by Flemming Funch, 17 Nov 95
มีหลายประเด็นใน "A Pattern Language" ที่ทำให้ผู้เขียนต้องหยุดและคิด หลายสิ่งนำมาใช้เขียนบทความนี้ "Master and Apprentices".
"สถานะการณ์การเรียนรู้เบื้องต้น คือผู้เรียนควรเรียนรู้ โดยการการช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ซึ่งรู้ตัวว่าเขานั้นกำลังทำอะไรอยู่".
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และมีอานุภาพมากกว่าในการได้รับความรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนจากการฟังการบรรยายและจากหนังสือ ซึ่งน่าเบื่อหน่ายและเลือนลาง แต่ในสถานะการณ์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้ได้ได้สูญหายไปจากสังคมสมัยใหม่ปัจจุบันนี้ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้ใช้วิธีการที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมในการเรียนรู้ ตรงข้ามกับวิธีการเรียนสมัยก่อนที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในทุกอาชีพ เช่น พ่อค้า ศิลปิน นักวิชาการอิสระ เป็นต้น ในศตวรรษที่ ๑๒ คนหนุ่มสาวเรียนรู้โดยการทำงานใกล้ชิดกับครู ช่วยท่าน และเกี่ยวข้องในทุกสิ่งที่สัมพันธ์กับสังคมขณะนั้น เมื่อนักเรียนคนใดมีความสามารถพร้อม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของวิชาการด้านใดโดยเฉพาะ เขาก็พร้อมที่จะนำเสนอความรู้เฉพาะที่เป็นเลิศของเขา โดยการยินยอมตกลงของครู แล้วจึงยอมรับกลายเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มคนอาชีพนั้นๆต่อไป
การทดลองของ Alexander และ Goldberg ได้แสดงให้เห็นว่า ในห้องเรียนหนึ่งที่มีคนหนึ่งเป็นผู้สอน กับคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้เรียนประสบความสำเร็จในแง่ที่กลุ่มคนเหล่านั้นกำลังทำงานช่วยเหลือครูของพวกเขาแก้ปัญหาบางอย่าง ซึ่งเขากำลังทำอยู่ขณะนั้น ไม่ใช่การเรียน ที่สอนจากบทเรียนที่เป็นนามธรรม หรือสอนในสิ่งที่เป็นเรื่องสนใจทั่วๆไป...
การจัดเตรียมงานสำหรับทุกคนในกลุ่ม ในลักษณะโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงาน เป็นวิธีหนึ่งที่การทำงานและการเรียนรู้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน งานทุกอย่างที่กระทำเป็นโอกาสของการเรียนรู้ได้ทั้งนั้น ในตอนท้ายจัดการการทำงานในลักษณะตามประเพณีของครูกับผู้ฝึกงาน ยังเป็นการสนับสนุนลักษณะการจัดการชุมชนที่มีการแบ่งงานกันทำเป็นส่วนๆ แต่ละกลุ่มที่ทำงานแตกต่างกัน ก็จะประกอบด้วยครูคนหนึ่งและกลุ่มนักเรียนผู้เป็นเหมือนผู้ฝึกงาน ซึ่งเขาเหล่านั้นต้องพบกันและทำงานร่วมกันตลอดเวลา.
จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า เป็นการเรียนรู้ที่รวดเร็วครบถ้วน โดยการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นที่รู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ และพร้อมที่จะพูดคุยปรึกษาหารือกัน ดีกว่าการที่พยายามเรียนรู้ตามลำพังโดยอาศัยจากตำราที่มักกล่าวถึงเรื่องทั่วๆไป
อีกทั้ง เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่เห็นลูกๆของเรากลับจากโรงเรียนทุกวัน แล้วต้องทำการบ้าน หรือทำงานหนักที่สมมุติและประดิษฐ์ขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับโลกที่เป็นอยู่จริงๆในขณะนั้น การทำบ้านที่ต้องแล้วเสร็จส่งคืนครู เพื่อต้องการคะแนนสูงๆ แล้วก็เลิกกันไป ฟังการบรรยาย และรับรู้ข้อมูลที่ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร
ผู้เขียนเปรียบเทียบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น เมื่อเพื่อนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งมาเยี่ยมเยียน วันนั้นเขานั่งอยู่กับลูกชายผู้เขียนเพื่อร่วมทำ Origami. โดยที่เขาแสดงการพับกระดาษเป็นรูปต่างๆ จนท้ายสุดทั้งสองก็ได้ผลงานสร้างสรรค์จากการทำงานนี้
ช่างเป็นความแตกต่างอย่างมากที่ข้อมูลเชิงนามธรรมถูกนำมาบังคับให้เรียนรู้ในห้องเรียนปัจจุบัน ซึ่งมีเหตุผลที่คลุมเคลือ ตรงข้ามกับการเรียนรู้ที่เป็นไปโดยธรรมชาติเมื่อคนๆหนึ่งพยายามที่จะถ่ายทอดความชำนาญในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนเองรู้ดี ให้ผู้เรียนที่ที่สนใจจะรู้ตาม
ในงานของผู้เขียนที่มีโอกาศสัมภาษณ์จ้างงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ครั้งหนึ่ง พบว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เห็นบัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโททางสาขาคอมพิวเตอร์ หมดหวังที่จะทำอะไรได้ตามความต้องการจริง ท้ายสุดกับเลือกได้ เด็กนักเรียนมัธยมอายุ ๑๙ ปี ผู้ซึ่งเรียนรู้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากการคอยอยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนๆที่เป็น hacker และมักทำงานเขียนโปรแกรมเกมส์คอมพิวเตอร์ด้วยกันที่บ้าน ผู้เขียนเคยเห็นการเรียนรู้เกิดขึ้นเสมอๆกับผู้ที่คอยช่วยเหลือผู้อื่นทำงานเท่าที่เขาสามารถจะกระทำได้ แม้ว่าจะมีความรู้จากสาขาวิชาที่ต่างกันก็ตาม มากกว่าที่จะเห็นคนที่ใช้เวลาหลายปีในการเรียนรู้ทางทฤษฎี ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สัมพันธ์กับโอกาศที่จะนำไปปฏิบัติในสถานะการณ์จริงๆ.
ดังนั้น..ใช่เลยทีเดียว ที่ต้องสร้างการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในสถานการณ์จริง ที่จะรับรู้ถึงความหมายและผลในทันทีขณะนั้น และหาทางเพื่อสร้างสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนที่กำลังทำงานนั้นและยินยอมให้มีการช่วยเหลือเขาเหล่านั้นด้วย
- Flemming