ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)
STUDIO in BUILDING MATERIAL & CONSTRUCTION V

๑.    รหัสวิชา ๒๕๐๑๔๓๖
๒.    จำนวนหน่วยกิต ๒ หน่วยกิต
๓.    ชื่อวิชา (Course Title) STUDIO in BUILDING MATERIAL & CONSTRUCTION V
๔.    คณะ/ภาควิชา              ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
๕.    ภาคการศึกษา              ประจำภาคปลาย
๖.    ปีการศึกษา
๗.    ชื่อผู้สอน
    ๑. รองศาสตราจารย์ ดร. ชวลิต นิตยะ
    ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ณ นคร
    ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จตุรนต์ วัฒนะผาสุข
๘.    เงื่อนไขรายวิชา
        ๘.๑    วิชาที่ต้องเรียนก่อน     ๒๕๐๑๓๓๕ (STUDIO in BUILDING MATERIAL & CONSTRUCTION IV)
        ๘.๒    วิชาบังคับร่วม     ๒๕๐๑๔๓๕ (BUILDING MATERIAL & CONSTRUCTION V)
        ๘.๔    วิชาควบ
๙.    สถานภาพของวิชา   (วิชาบังคับ)
๑๐.  ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต
๑๑.  วิชาระดับ ปริญญาตรี
๑๒.  จำนวนชั่วโมงสอน/สัปดาห์    ๔ ชั่วโมง/สัปดาห์

๑๓.  วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา
        นิสิตชั้นปีที่ ๔ จะได้ศึกษาความต่อเนื่อง ของวิชาบรรยายวัสดุและการก่อสร้าง ๕ ในแง่การปฏิบัติการ โดยเน้นความสามารถ ในการออกแบบโครงสร้างช่วงกว้าง สำหรับอาคารขนาดใหญ่ สืบเนื่องจากเนื้อหาที่ได้เรียนรู้มาแล้ว เชิงทฤษฎี ในภาคการศึกษาก่อน หากแต่เป็นการเลือกโครงสร้างช่วงกว้างชนิดเดียวโดยเฉพาะ ตามความสนใจของแต่ละกลุ่มนิสิต เพื่อศึกษาค้นคว้า ในรายละเอียดเพิ่มเติม กอ่นการสรุปผล และนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ สร้างแบบจำลองของโครงสร้าง สำหรับอาคารช่วงกว้างขนาดใหญ่ เช่น อาคารสนามกิฬา อาคารแสดงนิทรรศการ อาคารประชุมขนาดใหญ่ หรืออาคารสนามบิน เป็นต้น

๑๔.  ประมวลการเรียนรายวิชา
        ๑๔.๑    วัตถุประสงค์ทั่วไปและ/หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                    เป็นการนำความรู้ ความเข้าใจ ในเชิงปฏิบัติการ ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการออกแบบอาคารช่วงกว้างประเภทต่างๆ ให้เกิด ความถูกต้อง หรือความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น มีความคาดหวังทางการศึกษา ที่นิสิตพึงได้รับ คือความสมบูรณ์ และหลากหลายเชิงความคิด ในการสร้างสรรค์ และออกแบบรูปทรงทางสถาปัตยกรรม สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ให้สอดคล้องกับ ความก้าวหน้า ในทางเทคโนโลยี ของวัสดุ และการ ก่อสร้างในปัจจุบันด้วย

        ๑๔.๒    การดำเนินการปฏิบัติการ/ ๑๘ สัปดาห์
                 แบ่งกลุ่มศึกษา แต่ละกลุ่มมีนิสิตไม่เกิน ๖ คน หรือตามกลุ่มศึกษาเดิมที่ เคยนำเสนอรายงานการค้นคว้าทางทฤษฎี ในภาคการศึกษาต้น ดำเนินการศึกษาต่อเนื่องในรายละเอียด ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้ ในการออกแบบจำลองโครงสร้าง สำหรับอาคารขนาดใหญ่ หรือช่วงกว้าง ประภทต่างๆ โดยการเขียนแบบประกอบการทำหุ่นจำลองโครงสร้าง ทุกวันพฤหัสบดี ของแต่ละสัปดาห์ ในห้องปฏิบัติการ เป็นขั้นตอนดังนี้

    สัปดาห์ที่ ๑-๕    ศึกษาเป็นกลุ่ม เลือกประเภทของอาคารช่วงกว้างต่างๆ ที่มีอยู่เดิมแล้วภายในประเทศ จำนวน ๑ อาคาร/กลุ่ม โดยไม่ซ้ำซ้อนกัน และต้องมีเนื้อที่ ใช้สอยไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ตร.ม. เพื่อออกแบบโครงชนิดใหม่ ให้แตกต่างจากชนิดเดิม โดยอ้างถึงความสอดคล้องกับ กับชนิดโครงสร้างที่ทางกลุ่มได้ศึกษามาก่อนแล้ว ตามรายงานการค้นคว้าเดิม เสนอเหตุผลและความเหมาะสม เพื่อการอนุมัติ เสนอผลการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียด ของเนื้อหาและองค์ประกอบหลักที่สำคัญ เสนอผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ของกรณีอาคารตัวอย่าง ที่ใช้โครงสร้างชนิดเดียวกัน กับชนิดที่กำลังศึกษาออกแบบ โดยมีการปรึกษาความก้าวหน้า และนำเสนอผลสรุป เพื่อประเมินผล เป็นโครงการเสนอการออกแบบและข้อมูลเดิมที่ปรับปรุงเพิ่มเติม สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ ของอาคารเดิมที่เลือกมาศึกษาของกลุ่ม และตนเองต่อไป กับอาจารย์ผู้สอน ตลอดช่วงสัปดาห์นี้

    สัปดาห์ที่ ๖-๙    ศึกษาเป็นรายบุคคลในทุกกลุ่ม โดยการนำเสนอแบบร่างทางความคิด ของการออกแบบ เพื่อการประเมินผลของแต่ละคน โดยอาศัยรายงานการศึกษาของกลุ่ม เป็นข้อมูลในการตัดสินใจการออกแบบ แสดงเป็นแบบเพื่อการประเมินผลสุดท้ายของบุคคล ประกอบด้วย รูปแผนผัง รูปตัด รูปด้าน รูปแบบขยาย และรายละเอียด ของโครงสร้างและวัสดุ ใช้มาตราส่วนที่ชัดเจน ในกระดาษขนาด A4 ไม่จำกัดจำนวนแผ่น พิจารณาสาระจาก ความชัดเจน ทักษะในการออกแบบ และการเขียนแบบ พร้อมความเอาใจใส่ในการทำแบบร่าง และปรึกษากับอาจารย์ผู้สอน ตลอดช่วงสัปดาห์นี้ ผลงานสุดท้ายของแต่ละบุคคลนี้ เสนออาจารย์ผู้สอนเพื่อการประเมินผล ในวันที่กำหนดเป็นวันสอบกลางภาคของคณะฯ

    สัปดาห์ที่ ๑๐-สัปดาห์สุดท้าย    เป็นการพัฒนา การออกแบบของแต่ละกลุ่ม ในห้องปฏิบัติการประจำชั้นปี เขียนแบบร่าง และทำแบบจำลอง แสดงสาระของโครงสร้าง และส่วนประกอบอื่นที่จำเป็น ของอาคารที่เลือกศึกษาออกแบบเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยการปรีกษา และนำเสนอต่ออาจารย์ ผู้สอนตลอดช่วงสัปดาห์สุดท้ายนี้

    วันสุดท้ายของการเรียนภาคปลาย    นิสิตทุกกลุ่ม นำเสนอแบบ (ลักษณะเดียวกันกับผลงานของแต่ละบุคคล) และหุ่นจำลองโครงสร้าง เพื่อการอธิบายผลสรุปการศึกษาทั้งหมด ต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา แขกรับเชิญพิเศษ และนิสิตทั้งชั้น ก่อนนำส่งผลงานการปฏิบัติการนี้ ของแต่ละกลุ่ม ณ ห้องส่งงานคณะฯ เพื่อการประเมินผลการศึกษาสุดท้าย คือ
         ๑. รายงานเอกสารงานค้นคว้า ที่แก้ไขและเพิ่มเติมสอดคล้องกับงานออกแบบ ใช้กระดาษขนาด A4
     ๒. แบบก่อสร้างและรายละเอียดวัสดุ ประกอบด้วย รูปแผนผัง รูปตัด รูปด้าน แบบขยายต่างๆ ใช้กระดาษไขขนาด A4 ไม่จำกัดจำนวนแผ่น
         ๓. หุ่นจำลองทางโครงสร้างของงานออกแบบ มาตราส่วนตามความเหมาะสม ให้เกิดความเข้าใจ และชัดเจนทางความคิดในการออกแบบ
         ๔. ภาพสไลด์ หรือ ดิจิตอลโฟโต้ ของหุ่นจำลองที่ชัดเจน ประมาณ ๒-๓ ภาพ เพื่อรวมไว้ในห้องสมุดสไลด์ของคณะฯต่อไป

        ๑๔.๓    วิธีจัดการเรียนการสอน
                    ๑. กิจกรรมของผู้สอน เป็นการให้คำปรึกษาแก่ งานกลุ่มนิสิต และงานของนิสิตแต่ละคน ตลอดทุกช่วงสัปดาห์ ในวันที่กำหนด
                    ๒. กิจกรรมของผู้เรียน เป็นการปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการประจำชั้นปี นิสิตทุกคนต้องมีความเอาใจใส่ ในการเรียนวิชา ปฏิบัติการนี้  ต้องร่วมกันทำงานของกลุ่ม และของตนเอง ตามประเภทงานที่กำหนด ในแต่ละช่วงสัปดาห์ และนำเสนอผลงานเพื่อการประเมินผล ของแต่ละช่วงสัปดาห์ที่กำหนดไว้ข้างต้น

        ๑๔.๔    สื่อการสอน ไม่มี

        ๑๔.๕    การวัดผลการเรียน
                    การประเมินผลการศึกษา กระทำจาก ผลงานของแบบก่อสร้างทางโครงสร้างและรายละเอียดของวัสดุทั้งหมด  และหุ่นจำลองของการออกแบบโครงสร้าง โดยการเน้นให้เกิดความเข้าใจ ต่อองค์ประกอบหลักของโครงสร้างชนิดนั้นๆ อย่างชัดเจน ถูกต้องตามเหตุผลทางทฤษฎี และมีสุนทรียภาพ ของงานสถาปัตยกรรม อันเกิดจากโครงสร้างช่วงกว้างชนิดนั้นเป็นสำคัญ

                    ๑. คะแนนผลงานช่วงสัปดาห์ที่๑-๕    คิดเป็น ๒๐% ของคะแนนรวม
                    ๒. คะแนนผลงานช่วงสัปดาห์ที่๖-๙    คิดเป็น ๔๐% ของคะแนนรวม
                    ๓. คะแนนผลงานช่วงสัปดาห์สุดท้าย   คิดเป็น ๔๐% ของคะแนนรวม

๑๕.  รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ (มีอยู่และจองไว้ในห้องสมุดคณะฯ)
        รศ. ดร. ชวลิต นิตยะ : เอกสารประกอบการสอน วิชา 2501535 BLDG MAT / CONS VI (Vol. I-II) , คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        -Wide-Span Structure
        1.    Schuller, W. The Design of Building Structure (624.177/s 385 d)
        2.    Norman, B. & P. Eggen The Structure Basis of Architecture, 1992 (721/s 213 s)
        3.    Salvadori, M. & R. Heller The Structure in Architecture, 1975 (721/s 182 s)
        4.    Makowski, Z.S. Steel Space Structures, 1965 (721/ m 235 s)
        5.    Light Structure : The Art and Engineering of Tensile Architecture (720.4/b 496 l)
        6.    Structure, Space and Skin (721/s 927)
        7.    Form and Structure in Architecture (721/232 f)
        8.    Exposed Structure in Building Design (720.47/e 96)
        9.    Frie Otto: Tensile Structure (721/f 744 f)
        10.  Air Structures (721.5/p 945 a)
        11.  The Work of Frie Otto (721/c 541 w)
        12.  New Structures (721/a 673 n)
        13.  Ove Arup & Partners: Engineering the Built Environment (720/s 697 q)
        14.  Why Buildings Stand Up (624.17/s 182 w)
        15.  อื่นๆ ที่จองไว้ในห้องสมุดคณะฯ
        16.  Interesting Websites:
                http://www.arch.su.edu.au/kcdc/caut/index.htm
                http://www.eerc.berkeley.edu/godden/godden.html
                http://www.arch.cuhk.edu.hk/?
                http://home.bre.polyu.edu.hk/~bs609261/roof6.htm
                http://oak.arch.utas.edu.au/projects/retro/longspan/longspan.html