ขนาดของฟิล์ม

ขนาดของฟิล์ม
เนื่องจากฟิล์มมีการผลิตออกมามากมายโดยบริษัทผู้ผลิตฟิล์มหลายแห่ง เพื่อให้ใช้ได้กับกล้องซึ่งบริษัทผู้ผลิตกล้องผลิตออกมา แต่ละแห่งต่างมีข้อตกลงในเรื่อง แกน, เบอร์ฟิล์มไว้ด้วยกัน แต่หากจะแบ่งฟิล์มตามลักษณะง่าย ๆ ก็จะสามารถแบ่ง ออกได้เป็น 2 แบบ
1. Roll Film คือ ฟิล์มม้วน ปลายฟิล์มด้านหนึ่งพันต่อกับแกนอยู่ในล้อหมุน มีกระดาษหุ้มฟิล์มอยู่ม้วนกระดาษจะยาวหุ้มฟิล์มมิให้โดนแสงอยู่โดยรอบ กระดาษดังกล่าวเป็นกระดาษบังแสง มีตัวเลขอยู่ด้านหลังของกระดาษด้วย ฟิล์มประเภทนี้ได้แก่ ฟิล์มเบอร์ 127, 120, 116, 620, 616, 118,124, 130, 122, 828 ฯลฯ
2. Pack Film คือ ฟิล์มแพคหรือฟิล์มกล่อง มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนหน้าแบน ซึ่งจะบรรจุฟิล์มแผ่น (sheet Film) โดยที่แต่ละแผ่นจะมีกระดาษดำกันแสงคั่นแยกออกจากกันเป็นแผ่น ๆ มีเลขลำดับฟิล์มพิมพ์ติดไว้ เมื่อถ่ายแล้วและดึงกระดาษดำกันแสงออก ก็สามารถถ่ายภาพบนฟิล์มแผ่นต่อ ๆ ไปได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดฟิล์ม ฟิล์มประเภทนี้ได้แก่ เบอร์ 520, 518, 541, 523 เนื้อฟิล์มจากขนาดของฟิล์มต่าง ๆ ที่ใช้กันมาก
ฟิล์ม เบอร์ 135 หรือฟิล์ม 35 ม.ม. แต่ละภาพจะได้ภาพขนาด 24x36 ม.ม.
ฟิล์ม เบอร์ 120 คือฟิล์มขนาด 3 นิ้ว ถ่ายได้ภาพขนาด 6x6x ซ.ม.
ฟิล์ม เบอร์ 110 ให้ภาพขนาด 13 x17 ซม. มักจะบรรจุอยู่ในตลับคือ cartridge มี 20 ภาพ
ฟิล์ม เบอร์ 126 คือฟิล์มขนาด 35 ม.ม. บรรจุในตลับ ถ่ายแล้วได้รูปขนาด 28 x 28 ม.ม.

ประเภทของฟิล์มนอกจากการแบ่งฟิล์มตามลักษณะหีบห่อแล้ว ฟิล์มยังสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทได้ดังนี้
1. แบ่งตามสี
1.1 ฟิล์ม ขาว-ดำ (Black and White film) ได้แก่ ฟิล์ม ขาวดำ Negative อัดเป็นรูปและฟิล์มขาวดำ Reversal ซึ่งสามารถล้างทำเป็น slide ขาวดำได้ และฟิล์มลิธ (Lith Film)
1.2 ฟิล์มสี (Colour Film) ได้แก่ ฟิล์ม Negative color สามารถอัดเป็นรูปสี และฟิล์มสี Reversal ซึ่งสามารถล้างเป็น slide สีได้

2. แบ่งตามกรรมวิธีการล้าง
2.1 ฟิล์มเนกาตีฟ (Negative Film) ฟิล์มชนิดนี้เมื่อทำการบันทึกภาพแล้วล้างฟิล์มนั้น ฟิล์มที่ได้จะได้ภาพกลับจากความเป็นจริง เช่น ขาวเป็นดำ ดำเป็นขาว ต้องนำมาอัดขยายอีกครั้ง จึงจะได้ภาพตรงกับความเป็นจริง
2.2 ฟิล์มโพสีตีฟ (Positive Five) ฟิล์มชนิดใช้ทำการบันทึก (copy) จากฟิล์มเนกาทีฟให้เป็นโพสิตีพ แล้วล้างฟิล์มครบตามกระบวนการ ฟิล์มก็ได้จะได้ตรงกับความเป็นจริง
1.3 ฟิล์มริเวอร์ซอล (Reversal Film) ฟิล์มชนิดนี้เป็นฟิล์มที่มีเยื่อไวแสง เนกาตีฟและโพสิตีฟรวมกัน เมื่อทำการบันทึกแล้วล้างภาพที่ได้จะถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
3. แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ แบ่งโดยดูชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฐานรองรับ (การแบ่งวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบันแล้ว) แบ่งได้ดังนี้
ฟิล์มกระจกถ่ายรูป
ฟิล์ม Acetate
ฟิล์มกระดาษ
4. แบ่งตามการบันทึกสีและแสงได้แก่
1. Panchromatic Film หรือ ฟิล์มเขียว นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "ฟิล์มแพน"
ฟิล์มนี้ไวแสงทุกสีตามที่ตาเห็น แต่ไวต่อแสงสีเขียวน้อยกว่าสีอื่น คือ รับแสงสีเขียวน้อยไป เช่น ถ่ายต้นไม้ได้สีเทา จำเป็นต้องใช้ฟิลเตอร์ จึงจะได้สีถูกต้อง ถือว่าเป็นฟิล์มที่ให้น้ำหนักของสีในภาพถูกต้องตรงกับความจริงมากที่สุด
2. Orthochromatic Film หรือ ฟิล์มแดง เรียกกันสั้น ๆ ว่า "ฟิล์มออร์โธ"
ฟิล์มนี้ไวแสงน้อยกว่า ฟิล์มเขียวเล็กน้อย ไวสีน้ำเงินของท้องฟ้ามาก ได้ฟ้าขาวกว่าเป็นจริง ไวแสง Ultraviolet มาก จึงให้สีแนวน้ำเงิน (Blue Tone) ดังนั้น ในการถ่ายรูปดำขาว จึงควรใช้ Filter ปรับสีฟ้า เพื่อตัดแสงสีฟ้านั่นเอง
3. Non-color Film หรือฟิล์มบอดสี รับสีที่สว่างเท่านั้น รับแสงอุลตราไวโอเล็ต สีน้ำเงิน ได้แก่ จำพวก Film Lith
4. Infared Film
เป็นฟิล์มพิเศษใช้บันทึกภาพ โดยฟิล์มจะรับแสงในช่วงแสงอินฟาเรดเท่านั้น มีผลทำให้สภาพที่ได้เปลี่ยน ไป เช่น ท้องฟ้า เข้มขึ้น ส่วนที่เป็นสีเขียว เป็นสีขาว เมื่อจะใช้ฟิล์มนี้ถ่ายรูป ต้องใช้ฟิลเตอร์สวมหน้าเลนส์ เพื่อตัดแสงเหนือม่วง และแสงที่ตามองไม่เห็น ไม่ให้ไปถูกฟิล์ม