ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

ARCHITECTURAL DESIGN SEMINAR

 สัมมนาสถาปัตยกรรม

๑.    รหัสวิชา                  

๓๖๑๕๑๕

๒.    จำนวนหน่วยกิต          

๒    หน่วยกิต

๓.    ชื่อวิชา (Course Title)

ARCHITURAL DESIGN SEMINAR

๔.    คณะ/ภาควิชา             

ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

๕.    ภาคการศึกษา             

ประจำภาคต้น

๖.    ปีการศึกษา

๒๕๔๕

๗.    ชื่อผู้สอน   

ผ.ศ. ยงยุทธ ณ นคร

อจ. อยุทธ มหาโสม

๘.    เงื่อนไขรายวิชา

วิชาที่ต้องเรียนก่อน    ๓๖๑๔๑๕ (ARCHITECTURAL DESIGN CRITERIA AND CONCEPTS III)

๙.   สถานภาพของวิชา         

(วิชาบังคับ)

๑๐.  ชื่อหลักสูตร                  

หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต

๑๑.  วิชาระดับ                    

ปริญญาตรี

๑๒.  จำนวนชั่วโมงสอน

๒ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑๓.  วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา


       
นิสิตชั้นปีที่ ๕ จะได้เรียนรู้โดยวิธีศึกษาเชิงการสัมมนา หรือพัฒนาทักษะในการแสดงความคิดเห็น อันต้องประกอบด้วยกระบวนการหาความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือทฤษฎีการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการทบทวนและตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนและสืบค้นเพิ่มเติมแล้ว จึงนำมาประมวลความรู้เพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งผลการสัมมนาจะกำหนดใช้เป็นแนวทางการสร้างทฤษฎีเฉพาะของตนเองต่อไป

๑๔.  ประมวลการเรียนรายวิชา

๑๔.๑  วัตถุประสงค์ทั่วไปและ/หรือ

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

๑๔.๒    กิจกรรมการเรียน/๑๘ สัปดาห์

  1. สัปดาห์ที่ ๑ กำหนดประเด็นปัญหา และรายละเอียด ที่จะสัมมนา และอื่นๆ เช่น วิธีการแบ่งกลุ่ม การดำเนินงานของกลุ่ม และการกำหนด วิทยากรรับเชิญ เป็นต้น
  2. สัปดาห์ที่ ๒-๖ วิทยากรรับเชิญ สัมมนาร่วมกับนิสิตทุกๆกลุ่ม

 

ตัวอย่างประเด็นสัมมนานำเสนอโดยวิทยากรรับเชิญ

  1. DESIGN + DIGITAL (อาจารย์ ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์)
  2. BUILDING ECOLOGY (อาจารย์ ดร. อรรจน์)
  3. ARCHITECTURAL PRACTICE (อาจารย์ พิรัส)
  4. CONSERVATION & PRESERVATION (อาจารย์ สยาณี)
  5. BEAUTY & UGLY (อาจารย์ ดร. มล. ปิยลดา)
                      

ประเด็นสัมมนานำเสนอโดยกลุ่มนิสิต

    1. สัปดาห์ที่ ๗-๑๗ ดำเนินการของกลุ่ม จำนวนครั้งละ ๒ กลุ่ม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาสัมมนา พร้อมสรุปผลการสัมมนาทุกๆครั้ง รวม ๑๑ ครั้ง
    2. สัปดาห์ที่ ๑๘ (สุดท้าย) สรุปผลการสัมมนา ส่งเอกสารประกอบการสัมมนา (ฉบับรายงาน) ทั้งหมดของแต่ละกลุ่ม และประเมินผลการเรียนสรุปทั้งกลางเทอมและปลายเทอมการศึกษา โดยผู้สอนร่วมกันกับผู้เรียน            

  ๑๔.๓    วิธีจัดการเรียนการสอน

  1. กิจกรรมของผู้สอน ดำเนินการจัดและควบคุมการสัมมนา บรรยาย และอภิปราย ร่วมกับวิทยากรรับเชิญ สำหรับประเด็นสัมมนา ที่กำหนดขึ้น โดยผู้สอนและผู้เรียน และทดสอบ ตรวจสอบ การมีส่วนร่วม นำเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียนและสรุปเป็นข้อเขียนในการสัมมนาทุกครั้งของนิสิตทุกคน และประเมินรายงาน และข้อมูล ที่จัดเตรียมโดยกลุ่มสัมมนาทุกกลุ่ม รวมกันเป็นการประเมินวัดผลสุดท้ายการเรียนของนิสิตทุกคน
  2. กิจกรรมร่วมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน กำหนดประเด็น การสัมมนาของแต่ละกลุ่ม กำหนดเลือกวิทยากรรับเชิญ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะสัมมนากัน ร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สำหรับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม ต้องเตรียมข้อมูลก่อนการ สัมมนา และยื่นเป็นเอกสารหลังการสัมมนาแล้วของแต่ละกลุ่ม ต่อผู้สอนเพื่อตรวจสอบ และวินิจฉัยเพื่อการประเมินผลการเรียนได้ ผู้สอนจะเป็นผู้สนับสนุน และดำเนินการสัมมนาในทุกๆกลุ่ม
  3. กิจกรรมของผู้เรียน ต้องมีความเอาใจใส่ในการเรียน ต้องมีส่วนร่วมในการสัมมนา และเสนอข้อคิดเห็นในการสัมมนาทุกครั้ง ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ การละเลยสิ่งดังกล่าวนี้ ถือเป็นข้อเสียหายอย่างร้ายแรง ในการประเมินผลการเรียนในวิชานี้

๑๔.๔     สื่อการสอน     ประกอบด้วย

แผ่นใส สไลด์ภาพสี วิดิโอทัศน์ และคอมพิวเตอร์กราพฟิค ที่เหมาะสมกับการสัมมนาของแต่ละกลุ่ม และวิทยากรรับเชิญแต่ละท่าน

 ๑๔.๕    การวัดผลการเรียน

  1. ผลของการสัมมนาของกลุ่ม และรายงานข้อมูล ที่เตรียมเพื่อการสัมมนาของแต่ละกลุ่ม    คิดเป็น ๐% ของคะแนนรวม
  2. ความเอาใจใส่ในการเรียน และการมีส่วนร่วมในการสัมมนาทุกๆครั้ง     คิดเป็น ๔๐% ของคะแนนรวม
  3. ผลสรุปการสัมมนาทุกครั้ง และผลสรุปเนื้อหาจากการอ่านหนังสือ หรือเอกสารประกอบการเรียนที่คัดสรรของแต่ละคน คิดเป็น ๐% ของคะแนนรวม

๑๕.  รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ

 

หนังสืออ่านประกอบภาษาไทย

  1. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง “ความคิดเรื่องสถาปัตยกรรม-ชุดถังขยะวิชาการ-๑” โดย ยงยุทธ ณ นคร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔
  2. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง “ความคิดเรื่องวิธีการออกแบบ-ชุดถังขยะวิชาการ-๒” โดย ยงยุทธ ณ นคร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔
  3. เอกสาร(แปลและเรียบเรียง)ประกอบการสอน "ความคิดสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรม ปรัชญา ฯลฯ-ชุดถังขยะวิชาการ-๓" โดย ยงยุทธ ณ นคร, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔
  4. CD "ชุดคว่ำถังขยะ" -รวมบทสนทนาในเว็บบอร์ดวิชาการ -ARCHITECTURE DESIGN CRITERIA & CONCEPT , ๒๕๔๔-๒๕๔๗
  5. The Chaos Theory ..ทฤษฎีไร้ระเบียบ กับทางแพร่งของสังคมสยาม โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์, สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม (Civicnet), ๒๕๓๙
  6. The Turning Point โดย ฟริตจ๊อฟ คาปร้า ..ฉบับแปลชื่อ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ ๓ ..แปลโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม, พระไพศาล วิสาโล, สันติสุข โสภณสิริ, และรสนา โตสิตระกูล, สำนักพิมพ์มูลนิธิ โกมลคีมทอง, ๒๕๒๙
  7. พุทธปรัชญา.. มองพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์ โดย สมัคร บุราวาศ, สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๔๙๖
  8. ปัญญา.. จุดกำเนิดและกระบวนการพัฒนาทางปัญญาของมนุษยชาติ โดย สมัคร บุราวาศ, สำนักพิมพ์ศยาม, ๒๕๒๐
  9. วิถีทรรศน์.. ทฤษฎีและความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์, ฉบับที่ ๑๙ โดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์.. บรรณาธิการ, สำนักงานมูลนิธิวิถีทรรศน์, ๒๕๔๔
  10. การเปลี่ยนแปลงกับความรู้ในยุคโลกานุวัตร โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช, บริษัทผู้จัดการ จำกัด, ๒๕๓๗
  11. ภิกษุกับนักปรัชญา แปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ, สำนักพิมพ์ออร์คิด, ๒๕๔๒
  12. จริยศาสตร์ (ศาสตร์ที่ว่าด้วยคุณงามความดีและศิลปะในการตัดสินใจ) โดย วศิน อินทสระ, สำนักพิมพ์บรรณกิจ, ๒๕๑๘
  13. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, นิกายเซน, สำนักพิมพ์ ดอกหญ้า ๒๐๐๐, กรกฎาคม ๒๕๔๔
  14. น.พ. ประสาน ต่างใจ, โลกหลัง ๒๐๑๒: สู่มิติที่ห้า, สำนักงานมูลนิธิวิถีทรรศน์, มกราคม ๒๕๔๕
  15. น.พ. ประสาน ต่างใจ, วิทยาศาสตร์จิตวิญญาณ, สำ นักงานมูลนิธิวิถีทรรศน์, มกราคม ๒๕๔๒
  16. น.พ. ประสาน ต่างใจ, ปริศนาจักรวาล, สำนักงานมูล นิธิวิถีทรรศน์, กรกฎาคม ๒๕๔๑
  17. Hawking , Stephen W., A Brief History of Time, New York: Bantam Books, 1988 ฉบับแปล..ความลับของเอกภพและเวลา โดย..... วรพจน์ อารมย์ดี, (หรือ รอฮีม ปรามาส-สนพ.มติชน) .ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. ๒๕๓๕
  18. รอฮีม ปรามาส, เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ, สำนักพิมพ์ มติชน, กันยายน ๒๕๔๖
  19. ดร. ชัยวัฒน์ คุประตกุล, จักรวาลในเปลือกนัท ฉบับแปลจาก THE UNIVERSE IN A NUTSHELL by STEPHEN HAWKING, .ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. กรกฎาคม ๒๕๔๖
  20. พระเทพเวที (พระธรรมปิฎก-ประยุทธ์ ปยุตฺโต), วิธี คิดตามหลักพุทธธรรม, สำนักพิมพ์ปัญญา, ตุลาคม ๒๕๓๓
  21. พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธ ศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, คณะศิษย์พิมพ์ถวาย เนื่องในมงคลวารครบ ๖๐ ปี, ๑๒ มกราคม ๒๕๔๒
  22. ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์, ออกแบบสร้างสรรค์อย่างดิจิทัล - DESIGN + DIGITAL, โรงพิมพ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ๒๕๔๖
  23. ดร. วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ, ดร. ประสงค์ ปราณีพลกรัง และ นารีรัตน์ ลุ่มเจริญ, กลยุทธ์ความสำเร็จในยุค DIGITAL E-COMMERCE ฉบับแปลBUSINESS @ THE SPEED OF THOUGHT โดย บิล เกตส์, บ. ซอฟแวร์ ปาร์ค จำกัด, ตุลาคม ๒๕๔๓
  24. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ แปล "ทำเมืองให้น่าอยู่" เฮอร์เบิร์ต จิราเดต์ เขียน "THE GAIA ATLAS OF CITIES", สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, พิมพ์ครั้งที่สอง มิถุนายน ๒๕๔๖

 

แหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ท

  1. http://www.geocities.com/midnightuniv/
  2. http://www.uta.edu/huma/pomo_theory/index.html
  3. http://www.Archpedia.com
  4. http://www.focusing.org/apm.htm
  5. http://www.encyclopedia.com (The Columbia Electronic Library, Presents Encyclopedia.com)
  6. http://www.geocities.com/middata/newpage6.html
  7. http//wwwbuddhadasaorg/html/articles/1_bdb/aestetic01-1html

หนังสืออ่านประกอบภาษาอังกฤษ (มีในห้องสมุดคณะฯ)

  1. Giedion, Sigfried, Space, Time and Architecture, Cambridge, Mass.: Harvard University Press, 1941 (720.9 G454S)
  2. Benevolo, Leonardo, History of Modern Architecture..vol.2, The modern movement, Cambridge Mass.: The M.I.T. Press, 1971 (720.9 B461H)
  3. Joedicke, J., Moderne Architecture, Architecture Since 1945: Sources and Direction, London: Pall Mall, c1969 (724.9 J64A)
  4. Gehl, Jan, Life Between Building: Using Public Space, Jo Koch trans., New York: Van Nostrand Reinhold, c1987 (711.74 G311L)
  5. Tschumi, Bernard, Architecture and Disjunction. MIT Press, 1994 (720.10309048 T881A)
  6. …….., Peter Eisenman & Frank Gehry, New York: Rizzoli, 1991 (725.81 P478)
  7. Frank, Suzanne , House VI, “The Client’s Response”, New York: Whitney Library of Design, 1994 (728.372092, F828P)
  8. Ellis, Russell and Dana Cuff, ed., Architects’ People, New York: Oxford University Press, 1989 (on personal requested)
  9. Lawson, Bryan, How Designers Think, The Architectural Press Ltd., London, 1980
  10. Korobkin, Barry J., Images for Design: Communucating Social Research to Architects, Cambridge, Mass., Architecture Research Office, Harvard Graduate School of Design, 1976 (on personal requested)
  11. บทความและหนังสืออื่นที่อ้างไว้ในเอกสารประกอบการสอน และที่รวบรวมเป็นหนังสือจองไว้ในห้องสมุดคณะฯ