click on choice
Rudi Enos Design Home
Special Structures Lab
Kayam theatre tent 
Tensile 1 worlds largest portable venue
Moonburst marquee
Nova Aluminium Frame Structures
Architectural membranes
Membranes - an overview
Design - some thoughts
Exhibitions
Seating Grandstands
Image Catalogue
Projects
 
Unit 1A Sheffield Technology Park, 60 Shirland Lane, Sheffield S9 3SP UK
tel : +44 (0) 114 22 11 650 - fax : +44 (0) 114 22 11 651
e-mailrudienos@compuserve.com
 
 

โครงสร้างสถาปัตยกรรมแผ่นผืนสังเคราะห์

 สำหรับปัจจุบันและอนาคต

 
เพราะมีการพัฒนาการของโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์อย่างรวดเร็ว ในงานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการพักผ่อนย่อนใจ ผู้ออกแบบสามารถพิจารณาวิธีการ และวัสดุที่หลากหลายในปัจจุบัน

แนวคิดสมัยใหม่ของโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์ อย่างหนึ่งคือการได้บรรยกาศ และร่มเงาที่ดี ด้วยวัสดุที่ทันสมัยนี้ ทำให้เกิดงานสถาปัตยกรรมใหม่ในทางเลือกที่แตกต่างกันมากๆ สามารถได้ที่ว่างกว้างขวางแบบประหยัดอย่างไม่เคยมีมาก่อน ผู้ออกแบบกำหนดรูปร่างที่มีผลดีไม่เพียงแต่รูปโฉมและโครงสร้างเท่านั้น เป็นต้นว่าการเสริมคุณค่าความโปร่งแสงให้กับการใช้สอยภายใน

โดยเท็คโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเข้าใจการปรับปรุงโครงสร้างน้ำหนักเบาได้ชัดเจนขึ้น โครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์สร้างความท้าทายแก่ผู้ออกแบบ ต้องเข้าใจหลักการที่มีข้อจำกัดของรูปทรง ตามรูปร่างของแผ่นผืน ไม่เป็นอิสระ ต้องเป็นไปตามหลักการทางวิศวกรรม และผลการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จมาก่อนแล้ว

ในทางการออกแบบและทางวิศวกรรมของแผ่นผืนสังเคราะห์ เป็นการร่วมงานทางความคิดของศิลปินและความเป็นงานศิลปะในความบริสุทธิ์และเป็นเลิศของสมัยนิยม ศิลปินสามารถคิดรูปทรงอิสระเหนือแนวทางเรขาคณิต ความมีศิลปะของงานไม่สามารถแยกการพิจารณาออกจากการพิจารณาของศิลปินได้ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ทำให้งานศิลปะถูกกำหนดรูปทรงใหม่โดยไม่ตัดทิ้งเหตุผลทางเรขาคณิตที่จำเป็นออกไป

ในอนาคตของความไม่แน่นอนของแม่แบบพิมพ์ประดิษฐ์ การผสมผสานที่มากมายและโลกของการเข้าถึงข้อมูล ความประหลาดใจอาจเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าแผ่นผืนสังคราะห์ไม่ถูกใช้สำหรับเป็นทางเลือกแรกของโครงสร้างขนาดใหญ่ ในที่ๆอากาศเอื้ออำนวยให้ บ้านอยู่อาศัยลักษณะเต้นท์ อาจกลายเป็นทางเลือกหนึ่งทดแทนอาคารหรูๆที่มีรูปร่างโค้งเว้าต่างๆ จุดเด่นของสถาปัตยกรรมแบบเต้นท์ที่แตกต่างนี้ จะให้ความหลากหลายที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ให้ความมีร่มเงา ความโปร่งแสง และอิสระต่อการเลือกสรรรูปร่าง การใช้แผ่นผืนแบบรับแรงดึงสามมิติในงานสถาปัตยกรรมเป็นสื่อกลางที่สำคัญนี้ เป็นผลงานของคนๆหนึ่งที่โดดเด่นคือ สถาปนิก Frei Otto. ระหว่างปีค.ศ. 50's เขาศึกษาแบบจำลองต้นฉบับ โดยเฉพาะ ฟองสะบู่และแบบจำลงถุงน่องสตรี การทดลองให้ผลได้รูปร่างต่างๆที่เป็นไปได้มากมาย ปรากฏการณ์ธรรมดาที่เกิดสิ่งใหม่นี้ วิสัยทัศน์ของ Otto ขณะนั้นไปไกลกว่าความสามารถของผู้ผลิตและวิชาการทางวิศวกรรม และกำลังต้านทานแรงของขนาดแผ่นผืนสังเคราะห์ที่ตอบสนองความปราถนาของเขาได้ จนกระทั่งถึงราวปลายค.ศ. 60's ถึงต้น 70's จึงส่งผลให้ Otto สามารถออกแบบอาคารช่วงกว้าง the German pavilion in Montreal for Expo 67' หรือหลังคาของอาคาร the Gossamer of the ill-fated Munich Olympics of 1972 ได้สำเร็จ แม้โครงข่ายเคเบิล cable net structures คล้ายเต้นท์นี้ ใช้เส้นเหล็กเป็นสายเคเบิล เป็นตัวโครงสร้างหลัก ทำให้ไม่ปรากฏเห็นเป็นโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์ตามลำพังก็ตาม  
 

 

เรื่องทั่วไปของโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์ชนิดติดตั้งถาวร

ดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยในการเปรียบเทียบแผ่นผืน ความโปร่งแสง ผิว และรูปทรงของวัสดุ กับอาคารทั่วๆไป โดยที่อาคารส่วนใหญ่เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า เน้นความเป็นก้อนปิดทึบ แผ่นผืนโปร่งแสง (ไม่ทั้งหมดเป็นเช่นนี้ ส่วนมากทั่วไปเคลือบสีดำทึบแสง) ทำให้เกิดมีแสงสว่างส่องได้ภายใน ทำให้ได้คุณสมบัติพิเศษกว่าวัสดุทั่วๆไปนอกเหนือจากความสวยงาม และประโยชน์ในการรับแรงดึงได้ด้วย เต้นให้ประโยชน์ที่ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว รื้อถอนสะดวกและทนทานต่อดินฟ้าอากาศพอสมควร เมื่อเทียบกับอาคารธรรมดาทั่วไป 

เพื่อป้องกันการยับยู้ยี่และคงไว้ที่รูปทรงเดิม แผ่นผืนสังเคราะห์นี้จึงถูกยึดตรึงด้วย สายเคเบิลรับแรงดึงไว้เพื่อมั่นคงแข็งแรงขึ้น หรือโดยการอัดอากาศภายในให้คงรูปร่างคงที่ไว้ได้ หรือโดยการใช้เครื่องยืดตรึงแผ่นผืนไว้ก่อน (pre-tensioning) ด้วยเสาที่ใช้วิธีการเดียวกัน หรือเป็นโครงประกอบยึดตรึง รูปร่างหลังคามีความหลากหลายทั้งชนิดและโครงสร้าง การบิดตัวโค้งเว้าสามารถกระจายและต้านทานแรง (ที่เกิดจากลมและหิมะ) ได้สม่ำสมอทั้งผืน ในลักษณะการรับโดยแรงดึง โครงสร้างรับแรงดึงนี้ สามารถทำเป็นโค้งสลับทาง ขณะที่ประเภทใช้อัดอากาศภายในเป็นลักษณะโค้งทางเดียว

วิศวกรรมการติดตั้งแผ่นผืนสังเคราะห์แบบถาวร เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกับหลังคาคลุมที่นั่งดูกิฬา หรือโรงเล่นกิฬาในร่ม ซุ้มประตูทางเข้า หรือคลุมที่ว่างโล่งใหญ่ในอาคาร การใช้โครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์จะให้ประโยชน์ที่มากกว่าคือ: 
 

  • ให้ลักษณะสถาปัตยกรรมที่มีความอิสระในรูปทรงได้มากขึ้น
  • ชวนมอง
  • ประหยัดพลังงาน
  • โปร่งแสง
  • ประกอบง่ายในที่ตั้ง
  • การดูแลรักษาลดลง
  • ประหยัดค่าก่อสร้าง
     

    แผ่นผืนสังเคราะห์ให้รูปลักษณ์ที่น่าสนใจกว่าโครงสร้างอื่น คลุมที่ว่างธรรมดา และที่ผสมผเสในหลายรูปร่างได้หมด ที่เห็นได้ชัดคือคลุมที่ว่างได้กว้างขวาง เหมาะสมกว่าวิธีการอย่างอื่นซึ่งจำกัดที่น้ำหนักของ โครงสร้างเอง ความสูงชะลูด และความไม่มั่นคงและแน่นอนของฐานรากที่รองรับ ซึ่งจะต้านแรงกดมากเมื่อมีช่วงกว้างขึ้น บางครั้ง (แม้ม่เสมอไป) โครงสร้างนี้สะดวกในการออกแบบ 

    หลังคาแผ่นผืนสังเคราะห์มักใช้เป็นหลังคาสนามกิฬา เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สร้างในปี 1994 สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก เป็นโครงสร้างประกอบกับสายเคเบิลและอัดอากาศไว้ภายใน ให้ความรู้สึก เหมือนสายเคเบิลพยุงหลังคาทั้งหมดไว้อย่างมั่นคง โครสร้างหลังคาของ The Florida Suncoast Dome เป็นตัวอย่างที่เด่น สุดในการออกแบบปัจจุบัน ในประเทศอาหรับ เต้นใช้เป็นอาคารสถาปัตยกรรมแรกดั้งเดิม กิจกรรมต่างเกิดภายในเต้น จึง เป็นที่ยอมรับโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์สมัยใหม่นี้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างที่ดีเลิศของอาคารที่ใช้โครงสร้างชนิดนี้คือ อาคารสนามบินนานาชาติ Haj Terminal at King Abdul Aziz คลุมพื้นที่ถึง 418,000 ตร.ม. และอาคารสนามิกฬานานาชาติ King Fahd ที่เมือง Riyadh ซึ่งถือว่าเป็นสนามกิฬาที่สวยงามมาก 

    โครสร้างชนิดติดตั้งแบบถาวรนี้ กำหนดด้วยเหตุผลง่ายๆคือ สามารถรื้อถอนได้ง่าย เหมาะกับการสร้างในที่ๆไม่มีการกำหนดการใช้สอยไว้ชัดเจน ไม่ต้องการการขออนุญาตโดยหน่วยงานวางผังของรัฐ และไม่ต้องเสียภาษี สำหรับอาคารใช้สอยในอัตราปกติทั่วๆไป หลายชนิดใช้โครงสร้างชนิดเหล็ท่อกลวงเป็นโครงประกอบของแผ่นผืนสังเคราะห์นี้ การก่อสร้างลักษณะนี้ ใช้โครงที่ประกอบจากชิ้นส่วนย่อยประสานกัน คล้ายโครงสร้างเหล็กทั่วไปของอาคารช่วงกว้างที่มีแผ่นหลังคาแข็ง แต่ถูกแทนที่ด้วยแผ่นผืนสังเคราะห์ใหม่นี้แทน ถ้าเป็นหลังคาแบบรับแรงดึง ก็จะไม่ยอมให้มีการกักเก็บหิมะไว้จนกลายเป็นแอ่งน้ำ หรือมิฉนั้นก็ใช้โครงต้านแรงฉีกที่แตกต่างเล็กน้อยในการยอมให้ลดความตรึงของแผ่นผืนลงบ้าง 

    ชนิดอื่นบางครั้งใช้โครงแกร่ง (portal frame) เหล็กเคลือบสารกันสนิม เป็นฐานล่างของหลังคา มีช่องตอดตั้งผนังลูกฟูกและอุปกรณ์สำหรับประตูและหน้าต่าง หรือโครงประกอบอื่น จุดอ่อนคือขะโมยสามารถเข้สาอาคารได้จากช่องหลังคาแผ่นผืนนี้ได้ 
     

  •  

    แผ่นผืนรับแรงดึง

    อาคารทั่วไปมีส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นรูปทรง อันแรกคือ ส่วนฐานราก ต่อไปคือตัวโครงสร้าง อันที่สามคือ ส่วนสนับสนุนอื่น เช่น ผนังสำเร็จ และการตบแต่งภายใน ตัวแผ่นผืนรับแรงดึง จะเป็นตัวร่วมที่เพิ่มเติมมาอีอันหนึ่ง แต่ทว่าเป็นตัวร่วมของโครงสร้างที่มีบทบาทสำคัญโดดเด่นมาก ส่วนฐานราก จะชี้ชัดที่บริเวณส่วนรองรับอาคาร เช่น ตรงส่วนเสากระโดง (typically masts) และตังยึดดึง (tie-back's) น้ำหนักตังโครงสร้างเองเบากว่าผนังอิฐหรือซีเมนต์ของอาคารทั่วไป ฐานรากจึงกำหนดให้ต้านแรงภายในจากแผ่นผืนโดยตรง เช่นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับแผ่นผืน และน้ำหนักของโครงสายเคเบิลที่ประกอบกับแผ่นผืน ซึ่งจะเพิ่มแรงต้านเมื่อต้อง รับน้ำหนักหิมะที่เพิ่มขึ้น  

    แผ่นผืน หรือเปลือกผิวนี้ โดนตรึงกับเหล็กรัดด้วยน็อตและเหล็กยึด (bolts or clamping strips) ณ จุดนี้แผ่นผืนจะถูกดึงให้ตรึงมากขึ้นๆที่ละน้อย จนหมดทุกช่องตารางที่เสริมโดยเคเบิล ทุกช่องจึงสมารถต้านทานแรงได้เท่าๆกันตลอดทั่งโครงสร้างทั้งหมด แต่ละส่วนโดยทั่วไปจะกระจายแรงออกไปที่สายรัด เหมือนที่เกิดกับวงล้อของจักรยาน แผ่กระจายแรงเป็นรูปสามเหลี่ยม ในแต่ละช่องจะตรึงด้วยแผ่นผืนที่ง่ายและสะดวก ในการตัดชิ้นส่วนในรูปแบบนี้ แต่ละช่องจะรับแรงสม่ำเสมอเหมือนลักษณะการห้อยของสายเคเบิลที่ต้านแบบแรงดึง แนวโค้งของสายเคเบิลที่ตรึงแผ่นผืน กำหนดโดยการคำนวณ ในทุกโค้งที่ห้อยเป็นช่วงๆ ตรงที่โค้งมากสุดจะรับแรงมากสุด จึงสมควรที่จะทำให้เกิดระนาบแนวนอนด้วยกำแพง หรือขอบหลังคา ที่อาจมีเป็นรางน้ำรองรับการระบายของน้ำฝนด้วย มิฉนั้นน้ำฝนจะไหลเบี่ยงไปที่จุดโค้ง โดยข้อเชื่อมต่อ (25-40 millimetre diameter, 1 inch to 1 1/2 inch) ทีเป็นท่อนำส่งไปรอบโค้ง  
     

     

    การก่อสร้าง

    หลังคาแผ่นผืนประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น เป็นโครงวางแนวตรงข้ามแผ่นผืน แรงจากแผ่นผืนจะกระจายแนว ๔๕ องศา ไปที่ใยของผืนสังเคราะห์ น้ำหนักที่ผิวผ่านไปที่เนื้อแผ่นผืนสังเคราะห์ กระจายต่อไปที่โครงห้อยโค้ง (catenary) แล้วจึงต่อเนื่องไปที่ขอบรัดรอบของแผ่นผืน และคอยต้านแรงยกขึ้น ที่ตรงจุดกลางของแผ่นผืนหลังคา 

    ส่วนที่ยากในขบวนการผลิตจากโรงงาน สำหรับโครงสร้างรับแรงดึงนี้ ไม่สามารถทำให้คนธรรมดาเข้าใจได้ง่าย ซึ่งได้มาด้วยหลักทางเรขาคณิต ทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นโครงเคเบิล ขอบรัดรอบที่เป็นแนวฐานยึดตรึงแผ่นผืนหลังคา ต้องออกแบบและผลิตให้มีขนาดเท่าๆกับการหย่อนตัวของวัสดุ มีผลที่ได้จากการคำนวณของวัสดุแต่ละอย่างที่ใช้ การคำนวณนี้ซับซ้อนมาก การลดขนาดจะมีผลเท่ากับปริมาณที่วัสดุแต่ละชนิดโดน ยืดตัวเหมือนเมื่อรับแรง ชิ้นส่วนรับแรงอัดไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เพราะมีความแตกต่างน้อยมาก เพราะฉนั้นโครงสร้าง ต้องมีการทดสอบด้วยภาพจำลองสามมิติจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เห็นการทดสอบที่ชัดเจนก่อนการก่อสร้าง 
     

     
    การติดตั้ง
    งานขั้นสุดท้ายของวิศวกรออกแบบ นอกจากการตรวจสอบโครงสร้าง ณ ที่ตั้งแล้ว ต้องคิดวิธีการประกอบติดตั้งให้แล้วเสร็จด้วย บ่อยครั้งที่ต้องสร้างฐานรองรับและการยึดดึงไว้ชั่วคราวก่อน จนกว่าโครงสร้างรับแรงดึงส่วนในติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ปัจจัยที่มีผลกระทบและสภาพของที่ตั้ง เช่นกำแพงเดิม พุ่มไม้ และอื่นๆอาจเป็นอุปสรรคในขบวนการประกอบติดตั้งโครงสร้างได้
     

    รูปทรงและประโยชน์-การค้นหารูปทรง

    "เขาประหลาดใจที่ค้นพบสิ่งที่ยังมีความฉงนในตัวของมันเองอยู่" 

    M. C. Escher 

    แม้ว่าหุ่นจำลองขนาดเล็กสามารถแสดงผลการออกแบบที่ตั้งใจไว้ได้ เช่นจำลองด้วย เสาค้ำ เชือกดึง และผ้าไนลอน แทนวัสดุจริงของโครงสร้างได้ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ให้ผลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่ใช้ประกอบ เป็นโครงสร้างจริง แม้แต่รูปทรงทางเรขาคณิตที่ถูกต้อง ไม่แม้กระทั่งการตัดสินใจทางด้านวิศวกรรมว่า จะครอบคลุมพื้นที่ได้มากน้อยจริงเพียงไร พาดช่วงได้ถึง ๓๐-๔๐ เมตร มากหรือน้อยตามจริงหรือไม่ ในกรณีโครงสร้างขนาดใหญ่นี้ วิศซกรผู้ออกแบบจำเป็นต้องเข้าใจการต้านแรงที่เป็น จริงของโครงสร้าง และในทุกเงื่อนไขที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เพราะต่างจากลักษณะโครงสร้างประสาน หรือคานไม้ธรรมดาทั่วไป หากแต่มีควาซับซ้อนในการวิเคราะห์ การกระจายแรงในบริเวณผิวชนิด ๓ มิติ ซึ่งวิธีการทางวิศวกรรมเดิมใช้ประกอบการพิจารณาไม่ได้  

    ปัญหาของโครงสร้างที่สำคัญที่สุดคือแรงกดที่กระทำบริเวณแผ่นผืน ถ้าเป็นผิวโค้งสลับหรือสองทาง ก็เหมาสมในการต้านทานแรงได้ดีกว่า เช่น ผิวโค้งรูปอานม้า ทำให้โครงสร้างแข็งแรงไม้อ่อนตัวได้ง่าย (ยกเว้นโครงชนิดอักอากาศ ภายในที่จำเป็นต้องเป็นโค้งแบบทางเดียว และค่อนไปทางรูปทรงกลม) 

    ลักษณะโค้งของแผ่นผืนควรเป็นทั้งโค้งเว้าเข้าและเว้าออก หรือโค้งสลับทาง แรงที่กระทำทั้งหมด จะกระจายแรงในลักษณะแรงดึงไปสู่ผิวของแผ่นผืน ถ้าแนวแกนของโค้งทั้งสอง ทับกันสนิท ก็จะต้านแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ผิวลักษระ ๓ มิติของแผ่นผืนนี้ สามารถกำหนดให้มีรูปทรงตอบสนองการต้านแรง จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการออกแบบรูปทรงการบิดตัวของแผ่นผืน เพื่อเกิดลักษระการต้านแรงที่เป็นแรงดึง จึงมักมีรูปทรงที่บิดสลับกัน บ้างเป็นตามแนวโค้งทรงกลมบ้างก็โค้งตรงกันข้ามกัน (เช่นลักษระโค้งรูปอานม้า) พื้นผิวแบบนี้มีการต้านและกระจายได้สม่ำเสมอ และต้านแรงในลักษณะแรงดึงได้ดี 

     

    การใช้คอมพิวเตอร์สร้างรูปทรง

    ลักษระการบิดตัวของแผ่นผืนที่โค้งมากสุดก๋ย่อมต้านแรงได้มากตรงส่วนโค้งนั้น ต้องการการดึงน้อย โดยการใช้โค้งสลับทางกัน ก็เป็นการควบคุมปริมาณของแรงที่แผ่นผืนให้สมดุลป์มากขึ้น 
    บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาใหญ่ๆ จะอาศัยโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ ช่วยในการกำหนดรูปทรงของแผ่นผืนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการต้านแรง ทดสอบทั้งเมื่อมีหรือไม่มีแรงกระทำต่อรูปทรงนั้น Bruno Postle พัฒนาในทำนองเดียวกันแต่ง่ายกว่า ช่วยการวิเคราะห์ให้เห็นลักษณะต้านแรงที่ผืนผิวโค้ง ในลักษระที่เกิดประโยชน์สูงสุด ในแต่ละรูปทรง 

    โครงสร้างแบบง่ายๆบางอย่างขึ้นอยู่กับฐานรูปร่างสีเหลี่ยมจตุรัสทั่วไป เช่นโค้งแบบ hyperbolic paraboloid เกิดจากฐานรองรับหรือเสา ๔ จุดธรรมดา ผิวโค้งด้านบนสามารถหดยืดได้ โดยการใช้สิ่งรัดรอบ (conical rings) ลักษณะโค้งโซ่ห้อย (catenary arches) และครีบโค้ง (curved members) มีเท็คนิกหลายอย่างในการใช้ให้เหมาะสมกับรูปทรงผิวโค้งที่หลากหลาย ก็ช่วยการกระจายได้สม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักเป็นจุดๆ ยัง มีเท็คนิกหลายอย่างในการใช้ให้เหมาะสมกับรูปทรงผิวโค้งที่หลากหลาย  

    โดยการพิจารณาง่ายๆ คือหากมีการปรับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นผืนแบนมากเพียงไร ลักษณะผิวเปลืกของแผ่นผืนก็จะมีผลสำคัญ มากขึ้นเพียงนั้น การวิเคราะห์ทั่วๆไปมีผลตรงกันที่ว่าส่วนที่แข็งแกร่งที่สุดของผิวเปลือกคือส่วนที่มีความโค้งมากสุด ยังรวมถึงความสูงของเสา ลักษณะทางเรขาคณิตของช่วงเสา จะมีการคำนวณรวมกับการดึงตรึงของแผ่นผืนด้วย เปรียบเทียบกับแผ่นผืนแบนๆ ผืนผิวโค้งสลับทาง เปลี่ยนระนาบนั้นๆ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น เช่นการพับจีบแผ่นกระดาษ หรือทำโค้งต่อเนื่องแบบโค้งลูกฟูก สามารถเพิ่มกำลังต้านแรงได้มากกว่าแผ่นกระดาษแบบๆธรรมดา ที่ไม่มีการพับเลย เป็นต้น 

    รูปร่างสามารถทำให้มีผลทั้งทางศิลปและทางวิศวกรรม โดนให้รัศมีของโค้งน้อย พอที่กระจายแรงได้สม่ำเสมอ ถ้าเลือกรูปทรงเหมาะสม แผ่นผืนก็จะมีสภาพการอ่อนตัวน้อยและแรงดึงที่พื้นผิวต่ำ ผืนผิวก็ต้านแรงได้มาก  

    เมื่อมีแรงกระทำที่ผิวโค้งสลับหรือสองทางนี้ ก็จะมีปฏิกริยาของผิวโค้งแต่ละชนิดต้านกันเอง จะถ่ายเทแรงไปโค้งที่กระชับน้อยกว่า ทำให้แผ่นผืนยับโย้เสียรูปและสมดุลป์ในการต้านแรงที่ผิว การเพิ่มความแข็งแรงที่แผ่นผืน ก็คือการยึดตรึง (prestressing) หรือเสริมโครงข่ายเคเบิลใต้แผ่นผืน เป็นการเข้าใจผิดที่ว่าการเสริมความแข็งของแผ่นผืนนั้นเป็นการเพิ่มน้ำหนัก แต่ตรงข้ามเป็นการลดน้ำหนักที่กระทำต่อแผ่นผืน 

     
    การวิเคราะห์ 

    " วิชาคณิตศาสตร์ อันที่จริงไม่เพียงเพื่อแสดงความจริง แต่ยังสำคัญต่อความงาม ความสงบ ความประหยัด เหมือนงานปฏิมากรรม" 

    Bertrand Russell 

    การวิเคราะห์เชิงปริมาณสำหรับการทำงานของแผ่นผืนในการรับแรง ได้พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับ ในมาตรฐานเดียวกันทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ และวิชาการทางวิศซกรรมขั้นสูง วิศวกรที่ปรึกษาปัจจุบันสามารถวิเคราะห์รูปร่างที่ซับซ้อนต่างๆของแผ่นผืนได้ทั้งนั้น 

    เพราะโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห มีขนาดใหญ่จึงง่ายที่จะเปลี่ยนแปรรูปเมื่อได้รับแรงลม การวิเคราะห์จึงต้องคำนึงถึงปัญหานี้ด้วย โครงสร้างแบบธรรมดาอื่นทั่วไป เมื่อมีแรงกระทำเพิ่มก็จะเพิ่มแรงเครียดในปริมาณเดียวกัน โครงสร้างหลายแนว ผลการกระทำของแรงไม่แน่นอนคงที่หรือสม่ำเสมอ 
    การต้านแรงสูงสุดของแผ่นผืนขึ้นอยู่กับสามารถในการรับแรงดึงของแผ่นผืนเอง แผ่นผืนในแบบสองมิติ ที่มีความบางจะไม่มีคุณสมบัติการต้านแรงโก่งดัดปหรือแรงกดอัดเลย 

    แผ่นผืนจะอ่อนตัวตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแรงเครียดสูงสุดต้านทานได้ โดยความสามารถในการรับแรงดึงของวัสดุแผ่นผืนเป็นสำคัญ โครงหลังคาแผ่นผืนสังเคราะห์ (ในกรณีที่รูปทรงมีความสมดุลป์) จากการวิเคราะห์พบว่า โดยการเพิ่มน้ำหนักหรือแรงดันสูงสุด จะมีการอ่อนตัวสม่ำเสมอ ปริมาณความเสียหายขึ้นอยู่กับปริมาณของแรงที่กระทำ 
    เพราะแผ่นผืนสังเคราะห์มีคุณสมบัติของการยืดหยุ่น จึงช่วยให้การกระจายแรงได้ทั่วพื้นผิวของแผ่นผืน จึงสมารถต้านแรงลม ได้ดีกว่าโครงสร้างเต้นธรรมดา แม้ว่าบางมุมมีแรงกระทำ จะมีปฏิกริยาการยกขึ้นที่มุมอื่นของแผ่นผืน ความผิดปกติที่เกิดที่ส่วนหนึ่งของแผ่นผืน จะกระจายไปเกิดที่ส่วนอื่น โดยไม่เกิดความเสียหายมากนักโดยรวม เพราะการปรับตัวได้ง่ายของแผ่นผืนเมื่อมีแรงกระทำที่ส่วนใดส่วนหนึ้ง แล้วย้ายลดความรุนแรงไปที่ส่วนอื่นๆต่อไป 

    มีความจำเป็นที่ต้องเสริมความสามารถในการรับแรงดึงก่อนให้กับโครงสร้าง ขณะที่กำลังสร้างหรือประกอบโครงสร้างในที่ตั้ง เช่นการตรึงแผ่นผืนด้วยแรงดึงสูง 1-1.5 ตัน/เมตร แต่ละแถบของแผ่นผืน โดยกระทำพร้อมกันไม่ให้เกิดการยู้ยี่เสียหายต่อคุณสมบัติของแผ่นผืนไป 

    ผลตัวเลขที่ได้โดยการวัดจากการวิเคราะห์ของวิศวกร นำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์พิจารณาทั่วไป และผลการปฏิบัติที่เคยทำมาแล้ว เพื่อยืนยันคำตอบที่ถูกต้องอีกครั้ง เมื่อตรวจสอบแล้ว หากรูปร่างส่วนใหญ่ของแผ่นผืนไม่ตรงที่ ต้องการก็ปรับเปลี่ยนหารูปทรงที่เหมาะสม โดยโปรแกรมตรวจสอบของคอมพิวเตอร์จนเป็นที่พอใจ ทั้งหมดนี้อาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนเป็นสำคัญ

     
    ขบวนการออกแบบโครงสร้างแผ่นผืนสังเคราะห์ จะยุ่งยากเพิ่มขึ้นจากเรื่องรูปทรง คือส่วนเสริมความแข็งแรง หรือโครงประกอบใต้หรือในแผ่นผืน โดยเฉพาะตอนตรึงโครงส่วนนี้ ซึ่งอาจมีผลกระทบไปเกิดกับตังแผ่นผืนเองด้วย อาจเปลี่ยนรูปไม่สม่ำเสมอ เกิดลักษณะแตกต่างกัน จึงต้องพิถีพิถันในการทดลองให้ถูกต้องก่อนเริ่มกระทำจริง เช่นอาจแยกการกระทำแต่ละส่วนก่อน แล้วนำมาพิจารณาร่วมกันในการกระทำขั้นตอนสุดท้าย 
     
    ขบวนการออกแบบโครงสร้างแผ่นผืน

    เริ่มต้นด้วยการกำหนดจุดยึดต่างๆ (control points/ registration points/ system points) ชื่ออะไรก็ตามที่อธิบายการยึดตรงแนวขอบทางเรขรคณิตของโครงสร้าง ได้มาจากการวิเคราะห์รูปสามมิติทาง คอมพิวเตอร์ เช่นกันบริเวณผิวของแผ่นผืนทราบจากภาพจำลองทางคอมพิวเตอร์ ที่บอกปฏิกริยาตอบสนองต่างๆ เมื่อมีแรงกระทำ และทราบคุณสมบัติเฉพาะ เช่น โค้งโซ่ห้อย ต้องสอดคล้องกับการรับแรงดึง ขอบแนวตรงที่ทำให้โครงแข็งแกร่ง จุดยึด และจุดบรรจบต่าง (edged node) มีคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นต่อแผ่นผืนทั้งตอนผิวบนและล่าง ความเข้าใจที่ชัดเจนทำให้การออกแบบโครงสร้างมีการต้านและกระจายแรงไปอย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งโครงสร้าง มีความสมดุลป์มั่นคง และมีความสัมพันธ์กับรูปทรงที่ออกแบบอย่างเหมาะสมอีกด้วย  

    จุดยึดเหล่านีทำหน้าที่กระจายแรงไปยังส่วนอื่น หรือจุดยึดอื่นบนแผ่นผืน มีการคำนวณเพื่อกำหนดให้มีความสมดุลป์กันด้วยภาพจำลองสามมิติทางคอมพิวเตอร์ การขยับจุดยึดใหม่จะทราบปฏิกริยาที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง ณ จุดหรือส่วนอื่นด้วย จึงสะดวกในการวิเคราะห์และเลือกรูปทรงต่างๆให้เหมาะสมด้วย และรักษาความสมดุลป์ของการกระจายแรง ทุกส่วนของโครงสร้างในขณะเดียวกัน 

    แนวทะแยงหรือเส้นสายสมมุติของปฏิกริยาที่เกิดขึ้นของแผ่นผืนจากภาพจำลองทางคอมพิวเตอร์ สามารถเห็นได้ก่อน และทำให้กำหนดปฏิกริยาที่ขอบและชิ้นส่วนย่อยๆที่ประกอบกัน เช่นองค์ประกอบชิ้นส่วนแบบ geodesics การเชื่อมต่อของชิ้นส่วนนี้คำนวณได้ในรูปสามมิต แต่แสดงสหสัมพันธ์ของแนวแรงต่างๆในกลุ่มองค์ประกอบของปิระมิดสามเหลี่ยม แผ่ออกวิเคราะห์ในแบบสองมิติแบนราบได้ ทั้งหมดนี้อาศัยวิทยาการทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในวิเคราะห์ทั้งสิ้น ทำให้แยกส่วนการวิเคราะห์ของโครงสร้างรูปสามมิติ แต่พิจารณาในเชิงสองมิติได้ครบถ้วนในทุกรายละเอียด ณ บริเวณหรือจุดต่างๆที่ต้องการตรวจสอบในการออกแบบก่อนการก่อสร้าง 

    ผลการวิเคราะห์ช่วยให้เข้าใจปฏิกริยาที่จุดยึด จุดเชื่อม และการทำงานของแผ่นผืนตามรูปทรงที่ออกแบบ ช่วยให้วางแผนการประกอบโครงและแบ่งชิ้นส่วนย่อยๆได้สะดวกขึ้น พิจารณาการยึด แนวขอบ จุดเชื่อมวงแหวน และการประกอบเข้ากับชิ้นส่วนใหญ่ กับเสารองรับ ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ในการก่อสร้างขณะนั้น เป็นต้น 

    โครงสร้างแผ่นผืนธรรมดาอย่างง่าย สามารถวิเคราะห์ให้เห็นผลได้ภายในสองหรือสามชั่วโมง ก็ทำให้ทราบข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบรูปทรง และเสนอต่อลูกค้าให้เข้าใจเหตุผลในการเลือกรูปทรงได้อย่างมีเหตุผล หากแต่การวิเคราะห์นี้เป็นส่วนที่ซับซ้อนและอธิบายให้เข้าใจได้ยาก ต้องดำเนินการโดยวิศกร ที่ชำนาญการวิเคราะห์นี้เฉพาะทาง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามลักษณะการวิเคราะห์ที่ต้องการในแต่ละกรณี ประโยชน์ในการวิเคราะห์สำหรับเพื่อการออกแบบเบื้องต้น คือ ช่วยการกำหนดรูปทรงเบื้องต้นให้เหมาะสมกับความสมดุลป์ และการกระจายแรงได้สม่ำเสมอทั่วโครงสร้าง ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นเมื่อมีแรงลมมากระทำที่โครงสร้าง แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น เป็นต้น 
     

     
    การกระจายแรงต่างๆ 

    แรงดันต่อแผ่นผืนกระทำในลักษณะของแรงที่มีปริมาณตแต่างกัน กระจายต่อเนื่อง บนผิวของแผ่นผืน ไปที่จุดยึดและจุดเชื่อมต่างๆที่ประกอบกันของโครงทั้งหมด ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นของแรงจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติในการรับแรงดึง หรือควมสามรถในการบิดตัวของแผ่นผืนด้วย ปฏิกริยาตอบสนองของแผ่นผืน ช้าหรือเร็ว และอย่างไร แสดงผลให้ทราบจากขบวนการวิเคราะห์ทางคอมพิวเตอร์ 
    จากการคำนวณหรือวัดปริมาณแรงต่างที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง ทำให้เข้าใจได้ว่า แผ่นผืนจะทรงตัวลักษณะใด และได้อย่างไร เมื่อมีแรงลมและหิมะมีต่อโครงสร้าง ปฏิกริยาที่เกิดอย่างต่อเนื่องที่จุดเชื่อมทั้งหลาย การเปลี่ยรูปของแผ่นผืน ณ จุดเชื่อมชิ้นส่วนต่างๆ สามารถบรรทึกข้อมูลต่างๆไว้ได้ก่อนเป็นการล่วงหน้า ขบวนการวิเคราะห์กระทำถึงขั้นทดสอบความเสียหาย ของแผ่นผืนเมื่อมีแรงกระทำสูงสุดเกินพิกัดที่กำหนดจากมาตรฐาน และส่วนความปลอดภัยที่สำรองไว้ ทำให้ทราบความเสียหายของแผ่นผืนเกิดขึ้นที่ส่วนใดก่อนหลัง มีปริมาณความเสียหายต่างกันเพียงไร ก็สามารถแสดงและโชว์ปริมาณด้วยกร๊าฟแสดงผล ( Von Mises graph)  

    ผลเหล่านี้จะถูกบรรทึกไว้และวิศวกรนำไปใช้ในการพิจารณาประกอบกับหลักการอื่น เพื่อสรุปผลการออกแบบที่ถูกต้องและแม่นยำทางวิศวกรรม และการกำหนดรูปทรงของแผ่นผืนที่สมเหตุสมผลมากขึ้น การตรวจสอบ กระทำโดยรอบคอบในทุกๆส่วนของโครงสร้างที่จะมีผลสำคัญในการตอบสนองแรงที่กระทำต่างๆ ของโครงสร้าง การวิเคราะห์ส่วนของแผ่นผืน จำเป็นต้องมีการจำลองตรึงแผ่นผืนล่วงหน้า เพื่อเลือกรูปทรงในเบื้องต้น แล้ววัดปฏิกริยาที่เกิดขึ้นที่ขอบโดยรอบ หรือบริเวณขอบนอกของรูปทรง ความแข็งแรงที่ช่วยต้านการยับย่นของแผ่นผืน ซึ่งเป็นปฏิกริยาของการออกแบบรูปทรงแผ่นผืนโดยตรง 

    ทั้งหมดอย่างที่กล่าวแล้ว อาศัยการวิเคราะห์โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อนำผลทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกัน ก็จะเข้าใจปฏิกริยาการกระจายแรงที่แตกต่างกันในทุกชิ้นส่วนของโครงสร้างนี้ได้อย่างชัดเจน มีผลต่อสิ่งเหล่านี้คือ 
     

  • การกำหนดรูปทรง
  • การต้านทานแรงดันที่ผิวแผ่นผืน
  • วัดผลการตอบสนองต่างๆ
  • ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงขั้นสูงสุด
  • ตรวสอบลักษณะรูปทรงที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและขั้นตอนการเสริมแรงดึงล่วงหน้า
  • Rudi Enos Design Home