย(การ์ตูน)กับความคิดสร้างสรรค์

เรียบเรียงจาก.....http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Humour/cartooning.htm

Cartoons สำรวจความเกี่ยวข้องการเขียนภาพเปรียบเปรยกับความคิดสร้างสรรค์

อะไรคือภาพการ์ตูน ในบทความนี้ผู้เขียนอ้างถึงภาพเขียนที่มีหรือไม่มีคำบรรยายที่บ่งบอกถึงเรื่องขบขัน เย้ยหยัน ล้อเลียนบุคคล เพื่อความบันเทิงหรือบอกเล่าเรื่องราวเรื่องหนึ่งเรื่องใด

การเขียนภาพเปรียบเปรยเหล่านี้ คือตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ท่านจะเห็นความแตกต่างในการรับรู้เรื่องราวต่างๆในโลกนี้ผ่านสายตาของนักเขียนภาพชนิดนี้

ภาพการ์ตูนเป็นที่รวมของหลายความคิดของการสร้างสรรค์ และผู้เขียนขอรบเร้าให้ทุกท่าน ฝึกฝนการเขียนภาพการ์ตูน เพื่อเพิ่มทักษะการสร้างสรรค์ของท่าน

ภาพการ์ตูนสะท้อนหลายความนึกคิดของชีวิต - จากเรื่องยุ่งยากไปจนถึงเรื่องขบขัน จากเรื่องคาวโลกีย์ไปถึงเรื่องราวใหญ่โตอื่นๆของชีวิตมนุษย์

บ่อยครั้งที่ภาพการ์ตูนเขียนด้วยการประหยัดเส้นวาด แค่เพียงขีดเขียนสองสามครั้ง ศิลปินก็สามารถบอกแสดงความคิดหนึ่ง หรือในกรณีเพื่อวาดล้อเลียนบุคคล ก็สามารถสังเกตุรู้ได้ง่ายในเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่า ภาพการ์ตูนหนึ่งๆมักเสนอประเด็นของความคิดผู้เขียนให้ท่านได้รับรู้ในสถานการณ์นั้นๆเสมอ โปรดสังเกตุภาพล้อเลียนเขียนโดย Jean Cocteau เกี่ยวกับวาทยากร Erik Satie และ Igor Stravinsky. (คลิกที่ภาพข้างล่างนี้เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม)

Portrait of Satie Portrait of Stravinsky

สังคมของเราถือเอาภาพการ์ตูนไปเกี่ยวข้องกับความสนุกขบขันแบบเด็กๆ ความเกี่ยวข้องนี้เป็นเรื่องดีๆมีประโยชน์ เพราะการมีอารมณ์ขันนั้น ถือเป็นการเปิดหนทางการสร้างสรรค์ให้กับสมองของเรา

ปฏิทินตั้งโต๊ะและหนังสือ "The Far Side" โดย Gary Larson มักเห็นอยู่บนโต๊ะทำงานของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรโปรแกรมคอมพิวเตอร์เสมอ ภาพลิงหลอกเจ้าที่ขบขันสะท้อนสถานการณ์ของมนุษย์ที่เสมือนกับอาณาจักร์ของสัตว์เป็นสถานการณ์ที่สนุกสนานอย่างยิ่ง

ผู้เขียนมักชอบส่วนของหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เป็นภาพการ์ตูนล้อเลียนการเมือง เรื่องราวที่เกิดขึ้นขณะนั้น การเมืองและชีวิตโดยทั่วไปที่ถูกย่อยสรุปไว้โดยนักเขียนการ์ตูน ผู้สร้างสรรค์เพียงหนึ่งตอนบอกเรื่องราวที่เป็นความคิดที่ริเริ่ม มีอารมณ์ขันและมีการมองที่ลึกซึ้ง เขาได้ความคิดนี้มาได้อย่างไร ? มีวิธีการอะไร ? และเขาสามารถรักษาความคิดเหล่านี้ให้เกิดขึ้นเสมอได้อย่างไร ?

การแจกแจงภาพการ์ตูนอย่างย่อๆ

ภาพการ์ตูนขบขัน (รวมทั้งการ์ตูนการเมือง) เป็นการรวมภาพกับคำพูด หรือภาพอย่างเดียวที่บอกสถานการณ์หนึ่ง แหล่งสำคัญของแรงบันดาลใจที่สร้างสรรค์ได้มาจากการอ่านหนังสือการ์ตูน นักเขียนที่โปรดปรานของผู้เขียนคือ Michael Leunig (จากเมือง Melbourne, Australia), และ John Callaghan (จากมลรัฐ California, USA). ทั้งสองไม่ใช่ศิลปินชนิดหัวรุนแรงหากแต่มีความช่างสังเกตุและอารมณ์ขันเหลือหลาย อารมณ์ขันกับภาพการ์ตูนเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก นิตยสาร MAD เคยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเด็กของผู้เขียน และก็ยังคงสนุกในการอ่านบางโอกาสจนถึงทุกวันนี้

ภาพการ์ตูนมักใช้ประกอบหนังสือ ผู้เขียนฉงนว่าหนังสือที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ สามารถพิมพ์โดยไม่มีภาพประกอบเลยนั้นได้อย่างไร ภาพการ์ตูนใช้เปิดสมองด้านขวาของเรา และความสนุกสนานเป็นธรรมชาติที่เปิดใจของเราในการรับรู้เรื่องที่อ่านได้มากขึ้น

เรื่องราวสิ่งพิมพ์ในเร็วนี้คือ "XXX หนังสือสำหรับคนเริ่มต้น" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Icon books หลายเล่มใช้ภาพประกอบที่ขบขันหลากหลายมากมายแต่สื่อความหมายได้ดี หนังสือเหล่านี้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ภาพวาดช่วยส่งเสริมอย่างมาก ตัวอย่างหนึ่งคือ "Joyce for Beginners", เป็นการแนะนำการเขียนหนังสือของ James Joyce.

ในหนังสือของ Dilip Mukerjea เรื่อง "Braindancing" (1998), ผู้ประพันธ์อ้างการเขียนการ์ตูนไว้ในบทชื่อ "Ideavisuals". ทัศนะญาณ (Visual intelligence) สามารถพัฒนาการผ่านการสร้างภาพในใจโดยการคิดและการจดจำ ภาพในจิตใจมักทำให้เกิดความใส่ใจเสมอ ประสาทตาของเราสามารถรับรู้ได้มากว่าประสาทอื่นๆรวมกัน เราเห็นภาพต่อเนื่องในขณะเดียวกันด้วยขบวนการทางสมอง เราเรียกว่า ภาพ มโนทัศน์ และเหตุการณ์ เพราะเราสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ในใจหรือในความเป็นจริงของเรา ผลกระทบของความทรงจำเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนและก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ผู้ประพันธ์ยังกล่าวต่อไปว่า การเขียนการ์ตูนเป็นจิตนาการหนึ่งสร้างสรรค์เส้นวาดขยุกขยิกบ่งชี้จุดเด่นที่มากมายและความสามารถในการสังเกตุของเรา การขีดเขียนง่ายๆแต่ละครั้งสื่อความหมายที่หลากหลาย การใช้จินตภาพง่ายๆทดแทนคำพูดมีอนุภาพมาก สามารถใช้ในช่วงเวลาเฉพาะ เกี่ยวข้องกับความท้าทายเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดผลิตผลที่สร้างสรรค์อย่างมหาศาล


วิธีการแก้ปัญหาสร้างสรรค์ด้วยภาพการ์ตูน

  1. เขียนปัญหาของท่านเป็นภาพการ์ตูน
  2. เขียนคำบรรยายภาพสำหรับภาพวาดของท่าน
  3. ปรับแต่งภาพในมุมมองอื่น..มันช่วยทำให้ท่านเห็นคำตอบหรือยัง ?
  4. ทางเลือกอื่น..ลองเขียนองค์ประกอบต่างๆของปัญหาเป็นภาพการ์ตูนแต่ละอย่าง

นี่เป็นตัวอย่างขำขันของความคิดสร้างสรรค์ในงานเขียนภาพการ์ตูน ศิลปินเอาคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย "ble" (irresistable, kiss-able, excitable, and huggable) แล้วสร้างภาพสำนวนคำพ้องกับคำว่า ball.


แหล่งค้นหาความรู้เพิ่มเติม..

Picture codes (by Dilip Mukerjea) - a fun way to exercise your mental muscle.

Learn cartooning. Books, software, and various web sites.

ข้อมูลในเว็บไซท์อื่น:


Return to Creativity index page.

Cartoon at top of page by Dilip Mukerjea and used with permission. Dilip's cartoons can be found in his excellent books.

Please send me your comments on cartooning and creativity. Last updated: 26th February 2000.