เรียบเรียงจาก....http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/metaphor.htm
คนทั่วไปโน้มเอียงไปทางการคิดเชิงเปรียบเทียบด้วยความคล้ายคลึงกัน เช่นเปรียบจิตใจมนุษย์เหมือนวิทยาการสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในอดีตราวสองสามศตวรรษล่วงมา จิตใจมนุษย์ก็ถูกเปรียบเทียบเหมือนเครื่องจักร์กล โทรศัพท์กลาง และเร็วๆนี้ ยังเปรียบจิตใจมนุษย์เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์อีก อันที่จริง จิตใจเป็นมากยิ่งกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
การอุปมาหนึ่งๆ ถือเป็นวิธีการคิดที่สบายๆในการเชื่อมโยงความหมายที่แตกต่างของสิ่งต่างในจักรวาลเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอาหาร การไหลของเวลา คนยามแห่งปี การคิดเชิงอุปมามีเงื่อนไขตรงที่สร้างให้เกิดความคล้ายคลึงกัน ดังเช่นจิตใจของมนุษย์ทุกคนมีแนวโน้มที่คล้ายกัน ดังเช่นแผนที่ถนนคือแบบจำลอง หรือสิ่งอุปมาที่เป็นจริงและมีประโยชน์ในการอธิบายความเป็นเมืองหรือชุมชน และดังเช่นระบบเสียงแบบโดลบี้เป็นเหมือนราวกับเสียงในโรงซักรีด.
การคิดโดยอิงเหตุผลมากเกินไปทำให้ขบวนการคิดสร้างสรรค์ตะกุกตะกัก ดังนั้นควรใช้การอุปมาเป็นวิธีคิดที่ทำให้แตกต่างไป มองหาสิ่งอุปมาต่างๆในความคิดของท่านเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ควรเอาใจใส่และพึงระวังชนิดของการอุปมาที่ท่านใช้ด้วย สิ่งที่ใช้อุปมาเป็นสิ่งที่น่าทึ่ง ลืมไปได้เลยว่าจะพิสูจน์ความหมายของสิ่งนั้นๆอย่างไรบ้าง การพยายามค้นหาคำจำกัดความของการอุปมาหนึ่งอาจทำให้ท่านต้องล้มเลิกความคิดทั้งหมดเอาเลย
การจินตนาการด้วยความรู้สึกความคิดคำนึงบางอย่างอาจช่วยได้ เช่น การนึกภาพน้ำพุในใจ อาจสร้างแรงบันดาลใจในบทเพลงบรรเลง "Prima Vera" ของ Vivaldi ความนึกฝันทำให้ Berlioz ประพันธ์เพลง "Symphonie Fantastique," นิทรรศการทางศิลปะ ถูกสะท้อนออกมาโดย Mussorsgy ในบทเพลง "Pictures at an Exhibition," และอื่นๆ เป็นต้น
Last updated: 5th October 1996