กล้อง SLR (Single Lens Reflex) ออโต้โฟกัสระดับมืออาชีพสมัยใหม่นี้
จะมีระบบการทำงานที่ก้าวหน้ามาก มีการออกแบบโปรแกรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน
แต่ขณะเดียวกันกลับมีกลไกใช้งานสะดวก ไม่ซับซ้อน จึงเหมาะสมทั้งกับมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยทั่วไป
โครงกล้องหรือแกนกล้องสมัยใหม่จะทำจาก อลูมิเนียม อัลลอยด์ และตัวโครงสร้างภายนอก
(body) มักทำด้วยโพลีคาร์บอเนตที่มีความแข็งแรงมาก ปุ่มใช้งานต่าง ๆ ได้รับการออกแบบให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
จึงเป็นกล้องที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
ระบบโปรแกรมอัจฉริยะของกล้อง
กล้องถ่ายภาพชั้นนำสมัยใหม่ในยุคไฮเทคนี้ จะมีโปรแกรมการทำงานให้เลือกหลายระบบปฏิบัติการ
(mode) ด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การทำงานถ่ายภาพเป็นเรื่องไม่ยาก
ระบบปฏิบัติการที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมมีดังนี้คือ
P Program AE Mode
TV (S) Shutter Priority AE Mode (Time Value)
AV Aperture Priority AE Mode (Aperture Value)
DEP Depth of field AE Mode
M Manual Exposure Mode
P Program AE Mode ระบบโปรแกรมอัตโนมัติ
โปรแกรม P ในระบบนี้ กล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์และเลือกการเปิดหน้ากล้องให้อย่างถูกต้อง
โดยระบบจะเลือกจากขนาดของเลนส์ที่เลือกใช้จากสภาพแสงขนาดนั้น ระบบโปรแกรม P
นี้ เป็นระบบมาตรฐานของการเลือกใช้งานของกล้อง เพราะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดซับซ้อน
TV Shutter Priority AE Mode (Time Value) ระบบปรับขนาดรูรับแสงอัตโนมัติ
โปรแกรม TV ในระบบนี้ กล้องจะให้ผู้ใช้งานเป็นผู้เลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพ
จากนั้น กล้องจะเลือกการเปิดหน้ากล้องที่ถูกต้องให้อัตโนมัติ โปรแกรมนี้มีประโยชน์ตรงที่
เมื่อผู้ถ่ายภาพต้องการสร้างสรรค์การถ่ายภาพลักษณะต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพที่มีความเร็วหรือการเคลื่อนไหว
ถ่ายภาพจากหน้าจอ ที.วี. ถ่ายภาพพลุ ถ่ายน้ำตก (ถ่ายภาพความเร็วต่ำ-สูง)
AV Aperture Priority AE Mode (Aperture Value) ระบบปรับความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ
โปรแกรม AV ในระบบนี้ กล้องจะให้ผู้ถ่ายภาพเป็นผู้เลือกการเปิดหน้ากล้องตามต้องการตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
จากนั้น กล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ถูกต้องให้ การใช้โปรแกรมนี้ ผู้ถ่ายภาพสามารถสร้างผลงานได้ตามต้องการ
เช่น การเปิดหน้ากล้องแคบ ทำให้ได้ความชัดลึก ใช้ถ่ายภาพทิวทัศน์ การเปิดหน้ากล้องกว้างทำให้ได้ความชัดตื้น
เหมาะสำหรับถ่ายภาพบุคคลหรือภาพที่ต้องการเน้นความชัดเฉพาะที่
DEP Depth of field AE Mode
โปรแกรมภาพชัดลึกนี้ เป็นการจัดระยะชัดให้ครอบคลุมวัตถุที่ต้องการจะถ่ายให้มีความคมชัดโดยตลอด
โดยผู้ถ่ายภาพสามารถสั่งการให้กล้องล๊อคโฟกัสที่ตำแหน่งจุดหน้าและจุดหลังของวัตถุที่จะถ่าย
กล้องจะจัดโปรแกรมการทำงาน โดยเลือกรูรับแสงให้ได้ระยะชัดลึกตามต้องการ โปรแกรมนี้จะช่วยผู้ถ่ายภาพให้ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
M Manual Exposure Mode
โปรแกรมนี้เป็นการตั้งปรับกล้องโดยผู้ถ่ายภาพเอง กล้องจะวัดแสงให้ตามปกติ
ผู้ถ่ายภาพสามารถเลือกถ่ายด้วยการควบคุมทั้งความเร็วชัตเตอร์และเลือกเปิดหน้ากล้องเองได้
รูปแบบของกล้องถ่ายภาพ 35 ม.ม. SLR
รูปแบบของกล้อง 35 ม.ม. SLR ในปัจจุบันนี้ ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
พร้อม ๆ กับการนำอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้รูปแบบกล้องส่วนมากเป็นแบบเดียวกันในโครงสร้างมาตราฐานเป็นส่วนใหญ่เหมือนกับกล้องในยุคแรก
แต่ได้พัฒนารูปแบบของปุ่มควบคุม ปุ่มปรับคำสั่งและจอข้อมูลให้ทันสมัยขึ้น
แต่โดยรวม ๆ แล้ว ปุ่มชัตเตอร์จะคงอยู่ด้านบนที่ขึ้นไกฟิล์มหรือตัวเลื่อนฟิล์มหรือ
Driver อยู่ตอนปลายทางขวามือที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ และปรับตั้งความไวฟิล์ม
อยู่บนซ้ายหรือขวามือ ซึ่งโดยมากมักจะอยู่ด้านซ้ายมือ ส่วนปุ่มรีไวน์ฟิล์มจะอยู่ทางด้านปลายด้านซ้ายตอนบนหรือทำไว้เป็นพิเศษต่างหากในตำแหน่งที่ใช้งานได้ง่าย
กล้องถ่ายภาพโครงสร้างและส่วนบังคับต่างๆ
1. หูร้อยสะพายกล้อง
2. สัญญาณแสดงการตั้งถ่ายภาพหน่วงเวลาอัตโนมัติ
3. ปุ่มตรวจสอบความชัดลึก
4. ช่องรับแสงแสดงข้อมูลในช่องมองภาพ
5. ปุ่มปลดล๊อคเลนส์
6. จุดต่อการควบคุมด้วยระบบรีโมทคอลโทรล
7. ปุ่มล๊อคออโตโฟกัส
8. จุดต่อระหว่างตัวกล้องกับเลนส์เพื่อใช้ในการโฟกัสอัตโนมัติ
9. หน้าสัมผัส CPU
10. กระจกสะท้อนภาพ
11. ปุ่มเลือกระบบโฟกัส
12. สลักปิดฝาหลังกล้อง
13. ปุ่มปรับความเร็วชัตเตอร์
14. ปุ่มปรับเลือกระบบการวัดแสง
15. ปุ่มปรับเลือกรูปแบบระบบการวัดแสง
16. ปุ่มกรอฟิล์มกลับ
17. ปุ่มค่าชดเชยการเปิดหน้ากล้อง
18. สวิตช์เปิดปิดระบบการทำงานของกล้อง
19. ปุ่มกดชัตเตอร์
20. ปุ่มกดเลือกระบบการเดินฟิล์ม
21. ปุ่มถ่ายภาพหน่วงเวลาอัตโนมัติ
22. ปุ่มการถ่ายภาพซ้อน และ กรอฟิล์มกลับ
23. ช่องเสียบแฟลช
24. จอแสดงข้อมูล (จอภาพผลึกเหลว LCD)
25. วงแหวนปรับคำสั่ง
|