เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/attribut.htm
บันทึกจาก "Creating Workforce Innovation" โดย Michael Morgan -จัดพิมพ์โดย Business and Professional Publishing 1993
การแจกแจงคุณสมบัติ เป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดวิธีหนึ่ง ทำให้แน่ใจได้ว่าความคิดที่เป็นไปได้กับปัญหานั้นๆถูกตรวจสอบโดยถี่ถ้วน เป็นการแยกแขนงปัญหาออกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย เพื่อสร้างความกระจ่างชัดของปัญหาได้มากขึ้น ก็จะทำให้พบวิธีจัดการกับปัญหานั้นต่อไป...โดยตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานที่ว่า ถ้าเข้าใจปัญหาได้มากเท่าไร ก็จะมีโอกาสแก้ปัญหาได้มากขึ้นเท่านั้น
ลองสมมุติว่าท่านอยู่ในธุระกิจทำโคมไฟส่องสว่าง ภายใต้การแข่งขันทางการค้าสูง และต้องการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เหนือกว่าของใครๆ โดยการแจกแจงคุณสมบัติของสินค้าโคมไฟส่องสว่างนี้ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่น ครอบ สวิทช์ หลอดไฟ แบ๊ตเตอรี่ และน้ำหนัก - ในแต่ละคุณสมบัติของชิ้นส่วนเหล่านี้ - ท่านก็สามารถเขียนตารางแจกแจงความคิดได้ดังนี้
ชิ้นส่วน | คุณสมบัติ | ความคิด |
---|---|---|
ครอบ | พลาสติก | โลหะ |
สวิทช์ | เปิด/ปิด | เปิด/ปิด ปรับแสงต่ำ/สูง |
แบ็ตเตอรี่ | กำลังไฟ | อัดเพิ่มใหม่ได้ |
หลอดไฟ | แก้ว | พลาสติก |
น้ำหนัก | หนัก | เบา |
การแจกแจงคุณสมบัติเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพและวิธีซ่อมแซมให้มีประสิทธิภาพขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ ยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการคิดสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น การสรรหาความคิดด้วยวิธีการระดมสมอง เป็นต้น อีกทั้งวิธีการนี้เป็นการเน้นการคิดเจาะจงเฉพาะส่วนของสิ่งที่ผลิตหรือแต่ละขั้นตอนของขบวนการ ก่อนนำไปสู่ความคิดโดยรวมอีกมากมาย
วิธีการที่เกี่ยวข้องกันคือ....การคิดเชิงอุปมา และ morphological analysis
Last updated: 17th October 1996