เรียบเรียงจาก...http://members.ozemail.com.au/~caveman/Creative/Techniques/escape.htm

Escape Thinking

การคิดหลีกหนี

จัดทำโดย.. Dr Robert Polster

ความมุ่งหมายของเอกสารนี้จัดทำขึ้นเป็นร่างสรุปความคิดใหม่ๆ สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการทางเท็คนิกของเรื่องธุระกิจ เป็นวิชาเกี่ยวข้องกับการจัดการขบวนการทำงานใหม่ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องทำเชิงปฏิบัติการบางครั้งเพื่อสร้างความคิดเหล่านี้

จุดเน้นที่สำคัญคือวิธีการและความคิดที่เขียนโดย Edward De Bono ในหนังสือของเขาเรื่อง "Serious Creativity" โดยทั่วไปข้าพเจ้ามักเกี่ยวข้องกับกลุ่มนักธุระกิจอาชีพที่มีความสงสัยวิธีการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่มอธิบายที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งเร้า ข้าพเจ้าบอกว่าเราทุกคนเกิดมาด้วยความไม่มีอคติทางความคิดใดในโลกมาก่อนเลย แต่ด้วยประสบการณ์ที่ถูกสั่งสมต่อๆมา ทำให้เรานำกลับมาใช้เป็นแบบอย่างในการแยกแยะสิ่งต่างๆที่เราพบเห็น: นี่คือเก้าอี้ นั่นคือหนังสือ นั่นคือรถยนต์ นี่คือไฟ ฯลฯ ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมในรูปของสัญญานี้ เราจึงสามารถจัดแยกประเภท หรือเป็นกรอบคิดในหลายเรื่องที่เราเผชิญในแต่ละสถานการณ์ เรามักไม่ยอมเสียเวลาที่จะคิดทบทวนหรือวิเคราะห์สิ่งเหล่านั้นก่อน จุดด้อยนี้คือทำให้เรามีข้อจำกัดในการคิด ถ้าเผอิญเราไม่มีกรอบความคิดนี้ชี้นำสิ่งที่เราพบเห็น บางทีเราก็ไม่สามารถพบเห็นมันได้ เราจึงมักใช้ข้อสันนิษฐานต่างๆมากมายในใจกับสิ่งพบเห็น ข้อสันนิษฐานพวกนี้จึงปิดบังความเป็นไปได้ใหม่ๆให้เกิดขึ้นได้

หนังสือชื่อ "Test Your Lateral Thinking IQ" เขียนโดย Paul Sloan เสนอตัวอย่างข้อสันนิษฐานที่ทำให้หลงผิดหลายอย่าง เช่นเมื่อคราวที่คนฝรั่งเศสตั้งแนวร่วม (the Maginot line) เพื่อต่อต้านพวกเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พวกเขาสันนิษฐานว่าสงครามคราวต่อไปจะต่อสู้กันเหมือนคราวที่แล้วมา แต่ด้วยยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยกว่า พวกเขาจึงเน้นการป้อมปราการป้องกันที่แข็งแรงตลอดแนวชายแดนฝรั่งเศส-เยอรมัน แต่พวกเยอรมันกลับทำสงครามคราวต่อมาแบบสายฟ้าแลบบุกเข้าทางประเทศเบลเยี่ยม ทำให้สิ่งที่เตรียมการไว้ล่วงหน้าหมดประโยชน์ไปเลย

อีกตัวอย่างคือ ชนอินเดียนแดงตอนเหนือของอเมริกา เห็นชาวยุโรปคนหนึ่งนั่งบนหลังม้า พวกเขาสันนิษฐานผิดๆว่าเป็นพวกสัตว์พันธ์ใหม่ที่มีสองหัว สองแขน และสี่ขา

De Bono แสดงให้เห็นแนวโน้มที่มักมีข้อสันนิษฐานเดิมปรากฏอยู่เสมอๆ เขาแนะนำเกมชนิดหนึ่งซึ่งมีการโชว์ตัวอักษรทีละตัวตัวในแต่ละครั้ง มีเป้าหมายคือให้เอาตัวอักษรเหล่านี้มาประกอบเป็นคำ ตัวอย่างเช่น อักษรตัวแรกคือ A. ตัวที่สองคือ T, ดังนั้นเป็นคำคือ AT เมื่อรวมกัน ตัวอักษรต่อไปคือ R การรวมคำใหม่คือ RAT. เมื่อมีตัว E ปรากฏคำต่อไปคือ RATE. G เป็นอักษรต่อไปรวมเป็นคำ GRATE. และแล้วเมื่อตัวอักษร T ปรากฏ คนส่วนมากจะนำมันรวมคำกับ GRATE ต่อไปไม่สำเร็จ นี่ถ้าเลิกล้มข้อสันนิษฐานที่เป็นกรอบการคิดเดิมว่าทุกอักษรต้องนำมาเรียงแบบต่อๆกัน (ก่อนหรือหลังของคำเดิม) แล้ว คนใดคนหนึ่งก็สามารถนำอักษรสุดท้ายคือ T สร้างคำใหม่เป็น TARGET ได้สำเร็จ. มีตัวอย่างทางธุระกิจอุตสาหกรรม คือเครื่องสัญญานบอกการเลี้ยวของรถยนต์ นับเป็นเวลาร่วม ๔๐ ปี ที่เครื่องบอกสัญญานเลี้ยวใช้ระบบกลไกเป็นแขนกระดกยื่นไว้กับด้านข้างของรถยนต์ เลียนแบบเหมือนวิธีที่คนขับเคยใช้แขนยื่นออกนอกหน้าต่างบอกทิศทางที่รถยนต์กำลังเลี้ยวไป เมื่อมีการทบทวนข้อสันนิษฐานเดิมเสียใหม่ สัญญานเลี้ยวแบบไฟกระพริบที่มีประสิทธิภาพกว่าก็ถูกนำมาใช้แทนในปัจจุบัน

ดังนั้นเราจำเป็นต้องยกเลิกการใช้ข้อสันนิษฐานเดิมไว้บางขณะ เพื่อที่ว่าเราจะได้สร้างโอกาศที่เป็นไปได้ใหม่ๆเกิดกับความคิดเราได้ การขจัดข้อสันนิษฐานเดิมที่เคยชินออกไปนั้น De Bono แนะนำให้สร้างคำกล่าวกระตุ้นที่สร้างสรรค์ หรือคำกล่าวชนิดยั่วยุให้เกิดแนวทางใหม่ของการคิด ตัวอย่างเช่น การปรับปรุงแนวคิดใหม่ที่เกี่ยวกับภัตตาคาร เขาเสนอว่าควรสร้างรายการของข้อสันนิษฐานต่างๆดังเช่น ภัตตาคารบริการอาหาร ลูกค้าจ่ายเงินเมื่อออกจากร้าน ฯลฯ โดยการใช้ "เท็คนิกหลีกหนี" (Escape Technique) เราก็เปลี่ยนข้อสันนิษฐานเป็นลักษณะของการยั่วยุเสียใหม่ว่า "ภัตตาคารบริการอาหาร" กลายเป็น "ภัตตาคารไม่บริการอาหาร" เราเริ่มใช้ข้อสันนิษฐานใหม่นี้เพื่อมองภัตตาคารในแนวคิดใหม่ มันอาจนำไปสู่ความคิดในอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นสถานที่โอ่อ่าไม่มีการบริการอาหารใดๆ เพียงแต่บริการที่ว่างสำหรับผู้คนให้เข้ามาใช้เป็นที่ทานอาหารนอกบ้าน (picnic area) ร่วมกัน ซึ่งต่างนำอาหารกันมาเองในท่ามกลางบรรยากาศที่ตกแต่งอย่างสละสลวย

หลังการอารัมบทเรื่องนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็ให้แต่ละกลุ่มเสนอรายการข้อสันนิษฐานต่างๆเกี่ยวข้องกับการจัดการธุระกิจที่เขาต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น จากการเลือกสุ่มข้อสันนิษฐานข้อใดข้อหนึ่งที่สามารถโยงกับ "เท็คนิกหลีกหนี" ในการสร้างการกระตุ้นแล้ว จึงให้แต่ละคนใช้เวลาสองสามนาฑีสร้างข้อสันนิษฐานแบบแปลกแยกของแต่ละคนขึ้น เขียนบันทึกเป็นรายการความคิดที่เกิดขึ้นจากข้อสันนิาฐานนั้นๆ เมื่อเขานำความคิดเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนและพิจารณาร่วมกันเพื่อจุดมุ่งหมายให้เกิดความกระจ่างและผลิตความคิดเพิ่มเติม ขบวนการนี้ดำเนินการซ้ำๆกับข้อสันนิษฐานอื่นๆที่มีจนหมดเวลาตามที่อำนวยให้

ต่อจากนั้น เราก็ทำการประเมินความเป็นไปได้เพื่อการปฏิบัติของความคิดเหล่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือปัญหาต่างๆสามารถตรวจสอบได้มากขึ้น แต่ละปัญหาเราจะนำมาบันทึกไว้แล้วพยายามปรับปรุงหาคำตอบในแต่ละเรื่องต่อไป

De Bono ได้เสนอแนะวิธีการอื่นๆอีกมากในการตั้งข้อสันนิษฐานที่แปลกแยกในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเขาได้เกริ่นไว้ในบทนำเรื่องในหนังสือของเขา

คนที่มาอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ดูเหมือนจะชอบวิธีการนี้ ข้าพเจ้าสงสัยเขาเหล่านั้นอาจชอบในแง่ที่ว่า มันเป็นการเผชิญปัญหาอย่างมีแผนและเน้นที่ปัญหาเฉพาะหน้า หลีกเลี่ยงการระดมความคิดเชิงบังคับ การเริ่มต้นจากสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย โดยการทำรายการข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของเขาเหล่านั้น ทำให้เกิดการผ่อนคลายในขบวนการอบรมที่ทำให้การเผชิญปัญหานั้นง่ายขึ้น

(กลับไปดูเรื่อง....การระดมตั้งข้อสันนิษฐาน )


Dr. Robert S. Polster
Phone: 703-379-5700
Richard S. Carson & Associates
FAX: 703-379-5707
Internet: ropol@delphi.com
2144 California St., NW Suite 513
Washington, DC 20008
USA


Last updated: 18th October 1996