เรียบเรียงจาก....http://mwp01.mwp.hawaii.edu/arch200.htm
200-LEVEL ARCHITECTURE, INTERMEDIATE ARCHITECTURAL DESIGN (writing-intensive) Drawing as Writing, Writing as Drawing: An Approach to Architectural Design Thinking
สถาปนิกทุกคน ออกแบบอาคารต่างๆ ในความเห็นของข้าพเจ้า สถาปนิกต้องการทราบว่าเขาออกแบบอย่างไร และมีวิธีการเช่นไร วิธีการออกแบบ คือฐานของกระบวนการอิสระของสถาปนิกแต่ละคน แต่ละกระบวนการคิด สามารถพัฒนาในเชิงการศึกษาและ การปฏิบัติทางวิชาชีพได้ ข้าพเจ้าไม่ได้สอนนักศึกษาว่าควรจะคิดอย่างไร แต่หากต้องการทราบว่าเขานำความคิดไปใช้ประโยชน์อย่างไร การเขียน เป็นการนำความคิดไปใช้ทางหนึ่ง การเรียนการสอนนี้ นำเสนอความคิดเห็นวิชาสถาปัตยกรรมสองแนวทางสำคัญ คือ ทางภาษาพูดผ่านทางคำพูด และ ทางทัศนะวิสัยผ่านทางแบบ หุ่นจำลอง การเขียนแบบ และการเขียนอธิบายด้วยภาษาเขียน
................โดย รองศาสตราจารย์ Gordon Tyau
ทุกโครงการที่ออกแบบหลากหลาย นิสิตเรียนรู้การนำทฤษฎีและหลักการ ออกแบบในความสัมพันธ์ระหว่างอาคารกับสภาพแวดล้อมภายนอกไปใช้ ความเข้าใจเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะสถานที่ก่อสร้าง และ พฤติกรรมมนุษย์ จะช่วยให้นิสิตนำไปประมวณและส่งผลให้การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดีได้ แต่ละขั้นตอนของการเรียนรู้การออกแบบของ แต่ละโครงการ เป็นการนำความคิดไปใช้ในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม การเขียน ถูกใช้เป็นวิธีการหนึ่งของการนำความคิดไปประยุกต์ใช้ทางศาสตร์ของการออกแบบ |
ถ้ายอมรับว่าการเขียนบันทึก คือการสะท้อนการคิดทางหนึ่ง การเขียนแบบ การเสก็ต และการขีดเขียนอย่างเคร่าๆ ก็น่าจะเป็นการสะท้อนความคิดอีกทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะการออกแบบของนิสิตแต่ละคนด้วย | ||
๑. ความคิดเกี่ยวกับการออกแบบ วันแรกของชั้นเรียน อาจารย์ให้นิสิตทุกคนเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบของแต่ละคน เป็นอย่างไร เน้นที่การเขียน อันเกิดจากความรู้ความเข้าใจที่แต่ละคนได้รับจากวิชาก่อนๆในอดีต ความมุ่งหมาย |
อาจารย์
Gordon มีวิธีการสอนที่แปลก
เขาต้องการ
ให้นิสิตอาศัยสิ่งที่เห็น
อาศัยสามัญสำนึกของตนเอง
ต้งอการให้นิสิตคิดอยู่ตลอดเวลา
บางครั้งทำให้คิดว่า
นี่เป็นวิธีการเน้นการคิดในชั้นเรียน
ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่มากมายที่ไม่เคยได้รับมก่อน.........
จากความเห็นของนิสิตคนหนึ่ง |
||
๒.
ขั้นตอนหนึ่งสำหรับกระบวนการออกแบบ
โดยการใช้วิธีเขียนหรือ/และเขียนแบบจากสิ่งพิมพ์
โครงการออกแบบเพิงพักอาศัย ประกอบด้วยข้อกำหนดต่างๆ เป็นการนำไปสู่ การออกแบบปกติของแต่ละเรื่อง ประมวณเข้าด้วยกันโดยนิสิตแต่ละคนอย่างอิสระเสรี และประเมินคุณค่าการออกแบบตลอดช่วงเวลา ๒๔ ชั่วโมง นับจากการเริ่มต้นของวิชานี้ การเขียนและสเก็ตในรูปแบบบทความ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบ โครงการขึ้นอยู่กับการรวมประสานความพยายามต่างๆเข้าด้วยกัน เน้นกระบวนการออกแบบเป็นสำคัญ นิสิตแต่ละคนเตรียมแผ่นข้อมูลจำนวนสามแผ่น ซึ่งประกอบด้วย การเขียนเชิงวิเคราะห์ การเขียนแบบผังแม่บทของโครงการ และการผสมผสาน ตัวอาคารเพิงพักอาศัย (รวมทั้งแบบหุ่นจำลอง) รวมทั้งการประเมินคุณค่าของการออกแบบและการใช้สอยอาคารด้วย |
ข้าพเจ้าคิดว่าโครงการออกแบบนี้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสิ่งหนึ่งในการเรียนรู้ของข้าพเจ้า เป็นโครงการแบบแรกที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่งที่ตั้ง ของอาคาร ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และท้าทายการออกแบบที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง เป็นการเรียนที่สนุก เราทั้งหมด ได้เห็นคุณค่าของกระบวนการปรึกษาและถกเถียงกันในกลุ่ม นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงๆต่อไป............ จากทัศนะของนิสิตผู้หนึ่ง | ||
จุดมุ่งหมาย
|
|||
ก.
การรวบรวมข้อมูลสถานที่ตั้ง
นิสิตทุกคนต้องหาข้อมูลของสถานที่ตั้งโครงการก่อนที่จะเริ่มออกแบบ อาคาร แสดงไว้ในสมุดบันทึกของแต่ละคน มีข้อเขียนและการร่างภาพ กำหนดไว้สามกรณีที่มีผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรม คือ ๑. กิจกรรม อะไรที่ต้องรวมไว้ ๒. ใครคือผู้ออกแบบ และ ๓. การออกแบบเกิดขึนที่ไหน ผู้สอนเน้นประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรง คือ กิจกรรมผู้ออกแบบและสถานที่ตั้ง หรืออีกนัยหนึ่งคือ สถานที่ตั้งและความเข้าใจของผู้ออกแบบที่เกี่ยวกับสถานที่ตั้งและกิจกรรมต่างๆ |
ข้าพเจ้ามีอาจารย์ที่ดีหลายคน กล่าวว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การฟัง ดู แล้วเขียนลงเป็นบันทึกไว้ การเขียน เป็นการทำให้ หู ตา และมือ ทำงานร่วมกัน พยายามใช้ความรู้สึกหลายอย่าง ช่วยให้ผู้เรียน สามารถจดจำการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี นี่คือสิ่งที่อาจารย์ Tyau และอาจารย์คนอื่นๆกล่าวและกำลังกระทำอยู่ขณะนี้................. จากความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง | ||
การดำเนินการขั้นต่อไป คือ การเขียนแบบรายละเอียดของสภาพที่ตั้ง และทำหุ่นจำลองของนิสิตเป็นกลุ่ม แบ่งงานเป็นการสำรวจ การบันทึก และการวัดระยะรวมกัน เขาจะทำการสำรวจและวิเคราะห์ลักษณะที่เป็นอยู่ของที่ตั้ง ด้วยการใช้เครื่องมือสำรวจ เมื่อกลับมาที่ ห้องปฏิบัติการการออกแบบ นิสิตจะเขียนแบบแผนที่รายละเอียดของที่ตั้ง แสดงระดับต่างๆ ของที่ดิน ทำหุ่นจำลองที่ตั้งเพื่อเป็นฐานข้อมูลใช้ร่วมกันในชั้นเรียนต่อไป ด้วยการใช้ฐานข้อมูลนี้ บันทึกของแต่ละคน รวมกับการสนทนากับผู้สอน ในเรื่องการวางผังอาคาร จุดมุ่งหมายการออกแบบจากประโยชน์ของแผนที่และหุ่นจำลองของที่ตั้ง การสนทนานี้ จะรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่นิสิตทุกคนบันทึกที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิสถาปัตยกรรมของที่ตั้ง อากาศ สภาพทางภูมิศาสตร์ และความสัมพันธ์ต่อกันด้วย | เมื่อทุกคนกำลังพูดกันในบางสิ่งบางอย่าง มักจะมีบางคนไม่เข้าใจ และการถามแย้งเสมอว่าคุณหมายความสิ่งยั้นอย่างไร ผู้ที่ถูกถามจึงต้องตอบอธิบายโดยการเขียนภาพประกอบ พวกเราจะเขียนในทำนองเดียวกัน เพื่ออธิบายความคิดลงบนแผนที่ขณะที่เรานั่งสนทนาร่วมกัน ............ จากความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง | ||
จุดมุ่งหมาย การเขียน..ด้วยการบันทึกข้อความและการร่างภาพประกอบ ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการคิด ก่อนการออกแบบ โดยการเขียนลักษณะนี้ นิสิตทุกคนจะบันทึกความประทับใจในทันทีทันใด จากการสังเกตุที่ตั้ง และความสัมพันธ์ที่มีต่อปัจจัยอื่น เช่นสภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะพื้นดิน สภาพภูมิสถาปัตยกรรมโดยรอบ การบันทึกสิ่งสำคัญเหล่านี้จะช่วยเป็นข้อมูล อ้างอิงต่อไปในการผลิตแผนที่ รายละเอียดและหุ่นจำลองของที่ตั้ง เป็นฐานข้อมูลในขั้นตอนการออกแบบต่อไป |
Professor Tyau กล่าวว่า เราทุกคนต้องเอาความคิดออกมาจากสมอง ถ่ายลงสู่แขน และปลายสุดที่มือของเรา เพื่อบันทึกมันลงบนแผ่นกระดาษไว้ให้ได้ แม้ว่ามันอาจจะดูไม่เข้าท่าก็ตาม แต่มันทำให้ความคิดที่มีอยู่ในใจของเราไม่เลือนหายไปเลย นี่เป็นการทำงานร่วมกันของความคิดและการเขียน........ จากความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง | ||
การรวบรวมข้อมูล ช่วยสนับสนุนการร่วมมือกัน ตัวอย่างเช่น งานสำรวจสภาพที่ดินที่แท้จริง เกิดจากการสำรวจกันเป็นกลุ่ม การสนทนาในชั้นเรียนถึงการใช้แผนที่และหุ่นจำลองของที่ตั้ง จะเป็นสิ่งผูกพันที่มีความหมายกับนิสิตทุกคน เพราะเขาเหล่านั้น ไปสำรวจและวิเคราะห์ในสถานที่จริงๆมาก่อนหน้าแล้ว | |||
ข.
การวางผังและออกแบบอาคารเพิงพักอาศัย
แผ่นแรกของการแสดงงานของนิสิตแต่ละคน เป็นการนำเสนอผังบริเวณอาคาร รายละเอียดประกอบด้วย สภาพพื้นดินเดิมของที่ตั้ง กลุ่มพันธ์ไม้เดิม การกำหนดโซนต่างๆในที่ตั้ง รวมถึงการวิเคราะห์เรื่องมุมมอง สภาพดินฟ้าอากาศ มลภาวะของเสียง เป็นต้น รวมทั้งการจัดพื้นที่ของอาคารโดย สังเขป ในประเด็นความสัมพันธ์ต่อการออกแบบชุมชน ต้องมีข้อเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจได้ชัดเจน เมื่อแผ่นแสดงงานของทุกคนเปิดนำเสนอ ก็จะ สนทนาร่วมกันในแต่ละข้อเสนอของงานผังบริเวณของนิสิตแต่ละคน เพื่อตกลงเลือกแบบที่จะใช้เป็นบรรทัดฐาน นำไปสู่การออกแบบในขั้นตอนต่อไป |
|||
หนึ่งอาทิตย์ต่อมา
นิสิตทุกคนส่งงานขั้นที่สองของการออกแบบ
แบบอาคารเป็นหุ่นจำลอง
ของรูปทรงโดยรวม
พร้อมรายละเอียดของแนวคิดต่างๆ
เช่น
วัสดุที่ใช้ทั่วไป
งบประมาณเคร่าๆ
แผนผังอาคาร
รูปตัด
และการเขียนคำอธิบาย
แบบเสนอทั้งหมด
การนำเสนอของแต่ละคนเป็นการสนทนาร่วมกันกับผู้สอนและนิสิตร่วมชั้นเรียนทุกคน
เปรียบเทียบระหว่างหุ่นจำลองกับแบบ
รายละเอียดอื่น
ระหว่างนี้ผู้นำเสนอสามารถแก้ไขแผนผังของตนได้พอประมาณ
เพื่อให้สอดคล้องกับการวิจารณ์ก่อนนำไปดำเนินการต่อไป
คือการซื้อชิ้นส่วนสำเร็จของเพิงที่พักอาศัยนี้
จุดมุ่งหมาย
ขั้นตอนการวางผัง ของการออกแบบเพิงพักอาศัยชุมชนนี้ เป็นการเรียนรู้ เป็นกลุ่ม กลุ่มนิสิตร่วมกันเลือกสถานที่ตั้งในชุมชนและช่วยกันออกแบบเพิงพักอาศัยของแต่ละคน ผังแม่บทของที่ตั้งเลือกกำนดโดยกลุ่ม เพราะเขาร่วมกันทำการวิเคราะห์ด้วยกัน และมีการปรึกษาส่วนที่มีผลดีกับชุมชนมาแต่แรก |
|||
ค.
รักษาบทความรายงานต่างๆไว้ระหว่างการออกแบบ"ยังดำรงอยู่"
หลังหนึ่งอาทิตย์ต่อมา เป็นการนำเสนอผลการออกแบบเพิงที่พักอาศัย นิสิตจัดซื้อหาวัสดุ และชิ้นส่วนมากพอที่จะใช้ในการก่อสร้าง นิสิตทุกคนต้องสร้างอาคารของแต่ละคนให้แล้วเสร็จภายในสามชั่วโมงโดยไม่มีการช่วยเหลือจากกลุ่มเพื่อนๆ แต่ละคนต้องอยู่อาศัยใน สิ่งก่อสร้างของตนเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง โดยทันที่หลังการก่อสร้างเพิงที่พักนี้แล้วเสร็จ แต่ละคนต้องบันทึกเป็นบทความรายงาน สะท้อนขบวนการที่เกิดขึ้นจริง ในการก่อสร้างกับแผนงานตั้งแต่แรกเริ่ม อะไรคือความแตกต่างระหว่างแผนงานที่กำหนดกับการสร้างจริง อะไรคือความคาดหวังในการออกแบบ จากการกำนดชิ้นส่วนต่างๆ การประกอบชิ้นส่วนในการก่อสร้าง ตลอดจนความสุขสบายที่แต่ละคนใช้สอยตลอดวัน เปรียบเทียบกับข้อมูลของอากาศ ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่มีผลกระทบต่อความสะดวกสบาย |
เราเก็บรักษาบทความรายงานต่างๆไว้ตั้งแต่เป็นนิสิตสถาปัตยกรรมในปีแรก เราได้ความคิดมากมาย เกี่ยวกับการออกแบบ และสิ่งที่พบเห็น แม้ว่ามันอาจเป็นสิ่งโง่เขลาเหมือนใบไม้ร่วงหล่นบนพื้นดิน แต่ก็อาจเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับความคิดในการออกแบบ การรักษาบทความบันทึกรายงานแต่ละอัน ทำให้ท่านได้มีการทบทวนในภายหลัง และนำความคิดบางอย่างมาปรับปรุงใช้ในโปรแกรมอื่นต่อไปได้ ฉันมีบันทึกรายงานชนิดบทความเหล่านี้ถึง ๔ บทความ ส่วนหนึ่งสำหรับสถาปัตยกรรม ส่วนหนึ่งฉันอ่านและคัดลอกไว้พร้อมการเขียนโต้แย้งสิ่งที่ฉันไม่เห็นด้วย อีกส่วนสำหรับสถาปัตยกรรมสำหรับฉันเอง และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความนึกคิดของฉัน........ความเห็นของนิสิตผู้หนึ่ง | ||
ระหว่างช่วงเวลา "เปิดเผยผลงาน" นิสิตไปเยี่ยมเยียนในอาคารแต่ละหลัง ผู้เยี่ยมเขียนคำติชมและ ความคิดเห็นไว้ในรายงานของเจ้าของผลงานต่อความสดวกสบายของพื้นที่ว่างใช้สอย ลักษณะของคุณค่าทางสถาปัตยกรรม พร้อมกับการส่งงาน เพิงพักอาศัยนี้ นิสิตเจ้าของผลงานจะอ่านคำวิจารณ์ของผู้อื่นในบันทึกรายงานของเขาด้วย พร้อมกับเขียนบันทึกเพิ่มเติมการวิเคราะห์ ความรู้สึก และประสบการณ์ที่ได้รับ และที่มีตลอดช่วงกลางวันถึงเย็นวันนั้น | |||
จุดมุ่งหมาย
การทำบันทึกรายงาน เป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาการของแต่ละบุคคลต่อๆไป นิสิตทุกคนจะถูกรบเร้าให้รายงาน เป็นบันทึกสำหรับการคิด และความคิดเพื่อการปรับปรุงเรื่องเหล่านี้ บันทึกรายงานเสนอข้อเขียนและแบบที่เกี่ยวข้องกับการคิดและความคิด การฝึกหัดการเขียนเกี่ยวกับปฏิกริยาต่อสิงต่างๆ ต่อการสังเกตุเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างของเพื่อนนิสิตด้วยกัน การเชิญคนในชุมชน มาให้ข้อคิดเห็นต่างๆ เตรียมบันทึกรายงานสำหรับขั้นตอนการออกแบบต่อๆไป...การประเมินผลด้วยตนเอง แม้ว่าไม่เป็นการบังคับ แต่ผู้สอนรบเร้าให้กระทำสม่ำเสมอ อ้างอิงถึงข้อเขียนพร้อมเขียนแบบไว้เป็นบันทึกรายงานตลอด ๔ ปี ของโปรแกรมการศึกษา และ ควรดำเนินต่อไปให้เป็นนิสัย ครูสอนสถาปัตยกรรมหลายคนทำตนเป็นตัวอย่างในการเขียนบทความที่เป็นประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่น |
|||
ง.
การประเมินผลโครงการ
เมื่อถึงวันที่นิสิตทุกคนกลับเข้าห้องเรียน หลังจากมีประสบการณ์จริงในค่ายฝึกหัด เขาเริ่มต้น ขบวนการประเมินผลงานของโคงการออกแบบเพิงพักอาศัยนี้ ครูถามนิสิตแต่ละคนและให้ทุกคนอ่านบันทึกรายงานของตนหน้าชั้นเรียน และ เปิดโอกาสให้มีการวิพากวิจารย์โดยผู้ร่วมชั้นเรียนอื่นๆ และอ่านบันทึกเปรียบเทียบของกันและกันด้วย ทั้งหมดร่วมกันทบทวน และปรับปรุง ขั้นตอนต่างในการออกแบบของทุกคน นิสิตทุกคน จึงต้องเตรียมการนำเสนอครั้งที่สามด้วยแผ่นภาพของบันทึกแสดงข้อเขียนและ แบบประกอบต่างๆในการประเมินผลงานของโครงการออกแบบนี้อีก รวมถึงประสบการณ์ที่ได้รับมา ความคิดที่ปรับปรุงแก้ไข อาจรวม ถึงหากต้องมีการออกแบบโครงการนี้ใหม่อีก แผ่นแสดงการประเมินผลการออกแบบถูกติดแสดงไว้ในชั้นเรียนเพื่อการสนทนาแก่กันแลักันด้วย |
|||
ครูขอร้องให้ทุกคนไปเขียนเป็นการบ้าน
ประเมินโครงการ
และ
เสนอสาระสำคัญในฐานะนักเรียนสถาปัตยกรรม
แต่ละคนเขียนเกี่ยวกับโครงการนี้ทั้งหมด
ต่อไปนี้เป็นรายงานบันทึกหนึ่ง....
|
|||
การประเมิน
ไม่มีเกรดและอ่านโดยผู้สอนเท่านั้น
(อย่างไรก็ตาม ในเทอมการศึกษาหน้า
นิสิตต้องอ่านการประเมินโครงการในวันแรกของชั้นเรียน
หลังการอธิบายโครงการออกแบบเพิงพักอาศัยนี้
อ่านการประเมินการออกแบบ
ที่แล้วมาเพื่อปลุกเร้าให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นในวิชานี้
และเป็นการคำนึงล่วงหน้าสำหรับโครงการแรกของภาคการศึกษา) ความมุ่งหมาย
|
คำปรารภของ
Professor Gordon Tyau
เกี่ยวกับชั้นเรียนของเขา
เป้าหมายของวิชา เพื่อให้นิสิตพัฒนา ปรับปรุงและตระหนักถึงวิธีการออกแบบ ของแต่ละคนอย่างแท้จริง เราเสนอให้ทำแบบฝึกหัดที่มีขั้นตอนต่างๆ หรือเรียกว่าการทำแบบฝึกหัดออกแบบโครงการ โครงการออกแบบ แบ่งเป็นขั้นตอนต่างๆแต่ละขั้นตอน นิสิตมีโอกาสได้เสนอส่วนต่างๆของขบวนการทั้งหมด โดยเมื่อประมวลรวมเข้าด้วยแล้ว ก็จะเป็นวิธีการออกแบบ ของแต่ละคน สถาปนิกแต่ละคนเมื่อได้ออกแบบอาคาร ในความรู้สึกของข้าพเจ้า เขาหรือเธอต้องการเข้าใจว่าตนเองออกแบบเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าถือว่าถ้าสถาปนิกแต่ละคน รู้ว่าตัวเองทำมันอย่างไรแล้ว เขาหรือเธอจะทำมันได้ดี มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ นี่เป็นจุดมุ่งหมายของวิชานี้ ทุกวิชาออกแบบปฏิบัติการในมหาวิทยาลัย แตกต่างกันทั้งในวงวิชาชีพ ที่นี่เราสอนนิสิตให้นำข้อมูลมารวมกัน วิธีการออกแบบอยู่บนพื้นฐานความเป็นอิสระของแต่ละคน วิธีการคิดหนึ่งอาจเนำสนอให้ แต่ทุกคนก็สามารถเรียนการปรับแต่งได้ในโรงเรียน ดังนั้นข้าพเจ้าไม่ได้สอนให้แต่ละคนคิดอย่างไร แต่สอนเขาให้นำวิธีคิดของเขาไปใช้ได้อย่างไรเท่านั้น การเขียนเป็นส่วนหนึ่งของการนำความคิด ไปใช้ เราสามารถตอบสนองการออกแบบสถาปัตยกรรมได้หลายทาง อาจกล่าวได้ว่ามือที่เขียนข้อความ และการอธิบายด้วยภาพประกอบ เป็นแนว ทางหนึ่งที่สะท้อนความคิดเรื่องนี้ เพื่อการเข้าใจนิสิต ข้าพเจ้าเคยกำหนดโครงการให้ ทดสอบเขา ถามคำถาม ให้การบรรยาย และในตอนท้ายของภาคการศึกษา ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจเขาเหล่านั้นเล็กน้อย ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสามารถช่วยเขาปรับปรุงวิธีการออกแบบของเขาเอง ก่อนที่เขาก็เย้ายไปเรียน ในชั้นต่อไป เดี๋ยวนี้นิสิตของข้าพเจ้าสามารถเขียนบทความสั้นๆในวันแรกของชั้นเรียน ว่าเขาออกแบบอย่างไร ซึ่งนิสิตทั่วไปส่วนมากไม่ทราบว่าเขา ออกแบบอย่างไร บางคนรู้ว่าจะออกแบบอย่างไร แต่ไม่สามารถเขียนลงในแผ่นกระดาษให้ทราบได้ ดังนั้นข้าพเจ้ามักได้ยินการพูดแบบน้ำท่วมทุ่งเสมอๆ หากแต่ด้วยการเขียน เป็นการบังคับให้นิสิตเกิดการคิดถึงกระบวนการออกแบบของเขาได้ ข้าพเจ้าใช้การเขียนช่วยการผ่อนคลายการคิดว่าเขานั้นคิดอย่างไร โดยการพยายามแสดงมันออกมา อีกทางหนึ่ง เน้นโครงสร้างการเรียนรู้การรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้อง กำหนดได้ว่าข้อมูลแบบไหนที่ต้องการโดยการถามด้วยคำถามที่ถูกต้อง หรือไม่ก็โดยการวาง แผนล่วงหน้าว่าควรถามคำถามที่ถูกต้องที่ไหน แล้วข้าพเจ้าพยายามแสดงให้นิสิตทราบการแปลความคิดเป็นภาษาเขียน และการเขียนภาพประกอบอย่างไร ที่ตรงต่อความเป็นจริง โครงการออกแบบเพิงพักอาศัยจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เป็นโอกาสที่นิสิตเอาความคิดมาเขียน วาดภาพ ออกแบบ ดำเนินการก่อสร้าง และกว่านั้นคือการประเมินผลงานจากความเป็นจริง ข้าพเจ้าให้นิสิตเขียนบันทึกเป็นรายงานการประเมินผล เพื่อพิจารณาว่าจะกำหนดโครงการนี้อีกได้หรือไม่ เขาเหล่านั้น เขียนกันที่บ้าน เพราะเป็นการยากที่จะกระทำในห้องเรียนปฏิบัติการ เนื่องจากนิสิตมักมีสังคมมากในห้องเรียน การกระทำดังนั้นจึงเป็นส่วน หนึ่งของการเรียนรู้นี้ ข้าพเจ้าพบว่านิสิตแสดงแนวคิดการออกแบบในรูปแบบการขีดเขียน มากกว่าการพูดถึงผลสรุปของการออกแบบ เมื่อข้าพเจ้าเขียนอะไรลงบนแผ่นกระดาษ หรืออะไรที่เขาวาดภาพอธิบายสำหรับสำหรับกลุ่ม ทุกคนสามารถทราบได้เลยว่าเราพูดอะไรกันจากภาษาเขียนและภาษาภาพดังนี้ |
WI-Faculty Info | | WI-Student Info | | Writing Placement Exam | | Research Projects-Publications | | Manoa Writing Program Home