การเลือกใช้ฟิล์มชนิดต่าง ๆ ในการผลิตสื่อการสอน

ฟิล์มที่น่าสนใจและเหมาะสมในการใช้งานทั่วไปมีดังนี้
1. ฟิล์มเนกาตีฟขาวดำ
ฟิล์มเนกาตีฟขาวดำโดยทั่วไป เช่น Kodak T-max Black & White, Fuji Film Neopan, Agfapan Film ฟิล์มเหล่านี้สามารถนำมาถ่ายแล้วล้างได้ฟิล์มเนกาตีฟขาวดำและนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1. สามารถทำรูปขาวดำ มันบาง มันหนา (Texture) ได้ทุกขนาดภาพ เช่น 3"x5", 5"x7", 8"x10", 10"x12", 14"x16", 20"x24" ฯลฯ ให้เกรนภาพละเอียด, ปานกลาง, หยาบ
2. ทำสไลด์ขาวดำ โดยถ่ายเป็นฟิล์มเนกาตีฟ แล้วกลับฟิล์มโดยใช้ฟิล์ม Lith มากลับหรือใช้เนกาตีฟ T-max แล้วล้างพิเศษ เช่น Tmax Positive Reversal Kit Developer
3. อัดรูปขาวดำบางส่วนของฟิล์ม crop ภาพ หรือต้องการลบบางส่วนในรูปที่ไม่ต้องการ (Bleach) โดยไซยาไนด์ ทำ Photo sketching เพื่อการเรียนการสอน
4. อัดรูปขาวดำ จากนั้นนำมาย้อมทำซีเปีย, โทนน้ำเงิน น้ำตาลแดง
5. อัดรูปเท่าฟิล์มทำปรูฟชีท

2. ฟิล์ม Kodak Technical Pan Film TP 2415

ฟิล์มขาวดำโกดักเทคนิคัลแพน TP 2415 เป็นฟิล์มขาวดำที่น่าสนใจมาก มีเกรน (grain) ละเอียดมาก และเป็นฟิล์มแพนโครมาติก (Panchromatic) ที่มีความไวต่อแสงสีน้ำเงิน เขียวและแดง ฟิล์มสามารถเปลี่ยนแปลงความเปรียบต่าง โดยการปรับตั้ง ISO ตั้งแต่ 16 - 320 จากนั้นเลือกการใช้น้ำยาสร้างภาพ (Developer) ที่เหมาะสม ก็จะได้ความเปรียบต่างตามต้องการ
คุณสมบัติที่น่าสนใจบางประการของฟิล์มนี้ ได้แก่
ความไว (Speed) ดรรชนีการเปิดรับแสง (Exposure Index) 25 - 320 ขึ้นอยู่กับ Developer เช่น ดรรชนีการเปิดรับแสง (E.I.) 25 สำหรับภาพ Pictorial เมื่อใช้กับ Developer Technidol
Safelight ต้องเก็บไว้ในที่มืดสนิท

คุณสมบัติของเยื่อไวแสง เกรน : ละเอียดมากสภาพไวแสงสี : Panchromatic ไวแสงสีแดง
ความสามารถในการบันทึกรายละเอียด เมื่อใช้น้ำยา Kodak HC - 110 Developer
ความเปรียบต่างสูง : 320 เส้น/mm. (สูงมาก) เปลี่ยนแปลงตาม EI
ความเปรียบต่างต่ำ : 125 เส้น/mm. (สูง)
ความสามารถในการบันทึกรายละเอียด เมื่อใช้น้ำยา Technidol Developer ให้ภาพที่มีความละเอียดเด่นชัดมาก เหมาะกับการขยายรูปใหญ่มาก ๆ
ความเปรียบต่างสูง : 400 เส้น/mm. (สูงมาก)
ความเปรียบต่างต่ำ : 125 เส้น/mm. (สูง)
เมื่อใช้น้ำยาประเภท Kodalith หรือ Dektal Developer เหมาะสำหรับการล้างฟิล์มที่ถ่ายภาพพิมพ์ หรือภาพลายเส้น (Linework)
ฟิล์มนี้นิยมนำมาใช้ถ่ายรูปทางวิทยาศาสตร์ เพราะเหมาะกับงานที่ต้องการความชัดเจน จากการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง นำมาล้างและอัดขยาย ก็ยังคงได้ภาพที่มีความคมชัดสูงอยู่

3. ฟิล์ม Kodalith Ortho Film 2556 Type 3
ฟิล์ม Lith ทุกชนิด ให้ภาพ High contrast เป็นฟิล์ม Orthochromatic ที่ให้ความเปรียบต่างสูง จึงเหมาะเพื่อถ่ายภาพลายเส้น ภาพ Half tone ทั้งแบบเนกาตีฟและโพสิตีฟ ตัวฟิล์มถูกสร้างโดยกรรมวิธีผลิตแบบ Photomechanical คือ การ treat ฟิล์มโดยแสงและปฏิกิริยาทางเคมี ฟิล์มมีการพัฒนาให้มีละติจูดรับแสงได้กว้าง และสามารถนำฟิล์มไปใช้สร้าง แม่พิมพ์จุด Half tone ได้คมชัด มักนิยมนำฟิล์มนี้มาใช้ทำสไลด์แบบ Positive หรือ Resverse Text Slide
ฟิล์มมีความไวแสง 6. ISO

คุณสมบัติบางประการของฟิล์มมีดังนี้
- Kodalith Ortho Film 2556 Estar Base มีความหนาของฐาน 0.004 นิ้ว
- Kodalith Ortho Film 6552 มีความหนาของฐาน 0.0053 นิ้ว เป็นฐานอะซิเตท (acetate base) ฟิล์มพวกนี้ เป็นฟิล์มที่มีประโยชน์มากในการใช้ copy ภาพลายเส้น และข้อความตัวอักษร (text material) ต่าง ๆ
- Kodalith Ektagraphic HC Slide Film ฐานและเยื่อไวแสงชนิดเดียวกันกับฟิล์ม 6652 แต่จะบรรจุมาในรูปของกลักเล็ก 135 - 36 ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานมาก นำไปใช้ในการถ่ายสไลด์ Title หรือใช้สำหรับทำสไลด์ซ้อน (mask)ในสไลด์ดิสโซล์ฟ และทำสไลด์ Multivision

ฟิล์มโกดาลิธ มีทั้งชนิดเป็นแผ่นขนาดต่าง ๆ เช่น 8"x10", 10"x12", 20"x24" และอยู่ในรูปของ Bulk roll film เป็น 100 ฟุต เช่น Kodalith Ortho 2556 135 - 36 100 ฟุต
การล้างฟิล์ม ใช้ตัวยาล้างฟิล์ม Lith ล้างได้ทุกชนิด มีทั้งชนิดผสมเองและตัวยาสำเร็จรูป ทำให้มีความสะดวกในการใช้งานมาก
Safelight : ใช้ฟิลเตอร์แสงนิรภัย Kodak 1 A แสงไฟนิรภัยที่เหมาะสมคือ 15 วัตต์ และหลอดไฟห่างจากฟิล์มไม่ต่ำกว่า 4 ฟุต
ประโยชน์ของฟิล์มนี้สามารถนำมาใช้ดังนี้
1. สไลด์ขาวดำ High contrast เป็น Negative นำมา Contact ฟิล์ม Lith เป็น positive ฟิล์มสไลด์ขาวดำ
2. จากนั้นนำมา
2.1 ย้อมฟิล์มให้เป็น สไลด์ ได้ตัวสี หรือพื้นสี
2.2 คาดโทนสีฟิล์มโดยใช้ กระดาษแก้วสี, หรือแผ่นโทนสี normacolour tone
2.3 นำฟิล์มสไลด์ข้อ 2.1, 2.2 มา copyใหม่ จะได้สไลด์ที่ถาวรมาก
3. นำ Negative ขาวดำ ข้อ 1 มาอัดขยายลงบน Lithgraphic paper 8"x10" จะได้ Lith ขาวดำ (เป็นสไลด์ขาวดำ) ขนาดใหญ่
4. นำสไลด์จากข้อ 3 มาทำกรรมวิธีเช่นนี้ 2.1, 2.2 และ ได้สไลด์สี หรือแผ่นใสสี
5. นำสไลด์ดังกล่าวนี้มาทำเทคนิคการ present สไลด์ที่เรียกว่า Progressive Disclosure Techniques (เทคนิคการฉายสไลด์โดยการเพิ่มข้อความทีละข้อความ เข้าในสไลด์แต่ละแผ่น) เทคนิคดังกล่าวนี้ จะรวมจุดสนใจของผู้ชม ให้ดูเฉพาะข้อความแต่ละข้อที่ปรากฏขึ้นมา

4. ฟิล์มเนกาตีฟสี (Nagative Color)

ฟิล์มสี เช่น Kodak color gold 100, Kodak PJA, Kodak PPB ฟิล์ม Fuji HR100 Film Agfa 100 ฟิล์มเหล่านี้สามารถนำมาทำรูปสีด้าน มัน ขนาดตามระบบรายการดังนี้ ได้โดยปรกติอย่างง่าย ๆ คือ
สติ๊กเกอร์ปริ้น M 16 5R (5" x 7")
M 4 8R (8" x 10")
R (2" x 3") 10R (10" x 12")
3P (3 1/2" x 4 1/2") 11R (11" x 14")
3R (3 1/2" x 5") 16R (16" x 20")
4P (4" x 5 1/2") 20R (20" x 24")
4R (4" x 6")
ปัจจุบันรูปขนาด 4R หรือจัมโบ้ ปัจจุบันเป็นขนาดที่นิยมที่สุด
- อัด crop ภาพโดยสั่งตามแบบ,สั่งทำสีตามชอบ
- ทำกรรมวิธีพิเศษ เช่น posterization, Bas relief, screen effect
- ทำปรูฟชีทสี (อัดรูปเท่าฟิล์ม)
- นำมาเป็นต้นฉบับทำภาพสีใสโปร่งแสง (Duratan) เพื่อเป็นภาพโฆษณาขนาดใหญ่
ข้อแนะนำการถ่ายเนกาตีฟสี
ฟิล์มเนกาตีฟสีควรถ่ายให้ over เพราะจะให้สีสวย เห็นรายละเอียดในเงามืดดีขึ้น และมีความละเอียดมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งหากถ่ายให้ under จะทำให้คุณภาพลดลง ดังนั้น จึงมีคำแนะนำว่าหากใช้ฟิล์มสี ISO 100 ควรปรับค่าเครื่องวัดแสงให้ over ประมาณหนึ่งล้านสามสต๊อป เป็นการป้องกันกรณีถ่ายภาพ under ไว้ หรือตั้งความไวแสงไว้ที่ ISO 80 หรือ ISO 64 อาจตั้งตามความพอใจโดยดูที่ธรรมชาติของกล้องแต่ละตัวได้ จากนั้นส่งล้างฟิล์มได้ตามปกติ
5. ฟิล์มสีรีเวอร์ซัลฟิล์ม
ฟิล์มสีรีเวอร์ซัล (สไลด์สี) (Reversal Film) นิยมเรียกกันสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าฟิล์มสไลด์ เช่น ฟิล์ม Kodak Ektachrome HC 100, Fujichrome 100D ได้ภาพสไลด์สีโปร่งแสงขนาด 2"x2" หรือขนาดอื่น ๆ ตาม size ฟิล์ม เมื่อถ่ายเสร็จแล้วส่งร้านล้าง สามารถสั่งได้ดังนี้
- ล้างอย่างเดียว ดูฟิล์ม ไม่ต้องใส่กรอบ
- ล้างใส่กรอบพลาสติก (จะทนทาน) หรือล้างใส่กรอบกระดาษ (ภาพจะแน่น)
- ใช้เทคนิคอื่น ๆ หรือนำมา crop เฉพาะส่วนที่ต้องการเน้น ใส่ mask เน้นจุด
- ทำ proof อัดรูปเท่าฟิล์ม โดยใช้กรรมวิธี cibachrome หรือ paper positive