การเริ่มต้นความคิด

สร้างสรรค์ของท่าน

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดเสมือนเป็นการเดินทางตลอดชีวิต แต่เมื่อท่านเจอเว็บไซท์นี้และต้องการ เริ่มต้นรวดเร็ว

บันทึกหน้านี้จะให้คำแนะนำด้วยประสบการณ์ของผู้เขียนตลอดเวลาสองสามปีที่แล้วมา

1.การเขียนบันทึก เอาสมุดบันทึกขนาด A4 (8 x 11 inch) เพื่อใช้เขียนบันทึกรายวันของท่าน ทุกๆเช้าเมื่อท่านตื่นขึ้นมา จงเขียนเกี่ยวกับ อะไรก็ได้ ให้มีความยาวสักสามหน้ากระดาษ ปกติท่านจะเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำในวันที่ผ่านมา ความคิด ความฝัน ปัญหา ความคิดเรื่อยเปื่อย ท่านอาจต้องตื่นนอนล่วงหน้าราว ๓๐ นาฑีเพื่อใช้เวลาเขียนบันทึกประจำวันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติมหาอ่านได้ในหนังสือของ Julia Cameron เรื่อง The Artists Way, และของ Dorothea Brande เรื่อง Becoming a Writer.

2. รับป้อนสิ่งใหม่ๆ จิตใจต้องการการกระตุ้น ความรู้สึกต่างๆของท่านถูกเก็บไว้ในความทรงจำ โดยการทำจิตใจให้สดชื่นในแต่ละวัน ความทรงจำของท่านจะถูกปล่อยออกมาและเชื่อมโยงกับการรับป้อนสิ่งใหม่เสมอ บางครั้งท่านอาจได้รับความคิดที่ให้คุณประโยชน์อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

ทำอย่างไรท่านถึงได้รับการป้อนสิ่งใหม่ๆนี้ ? จงทำสิ่งใหม่ในแต่ละวัน ฟังวิทยุต่างสถานีที่เคยฟัง ไปเดินเล่นสบายๆตามศูนย์การค้า คอยเปิดตา หู ปาก และจมูกสัมผัสสิ่งต่างๆ

อย่าลืมเอาสมุดบันทึกไปด้วย หรือเครื่องบันทึกรายงานความคิดต่างๆของท่านระหว่างวัน

3. หมั่นเขียนบันทึก เขียนเพิ่มเติมต่อจากสามหน้าที่เขียนไว้ทุกเช้า เอาบันทึกติดตัวไว้ เสมอ ผู้เขียนขอแนะนำว่าให้ใช้ชนิดสมุดบันทึกปกแข็งขนาด A5 จะเป็นแบบมีเส้นบันทัดหรือไม่มีก็ตาม (จากร้านขายเครื่องเศิลป์) อย่าลืมนำปากกาหรือดินสอไปกับสมุดบันทึกนี้ด้วย ท่านอาจต้องการแบบสี่สีมีรวมในด้ามเดียวที่ผลิตโดย Bic.

ใช้การเขียนบันทึกความคิด ความเห็นต่างๆที่ได้จากการสังเกตุของท่านระหว่างวัน บันทึกคำกล่าว จดข้อสันนิษฐานที่สร้างสรรค์ หรือจดวิธีการที่ใช้ทั้งสัปดาห์นั้น ทำบันทึกให้เหมือนเป็นเพื่อนถาวรของท่าน

4. เรียนรู้วิธีการสร้างสรรค์ใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์ เขียนวิธีการต่างๆแยกไว้เป็นหน้าดรรชนีต่างหากในสมุดบันทึกของท่าน และนำไปใช้ปฏิบัติเมื่อมีโอกาส เหมือนเรียนการใช้คำศัพท์ใหม่ๆของภาษาต่างประเทศ ท่านอาจต้องฝึกวิธีใช้มันจนเสมือนเป็นภาษาที่สองของท่าน

ท่านจะเรียนรู้วิธีการที่ไหน บางวิธีการมีบอกในเว็บไซท์นี้ แต่ท่านควรอ่านเพิ่มในหนังสืออื่น อย่างเช่นของ Michael Michalko เรื่อง Thinkertoys, ของ Arthur VanGundy เรื่อง Brain Boosters for Business Advantage, ของ Robert Alan Black เรื่อง Broken Crayons หรือของ James Higgins เรื่อง 101 Creative Problem Solving Techniques.

5. ผ่อนคลาย! ลองใส่หูฟัง แล้วนอนฟังเพลงบนพื้นห้อง นั่งอาบแดดข้างนอกเฉยๆโดยไม่ต้องทำอะไรเลย เดินเล่นหรือขี่จักรยานสบายๆ หรือไปว่ายน้ำ มันเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องให้เวลาสำหรับคลี่คลายและยอมให้จิตใต้สำนึกของท่านทำงานของมันบ้าง ท่านอาจได้ความคิดขณะอาบน้ำ หรือขณะขับรถเพลินๆโดยไม่ได้คาดหวังไว้ก่อน แต่มันเกิดขึ้นได้จริงๆ
6. เรียนรู้โดยการวาดภาพ ใช้วิธีของ Betty Edwards ในหนังสือชื่อ Drawing on the Right Side of the Brain เพื่อสอนการวาดภาพด้วยตนเอง มันเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่ง และท่านจะเรียนรู้ทักษะที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้โลกรอบตัวของท่านด้วย หนังสืออีกเล่มที่ควรพิจารณาคือ Experiences in Visual Thinking เขียนโดย Robert McKim เช่นเดียวกับหนังสือการ์ตูนจำนวนหนึ่ง เช่น The Cartoonist's Workbook ของ Robin Hall
7. เรียนการวาดภาพในใจ การทำรายการโดยการเขียนไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการวางแผน จดบันทึก หรือแพร่ความคิด ควรลองใช้วิธีวาดภาพในใจแทน (Mind Mapping) ใช้ปากกาหลากสี กระดาษแผ่นใหญ่ ลอกแบบรูปสัญลักษณ์ของ Tony Buzan's. ปรับปรุงด้วยรูปสัญลักษณ์ของท่านเอง รูปภาพและรูปศัพท์อื่นสำหรับบอกภาพในใจของท่าน การเขียนอาศัยกลไกของสมองด้านซ้าย แต่การเขียนภาพในใจใช้ส่วนสมองด้านขวาด้วยสีสรรและข้อมูลที่เห็นเป็นภาพ มีหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นของ Joyce Wycoff (USA) และ ของ Dilip Mukerjea (Singapore). การสร้างวาดภาพในใจมีประโยชน์เพราะประเด็นต่อไปคือ......
8. การคิดแบบสัมพันธ์ จิตใจเก็บข้อมูลในลักษณะสัมพันธ์กัน - ทำให้เป็นแนวคิดสำคัญของโปรแกรม Ideafisher และการรวบรวมคำศัพท์เป็นพจนานุกรม thesaurus. แต่ละอย่างใช้สร้างให้เกิดความคิดต่างๆได้ ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลสามารถเริ่มอย่างเดียวกันกับการลำดับคำในพจนานุกรม ข้อมูลต่างๆที่อธิบายด้วยตัวเลขสอง (2) บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ต่างๆ

เพื่อเป็นการอธิบายความคิดแบบสัมพันธ์ ลองเขียนคำว่า ความสุข ตรงกลางหน้ากระดาษ แล้วลากเส้นต่างๆออกจากคำๆนั้น แล้วเขียนบอกความหมายของความสุขที่ท่านนึกได้ในแต่ละเส้น ขอร้องให้คนอื่นกระทำเช่นเดียวกัน แล้วลองเปรียบเทียบกันดู

9. จงมีความท้าทาย! ลองมีความท้าทายในสิ่งใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์ แก้ปัญหาใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์ สำรวจหาความประสงค์ใหม่ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น หรือสร้างความคิดต่างๆให้เกิดขึ้น อ้างถึงเว็บไซท์ของ Alan Black's "Broken Crayons" เกี่ยวกับการท้าทายของเขาประจำสัปดาห์
10. เป็นดังเช่นอัจฉริยะบุคคล ท่านจะได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ชีวิตทั้งหลาย ความคิดต่างๆมากมาย และการกระทำทั้งหลายของอัจฉริยะบุคคลในประวัติศาสตร์ เอามาเป็นต้นแบบให้ตนเอง - อาจเป็นเช่น Leonardo da Vinci, Picasso, Einstein, T. S. Eliot, Thomas Edison, Hannibal (ไม่ใช่นาย Lecter!). ลองไปดูที่ทำเนียบของอัจฉริยะบุคคลเพิ่มเติม

Creativity Web

Last updated: 30th June 1999

เรียบเรียงจาก..http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Basics/kickstart.htm